BrandThink ไม่ใช่สื่อ แต่คือ ‘แพลตฟอร์ม’ จากคำถาม “เราคือใคร?” สู่โมเดลธุรกิจใหม่ในโลกที่ฝนไม่ตกตามฤดูกาล

BrandThink ไม่ใช่สื่อ แต่คือ ‘แพลตฟอร์ม’ จากคำถาม “เราคือใคร?” สู่โมเดลธุรกิจใหม่ในโลกที่ฝนไม่ตกตามฤดูกาล
“ทุกวันนี้ ฝนไม่ตกตามฤดูกาลแล้ว...” เอกลักญ กรรณศรณ์ ผู้ก่อตั้งและผู้บริหาร BrandThink ฉายภาพรวมของโลกใบใหญ่ในเวลานี้ สำหรับเขา โลกในปี 2022 คือโลกที่คาดเดายากขึ้นกว่าเดิม การเปลี่ยนแปลงเดินทางมาหาเร็วขึ้น ถี่ขึ้น และประชิดตัวมากขึ้นในระดับรดต้นคอ “ผมคิดว่า โลกยุคนี้ไม่มีอะไรตายตัว ทุกอย่างมันเปลี่ยนแปลง ดิสรัปกันตลอดเวลา” BrandThink ไม่ใช่สื่อ แต่คือ ‘แพลตฟอร์ม’ จากคำถาม “เราคือใคร?” สู่โมเดลธุรกิจใหม่ในโลกที่ฝนไม่ตกตามฤดูกาล ในยุคที่ฝนไม่ตกตามฤดูกาล ช่วงปีที่ผ่านมาทำให้เขาตัดสินใจปรับองค์กรครั้งใหญ่และสร้างโมเดลธุรกิจด้วยแนวคิดใหม่ โดยควบรวมและต่อยอดบริษัทด้านโปรดักชั่นเฮาส์และสื่อออนไลน์ในเครือ สู่การเป็น ‘Content Provider Platform’ ที่สื่อสารแบบครบวงจรในนามของ BrandThink ใครที่ยังคงจดจำภาพ BrandThink ในวันแรกว่า พวกเขาเป็นสื่อด้านธุรกิจยุคใหม่ ขอบอกว่าคุณอาจต้องทำความรู้จักพวกเขามากขึ้น เพราะวันนี้ BrandThink เป็นมากกว่านั้น พวกเขาไม่ใช่แค่สื่อออนไลน์อีกต่อไป เล่าอย่างรวบรัดและปลดกระดุมบางเม็ดให้พอวาบหวาม BrandThink ในวันนี้ คือ บริษัทด้านการสื่อสารที่มุ่งสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก (positive change) ต่อผู้คนและสังคมด้วยแนวคิด “Create a Better Tomorrow” ที่พวกเขามุ่งมั่นและเอาจริงเอาจังในการทำให้เกิดขึ้นจริง จับต้องได้ ไม่ลอยลม ผ่านเซอร์วิสต่าง ๆ ที่ครอบคลุมทุกมิติการสื่อสาร ทุกมิติ…แม้ฟังดูมากมาย แต่เขาก็ยืนยันว่า สิ่งเหล่านั้นคือตัวตน ดีเอ็นเอ และเป็นสิ่งที่ BrandThink ลงลึกและเชี่ยวชาญ หลังผ่านการตั้งคำถาม “เราเป็นใคร?” มาอย่างหนักหน่วง “...และคำตอบของคำถามนี้ ผมว่าอย่างน้อยมันก็พาเรามายืนอยู่ในจุดนี้” จุดที่ BrandThink สามารถสร้างความแปลกใหม่ โดดเด่น มีสไตล์เฉพาะตัว ซึ่งแตกต่างจากสำนักคอนเทนต์อื่น ๆ ในเมืองไทย ทั้งหมดเกิดจากวิสัยทัศน์ที่แน่วแน่ ความหลงใหลอย่างแรงกล้า และความเชื่อมั่นในแนวทาง จนค่อย ๆ ก่อรูปขึ้นเป็นตัวตนที่ชัดเจนในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จุดที่ BrandThink แข็งแรงพอที่จะรับมือกับอุปสรรคที่ถาโถมเข้ามา ตั้งแต่กระแสดิสรัปชันของวงการสื่อ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรงของเทคโนโลยี จนถึงวิกฤตโรคระบาดโควิด-19  