รัตน์ศรัณย์ และ ทิพยาภรณ์ สะมาน สองพี่น้อง ผู้ก่อตั้ง “Boat and Beyond” นำเรือเล็กออกจากฝั่ง เพื่อพลิกโฉมเรือหางยาวสู่ทริปไพรเวท-พรีเมี่ยม

รัตน์ศรัณย์ และ ทิพยาภรณ์ สะมาน สองพี่น้อง ผู้ก่อตั้ง “Boat and Beyond” นำเรือเล็กออกจากฝั่ง เพื่อพลิกโฉมเรือหางยาวสู่ทริปไพรเวท-พรีเมี่ยม
Row, row, row your boat Gently down the stream Merrily merrily, merrily, merrily Life is but a dream หากชีวิตสวยงามดังเนื้อเพลง ที่พายเรืออย่างรื่นเริง ท่องไปในดินแดนแห่งความฝันอันสวยงามได้คงดี แต่สนามชีวิตจริงไม่เป็นเช่นนั้น เพราะต้องพบเจอวันที่ท้องฟ้าสดใสและหนีพายุถาโถมไม่พ้น เหมือนกับการออกจากฝั่งของ “Boat and Beyond” ธุรกิจล่องเรือหางยาวแบบลักชัวรี่เจ้าแรกของประเทศไทย ซึ่งก่อตั้งโดยสองพี่น้อง โบ รัตน์ศรัณย์ และ บี-ทิพยาภรณ์ สะมาน คนรุ่นใหม่ที่กล้าทวนกระแสเปิดตัวธุรกิจในช่วงขาลงของการท่องเที่ยวจากผลกระทบโควิด-19 แถมยังมีเป้าหมายใหญ่คือช่วยกระตุ้นธุรกิจท่องเที่ยวทะเลใต้ให้กลับมามีลมหายใจอีกครั้ง รัตน์ศรัณย์ และ ทิพยาภรณ์ สะมาน สองพี่น้อง ผู้ก่อตั้ง “Boat and Beyond” นำเรือเล็กออกจากฝั่ง เพื่อพลิกโฉมเรือหางยาวสู่ทริปไพรเวท-พรีเมี่ยม เรือเล็กต้องออกจากฝั่ง โบ-รัตน์ศรัณย์ และ บี-ทิพยาภรณ์ สะมาน พวกเธอวิ่งเล่น ใช้ชีวิต และมองเห็นคุณพ่อ ผู้ทำธุรกิจเรือหางยาวนำเที่ยว จังหวัดกระบี่ มาตั้งแต่จำความได้ โบเรียนจบปริญาโท ด้านการบริหารจาก Queen Mary University of London และฝึกฝนสกิลการจัดการที่โรงแรมดุสิตธานี กระบี่ บีช รีสอร์ท ขณะที่ บี เป็นบัณฑิตป้ายแดง ด้าน Business English Communication มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทั้งสองพี่น้องเห็นถึงช่องว่างของธุรกิจท่องเที่ยวด้วยเรือหางยาว ที่ยังมีเพนพอยท์บางจุด ทั้งเรื่องความสะดวกสบาย กลิ่นน้ำมัน และการบริการ ทำให้นักท่องเที่ยวส่วนหนึ่งหันไปใช้บริการเรือสปีดโบ๊ทมากขึ้น “บริษัทเรือหางยาวเดิมของคุณพ่อถือเป็นเรดโอเชี่ยนเลยค่ะ เน้นแข่งด้านราคาเป็นหลัก แต่เราเห็นว่าเทรนด์ลักชัวรี่มาแล้ว ประกอบกับสถานการณ์โควิด ทำให้คนต้องการความไพรเวทมากขึ้น เราอยากยกระดับเรือหางยาวพื้นบ้าน ก็เลยทำ Boat and Beyond ที่เป็น luxury long tail boat ขึ้นมา” โบพี่สาวของบ้านสะมาน เล่าภาพของธุรกิจล่องเรือหางยาว รัตน์ศรัณย์ และ ทิพยาภรณ์ สะมาน สองพี่น้อง ผู้ก่อตั้ง “Boat and Beyond” นำเรือเล็กออกจากฝั่ง เพื่อพลิกโฉมเรือหางยาวสู่ทริปไพรเวท-พรีเมี่ยม ไอเดียการพัฒนา Boat and Beyond ก่อร่างสร้างตัวขึ้น ด้วยการผสมผสานเอกลักษณ์เรือท้องถิ่นเข้ากับความหรูหรา เพิ่มความส่วนตัว และสะดวกสบาย พวกเธอขายไอเดียสดใหม่นี้ให้คุณพ่อ ผู้คร่ำหวอดในวงการเกือบ 30 ปี “ขายราคานี้ ในเศรษฐกิจตอนนี้ ไหนจะโควิดอีก ใครจะมาซื้อ” คุณพ่อเบรกทันที ด้วยความเป็นห่วงด้วยเขาเองก็เป็นหัวเรือดูแลทั้งธุรกิจโรงแรมและการล่องเรือที่กำลังดิ้นรนท่ามกลางวิกฤตนี้เช่นกัน แต่ด้วยลูกดื้อของสองสาว พวกเธอจึงเขียนแผนธุรกิจ และต่อรองขอเริ่มทดลอง เริ่มจากเรือเพียง 1 ลำ โดยนำเรือหัวโทงซึ่งเป็นเรือหางยาวดั้งเดิม ของจังหวัดกระบี่ มาพัฒนาออกแบบตกแต่งใหม่ให้มีความสวยงามแบบลักชัวรี่ ที่ดูหรูหรามากขึ้น เพิ่มเบาะนั่ง มีโต๊ะกลาง ทำช่องปิดกั้นระหว่างคนขับเรือกับผู้โดยสารเพื่อลดเสียงดัง และพิเศษสุดด้วย sun deck สำหรับให้ผู้ใช้บริการได้มานอนอาบแดดอย่างเป็นส่วนตัว รัตน์ศรัณย์ และ ทิพยาภรณ์ สะมาน สองพี่น้อง ผู้ก่อตั้ง “Boat and Beyond” นำเรือเล็กออกจากฝั่ง เพื่อพลิกโฉมเรือหางยาวสู่ทริปไพรเวท-พรีเมี่ยม นอกจากนี้พวกเธอยังเพิ่มความบียอนด์ด้วยบริการ assistance หรือผู้ช่วยส่วนตัว ที่ดูแลทุกย่างก้าว ตั้งแต่ลูกค้าขึ้นเรือ แนะนำข้อมูล เสิร์ฟเวลคัมดริ๊งค์และอาหาร เตรียมเซตปิกนิก แนะนำมุมพร้อมช่วยถ่ายภาพให้ลูกค้ามีรูปสวย ๆ กลับบ้าน ที่ต้องผ่านการเทรนทั้งด้านความรู้ ทักษะการบริการ ไปจนถึงเซอร์วิสมายด์เพื่อสร้างความประทับใจแก่แขกบนเรือ “การบริการของ Boat and Beyond เราคิดว่าให้เป็นเหมือนโรงแรมห้าดาว ถ้าโรงแรมจะมีบัตเลอร์ แต่เราจะมี assistance ที่อำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าตลอดทริป เพราะการสร้างประสบการณ์บนเรือเป็นสิ่งที่ไม่มีใครสามารถเลียนแบบได้ ในแบบ Exclusive Stylish Leisure ที่แสดงความเป็น Boat and Beyond ได้มากที่สุด” บี ผู้ประกอบการในวัย 20 ต้น ๆ กล่าวถึงแนวคิดการให้บริการ เมื่อพร้อมแล้วเรือเล็กลำนี้ก็ออกจากฝั่ง… รัตน์ศรัณย์ และ ทิพยาภรณ์ สะมาน สองพี่น้อง ผู้ก่อตั้ง “Boat and Beyond” นำเรือเล็กออกจากฝั่ง เพื่อพลิกโฉมเรือหางยาวสู่ทริปไพรเวท-พรีเมี่ยม น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ เรือพร้อม ทีมงานพร้อม เรือลำแรกก็ออกฝ่าเกลียวคลื่นแห่งท้องทะเลกระบี่ออกไปในช่วงเดือนมีนาคม 2564 ด้วยทริปเที่ยวชมเกาะห้อง Exclusive Hong Islands Trip และทัวร์ 4 เกาะ Exclusive 4 Islands Trip ที่เริ่มทดลองเปิดตัวแบบ soft launch ที่มีเพื่อน ๆ รวมถึง อินฟลูเอ็นเซอร์ และเหล่าบล็อกเกอร์ มาร่วมแชร์ประสบการณ์ล่องเรือกับ Boat and ฺBeyond พร้อมภาพเรือสวยแปลกตา ที่มีฉากหลังคือชายหาดและทะเลกระบี่อันงดงาม ถูกแชร์ผ่านโลกออนไลน์อย่างรวดเร็ว ทำให้เพียงเดือนแรกที่เปิดตัว พวกเธอก็ได้รับการบุ๊คกิ้งเข้ามาทุกวัน ด้วยกระแสตอบรับที่ดีเช่นนี้ ทำให้ทั้ง โบ-บี หรือแม้แต่คุณพ่อของพวกเธอเองยังตกใจ เรือเล็กของพวกเธอออกวิ่งทุกวันสวนทางกับภาคท่องเที่ยวอื่น ๆ จนคุณพ่อต้องมาช่วยสนับสนุนลูกสาวอย่างเต็มที่ เมล็ดพันธุ์ที่หว่านไว้เริ่มออกดอกออกผลให้เก็บกิน นำความชื่นใจมาให้คนที่ลงแรงมาแต่ต้น แต่เมื่อคลื่นลมสงบ อีกไม่นานพายุก็มา.. รัตน์ศรัณย์ และ ทิพยาภรณ์ สะมาน สองพี่น้อง ผู้ก่อตั้ง “Boat and Beyond” นำเรือเล็กออกจากฝั่ง เพื่อพลิกโฉมเรือหางยาวสู่ทริปไพรเวท-พรีเมี่ยม หลังเปิดตัวได้เพียง 2 เดือน ทุกอย่างกำลังไปได้สวย แต่กลางปี 2564 พื้นที่ จังหวัดกระบี่ กลับมามียอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 สูงอีกครั้ง ธุรกิจท่องเที่ยวเป็นธุรกิจแรกที่ได้รับผลกระทบ และแน่นอนว่ามีโอกาสจะเป็นธุรกิจท้าย ๆ ที่ฟื้นตัว Boat and Beyond ก็ไม่สามารถฝ่าคลื่นลมมรสุมที่ไม่ได้ตั้งตัวนี้ไปได้เช่นกัน พวกเธอไม่ได้ฟูมฟายหรือรอคอยความหวัง ยิ่งในช่วงที่ธุรกิจชะลอตัว ก็ต้องทำงานหนักขึ้น วางแผนด้านแบรนด์ดิ้ง ติดต่อเอเจนซี่เพื่อสร้างการรับรู้แก่ลูกค้าต่างชาติไว้เนิ่น ๆ นำข้อติ-ชมของลูกค้ามาปรับปรุงทุกด้าน เพื่อให้พร้อมเสมอสำหรับการเดินทางเพื่อสร้างความสุข “เราเหมือนต้องเริ่มต้นใหม่เลยค่ะ” บีกล่าวถึงการสร้างแบรนด์หลังชะงักไปช่วงหนึ่ง “สถานการณ์โควิด-19 มันเป็นจุดต่ำสุดของธุรกิจท่องเที่ยวแล้ว ถ้าเรารู้ว่าจุดต่ำสุดมันอยู่ตรงไหน ก็คาดการณ์ได้ว่าถ้าเราเจอวิกฤตอีกจะสามารถทำอะไรได้บ้าง เอาตัวโควิดมาเป็นจุดเรียนรู้ แล้วบริหารจัดการความเสี่ยง เราต้องแบ่งเงินทุนทั้งเพื่อขยายธุรกิจต่อ และอีกส่วนหนึ่งคือสำรองสำหรับเหตุการณ์ฉุกเฉินแบบนี้” โบในฐานะกุนซือด้านการวางแผนการเงินของบริษัทกล่าวเสริม รัตน์ศรัณย์ และ ทิพยาภรณ์ สะมาน สองพี่น้อง ผู้ก่อตั้ง “Boat and Beyond” นำเรือเล็กออกจากฝั่ง เพื่อพลิกโฉมเรือหางยาวสู่ทริปไพรเวท-พรีเมี่ยม จริงดังคาดเมื่อสถานการณ์โรคระบาดเริ่มคลี่คลาย Boat and Beyond ก็มีความพร้อม ด้วยฐานลูกค้าที่รอคอยใช้บริการทันที ในช่วงแรกลูกค้าหลักคือนักท่องเที่ยวชาวไทย ปัจจุบันเริ่มมีนักท่องเที่ยวและบล็อกเกอร์ต่างชาติติดต่อเข้ามา หลังเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยว ประเมินว่าสัดส่วนลูกค้าต่างชาติมากขึ้นไปที่ระดับ 60-70 % ถึงวันนี้หลังเปิดบริการเพียงปีเศษ เรือที่มีเพียง 1 ลำ ถูกเพิ่มเป็นกองเรือขนาดย่อม จำนวน 6 ลำ และมีเส้นทางเดินเรือเพิ่มขึ้นมีทั้งใน จังหวัดกระบี่ และ จังหวัดภูเก็ต พร้อมต้อนรับผู้มาเยือนไปสู่เส้นทางและประสบการณ์ที่แปลกใหม่ รัตน์ศรัณย์ และ ทิพยาภรณ์ สะมาน สองพี่น้อง ผู้ก่อตั้ง “Boat and Beyond” นำเรือเล็กออกจากฝั่ง เพื่อพลิกโฉมเรือหางยาวสู่ทริปไพรเวท-พรีเมี่ยม ลงเรือลำเดียวกัน แม้ทั้งคู่จะเป็นพี่น้องคลานตามกันมา แต่ทั้งโบและบียอมรับว่า เมื่อเริ่มทำธุรกิจ พวกเธอทะเลาะกันแทบทุกวัน