อ.เดชา ศิริภัทร สกัดน้ำมันกัญชา เปลี่ยนสาร “ยิ้ม” เป็นสาร “ยา”

อ.เดชา ศิริภัทร สกัดน้ำมันกัญชา เปลี่ยนสาร “ยิ้ม” เป็นสาร “ยา”
ไม่นานมานี้มีข่าวสถานีตำรวจภูธร จังหวัดสุพรรณบุรี ทหารและเจ้าหน้าที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดภาค 7 บุกค้น มูลนิธิข้าวขวัญสุพรรณ ยึดกัญชา 200 ต้น และผลิตภัณฑ์จากกัญชาจำนวนมาก พร้อมจับกุมตัวเจ้าหน้าที่มูลนิธิบางคนไว้ตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2562 โดยผลิตภัณฑ์กัญชาทั้งหมดเป็นของ อ.เดชา ศิริภัทร กรรมการบริหารมูลนิธิฯ ซึ่งตำรวจได้ออกหมายเรียกในข้อหาผลิตและครอบครองกัญชาโดยไม่ได้รับอนุญาต มุมหนึ่ง อ.เดชา ศิริภัทร เป็นคนทำงานด้านเกษตรอินทรีย์มายาวนานหลายสิบปี เป็นอาจารย์ใหญ่ของโรงเรียนชาวนาทั่วประเทศไทย ไต้หวัน ลาว และอีกหลายประเทศ จนได้รับรางวัลเกียรติคุณมากมาย แต่ในอีกมุมหนึ่ง อ.เดชา ในฐานะ อำนาจ มงคลเสริม คือคนที่ทำการวิจัยใช้กัญชามาสกัดน้ำมัน ศึกษาคุณประโยชน์ของกัญชาในการรักษาโรคต่าง ๆ ไม่ว่าจะเบาหวาน ความดัน ภูมิแพ้ ไมเกรน เอดส์ พาร์กินสัน อัลไซเมอร์ ฯลฯ โดยเฉพาะโรคมะเร็งที่มีผู้ใช้แล้วหายเป็นปกติ อ.เดชา ศิริภัทร สกัดน้ำมันกัญชา เปลี่ยนสาร “ยิ้ม” เป็นสาร “ยา” ในนิตยสาร สารคดี เคยสัมภาษณ์ อ.เดชา ไว้ว่า เขาเริ่มสนใจการรักษามะเร็งด้วยน้ำมันสกัดกัญชาจากเหตุการณ์สุดเศร้าเมื่อคุณแม่เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งตับ เขาคิดว่าอาจเป็นเพราะกรรมพันธุ์ซึ่งตัวเองก็อาจเป็นได้ อ.เดชา จึงเกิดคำถามกับตัวเองว่า “แล้วถ้าตัวเองเกิดเป็นมะเร็งแล้วจะทำอย่างไร?” เพราะมะเร็งเป็นโรคแห่งยุคสมัยใหม่ที่การแพทย์ปัจจุบันยังคงหาทางรักษาให้หายได้จาก อ.เดชา มองว่าไม่ว่าจะเป็นโรคอะไรก็ตาม เหตุเกิดจากความเครียดเป็นหลัก เมื่อมนุษย์เราประกอบด้วยเซลล์หลายล้านล้านเซลล์ ฉะนั้นมะเร็งก็คือเซลล์ที่กลายพันธุ์ “เซลล์ปกติจะมีอายุเฉลี่ยไม่เกิน 3 เดือน พอ 3 เดือนร่างกายเราจะต้องเปลี่ยนเซลล์ใหม่ทั้งหมด เซลล์จะแบ่งตัวของเซลล์เป็นเซลล์ใหม่ก็มีโอกาสที่เซลล์จะกลายพันธุ์... ปกติภูมิคุ้มกันจะทำลายเซลล์มะเร็งทิ้ง แต่ถ้าภูมิคุ้มกันเราไม่ปกติ ก็อาจหลงเหลือเซลล์มะเร็งอยู่ ระหว่างที่ภูมิคุ้มกันตก โอกาสเป็นมะเร็งสูง” เขายอมรับว่าสมัยก่อนเขารังเกียจกัญชาด้วยซ้ำ เพราะมองว่าเป็นสารเสพติด แต่หลังจากได้อ่านข่าวในประเทศเจริญแล้วที่ลงมติให้กัญชาถูกกฎหมาย ทำให้ทราบว่ากัญชารักษาโรคได้ “ตอนแรกผมไม่เชื่อ พอไม่เชื่อก็ต้องไปหาเหตุผล ปรากฏว่ากัญชามีสาร