และทั้งหมดนี้เองที่ทำให้ BrandThink พร้อมแล้วที่จะปรับเปลี่ยนตัวเองอีกครั้ง เพื่อพาองค์กรไปข้างหน้า ท่ามกลางอนาคตที่ผันผวนและฝนฟ้าอาจไม่เป็นใจ BrandThink ไม่ใช่สื่อ แต่คือ ‘แพลตฟอร์ม’ จากคำถาม “เราคือใคร?” สู่โมเดลธุรกิจใหม่ในโลกที่ฝนไม่ตกตามฤดูกาล เปลี่ยน ‘เรื่องเล่า’ สู่ ‘ผลลัพธ์’  ที่จับต้องได้จริง ด้วยโมเดลการสื่อสารภายใต้ Content Provider Platform คอนเทนต์มีพลังแค่ไหน? สำหรับเอกลักญเชื่อว่าคอนเทนต์ไม่ใช่แค่เรื่องเล่า แต่เป็นสิ่งที่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงในเชิงรูปธรรมให้เกิดขึ้นได้จริง  แนวคิด “Create a Better Tomorrow” ของ BrandThink จึงแฝงไว้ด้วยความทะเยอทะยาน แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นโจทย์ที่สนุกและท้าทาย นั่นคือการสื่อสารนั้นจะต้องนำไปสู่การสร้างผลกระทบที่จับต้องได้ และการสื่อสารนั้นต้องอยู่ได้ในโลกความจริง โดยการผสมผสานสิ่งที่ ‘ขายได้’ (commercial) และการ ‘มีศิลปะ’ (art) ให้เข้ากันได้อย่างลงตัว “เราไม่อยากให้สิ่งที่เราทำ มันจบอยู่แค่ในความคิด หรือแค่สร้างการรับรู้ เราอยากให้มันเกิดเป็นรูปธรรม สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้จริง ๆ โดยการเปลี่ยน Storytelling ให้เป็น Storydoing สร้างอิมแพคในมิติที่เราต้องการจะขับเคลื่อน ถึงแม้ในช่วงเริ่มต้นจะเล็กแค่ไหน แต่เราก็อยากให้มันเกิดขึ้นแน่นอน เราอยากสร้างอิมแพคที่ใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ เกิดสปริงบอร์ด เกิดการเชื่อมต่อทางความคิดจริง ๆ”  ถามว่าคอนเทนต์จะสร้างอิมแพคระดับนั้นได้อย่างไร เอกลักญเชื่อมั่นว่าทั้ง 5 หน่วยธุรกิจภายใต้ร่ม BrandThink ที่มีชื่อเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า 5C ที่มาจากดีเอ็นเอ ความสนใจ ความเชื่อ ความชอบ และความเชี่ยวชาญของ BrandThink ที่ทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ สามารถสร้างสิ่งนั้นให้เกิดขึ้นได้  
  1. End to End COMMUNICATION - Create a Better ‘Conversion’
ในโลกที่คอนเทนต์ท่วมฟีด ผู้คนเปลี่ยนใจเร็วระดับเสี้ยววินาที ลูกค้าและแบรนด์ต้องการมากกว่าแค่ยอดไลค์ แชร์ หรือวิว BrandThink ตอบโจทย์ใหญ่นี้ด้วยการสื่อสารแบบ End-to-End ที่ร่วมคิดและทำการสื่อสารไปด้วยกันกับแบรนด์ นักการตลาด และลูกค้าตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง ด้วยทีมงานที่มีประสบการณ์จากเอเจนซี่โฆษณา การเป็นที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์การสื่อสาร และทีมคนรุ่นใหม่ที่สนุกกับการหาอินไซด์ของกลุ่มเป้าหมายในทุกเจเนอเรชั่น