โครงการ “ตามรอยพ่อฯ” ปีที่ 9 ฝ่าวิกฤตด้วยศาสตร์พระราชา ด้วยบทเรียนออนไลน์ “คู่มือสู่วิถีกสิกรรมธรรมชาติ”

โครงการ “ตามรอยพ่อฯ” ปีที่ 9 ฝ่าวิกฤตด้วยศาสตร์พระราชา ด้วยบทเรียนออนไลน์ “คู่มือสู่วิถีกสิกรรมธรรมชาติ”

บทเรียนออนไลน์ “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”

โครงการ “พลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน” ปีที่ 9 โดยพันธมิตรจาก บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และภาคีเครือข่าย เดินหน้าส่งต่อศาสตร์พระราชา และหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแก่ประชาชน ภายใต้แนวคิด “9 ปี แห่งพลังสามัคคี ฟันฝ่าทุกวิกฤต สู่ทางรอดที่ยั่งยืน” พร้อมขยายผลความสำเร็จสู่การเปิดตัวบทเรียนออนไลน์ “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” บทเรียนแรกของ “คู่มือสู่วิถีกสิกรรมธรรมชาติ” ซึ่งจะมีการเผยแพร่บนเฟซบุ๊กและเว็บไซต์ของโครงการอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการปฏิบัติจริง โดยได้มีการจัดงานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการตามรอยพ่อฯ ปีที่ 9 ไปเมื่อเร็ว ๆ นี้ ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร นายกสมาคมดินโลก และผู้ก่อตั้งมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ กล่าวโดยรวมว่า ศาสตร์พระราชาคือ องค์ความรู้ในการจัดการดิน น้ำ ป่า และพัฒนาคน ซึ่งนำไปสู่ทางรอดของทุกวิกฤต เพราะประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ภายใต้รากฐาน 4 พอ ได้แก่ พออยู่ พอกิน พอใช้ และพอร่มเย็น ซึ่งแนวทางดังกล่าวได้แสดงผลลัพธ์เชิงประจักษ์ตั้งแต่เกิดวิกฤตโควิด-19 ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา หลังจากคนในชุมชนสามารถเลี้ยงชีวิตช่วงล็อกดาวน์ได้จากพืชพันธุ์ที่เพาะปลูกเอง โดยดร.วิวัฒน์ได้กล่าวเสริมว่า แท้จริงแล้วพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเตือนสติคนไทยมากว่า 17 ปี ผ่าน ส.ค.ส. พระราชทาน ตั้งแต่ปี 2547 ด้วยข้อความว่า ‘สามัคคีเป็นพลังค้ำจุนแผ่นดินไทย’ เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงภัยอันตรายที่จะมาเยือนประเทศไทยอนาคต ไม่ว่าจะเป็นภัยธรรมชาติ โรคระบาด ความอดอยาก หรือความขัดแย้งในสังคม ซึ่งประชาชนที่ตระหนักและใช้ชีวิตตามรอยศาสตร์พระราชาจะสามารถช่วยเหลือตนเอง และนำกำลังไปช่วยเหลือผู้อื่นให้รอดพ้นจากวิกฤตได้อย่างยั่งยืน โครงการ “ตามรอยพ่อฯ” ปีที่ 9 ฝ่าวิกฤตด้วยศาสตร์พระราชา ด้วยบทเรียนออนไลน์ “คู่มือสู่วิถีกสิกรรมธรรมชาติ” ด้าน นายไตรภพ โคตรวงษา ประธานมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ ได้เผยว่า มีการแบ่งทีมรับมือวิกฤตโควิด-19 ผ่านความร่วมมือของมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติและเครือข่ายทั้งหมด 5 ทีม ได้แก่
