โอ๊ตและโอ๊ตซึ: เที่ยวจนเป็นร้าน ‘DROP BY DOUGH’ โดนัทมีไส้ สอดใส่การเดินทาง

โอ๊ตและโอ๊ตซึ: เที่ยวจนเป็นร้าน ‘DROP BY DOUGH’ โดนัทมีไส้ สอดใส่การเดินทาง
วงกลมมีรูตรงกลาง ไม่ใช่ห่วงยาง แต่เป็นโดนัท ‘DROP BY DOUGH’ โดนัท handmade ที่ไม่ได้มีดีแค่หน้าตาสวยงาม รสชาติอร่อยแปลกใหม่ แถมมีไส้อยู่ตรงกลางโดนัทเท่านั้น แต่โดนัทเหล่านี้ต่างสอดไส้เรื่องราวการเดินทางของ โอ๊ต - ณรงค์ฤทธิ์ ศรีตลานนท์ และ โอ๊ตซึ - เฉลิมพล อัครภิญโญสกุล คู่หูคู่ซี้ที่หลงรักการเดินทางและโดนัทเข้าไว้ด้วย โอ๊ตและโอ๊ตซึ: เที่ยวจนเป็นร้าน ‘DROP BY DOUGH’ โดนัทมีไส้ สอดใส่การเดินทาง ไม่ว่าจะเป็น ‘Mandarin Orange & Oolong no.303’ โดนัทสอดไส้แยมส้มแมนดารินโฮมเมด และคัสตาร์ดใบชาอู่หลง ที่โอ๊ตใช้นิยามความเป็นตัวเอง ที่มีบทบาททั้งการเป็นเจ้าของร้าน และเพจท่องเที่ยว Raspberry Rose’ ที่มีความผสมผสานระหว่างคัสตาร์ดและกลิ่นกุหลาบ กลายเป็นความสนุกสนานในแง่ของความหลายมิติรสสัมผัส ตามนิยามของโอ๊ตซึ  จนทำให้ทั้งคู่ก็ตัดสินใจลาออกจากงานประจำ และกลายมาเป็นเจ้าของร้านคาแฟ่ ‘DROP BY DOUGH’ อย่างเต็มตัว ควบคู่กับการทำเพจท่องเที่ยว ‘Oats X Somewhere’ อย่างในทุกวันนี้    ออกเดินทาง สู่โดนัทอันไกลโพ้น หลังจากการทำงานในแต่ละวัน โอ๊ตและโอ๊ตซึมักจะชวนกันไปเที่ยวอยู่เสมอ โดยเริ่มจากความแรนด้อมอย่างการเห็นโปรโมชันตั๋วถูกในเฟซบุ๊ก ก่อนจะงอกออกมาเป็นทริปเล็ก ๆ น้อย ๆ ระหว่างการทำงานเป็นประจำ จนกระทั่งความหลงใหลในการเดินทาง ทำให้ทั้งคู่ตัดสินใจเปิดเพจท่องเที่ยวในชื่อ ‘Oats X Somewhere’ ขึ้นควบคู่ไปกับการทำงานประจำ แต่เมื่อทั้งคู่ได้ท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่าง ๆ มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทริปในประเทศหรือต่างประเทศ ก็ทำให้เขาทั้งสองคนเริ่มค้นพบตัวเองไปพร้อม ๆ กับการค้นพบสถานที่เที่ยวใหม่ ๆ ไปด้วยเช่นกัน “พอท่องเที่ยวเดินทางตามที่ต่าง ๆ เราก็ค้นพบว่าตัวเองชอบอะไร จนวันหนึ่งที่รู้สึกอยากจะมีธุรกิจเป็นของตัวเอง ก็เลยเอาความชอบมาวางเรียงกันว่า เรามีชอบอะไรบ้าง แล้วก็มาลองหยิบส่วนที่เราชอบที่สุดออกมา” โอ๊ตเล่า จนได้ส่วนผสมที่ชอบที่สุดออกมาเป็น ‘โดนัท’ และ ‘สถาปัตย์สไตล์สแกนดิเนเวีย’ เพราะเมื่อโอ๊ตและโอ๊ตซึมองย้อนกลับไปในแต่ละทริปที่ผ่านมา นอกจากจะพบความทรงจำอันล้ำค่ามากมาย พวกเขาก็ยังพบเข้ากับรูปโดนัทมากมายในหลากหลายสถานที่ด้วยเช่นกัน  “แต่มากไปกว่านั้นคือเราก็เจอว่าเราชอบสถาปัตยกรรมของเมืองแบบไหน ชอบ culture แบบไหน