อีกทั้งยังเชี่ยวชาญในการผลิตไม่ว่างานจะสเกลเล็กหรือใหญ่ โดยทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ทั้งในภาคธุรกิจและสังคมที่หลากหลาย เพื่อสร้างแทคติกการสื่อสารที่ ‘เล่าดี สร้างอิมแพค และขายได้’ ไม่ว่าสิ่งที่ต้องการ ‘ขาย’ จะเป็นสินค้า, การเป็นที่รู้จักในกลุ่มลูกค้าใหม่ หรือการสร้างประสบการณ์ BrandThink พร้อมยืดหยุ่นและตอบโจทย์ด้วยสมการ Storytelling + Storydoing = Storyselling เพื่อสร้างผลลัพธ์ (Conversion) ให้เกิดขึ้นในโลกที่หมุนไวและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา “วันนี้เล่าเรื่องเก่งอย่างเดียวไม่พอ เรื่องราวดีแล้ว ต้องสร้างผลลัพธ์ที่ดีได้ด้วย” BrandThink ไม่ใช่สื่อ แต่คือ ‘แพลตฟอร์ม’ จากคำถาม “เราคือใคร?” สู่โมเดลธุรกิจใหม่ในโลกที่ฝนไม่ตกตามฤดูกาล โอ๋ - ปราณิศา ตันติวงษ์, Business Development Directorและ บอย - ยุทธนา เตชะรัตนประเสริฐ, Creative Director BrandThink ไม่ใช่สื่อ แต่คือ ‘แพลตฟอร์ม’ จากคำถาม “เราคือใคร?” สู่โมเดลธุรกิจใหม่ในโลกที่ฝนไม่ตกตามฤดูกาล ดูผลงาน https://advertising.brandthink.me/endtoend-communication  
  1. CONTENT - Create a Better ‘Impact’
“สมมติเราคิดแคมเปญขึ้นมาหนึ่งตัว ก็อยากจะผลิตคอนเทนต์ดี ๆ เพื่อบอกเล่าประเด็นที่น่าสนใจให้สังคมรับรู้ ขณะเดียวกันก็จะชวนพาร์ทเนอร์ที่มีวิสัยทัศน์ตรงกันเข้ามาร่วมขับเคลื่อนด้วยซึ่ง BrandThink มีเครื่องมือ มีพื้นที่ให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมได้เราไม่ได้ทำตูมเดียวแล้วหวังให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ แต่ถ้าลงมือทำไปเรื่อย ๆ ความเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ น้อย ๆ นี่แหละมันจะพาเราไปถึงจุดหมายได้เหมือนกัน” BrandThink ไม่ใช่สื่อ แต่คือ ‘แพลตฟอร์ม’ จากคำถาม “เราคือใคร?” สู่โมเดลธุรกิจใหม่ในโลกที่ฝนไม่ตกตามฤดูกาล เดียร์ - อินทรชัย พาณิชกุล, Editor in Chief คอนเทนต์คือทุกสิ่งที่ BrandThink พูดและทำ และน่าจะอธิบายตัวตนของพวกเขาได้อย่างชัดเจน ไม่ว่าคอนเทนต์นั้นจะออกมาในรูปแบบใด วิดีโอ บทความ ภาพถ่าย พอดแคสต์ คอนเทนต์ซีรีส์ โปรเจกต์ หรือแคมเปญ ล้วนมีประเด็นที่แหลมคม สนุก และแฝงไว้ด้วยพลังที่ต้องการขับเคลื่อนสังคมให้ดีขึ้น ทั้งในรูป Content เพียวและ Commerce ที่นำคอนเทนต์มาถ่ายทอดเรื่องราวของผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ที่มีความตั้งใจดี เพื่อซัพพอร์ตสินค้าแนว Creative and Betterment