  1. ทีม CMS (Crisis Management Survival Camp) ทำหน้าที่การเก็บข้อมูลของสมาชิกเครือข่าย เพื่อประเมินสถานการณ์ วางแผนงาน และพัฒนาไปสู่การสร้างศูนย์พักพิง
  2. ทีมบวร เกิดจากความร่วมมือของบ้าน วัด และโรงเรียน ในการรวบรวมข้อมูลของสมาชิกเครือข่ายตั้งแต่ระดับหมู่บ้านไปจนถึงระดับลุ่มน้ำ เพื่อนำข้อมูลมาแลกเปลี่ยนและช่วยเหลือกัน
  3. ทีมพอรักษา เกิดขึ้นเพื่อแบ่งปันข้อมูลและแนวทางในการรักษาด้วยอาหาร ยา สมุนไพร รวมถึงเทคนิคทางการแพทย์ต่าง ๆ โดยมุ่งเป้าช่วยเหลือประชาชนอย่างเร่งด่วนช่วงโควิด-19 ระบาด ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
  4. ทีมสื่อพอดี ทำหน้าที่เก็บข้อมูลจากทีมอื่น ๆ เพื่อสร้างสรรค์สื่อในการกระจายความรู้ หรือประชาสัมพันธ์ข่าวสารผ่านทางช่องทางต่าง ๆ 
  5. ทีมข้อมูล ทำหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อใช้ในการบริหารจัดการและขับเคลื่อนเครือข่าย
นอกจากนี้ ตั้งแต่วิกฤตโควิด-19 ระบาดระลอกแรก ทางมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติยังได้จัดตั้ง Line Open Chat ขึ้น เพื่อให้ความรู้และกระจายข้อมูลข่าวสาร โดยประชาชนทั่วไปสามารถเข้าร่วมกลุ่ม และขอคำแนะนำจากอาสาสมัครและสมาชิกคนอื่นได้ทุกที่ทุกเวลา ถือเป็นการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยลดช่องว่างระหว่างการแพร่ระบาดในช่วงนี้ โครงการ “ตามรอยพ่อฯ” ปีที่ 9 ฝ่าวิกฤตด้วยศาสตร์พระราชา ด้วยบทเรียนออนไลน์ “คู่มือสู่วิถีกสิกรรมธรรมชาติ” สำหรับการสร้างความมั่นคงทางอาหาร เพื่อต่อสู้กับวิกฤต นายโจน จันใด ผู้ก่อตั้งสวนพันพรรณ ศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพึ่งตนเองและศูนย์เมล็ดพันธุ์ และประธานธรรมธุรกิจ เน้นย้ำกว่า “การพึ่งตนเองคือรากฐานของทุกชีวิตที่ทำได้จริง” พร้อมกล่าวแนะนำให้ทุกคนกลับมาคิดถึงการพึ่งตนเองและพึ่งกันเองในเรื่องอาหารเป็นอันดับแรก โดยที่คนเมืองเองก็สามารถปลูกผักสวนครัวรับประทานได้ ไม่ว่าจะเป็นการเพาะถั่วงอก หรือการปลูกผักแนวตั้ง รวมถึงเสนอให้เชื่อมต่อกับกลุ่มเกษตรกร เพื่อขอวัตถุดิบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ในการเพาะปลูก โครงการ “ตามรอยพ่อฯ” ปีที่ 9 ฝ่าวิกฤตด้วยศาสตร์พระราชา ด้วยบทเรียนออนไลน์ “คู่มือสู่วิถีกสิกรรมธรรมชาติ” “การพึ่งตนเองในอันดับแรกคือการพึ่งปัจจัย 4 อาหาร ที่อยู่อาศัย ข้าวของเครื่องใช้ และการดูแลรักษาสุขภาพ โดยที่อาหารคืออันดับแรกที่จะต้องคิดถึง ฉะนั้นถ้าจะพึ่งตนเองเรื่องอาหาร เราต้องมาคิดถึงว่า เราจะต้องกลับมาเรียนรู้การปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์ การทำอาหารกินเอง คนที่มีที่อยู่แล้วจะต้องเรียนรู้การปลูก