และทริปที่สร้างความรู้สึกกับเรามากที่สุดคือทริปที่เดินทางไปสแกนดิเนเวีย เรารู้สึกว่าเราชอบ architecture เราก็เลยเอาบรรยากาศเหล่านั้นมาทำเป็นดีไซน์ของร้านที่เราช่วยกันทำเอง” โอ๊ตและโอ๊ตซึ: เที่ยวจนเป็นร้าน ‘DROP BY DOUGH’ โดนัทมีไส้ สอดใส่การเดินทาง   Dropจนกลายเป็นโดนัท หลังจากที่ทั้งคู่ตัดสินใจลาออกจากงานประจำเดิม และออกมาเปิดคาเฟ่โดนัทเป็นของตัวเอง ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ สำหรับอดีตพนักงานออฟฟิศทั้ง 2 คนเท่าไรนัก เพราะโรคระบาดอย่างโควิด-19 เข้าสู่ประเทศไทยในช่วงเวลานั้นอย่างพอดิบพอดี  โอ๊ตและโอ๊ตซึ: เที่ยวจนเป็นร้าน ‘DROP BY DOUGH’ โดนัทมีไส้ สอดใส่การเดินทาง “มันก็เป็นโจทย์ที่ยากสำหรับเราที่เพิ่งเริ่มทำธุรกิจมากเลย เราคุยกันตลอดถึงปัญหาที่เกิดขึ้น แล้วก็หาวิธีแก้ปัญหากันไป” โอ๊ตซึกล่าว จากเริ่มต้นที่จะเปิดเป็นคาเฟ่แบบปกติ จึงต้องปรับเปลี่ยนมาเป็นการส่งเดลิเวอรี่แทน แต่ด้วยความโชคดีที่ทั้งคู่มีแนวคิดที่ต้องการส่งต่อความสุขให้ผู้บริโภคตั้งแต่การเปิดกล่อง ทำให้การปรับตัวไม่ยากอย่างที่คิด แถมกลายเป็นจุดเด่นของร้านไปซะอย่างนั้น “เราพยายามทำกล่องให้มันดูน่ารักอยู่แล้ว เพราะว่าตอนแรกที่เราเปิดร้าน เรารู้สึกว่าพอลูกค้ามากิน เราก็อยากให้เขาซื้อกลับไปฝากคนที่เขารักด้วย”  จนกล่องโดนัทดีไซน์สวย คู่สีโดนใจ สามารถเขียนการ์ดสำหรับคนที่รับได้ ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดคุยบนโลกโซเชียลฯ จนความเอาใจใส่สามารถตกคนให้เข้ามาสัมผัสกับรสชาติที่ก็มีดีไม่แพ้หน้าตา เพราะไม่ว่าจะรสชาติไหน ก็ถูกกลั่นมาจากความตั้งใจและประสบการณ์การเดินทางทั้งนั้น “เราพยายามที่จะมองหารสชาติใหม่ ๆ ให้ไม่เหมือนกับที่ร้านอื่นที่เคยมีมาก่อน ก็เลยรู้สึกว่า จริง ๆ แล้วรสชาติที่มีความ creative มาก ๆ ก็อาจจะทำให้โดนัทของเราเป็นที่แตกต่าง”   จากโดนัท เป็นอะไรได้อีกบ้าง โอ๊ตและโอ๊ตซึ: เที่ยวจนเป็นร้าน ‘DROP BY DOUGH’ โดนัทมีไส้ สอดใส่การเดินทาง “จริง ๆ แล้วเราอาจจะไม่ได้เป็นแค่คาเฟ่ แต่ว่าก็อาจจะเป็น brand lifestyle ประมาณหนึ่งครับ” โอ๊ตซึบอกเล่านิยามความเป็น DROP BY DOUGH ให้เราฟัง เพราะปัจจุบันภายในร้านนอกจากจะมีโดนัทเป็นหลักแล้ว แต่ละสาขาของ DROP BY DOUGH ก็ยังมีผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ให้เข้าไปลิ้มลองด้วยเหมือนกัน อย่างสาขาในห้าง EmQuartier ก็จะมีอาหารจานหลักที่กินเป็นมื้อใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นสลัดหรือพาสต้า หรือสาขาในซอยอารีย์ ก็จะมีการขายไอศกรีมด้วยเช่นเดียวกัน