ให้สร้างอิมแพคและขายได้มากขึ้น โดยในปี 2022 BrandThink มีแผนยกระดับการทำงานให้มีความเป็นสื่อมืออาชีพในทุกมิติ เพิ่มคอนเทนต์ที่มีความหนักแน่นขึ้น เช่น สกู๊ป บทสัมภาษณ์พิเศษ วิดีโอสารคดี เพิ่มความวาไรตี้ของเนื้อหาและการนำเสนอในแต่ละ Channel ของ BrandThink ไม่ว่าพอดแคสต์ พิธีกร นักคิด นักเขียน คอนเทนต์และซีรีส์ใหม่ ๆ โดยทุก ๆ Channel ที่มีมากกว่า 10 Channels แม้จะมีเอกลักษณ์ที่ชัดเจน แต่ก็ทำงานสอดประสานและสนับสนุนกันและกันภายใต้แนวคิด ‘Multi Channel Network’ เพื่อให้คอนเทนต์ที่ทำ สร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมและผู้คนในวงกว้างมากกว่าเดิม BrandThink ไม่ใช่สื่อ แต่คือ ‘แพลตฟอร์ม’ จากคำถาม “เราคือใคร?” สู่โมเดลธุรกิจใหม่ในโลกที่ฝนไม่ตกตามฤดูกาล ดูผลงาน https://advertising.brandthink.me/content   
  1. COMMERCIAL - Create a Better ‘Image’
มีน้อยคนจะรู้ว่า จุดเริ่มต้นที่เป็นรากฐานของ BrandThink มาจากธุรกิจโปรดักชั่นเฮาส์โฆษณาเมื่อ 14 ปีที่แล้วในนาม ‘Dir4’ (เดอโฟร์) ที่โดดเด่นงานด้าน Visual และปัจจุบันพวกเขายังคงทำอย่างต่อเนื่องภายใต้ชื่อ BrandThink House ที่เป็นมากกว่าโปรดักชั่นเฮาส์ในแบบที่ใครหลายคนเข้าใจ พวกเขารับผลิตงานโฆษณาแบบ One Stop Service ในสเกลต่างๆ ทั้ง TVC – Digital Flim – Documentary – Online Content ทำหน้าที่เป็นคิวเรเตอร์ ที่สรรหาผู้กำกับที่เหมาะและแมทช์กับงานต่าง ๆ ได้อย่างลงตัว ไม่ว่าความลงตัวนั้นจะหมายถึง Quality หรือ Budget โดยทีมงานที่เข้าใจเรื่องแผนการผลิตและเงื่อนไขต่าง ๆ ของเนื้องานทั้งภาพเล็กและภาพกว้างที่พร้อมเซอร์วิสและเป็นเพื่อนคู่คิดเพื่อให้งานลุล่วงตามเป้าหมาย โดยตลอดหลายปีที่ผ่านมา พวกเขาทำงานร่วมกับ Big Brand ในหลากหลายอุตสาหกรรมทั้งในและต่างประเทศ เช่น OPPO, L'Oreal, Electrolux, Jonhson&Johnson, PTT, Honda, Beiersdorf และ Unilever เป็นต้น รวมถึงมี Hub of Directors  ที่เป็นศูนย์รวมของผู้กำกับทั้งรุ่นใหญ่และรุ่นใหม่ที่มีสไตล์งานเป็นเอกลักษณ์ เพื่อตอบโจทย์แบรนด์ สื่อสารกับกลุ่มผู้บริโภคที่หลากหลาย เข้าถึงอินไซด์ของผู้คน และที่สำคัญคือการสร้าง Brand Image ที่ดี “พอทุกอย่างเปลี่ยน บรีฟเปลี่ยน ลูกค้าเปลี่ยน ตอนนี้บัทเจ็ทอาจลดลง แต่ก็ดีตรงที่ มันทำให้คนคิดมากขึ้นในการสร้างสรรค์ผลงานว่าจะทำยังไงงานถึงจะออกมาดีที่สุดและเราภูมิใจกับมัน ” BrandThink ไม่ใช่สื่อ แต่คือ ‘แพลตฟอร์ม’ จากคำถาม “เราคือใคร?” สู่โมเดลธุรกิจใหม่ในโลกที่ฝนไม่ตกตามฤดูกาล ยุ้ย - ปารมี สุนทรวุฒินันท์, Executive Producer BrandThink ไม่ใช่สื่อ แต่คือ ‘แพลตฟอร์ม’ จากคำถาม “เราคือใคร?” สู่โมเดลธุรกิจใหม่ในโลกที่ฝนไม่ตกตามฤดูกาล ดูผลงาน https://advertising.brandthink.me/commercial   