THC กับ CBD ที่ออกฤทธิ์ นักวิทยาศาสตร์อิสราเอลเป็นคนค้นพบ THC ทำให้เมา CBD ไม่เมา แต่ THC ตัวนี้แหละเป็นยา ไม่ใช่สารเสพติด มันเป็นตัวสื่อประสาทเรียกว่าแคนนาบินอยด์ (Cannabinoid) ปกติร่างกายเราสร้างขึ้นเอง เป็นของจำเป็น ถ้าขาดตัวนี้เราจะซึมเศร้า ถ้าร่างกายสร้างไม่พอระบบภูมิคุ้มกันมีปัญหา ถ้าเป็นมะเร็ง THC จะเข้าไปทำสองอย่าง คือ สร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงขึ้น และฆ่ามะเร็งโดยตรง” อ.เดชา ศิริภัทร สกัดน้ำมันกัญชา เปลี่ยนสาร “ยิ้ม” เป็นสาร “ยา” ข้อดีของกัญชาไม่ใช่เพียง THC ตัวเดียว ยังมีแคนนาบินอยด์และสารอีก 85 ตัวที่ทำงานช่วยกันเป็นทีม อ.เดชา เคยเปรียบเทียบว่ามันซับซ้อนมากเหมือน “โน้ตเจ็ดตัวที่แต่งเป็นเพลงได้ล้านล้านเพลง” และยังมีอีกหลาย ๆ เพลงที่ทางการแพทย์ไม่เคยฟัง เขาจึงศึกษาทดลองกัญชาอย่างจริงจัง โดยสกัดเอาน้ำมันมาละลายให้เข้มข้นเหลือแค่ 3 เปอร์เซ็นต์ ใส่แคปซูลแค่ 10 หยด (30 หยดเท่ากับ 1 ซีซี) ทานเว้นเดือนละ 2 วัน ติดต่อกัน เพราะมีงานวิจัยว่า ถ้าเว้น 48 ชั่วโมง ร่างกายจะไม่ดื้อ ไม่ต้องเพิ่มขนาด เหมือนร่างกายรีเซตใหม่ให้เราทานเท่าเดิมได้เรื่อย ๆ “ผมเริ่มทดลองใช้กินแบบป้องกันเมื่ออายุ 65 ปี มือเริ่มสั่น เสื่อมตามอายุนะ ความจำก็เริ่มไม่ดี ตื่นมาจำฝันไม่ได้แล้ว เอาอะไรไปวางเดี๋ยวก็ลืม พอกินมาเรื่อย ๆ ตอนอายุ 70 มือนิ่งเลย มือไม่มีสั่น จำฝันได้ กินแล้วช่วยซ่อมระบบที่เสื่อมจนดี นอนหลับสนิทแบบหลับลึก เขาว่านอนเวลาเท่ากันถ้าหลับลึกจะฟื้นร่างกายได้ดีกว่าแบบหลับตื้น ๆ” เคล็ดลับในการสกัดน้ำมันกัญชาคือการใช้ดอกตัวเมียที่ให้น้ำมันมากที่สุด ดอกเป็นช่ออยู่ตรงยอดที่จะมีน้ำมันเหนียวเกาะอยู่รอบดอกตัวเมีย เดิมทีมีข้อสันนิษฐานว่า น้ำมันไว้ป้องกันเชื้อราหรือแมลงมาทำลายเมล็ด บังเอิญว่าน้ำมันตรงนั้นเป็นยาด้วบ ปัจจุบันสกัดโดยใช้สารละลาย เช่น แอลกอฮอล์ 98 เปอร์เซ็นต์ ไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์ 99 เปอร์เซ็นต์ น้ำมันจะละลายในแอลกอฮอล์ พอละลายหมดก็กรองเอาดอกออกแล้วระเหยแอลกอฮอล์ออกไป เหลือไว้แค่น้ำมันกัญชาที่ระเหยยากกว่า หลังจากเริ่มทดลองใช้น้ำมันกัญชาสกัดมาแจกจ่ายรักษาคน อ.เดชา พบว่ามีคนป่วยโรคมะเร็งที่มาทดลองกินน้ำมันกัญชาหายเกินครึ่ง ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยมะเร็งในระยะที่หมอไม่รักษา รักษาไม่หาย หรือไม่มีเงินรักษา พอมารักษากับน้ำมันกัญชาสกัดแล้วหาย เขาก็บอกต่อ ๆ กันไป อย่างไรก็ดี ผลเสียอย่างเดียวในสายตาของเขาก็คือ การกินมากไปทำให้ “หลับ” “อย่างมากก็หลับ เพียงแค่กลางวันมันง่วง ทำงานไม่ได้เท่านั้นแหละ แบบนี้แสดงว่ากินเกิน วันต่อไปก็กินลดลง แต่ถ้าอยากให้โรคหายไว ๆ ก็กินเยอะ ถ้ากลางวันไม่ทำงานก็กินเยอะได้ นอนหลับไปเลย” อ.