ที่ก็ยังไม่ทิ้งกลิ่นอายของความเป็นโดนัทลง “ผมพยายามจะสร้างความรู้สึกใหม่ ๆ แต่ละที่ก็จะมีเมนูที่แตกต่างกันเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่ว่าตรงกลางเนี่ยยังมีโดนัทเหมือนกัน” โอ๊ตกล่าว นอกจากอาหารคาวหรือไอศกรีมที่แปลกแตกต่างไปจากโดนัทแบบเดิม ๆ แล้ว ทาง DROP BY DOUGH ก็ยังคงหาลูกเล่นให้กับตัวแบรนด์ได้อย่างน่าสนใจไม่แพ้กันเลย นั่นก็คือ ‘เทียนหอม’ การร่วมมือกันระหว่าง DROP BY DOUGH และ PAÑPURI ทำเทียนหอมกลิ่นโดนัทขึ้นมา ทำให้คาเฟ่โดนัทสามารถไปได้ไกลมากกว่าที่เคยเป็น “เราเคยทำงานกับ PAÑPURI อยู่แล้ว เราก็เลยกลับไปเสนอไอเดียว่าอยากจะทำเทียนกลิ่นโดนัทของที่ร้าน ก็ดีใจที่ทีม PAÑPURI ตอบตกลง” โอ๊ตเล่าให้เราฟัง อีกทั้งยังบอกอีกว่า เมื่อร้านเปิดมาได้ประมาณหนึ่ง หลาย ๆ ครั้งก็เกิดการ collaboration กับแบรนด์อื่น ๆ อยู่ไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นชาลิปตัน แยมเนยถั่วของ Skippy หรือแม้กระทั่งบริษัทประกันภัยอย่าง FWD  “คือผมมองว่า ด้วยความที่โดนัทมันเป็นขนมหวานที่เราเชื่อว่ามันเข้าถึงคนง่าย relate กับทุกคน ทำให้หลาย ๆ partner ก็มองเห็นว่า เราสร้างความรู้สึกเหล่านั้นได้ และติดต่อเข้ามา” จากนั้นทางร้านก็จะครีเอทรสชาติใหม่ขึ้นมา เพื่อแสดงออกถึงตัวตนของร้านและ partner ออกมา รวมไปถึงการสร้างความตื่นเต้นให้กับลูกค้าตลอดเวลา   วันหนึ่ง จะถึงจุดหมาย ถึงแม้ว่าปัจจุบัน DROP BY DOUGH จะสามารถเติบโตขึ้นอย่างงดงามภายใต้สถานการณ์โรคระบาดที่เต็มไปด้วยข้อจำกัด จนสามารถมีสาขาในกรุงเทพฯ ได้มากถึง 3 สาขา ได้แก่ สาขาสุขุมวิท 101/2 สาขาอารีย์ และสาขา EmQuartier แต่เมื่อเราถามถึงการเดินทางของร้าน ทั้งสองคนก็ยังคงตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า ยังคงอยู่ในขั้นตอนการเริ่มต้น ที่ยังต้องพบเจอกับอุปสรรคที่ท้าทายมากขึ้นเรื่อย ๆ ในทุก ๆ วัน “ถ้าเปรียบเทียบกับชีวิตคน คือมันยังต้องเรียนรู้อีกเยอะ แต่มันก็มีความสนุกและความท้าทายอีกเยอะมากเหมือนกัน” โอ๊ตเล่าว่า ถ้ามองในมุมที่ไกลออกไปหน่อย ถ้าเป็นไปได้ในอนาคตก็อยากจะได้โอกาสไปเปิดสาขาที่ต่างประเทศบ้าง เพราะหลังจากเปิดร้านมาก็มีหลายครั้งที่มีลูกค้ามาซื้อโดนัทเพื่อไปเป็นของฝากสำหรับคนที่อยู่ต่างประเทศ แต่ถ้ามองให้ใกล้เข้ามาหน่อย โอ๊ตบอกว่าอยากให้โดนัทของทางร้านเป็นขนมที่ใครต่อใครจะนึกถึงเมื่อนึกถึงกรุงเทพฯ “ผมรู้สึกว่าอยากจะสร้าง DROP BY DOUGH ให้เป็นหนึ่งอย่างที่ชาวต่างชาติมาเมืองไทยก็นึกถึง คนต่างจังหวัดมากรุงเทพฯ ก็นึกถึง แล้วก็อยากจะเอาขนมกลับไปเป็นของฝาก”