  1. CINEMA - Create a Better ‘Motion Pictures’
ถ้าภาพยนตร์เคยเปลี่ยนชีวิตใครบางคนมาแล้ว แล้วทำไมภาพยนตร์ถึงจะเปลี่ยนสังคมในภาพใหญ่กว่านั้นไม่ได้ BrandThink CINEMA เริ่มต้นจากจุดนั้น ในฐานะผู้ผลิต พวกเขาคือสตูดิโอผลิตภาพยนตร์ ซีรีส์ และสารคดีที่มุ่งนำเสนอประเด็นทางสังคม เพื่อขับเคลื่อนสังคมให้ดีขึ้น เช่น อาทิตย์อัสดง (AFTER DARK) ซีรีส์สยองขวัญที่เล่าประเด็นทางสังคมอย่างแหลมคมของ WeTV Original และในฐานะคนรักหนัง พวกเขาต้องการสร้างพื้นที่ให้คนรักหนังมาพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน หรืออาจถึงขั้นร่วมงานและเป็นจุดเริ่มต้นของภาพยนตร์เรื่องหนึ่งขึ้นมาได้เลย โดยปีนี้จะมีผลงานให้ชมกันทั้งภาพยนตร์, ภาพยนตร์สารคดี รวมถึงซีรีส์อีกหลายเรื่อง รวมถึงการเปิดตัว www.brandthinkcinema.me แพลตฟอร์มเกี่ยวกับภาพยนตร์ที่รวบรวมผลงานทั้งจากผู้กำกับและนักศึกษา ข่าวสารวงการภาพยนตร์ที่น่าสนใจ หนังสารคดีสไตล์ Craft Visual อีกหลายเรื่อง เพื่อสร้าง Cinema ที่มีความหมายมากกว่าคำว่าภาพยนตร์ แต่คือ ‘ชุมชนคนรักหนัง’ ที่คนทำหนัง คนดูหนัง นักวิจารณ์ ได้มารวมกันให้เกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้  BrandThink ไม่ใช่สื่อ แต่คือ ‘แพลตฟอร์ม’ จากคำถาม “เราคือใคร?” สู่โมเดลธุรกิจใหม่ในโลกที่ฝนไม่ตกตามฤดูกาล ดูผลงาน www.brandthinkcinema.me    “น่าจะเป็นทางเลือกใหม่ ๆ สำหรับคนที่สนใจเรื่องหนัง เพราะเราเป็น Platform ที่เปิดให้ได้แสดงตัวตนและผลงาน ตั้งแต่ผลงานของ Filmmakers หน้าใหม่ ไปจนถึงผลงานที่มีรางวัลการันตีจากเวทีไทยและเทศ ที่สำคัญคือภาพยนตร์เหล่านี้สามารถชมได้ไม่จำกัด และยังสร้างรายได้ให้กับคนทำหนังด้วย” BrandThink ไม่ใช่สื่อ แต่คือ ‘แพลตฟอร์ม’ จากคำถาม “เราคือใคร?” สู่โมเดลธุรกิจใหม่ในโลกที่ฝนไม่ตกตามฤดูกาล ช้ง - ชาติชาย วรเพียรกุล, Business Development Director และ นุ้ย - ภณิดา งามสมพงษ์, Production Director  
  1. COMMUNITY - Create a Better ‘Change’