ซึ่งการมาเรียนรู้การทำอาหาร ไม่ใช่การทำงาน มันเป็นการใช้เวลาวันละไม่กี่นาที แต่สร้างความเปลี่ยนแปลงในชีวิตมหาศาล มันทำให้เราพึ่งตนเองได้” โครงการ “ตามรอยพ่อฯ” ปีที่ 9 ฝ่าวิกฤตด้วยศาสตร์พระราชา ด้วยบทเรียนออนไลน์ “คู่มือสู่วิถีกสิกรรมธรรมชาติ” ในส่วนของ นายอาทิตย์ กริชพิพรรธ ผู้จัดการใหญ่ฝ่ายสนับสนุนธุรกิจ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด เผยว่าทางโครงการฯ ได้เปิดตัว “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” บทเรียนออนไลน์คลิปแรกของ “คู่มือสู่วิถีกสิกรรมธรรมชาติ” เพื่อส่งต่อองค์ความรู้เกี่ยวกับศาสตร์พระราชาและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รวม 14 บทให้แก่ผู้ที่สนใจสามารถรับชมผ่านลิงก์เฟซบุ๊กและเว็บไซต์ข้างต้นของบทความได้ตลอด นอกจากนี้ ทางโครงการฯ ยังมีการส่งเสริมและสนับสนุนการทำงานของมูลนิธิและเครือข่ายผ่าน “สื่อพอดี” โดยจะเน้นไปที่การสื่อสารบนแพล็ตฟอร์มออนไลน์ เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นคู่มือสู่วิถีกสิกรรมธรรมชาติที่กล่าวไปข้างต้น หรือ “สกู๊ปคนมีใจ” ที่รวบรวมเรื่องราวของ 7 บุคคลที่ประสบความสำเร็จจากการเดินตามรอยศาสตร์พระราชา เพื่อส่งต่อแรงบันดาลใจให้ผู้อื่น โครงการ “ตามรอยพ่อฯ” ปีที่ 9 ฝ่าวิกฤตด้วยศาสตร์พระราชา ด้วยบทเรียนออนไลน์ “คู่มือสู่วิถีกสิกรรมธรรมชาติ” สุดท้ายนายอาทิตย์ยังกล่าวว่าจะมีการจัดกิจกรรมในอนาคตอย่าง กิจกรรมเอามื้อสามัคคีที่จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อให้ผู้ที่มีความสนใจได้เข้ามาเรียนรู้ รวมถึงลงมือปฏิบัติจริงในกิจกรรมลงแขกอย่างโบราณ โดยแผนงานทั้งหมดจะจัดขึ้นภายใต้มาตรการรักษาความปลอดภัยด้านสุขอนามัยอย่างเคร่งครัด ซึ่งใครที่สนใจสามารถติดตามข่าวสาร หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทางเพจเฟซบุ๊ก “พลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน” โครงการ “ตามรอยพ่อฯ” ปีที่ 9 ฝ่าวิกฤตด้วยศาสตร์พระราชา ด้วยบทเรียนออนไลน์ “คู่มือสู่วิถีกสิกรรมธรรมชาติ” ส่วนโครงการ “พลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน” ถือเป็นโครงการที่มุ่งสืบสานพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และน้อมนำศาสตร์พระราชาด้านการบริหารจัดการดิน น้ำ ป่า และพัฒนาคน มาเผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไปได้รับรู้ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติจริง โดยในปัจจุบันถือเป็นปีที่ 9 ในการขยายผลความสำเร็จของโครงการฯ ไปสู่ความพอเพียงตามแนวทางศาสตร์พระราชา ทำให้ประชาชนสามารถสร้างความมั่นคงทางอาหารได้อย่างยั่งยืน ทั้งนี้ โครงการฯ ยังคงเดินหน้าสร้างเครือข่ายผู้ที่มีความสนใจร่วมกันในการสืบสานศาสตร์พระราชาต่อไป