เดชา ศิริภัทร สกัดน้ำมันกัญชา เปลี่ยนสาร “ยิ้ม” เป็นสาร “ยา” แม้การทดลองรักษาของ อ.เดชา จะมีการบันทึกเป็นสถิติ และการรักษาหายเห็นผลจริง ทว่าอุปสรรคใหญ่ที่ขว้างกั้นการทดลองก็คือกฎหมายไทยที่ยังระบุว่า กัญชาเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ถึงแม้จะมีการนิรโทษกรรมกัญชา ในราชกิจจานุเบกษา สามารถครอบครองกัญชาเพื่อใช้ทางการแพทย์แล้วก็ตาม “สมัยกฎหมายประเทศไทยห้ามปลูกกัญชา เพราะฉะนั้นชาวบ้านเขาก็แอบปลูกกันในป่า ที่เราใช้ตอนนี้เป็นสายพันธุ์ของกะเหรี่ยง เขาปลูกใช้เองมานานแล้ว... ปัญหาคือเราถูกล้างสมองว่าเป็นยาเสพติด อันตราย ซึ่งสหรัฐอเมริกาก็เหมือนกัน รัฐไหนคนยังล้าหลัง เขาก็ไม่ลงประชามติให้ผ่าน มันก็ผิดกฎหมาย ตอนนี้ถูกกฎหมายแค่ 26 รัฐ (ปัจจุบันเพิ่มเป็น 33 รัฐที่ถูกกฎหมายทางการแพทย์แล้ว)” หลายครั้งที่ในประเทศไทยมีการถกเถียงถึงคุณและโทษต่อการเปิดเสรีกัญชาในประเทศไทย ด้วยข้ออ้างที่ว่าการเปิดเสรีจะทำให้คนหันมาเสพเพื่อความบันเทิงอย่างเดียว อย่างไรก็ตาม อ.เดชา แย้งว่า ในต่างประเทศที่เปิดเสรีก็ไม่มีปัญหาอะไร ไม่มีใครตายเพราะสูบกัญชา ไม่เหมือนยาเสพติดจริง ๆ ประเภทอื่น “กัญชานี่สูบแล้วนอนยิ้มอยู่บ้าน... สมัยก่อนศิลปินใช้กันทุกคน พอสูบแล้วระบบประสาทสมองมันจะเชื่อมกัน ลิเกจะอัดบูชาครูสักสองอึกก่อนออกไปรำป้อ จิตรกรสูบสักพักเห็นรูปที่จะวาดแล้ว หรือนักดนตรีสูบกัญชาแล้วแต่งเพลง นี่เรื่องจริง มันช่วยความคิดสร้างสรรค์ ไม่ได้รบราฆ่าฟันใคร มะเร็งก็ไม่เป็น เขามีวิจัยกันว่าคนสูบกัญชาหนัก ๆ 3-4 ปีติดต่อโอกาสเป็นมะเร็งน้อยกว่าคนที่ไม่สูบอีก” แน่นอนว่าความฝันของเขา คือการรอวันที่กฎหมายไทยเปลี่ยนแปลง นำกัญชาออกจากการเป็นสารเสพติดอย่างถาวร สามารถปลูกหรือครอบครองกัญชาอย่างเสรี เพื่อให้การวิจัยดำเนินไปอย่างถูกต้องตามครรลองคลองธรรม “เราทำเพื่อวิจัยเพื่อหาความรู้ เพื่อให้คนที่ไม่มีทางเลือกก็จะได้มีทางเลือก แทนที่จะปล่อยให้ตายไปเฉย ๆ ปลูกต้นเดียวก็รักษาคนได้ตั้งเยอะแล้ว... วันหนึ่งกฎหมายจะเปลี่ยนแปลง แต่การเปลี่ยนแปลงนั้นต้องมาจากประชาชนเรียกร้อง เพราะกฎหมายจะเปลี่ยนแปลงด้วยตัวเองไม่ได้หรอกครับ” อ.เดชา ศิริภัทร สกัดน้ำมันกัญชา เปลี่ยนสาร “ยิ้ม” เป็นสาร “ยา”   ข้อมูลจาก   ขอบคุณภาพจาก: นิพัทธ์พร เพ็งแก้ว