ชุมชน คือ หัวใจที่จะสร้างพลังการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นบวกกับ BrandThink ต้องการจะสร้างความเปลี่ยนแปลงที่จับต้องได้จริง พวกเขาจึงสร้างแพลตฟอร์มอย่าง www.thinkster.me ที่จะชวนคนทั่วไป องค์กรต่าง ๆ ทั้งเอกชน รัฐบาล ภาคธุรกิจ และภาคสังคมที่อยากสร้างการเปลี่ยนแปลงและสร้างสรรค์สิ่งดี ๆ ให้กับสังคมได้มาเจอกัน และที่สำคัญ BrandThink ต้องการสร้างพื้นที่การทำเพื่อสังคมที่ยั่งยืน โดยให้คนที่อยากเห็นสังคมดี สามารถสร้างรายได้จากการขับเคลื่อนสังคมผ่านการสร้างเนื้อหาในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่า... Creator Network แหล่งรวมครีเอเตอร์ทุกสายพันธุ์ เช่น นักเขียน ช่างภาพ วิดีโอครีเอเตอร์ กราฟิกดีไซเนอร์ ฯลฯ โดยเปิดพื้นที่ให้ครีเอเตอร์ได้สร้างผลงาน และรวบรวมผลงานเพื่อโชว์เป็น portfolio ขณะเดียวกันครีเอเตอร์ก็สามารถมีส่วนร่วมในการสร้างคอนเทนต์และสร้างสรรค์สิ่งดี ๆ เพื่อร่วมขับเคลื่อนสังคมได้ผ่านฟีเจอร์ต่าง ๆ ของ BrandThink Campaign การสร้างแคมเปญเชิงสังคม โดยผู้ใช้สามารถเป็นทั้งผู้สร้างแคมเปญและผู้ร่วมแคมเปญต่าง ๆ เพื่อขับเคลื่อนในประเด็นที่สนใจ โดยครีเอเตอร์สามารถสร้างคอนเทนต์เพื่อบอกเล่าแนวคิดและขับเคลื่อนประเด็นเชิงสังคมได้ โดยไม่จำกัดรูปแบบว่าคอนเทนต์นั้นจะเป็นบทความ ภาพถ่าย วิดีโอ เพลง ฯลฯ Creative Brief พื้นที่ที่แบรนด์และครีเอเตอร์มาเจอกัน และทำบางสิ่งด้วยกัน โดย BrandThink จะชวนแบรนด์มาสร้างโจทย์ ครีเอเตอร์ที่สนใจก็ส่งผลงานเข้ามาประกวด และมีสิทธิ์ได้เงินรางวัล เรียกว่าเป็นการเอาไอเดียมาเปลี่ยนเป็นรายได้ เพื่อให้แบรนด์ได้เจอครีเอเตอร์ที่ใช่ และครีเอเตอร์ได้สร้างงานที่สร้างรายได้ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนไปด้วยกัน BrandThink ไม่ใช่สื่อ แต่คือ ‘แพลตฟอร์ม’ จากคำถาม “เราคือใคร?” สู่โมเดลธุรกิจใหม่ในโลกที่ฝนไม่ตกตามฤดูกาล  www.thinkster.me  ทั้งหมดนี้ เอกลักญบอกว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะตั้งต้นจากความต้องการจะได้เงิน หรือเห็นว่ามันเป็น กระแสที่ต้องไป “เราไม่ได้สร้างเพราะเราเห็นว่ามันเป็นเรื่องที่ควรจะต้องทำ เราสร้างเพราะรู้สึกว่านี่คือตัวเรา เป็นสิ่งที่เราเชื่อ ชอบ และถนัดจริง ๆ” BrandThink ไม่ใช่สื่อ แต่คือ ‘แพลตฟอร์ม’ จากคำถาม “เราคือใคร?” สู่โมเดลธุรกิจใหม่ในโลกที่ฝนไม่ตกตามฤดูกาล ‘กระถางหลายใบ’ คำตอบธุรกิจและอนาคตของสื่อในนิยามของ BrandThink ย้อนกลับไปราวสองสามปีก่อน ถ้าวันนั้น BrandThink ยังคงฝืนต้านสายลมแห่งการเปลี่ยนแปลงของอนาคต วันนี้ก็ไม่รู้ว่า BrandThink จะยังมีอยู่หรือไม่ เอกลักญเองก็คงไม่กล้ายืนยัน แต่ที่แน่ ๆ สำหรับเขา โลกยุคนี้ไม่มีอะไรตายตัว การจะอยู่รอดในโลกยุคใหม่ คือต้อง ‘ยืดหยุ่น’ (flexible) และในช่วงที่ผ่านมา หน่วยธุรกิจทั้ง 5 หน่วยที่เอกลักญเปรียบว่าเป็น ‘กระถางรองรับน้ำฝน’ 5 ใบในวันที่ฝนไม่ตกตามฤดูกาล