แต่เป็นไปด้วยความตั้งใจเดียวกัน คือทำให้ Boat and Beyond เป็นแบรนด์ผู้ให้บริการล่องเรือหางยาวแบบเอ็กซ์คลูซีฟที่ดีที่สุด ด้วยหลักคิดเช่นนี้ ทำให้แม้สองสาวจะมีความต่าง แต่ก็มีจุดแข็งที่เติมเต็มกันและกัน ทำในสิ่งที่ตนเองเชี่ยวชาญ เป็นการลงเรือลำเดียวกัน ทำงานคนละส่วนแต่มองไปจุดหมายเดียวกัน เพราะเรือลำนี้ไม่ได้บรรทุกความฝันของโบและบีเท่านั้น แต่ยังมีพนักงาน ทั้ง คนต่อเรือ พนักงานขับรถ พนักงานขับเรือ ผู้ดูแลหรือ assistance พวกเขาเหล่านี้ล้วนมีครอบครัวที่ต้องดูแล เรือลำนี้จึงบรรทุกอีกหลายชีวิตร่วมเดินทางไปกับพวกเธอด้วย ทำให้ความเหนื่อยหรือย่อท้อไม่สามารถฉุดรั้งเป้าหมายได้ “โบคิดว่าการ give and take เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เราจะเน้นเรื่องการตอบแทนกลับให้กับโลคอล พยายามสร้างงานให้คนท้องถิ่น ให้กับสังคมรอบ ๆ ที่เข้าไปทำธุรกิจ เราใช้ทรัพยากร ใช้สถานที่ ควรให้อะไรตอบแทนกลับไปทั้งในแง่ของสิ่งแวดล้อมและชีวิตคนรอบข้าง” โบกล่าวถึงแนวคิดการทำธุรกิจ นอกจากการทำให้ Boat and Beyond อยู่ในรอดในโลกธุรกิจแล้ว การบ้านอีกข้อคือทำให้การนั่งเรือท่องเที่ยวแบบเอ็กซ์คลูซีฟ กลายเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดกระบี่ และเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่คนนึกถึงเมื่อมาเยือนมรกตอันดามันแห่งนี้ “ในระยะเวลาหนึ่งปีเศษ ที่เริ่มทำ Boat and Beyond บีรู้สึกว่ามันมาไกลกว่าที่คิด เราสองคนพี่น้องภูมิใจมาก ๆ เราเป็นคนที่นี่ ได้ช่วยคนท้องถิ่นให้มีงาน ทำให้จังหวัดกระบี่มีกิจกรรมที่ต้องมาทำ มากระบี่ต้องมาล่องเรือ Boat and beyond ช่วยสร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัด ถึงวันนี้การเดินทางไกลของสองสาวจะเริ่มต้นไม่นาน แต่พวกเธอก็เต็มไปด้วยพลังของคนรุ่นใหม่ที่กล้าทำ กล้าเปลี่ยนแปลง และแน่วแน่กับเป้าหมาย “นี่คือการสร้างมาตรฐานใหม่ของธุรกิจการล่องเรือหางยาว ทำให้ผู้ให้บริการรายอื่น หันมาสร้างมูลค่าเพิ่มเช่นกัน เราไม่ถือว่ามีใครเป็นคู่แข่งแต่เป็นพันธมิตรกัน แชร์กันเรื่องเทรนด์ความต้องการของลูกค้า เพราะเราทำธุรกิจคนเดียวไม่ได้ ทำให้ไม่มีการแข่งขันกันด้านราคา แต่จะเพิ่มคุณค่าด้านบริการ ก็ยิ่งเป็นผลดีต่อนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวบ้านเรา” โบกล่าว ในขณะที่บีทิ้งท้ายว่า “การทำงานตรงนี้มันมีอุปสรรคแน่นอน แต่ถ้าลูกค้าพูดแค่ว่าจะกลับมาใช้บริการใหม่อีก แล้วแนะนำบอกต่อเพื่อน ๆ ให้กลับมาที่กระบี่หรือภูเก็ตอีก แค่นี้พวกเราและทีมงานก็ยิ้มและดีใจกันแล้วค่ะ” รัตน์ศรัณย์ และ ทิพยาภรณ์ สะมาน สองพี่น้อง ผู้ก่อตั้ง “Boat and Beyond” นำเรือเล็กออกจากฝั่ง เพื่อพลิกโฉมเรือหางยาวสู่ทริปไพรเวท-พรีเมี่ยม