บุรินทร์ บุญวิสุทธิ์ กับความหลงใหลในแผ่นเสียง ที่แค่ให้มีตังค์อย่างเดียวก็ซื้อไม่ได้

บุรินทร์ บุญวิสุทธิ์ กับความหลงใหลในแผ่นเสียง ที่แค่ให้มีตังค์อย่างเดียวก็ซื้อไม่ได้

บุรินทร์ บุญวิสุทธิ์ กับความหลงใหลในแผ่นเสียง ที่แค่ให้มีตังค์อย่างเดียวก็ซื้อไม่ได้

       หลายคนอาจจะรู้จัก บุรินทร์ บุญวิสุทธิ์ ในฐานะนักร้องนำแห่งวง Groove Rider หรือบทบาทนักธุรกิจผู้นำเข้ารถหรูจากต่างประเทศ แต่อีกมุมหนึ่งที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ด้วยนั่นก็คือชายคนนี้คือนักเล่นแผ่นเสียงตัวยง ความหลงใหลต่อแผ่นเสียงนับพันๆ แผ่นของเขาเปรียบเสมือนความสุขเหนือความสุขของชายคนนี้

เริ่มต้นเก็บแผ่นเสียงจากการฟังเพลง

      บุรินทร์ ต้องใช้เวลาช่วงหนึ่งของชีวิตอยู่ต่างแดนอย่างสหรัฐฯ และโชคดีเหลือเกินที่เขามีดนตรีคอยอยู่ข้าง ๆ เสมอ บุรินทร์ได้รับการปลูกฝังในด้านการฟังเพลงที่ดีมาจากครอบครัว เขาเล่าย้อนว่าความหลงใหลในแผ่นเสียงของเขาเริ่มต้นมาจากการฟังเพลงในสมัยช่วงมหาวิทยาลัยนั่นเอง

“มันเริ่มจากการฟังเพลงครับ แล้วก็มาถึงในยุคมหาวิทยาลัยช่วงเรียนมหาวิทยาลัยปี 2 -3 เนี่ย คือยุคนั้นมันเป็นยุคที่ เราก็ฟังเพลงอิเล็คทรอนิกส์ด้วย มันก็จะมีอุปกรณ์ดีเจ ซึ่งตอนนั้นมันก็เริ่มแพร่หลายพอสมควร ก็เริ่มจากการที่อยากจะเป็นดีเจอยากจะมิกซ์เพลง ต่อเพลงแล้วก็เล่นกันในบ้านนี่แหละ แล้วสุดท้ายมันก็เริ่มเก็บแผ่นเสียงมา เริ่มจากแผ่นที่มันเป็นอิเล็กทรอนิกส์ด้วยพวกแนวเอซิดแจ๊สยุคนั้นผมชอบฟังมาก แผ่นเพลงโซลบางอย่างพวกรีมิกซ์ต่าง ๆ อะไรก็ตามที่เราสามารถเอามามิกซ์ได้ มันก็เริ่มจากจุดนั้นมา” บุรินทร์ บุญวิสุทธิ์ กับความหลงใหลในแผ่นเสียง ที่แค่ให้มีตังค์อย่างเดียวก็ซื้อไม่ได้

      ปัจจุบันเทคโนโลยีกำลังเข้ามา disrupt สิ่งต่างๆ โดยเฉพาะวงการเพลงที่ได้รับผลกระทบเต็ม ๆ สตรีมมิ่งเกิดขึ้นและมาพร้อมกับการหายไปของ ซีดี เทป และแผ่นเสียง เรียกได้ว่าผลงานเพลงที่เป็น physical กำลังจะตายอย่างสมบูรณ์ แต่สำหรับนักฟังเพลงอย่างบุรินทร์แล้วคุณภาพเสียงที่ได้จากแผ่นเสียงเปรียบเหมือนสวรรค์บนดินของเขา และนั่นก็กลายเป็นจุดเปลี่ยนจริง ๆ ของการสะสมแผ่นเสียง

“จุดที่เปลี่ยนอย่างหนักจริง ๆ คือยุคที่ซีดีเริ่มหายไป แล้วก็พวกดิจิทัลพวกสตรีมมิ่งหรือการฟัง mp3 ในยุคนั้นมันเริ่มเข้ามา มันทำให้ผมรู้สึกอย่างหนึ่งว่า ผมไม่อยากฟังเพลงที่มันมีคุณภาพน้อยลงกว่าสิ่งที่พวกเราเคยทำมา คือเราเคยฟังซีดีมามันก็มีคุณภาพที่ชัดเจนเข้มข้นพอ พวก mp3 ในยุคนั้นมันเป็นยุคแรกๆ ซึ่งซาวด์มันไม่ดีเลย เสียงเบสไม่ค่อยดี เสียงแหลมก็ไม่มีเสียงกลางก็ไม่ออก ซึ่งเรารู้สึกว่ามันไม่ไหวแล้ว ผมอยากจะกลับไปฟังอะไรที่มันเป็นดนตรีจริง ๆ อีกครั้งนึง”