พิสูจน์แล้วว่าช่วยให้ BrandThink เป็นองค์กรที่ยืดหยุ่นได้จริง ๆ “ถ้าพูดถึงวิชั่นอนาคต ผมว่ามันไม่มีอะไรตายตัว ทุกอย่างมันเปลี่ยนแปลง ดิสรัปกันตลอดเวลา ผมว่าจุดสำคัญคือการสร้างกระถางรองรับน้ำฝนที่เป็นตัวเรา สร้างแพลตฟอร์มของเราเอง ในโลกยุคนี้ ถ้าเราทำสิ่งเดียว แต่นาน ๆ ฝนตกที แถมยังคาดเดาไม่ได้ด้วยว่าจะตกเมื่อไหร่ เราก็จะอาจรองน้ำฝนได้กระถางเดียว ถ้ากินไม่พอก็ตาย” “สมัยก่อนเรารู้เนอะ ถ้าทำสิ่งนี้แล้วจะเป็นยังไง แต่เดี๋ยวนี้ไม่รู้แล้ว โลกมันดิสรัปตลอดเวลา วันดีคืนดีอาจเกิดหิมะตกก็ได้ ตอบอะไรไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นเราควรมีกระถางที่มากกว่าหนึ่งใบ และกระถางนั้นต้องเป็นตัวเราเองจริง ๆ” ‘กระถางที่เป็นตัวเรา’ ฟังเผิน ๆ ดูเท่และสวย แต่พอลงรายละเอียดแล้วคือเรื่องที่ไม่ควรปล่อยผ่านและต้องไตร่ตรอง “อาจฟังดูปรัชญาไปหน่อย แต่ว่าต้องผ่านการเข้าใจว่า ‘เราคือใครจริง ๆ’ บางทีกว่าจะถึงจุดนี้ คนเราก็สร้างกระถางกันมั่วซั่วไปหมด แต่สุดท้ายถึงจุด ๆ หนึ่งจะรู้ว่า เราควรมีกระถางอะไรที่ควรเป็นของเราเองจริง ๆ ซึ่ง BrandThink ผมว่ากระถางของเราก็ประมาณนี้แหละครับ ไม่น้อยไม่มากไปกว่านี้” ถามในเชิงรูปธรรม การมีกระถางหลายใบดีอย่างไร เอกลักญบอกว่าจากบทเรียนในช่วงปีสองปีที่ผ่านมา กระถางเหล่านั้นได้พิสูจน์แล้วว่าคือคำตอบของที่อยู่และที่ยืนของ BrandThink ในอนาคต'' BrandThink ไม่ใช่สื่อ แต่คือ ‘แพลตฟอร์ม’ จากคำถาม “เราคือใคร?” สู่โมเดลธุรกิจใหม่ในโลกที่ฝนไม่ตกตามฤดูกาล ‘เปิดโลก ยืดหยุ่นและปรับตัว’ “การมีหลาย Bussiness Unit นอกจากเราสามารถบริหารความเสี่ยงได้ ไม่รู้ว่าคนอื่นเป็นยังไง แต่ผมว่าการที่เราทำอะไรหลายๆ อย่าง ผมว่าก็สนุกดีนะ บางทีเราขี้เบื่อ ถ้าต้องมานั่งทำคอนเทนต์อย่างเดียว โห ตื่นมาทุกวัน ประชุมกองบก. ทำวิดีโอหรือทำโฆษณาเพียงอย่างเดียว สำหรับผมนะ บางทีมันก็แอบซ้ำๆ แต่การที่เราทำอะไรหลายๆ อย่าง ผมว่ามันก็สนุกดี ทำให้เกิดความหลากหลาย แล้วก็ความหลากหลายที่ว่าไม่ใช่ความสนุกทางอารมณ์อย่างเดียว แต่มันช่วยให้เราเชื่อมโยงชุดความคิดความรู้ในหลายๆ มิติเข้าด้วยกัน “เช่น ในโปรเจกต์ฝั่ง Cinema ก็ทำให้เราได้รู้จักและได้ความรู้จากคนที่ทำงานภาพยนตร์ที่ทำด้วยกัน เรารู้เลยว่าเราได้แก่นบางอย่าง แล้วแก่นนั้นก็นำมาประยุกต์กับคอนเทนต์ได้ ซึ่งการสร้างความหลากหลาย เป็นประโยชน์ในหลายๆ มิติ ทั้งเรื่องความรู้ความคิด และถ้าพูดถึงธุรกิจ ความหลากหลายก็ทำให้เราได้เจอคนหลายกลุ่ม ก็สามารถสร้างพาร์ทเนอร์ เกิดเครือข่ายที่เชื่อมโยงถึงกัน ทำให้เราสามารถที่จะ flexible หรือสร้างความยืดหยุ่นได้จริง ๆ” เอกลักญบอกว่า หลังจากปรับทิศทางบริษัทมาได้ครบขวบปี วันนี้ BrandThink พร้อมจะยืดหยุ่น “และเรายืดหยุ่นได้จริง ๆ” เขาย้ำ “เพราะว่าเรามีหลายพื้นที่ให้เราไปยืน และในแต่ละช่วงเวลาก็มีพื้นที่ให้เราพร้อมปรับเปลี่ยนรับกับความเปลี่ยนแปลงในโลกยุคนี้” ถามว่ารับมือและยืดหยุ่นอย่างไร คงไม่ต้องซักไซ้ลงรายละเอียด เพราะคำตอบอยู่ในผลงานของ BrandThink ที่ผ่านมา    “เราคือใคร?” คำถามใหญ่ในโลกที่ฝนไม่ตกตามฤดูกาล มองไปในอนาคต อย่างน้อยในปี 2022 หรือไกลกว่านั้น เห็นอะไร? เอกลักญ นิ่งคิดก่อนย้ำว่า คำตอบในโลกวันนี้ไม่มีตายตัว แต่คำถามที่ควรถามตัวเองอยู่ตลอดเวลาคือ ‘Who are you?’  “ผมว่าคำถามนี้สำคัญมาก ๆ ในโลกอนาคต เพราะถ้าตอบไม่ได้ ก็ไม่รู้ว่าเราจะไปยืนอยู่ตรงไหนทันที และคำตอบของคำถามนี้ ผมว่าอย่างน้อยมันพาเรามายืนอยู่ในจุดนี้ …แล้วผมว่า คำตอบที่ได้ก็ไม่ได้เป็นคำตอบตายตัวนะ ไม่ได้เป็นปลายปิด แต่เป็นปลายเปิดด้วยซ้ำ เป็นคำตอบเพื่อจะได้ตั้งคำถามใหม่ในแต่ละช่วงเวลาไปเรื่อย ๆ “สมมติคำตอบในวันนี้ว่า BrandThink เป็นใคร เราเป็นบริษัทด้าน Content Provider Platform ที่ต้องการสร้างการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก ซึ่งก็มาจากการตั้งคำถามเล็กๆ อีกนับร้อยนับพันคำถาม เพื่อรวบความคิดออกมาเป็นคำตอบเดียวที่สามารถตอบทุกอย่างได้ดีที่สุด ทั้งวิชั่น ความเชื่อ ธุรกิจ ที่ต้องเกิดขึ้นได้จริง เรารู้แหละว่าการผสมผสานเรื่องของการทำ Commercial และการทำธุรกิจให้ไปด้วยกันกับเรื่อง Art เรื่อง Positive Change Driven ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็เป็นคำตอบท้าทาย ณ ขณะนี้ที่เราอยากไปให้ถึง” “ผมว่าคำตอบของคำถาม Who are you จะโตไปตามประสบการณ์ การเรียนรู้ของเราไปเรื่อยๆ ซึ่งการล้มเหลวก็สำคัญนะ ทำให้ได้คำตอบใหม่ บางทีเรามีคำตอบแล้ว เราคิดว่าเรามั่นใจมากเลย พอลงไปทำจริงๆ หกล้ม แต่พอหกล้ม ก็ได้คำตอบที่ชัดขึ้น บางทีเรามีคำตอบแล้วล่ะ ที่คิดว่ามันใช่ แต่บางทีพอลองทำแล้วพบว่าไม่ใช่ว่ะ มันต้องคมกว่านั้น มันต้อง   ลีนกว่านั้น มันก็จะเหลาตัวเองไปเรื่อย ๆ ไม่มีคำตอบตายตัว “สิ่งสำคัญอาจไม่ใช่คำตอบ แต่เป็น ‘คำถาม’ ผมว่าเราต้องถามตัวเองอยู่เสมอ เพื่อให้รู้ว่าเราคือใคร ทำอะไร กำลังยืนอยู่ในจุดไหน และต้องเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ต้องถามเอกลักญย้ำถ้าหยุดถามเมื่อไหร่ พัง อาจจะเดินเคว้ง หลุดไปไหนก็ไม่รู้เหมือนคำตอบของคำถามที่ว่า ชีวิตแปลว่าอะไร คงไม่มีแบบนั้นเนอะ” (หัวเราะ)