British Council : มากกว่าสถาบันสอนภาษา เพราะมันคือโอกาสในการพัฒนาชีวิต

British Council : มากกว่าสถาบันสอนภาษา เพราะมันคือโอกาสในการพัฒนาชีวิต
       “British Council คืออะไร?” ถ้ากำลังจะตอบว่าเป็นโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษแล้วละก็ ให้หยุดคำตอบนั้นไว้ก่อน เพราะความจริงแล้ว British Council ไม่ได้สอนแต่ภาษาอังกฤษเท่านั้นนะ! หลายคนอาจจะรู้จัก British Council จากการเป็นสถาบันสอนภาษาอังกฤษ แต่จริง ๆ แล้ว นอกเหนือจากการพัฒนาด้านภาษา British Council ยังเป็น “องค์กรเพื่อการพัฒนาความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมและการศึกษา” เรียกง่าย ๆ ว่าพวกเขาเป็นเหมือนสะพานที่เชื่อมต่อระหว่างไทยกับสหราชอาณาจักร ให้ผู้คนจากทั้งสองประเทศได้มีโอกาสพบปะซึ่งกันและกัน พร้อมกับแลกเปลี่ยนความรู้และวัฒนธรรมผ่านโครงการต่าง ๆ โดยมีหัวใจสำคัญเป็นการพึ่งพาอาศัยกันของทั้งสองประเทศ ซึ่งปีนี้ก็เป็นปีที่ 67 แล้ว ที่ British Council ได้เข้ามาร่วมงานกับประเทศไทย ทาง The People ได้มีโอกาสพูดคุยกับ มร. แอนดรูว์ กลาส ผู้อำนวยการ ประจำประเทศไทย ถึงบทบาทของพวกเขาในด้านที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้จัก

พวกเขาทำด้านวิทยาศาสตร์ด้วยเหรอ?

ถึงจะเป็นที่รู้จักเรื่องภาษาอังกฤษ แต่วิทยาศาสตร์ก็เป็นอีกหนึ่งอย่างที่สถาบันแห่งนี้ให้ความสำคัญ โดยอาศัยแนวคิดที่ว่า งานวิจัยควรจะสามารถนำไปพัฒนาเพื่อใช้ได้จริง โครงการ University-Industry Link จึงถูกตั้งขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้มหาวิทยาลัยและภาคอุตสาหกรรม ได้เข้ามาร่วมกันพัฒนางานวิจัย ให้กลายเป็นนวัตกรรมที่สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดได้ British Council : มากกว่าสถาบันสอนภาษา เพราะมันคือโอกาสในการพัฒนาชีวิต        นอกจากนี้ ยังมีการตั้งโครงการ Newton Fund โครงการที่มอบทุนสนับสนุนให้เหล่านักวิจัย ได้มีโอกาสสานต่องานวิจัยของตัวเอง และยังมีโครงการ Fame Lab การแข่งขันเล่าเรื่องวิทยาศาสตร์แบบเข้าใจง่าย ที่ได้สาวน้อยคนดังอย่าง เฌอปราง bnk48 มาช่วยโปรโมท ให้ทุกคนรู้สึกว่า “ใครก็เป็นนักวิทยาศาสตร์ได้” แม้ว่าประเทศไทยจะมีทรัพยากรที่สำคัญหลายอย่าง แต่ก็ยังขาดนวัตกรรมใหม่ๆที่จะเข้ามาช่วยให้เศรษฐกิจและสังคมมีความก้าวหน้า การสนับสนุนนวัตกรรมที่สร้างจากคนไทยจึงเป็นหนึ่งโครงการของสถาบันที่น่าจับตามอง

“เศรษฐกิจสร้างสรรค์” พัฒนางานหัตถกรรมไทยให้ประจักษ์สู่สากล

“เศรษฐกิจสร้างสรรค์” หรือการผลิตสินค้าที่เน้นการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ถือได้ว่าเป็นเทรนด์เศรษฐกิจที่มาแรงในช่วงปีที่ผ่านมา ซึ่งพวกเขาไม่ได้เพียงให้ความสนใจกับการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์แค่ในตัวเมืองเท่านั้น แต่ยังขยายขอบเขตสู่ชุมชนนอกเมือง โดยใช้ความรู้ด้านหัตถกรรมเป็นแกน ให้ช่างฝีมือทั้งของไทยและอังกฤษ ได้มาแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการออกแบบและงานฝีมือ เพื่อพัฒนางานฝีมือพื้นเมืองให้ดูมีความทันสมัยมากขึ้น และนำผลงานที่ได้จากความร่วมมือของทั้งสองประเทศออกแสดงสู่สากล หนึ่งในผลงานด้านหัตถกรรมคือโครงการ Crafting Future ที่มีเป้าหมายเพื่อฟื้นฟูการทอผ้าไทลื้อในอำเภอปัว จังหวัดน่าน ซึ่งเน้นการนำวัฒธรรมดั้งเดิมอย่างผ้าไทลื้อ มาต่อยอดเป็นธุรกิจเพื่อความยั่งยืนของชุมชน British Council : มากกว่าสถาบันสอนภาษา เพราะมันคือโอกาสในการพัฒนาชีวิต        เมื่อพูดถึงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ คนส่วนมากจะนึกถึงงานศิลปะหรือสถาปัตยกรรม การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในเศรษฐกิจสร้างสรรค์ จึงอีกแนวทางของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่อาจเปิดโอกาสในการสร้างอาชีพให้กับชุมชน และช่วยทำให้มรดกไทยได้ปรากฏสู่สายตาชาวโลกมากขึ้น นอกเหนือจากนี้พวกเขายังได้สนับสนุนการสร้าง Creative Hub ศูนย์กลางความคิดสร้างสรรค์ ผ่านการอบรมผู้ดูแล Creative Hub 60 คนทั่วประเทศ เพื่อให้ประเทศไทยมีแหล่งรวบรวมไอเดียสร้างสรรค์ และพื้นที่ส่วนกลางที่กระตุ้นให้เกิดการระดมความคิดของผู้คนในสังคม

ไทยแลนด์ 4.0 และ โกลบอลบริเทน

เพื่อตอบโจทย์กับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 British Council ได้มุ่งเน้นที่จะพัฒนาประเทศไทยในด้านนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ แต่ถึงแม้ประเทศไทยจะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางนโยบายอย่างไร พวกเขาก็ยังยึดอยู่กับการพัฒนาสามด้านหลักอย่าง ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ รวมถึงข้อสำคัญที่ว่า ทั้งไทยและสหราชอาณาจักรจะต้องช่วยเหลือเพื่อประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองประเทศ โดย British Council ได้มีแผนในการส่งเสริมให้สหราชอาณาจักรเป็นเป้าหมายการศึกษาจากทั่วโลก ตามนโยบายเปิดประเทศของโกลบอลบริเตน British Council : มากกว่าสถาบันสอนภาษา เพราะมันคือโอกาสในการพัฒนาชีวิต “ทุกกิจกรรมที่เกิดขึ้นภายใต้ British Council จะต้องเป็นสิ่งที่สร้างประโยชน์ให้กับทั้งประเทศไทย และสหราชอาณาจักร ตามเจตนาแรกเริ่มของการก่อตั้ง British Council” มร. แอนดรูวกล่าว แผนการดำเนินงานของสถาบัน แสดงให้เห็นถึงความมั่นคงในเป้าหมายที่พวกเขามีมาตั้งแต่แรกเริ่ม แต่ก็ยังคำนึงถึงสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป และพร้อมที่จะตอบสนองนโยบายใหม่ทางการเมือง

ภาษาสร้างโอกาสในชีวิต

ในยุคที่โลกไร้พรมแดน ภาษากลายมาเป็นทั้งกำแพงและตัวเชื่อมสำหรับ British Council ในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ เมื่อการแลกเปลี่ยนความรู้ยังจำเป็นต้องใช้ภาษา การยกระดับภาษาอังกฤษในประเทศไทย จึงเป็นมิชชั่นสำคัญของพวกเขา เพื่อให้คนไทย สามารถโชว์ศักยภาพได้บนเวทีสากล การยกระดับทางภาษาที่ว่านี้ ไม่ได้จำกัดแค่การสอนภาษาอังกฤษเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการสร้างคุณครูภาษาอังกฤษ ที่จะเป็นผู้นำในการสอนเด็กรุ่นใหม่ให้สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ และเข้าใจถึงความสำคัญของการเรียนภาษา ซึ่งในหลายปีที่ผ่านมา British Council ได้อบรมครูภาษาอังกฤษทั้งในระดับประถมและมัธยมศึกษาทั้งหมด 17,000 คนทั่วประเทศ ไปพร้อมกับการสอนภาษาอังกฤษระดับบุคคลทั้งหมด 11,000 คน ผ่านสถาบันสอนภาษา 6 แห่งในกรุงเทพและเชียงใหม่ “เราพบนักวิทยาศาสตร์ที่มีความสามารถในประเทศไทย และพวกเขาอยากที่จะทำงานในระดับสากล แต่ถ้าพวกเขาใช้ภาษาอังกฤษไม่ได้ มันก็เป็นเรื่องยากที่พวกเขาจะทำงานวิจัยร่วมกับต่างชาติ ไม่ใช่แค่กับสหราชอาณาจักร แต่รวมไปถึงประเทศอื่นๆเช่นกัน” มร. แอนดรูว์เสริม British Council : มากกว่าสถาบันสอนภาษา เพราะมันคือโอกาสในการพัฒนาชีวิต        เพราะในปัจจุบัน โลกของเราถูกเชื่อมต่อเข้าด้วยกันอย่างไม่มีเส้นแบ่ง ภาษาจึงเป็นสิ่งช่วยให้เราได้มีโอกาสเรียนรู้สิ่งใหม่ ค้นพบวัฒนธรรมใหม่ หรือพบเจอกับผู้คนจากหลากชาติหลากความคิด โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษาที่คนจากเกือบทั่วทุกมุมโลกใช้ในการสื่อสาร ภาษาอังกฤษจึงเป็นกุญแจที่จะสามารถเปิดประตูโอกาสให้คุณได้อย่างไร้ขอบเขต เรื่อง : พัทธมน สินธุวณิชเศรษฐ์