บุรินทร์ บุญวิสุทธิ์ กับความหลงใหลในแผ่นเสียง ที่แค่ให้มีตังค์อย่างเดียวก็ซื้อไม่ได้

      กระบวนการ Mix&Mastering แทร็คเพลงในแบบอนาล็อก จะให้เสียงที่ออกมามีความนุ่มนวลกว่ากระบวนการแบบดิจิทัลในสมัยใหม่ เสียงกลองที่ต่างกัน องค์ประกอบที่ฟังดูมิติกว่ามากจนรู้สึกเหมือนคนละเวอร์ชั่น ทำให้บุรินทร์เข้าใจว่าจะไม่มีสิ่งใดลบแผ่นเสียงออกจากใจเขาได้

“มันก็เป็นยุคที่ซีดีไม่ค่อยมีแล้วเป็นยุคที่ Tower Records ปิดทั่วโลก ผมก็เลยต้องกลับไปหาแผ่นเสียงอีกครั้งหนึ่ง มันมีชุดนึงน่ะครับที่ผมคิดว่ามันเปลี่ยนแปลงวิธีการซื้อเพลงของผมเลยคือ ชาเด ผมซื้อชุดรวมฮิตมา Best of Sade ผมได้ฟังแล้วผมรู้สึกว่า เฮ้ยทำไมมันไม่เหมือนเราฟังจากไวนิลนะ ทำไมมันไม่เหมือนกับสิ่งที่เราฟังตั้งแต่เด็กเลย อย่างในซีดีต่าง ๆ ที่เราเคยฟังมา เสียงกลองทำไมมันกลายเป็นแบบนี้ได้อย่างไร มันก็เกิดความคิดในหัวของเราว่า ทำไมเราไม่เก็บเพลงยุคที่มันเป็นอนาล็อกในยุคนั้นทั้งหมด ผมก็เลยเริ่มกลับไปเก็บเพลงที่ตัวเองชอบในยุคนั้นทั้งหมด ยุค 80s, 90s ก่อนที่จะเป็นดิจิทัล ก่อนที่จะมีซีดีพอไปฟังเทียบกันแล้วมันแตกต่างกันจริง ๆ มันก็เลยเริ่มฟังมาเรื่อย ๆ เก็บมาเรื่อย ๆ" บุรินทร์ บุญวิสุทธิ์ กับความหลงใหลในแผ่นเสียง ที่แค่ให้มีตังค์อย่างเดียวก็ซื้อไม่ได้

        จากความชื่นชอบในผลงานช่วงยุคทองของดิสโก้อย่าง ชิค หรือ เจมส์ บราวน์ จนทำให้หลายคนตั้งฉายาให้ บุรินทร์ ว่าเป็น “เจ้าพ่อดิสโก้” เมืองไทย แต่นอกจากดนตรีแนวดิสโก้ที่เขาชื่นชอบแล้ว บุรินทร์ถือเป็นคนที่ชื่นชอบดนตรีในหลากหลายแนว โดยเรียกได้ว่าฟังได้ตั้งแต่แจ๊สยันหมอลำ

“จริง ๆ ผมฟังได้ทุกแนวได้ตั้งแต่หมอลำยันโอเปร่าเลย จะร็อกหรือแจ๊สผมฟังได้หมด ลูกกรุงเองก็เป็นอะไรที่ผมชอบฟังโดยเฉพาะเพลงของคุณลุงสุเทพ วงศ์กำแหง, ชรินทร์ นันทนาคร, สวลี ผกาพันธุ์ หรือแม้กระทั่งสุนทราภรณ์ผมก็ฟัง ถ้าแจ๊สสายเครื่องทองเหลือง เครื่องเป่าผมก็ชอบ ลี มอร์แกน, คลิฟฟอร์ด บราวน์ ถ้านักร้องสายโซลผมชอบ เอริกา บาดูว, ดิ แองเจโล, มาร์วิน เกย์, ไมเคิล แจ็คสัน ซึ่ง จามิโรไคว ก็เป็นหนึ่งคนที่ชื่นชอบมาตั้งแต่เด็ก ส่วนคนที่ชอบที่สุดผมตัดสินโดยการที่ว่าผมร้องเพลงของเขาได้มากที่สุด ชายคนนั้นก็คือ สตีวี วันเดอร์” “เรื่องของเสียง” คือเสน่ห์ของแผ่นเสียงและแม้ว่าเทคโนโลยีจะล้ำยุคขนาดไหน เสน่ห์ของเข็มจากเครื่องเล่นที่กดผ่านร่องเล็ก ๆ บนแผ่นเสียงย่อมเป็นอะไรที่ไม่สามารถหาสิ่งใดมาทดแทนได้

แผ่นเสียงเป็นอะไรที่ต่อให้มีตังค์ก็ซื้อไม่ได้บุรินทร์ บุญวิสุทธิ์

  ภาพจาก : IG Burin_Boonvisut