event
27 เม.ย. 2565 | 17:41 น.
ม.หอการค้าไทย ชูคณะบริหารธุรกิจ ยืน 1 หลักสูตร สร้างบัณฑิตสู่โลกการทำงาน ยุค Disruption พร้อมชวนรุ่นพี่จุดประกายพลังฝัน #เด็กหัวการค้าNextGen
Play
Loading...
ในโลกศตวรรษที่ 21 ที่เต็มไปด้วยการเติบโตและการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ไร้ซึ่งการหยุดนิ่ง ล้วนเป็นสิ่งท้าทายความสามารถของสถาบันในระดับอุดมศึกษาในการสร้างบัณฑิต ที่ก้าวสู่การเป็นทรัพยากรมนุษย์ผู้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและเป็นกำลังสำคัญของตลาดแรงงานในอนาคต นำไปสู่ความตื่นตัว และเสริมศักยภาพปรับหลักสูตรการศึกษา ตลอดจนการเรียนการสอนที่ต้องสอดคล้องกับพฤติกรรมของเด็กรุ่นใหม่ และสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ที่มีให้เห็นอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านเทคโนโลยี หรือความต้องการของผู้เรียนที่เปลี่ยนไปตามค่านิยมของเจนเนอเรชั่น
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาภาคเอกชนที่ไม่แสวงกำไรชั้นนำของเอเชีย โดยมีหลายส่วนที่มหาวิทยาลัยฯ พัฒนาและตั้งการ์ดรับมือกับ Disruption จากหลากหลายปัจจัยที่ก่อตัวขึ้น โดยเฉพาะคณะบริหารธุรกิจ ที่ขึ้นชื่อว่าเป็น Flagship Faculty ของมหาวิทยาลัยฯ ซึ่งมีจำนวนนักศึกษามากที่สุดจากทุกคณะ จนสามารถกล่าวได้ว่าเป็นเดสติเนชั่นสำหรับเด็กหัวการค้า gen z ที่มุ่งมั่นต่อการศึกษาในศาสตร์ด้านการบริหารธุรกิจอย่างแท้จริง
ดร.รวิดา วิริยกิจจา คณบดีคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
เปิดเผยว่า “ด้วยสภาวะเศรษฐกิจ และสถานการณ์โควิด-19 ในปัจจุบันที่เราต่างทราบกันดี ทำให้ภาคธุรกิจมีความจำเป็นต้องใช้กระบวนการตัดสินใจที่ถี่ถ้วน ในการจะรับบุคลากรใหม่เข้าทำงานในองค์กร หากมีความจำเป็นต้องรับบุคลากรเพิ่ม ก็สามารถรับได้ในจำนวนที่จำกัด ดังนั้น ปัจจัยสำคัญของการเลือกรับคนเข้าสู่องค์กร คือต้องเป็น “ตัวจริง” ในด้านการทำงาน มีศักยภาพการทำงานในแบบ Multitasking skill และมีประสบการณ์แบบ Hands on-experience คณะบริหารธุรกิจ ม.หอการค้าไทย จึงพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นไปที่การเติมเต็มผู้เรียนให้มีประสบการณ์จากการปฏิบัติจริงมากกว่าคลังความรู้ในเชิงทฤษฎี พร้อมทำงานได้อย่างไร้ขีดจำกัด ซึ่งก็เป็นที่น่าภูมิใจว่าหลาย ๆ องค์กรมี feedback ที่ดีต่อบัณฑิตจากรั้ว ม.หอการค้าไทย ว่ามีสมรรถนะในการทำงานที่หลากหลาย และมีความอดทนสูง มีทักษะด้านการแก้ปัญหา การตัดสินใจ ตลอดจน digital skill ที่จะสามารถปรับตัวให้เหมาะสมกับเทคโนโลยี และแพลตฟอร์มการสื่อสารของแต่ละองค์กร ซึ่งในปีการศึกษา 2565 เป็นต้นไป ภารกิจการดำเนินงานของคณะบริหารธุรกิจ ม.หอการค้าไทย จะต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถเท่าทันเทคโนโลยีดิจิทัลให้มากที่สุด”
พัฒนาหลักสูตรด้วย
Strong connection
“โดยหลักกฎข้อบังคับของกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา มีข้อกำหนดให้คณะและสาขาวิชาของแต่ละมหาวิทยาลัยจะต้องมีพันธกิจในการปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรทุก 5 ปี แต่ข้อได้เปรียบหนึ่งของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คือการทำงานเคียงคู่กับหอการค้าไทย ซึ่งมีสมาชิกที่ล้วนเป็นองค์กรเอกชนขนาดใหญ่ ไปจนถึงระดับ SMEs ซึ่งมีความใกล้ชิดและนำไปสู่การสื่อสารเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดอยู่เสมอ ทำให้ได้ไอเดียต่อยอดในการปรับแนวทางการเรียนการสอน อีกทั้งยังมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขางานที่ตอบโจทย์ร่วมถ่ายทอดองค์ความรู้จากประสบการณ์การทำงานจริง
ยกหนึ่งกรณีตัวอย่าง จากกระแสการลงทุนใน Cryptocurrency (คริปโทเคอร์เรนซี่) ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมแพร่หลายของเหล่านักลงทุนรุ่นใหม่ที่เล็งเห็นถึงโอกาสจากสินทรัพย์ดิจิทัล จึงนำไปสู่ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และ Bitkub ซึ่งได้วิทยากรทั้งผู้บริหารและบุคลากรซึ่งมีประสบการณ์การลงทุนในคริปโทจนเกิดความชำนาญ มาถ่ายทอดองค์ความรู้ คู่กับพาให้นักศึกษาได้ปฏิบัติ โดยลงทุนและเทรดจริง ตลอดจนการศึกษาดูงาน ที่ Bitkub M Social ที่ศูนย์การค้าเอ็มควอเทียร์ หรือการพัฒนาหลักสูตรสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ เรามีการสำรวจแนวทางการพัฒนานวัตกรรมในธุรกิจโลจิสติกส์ของไทย จนเกิดความร่วมมือกับ Flash Express ในการพัฒนาหลักสูตร และกิจกรรมร่วมกัน พร้อมการถ่ายทอดองค์ความรู้จากวิทยากรซึ่งเป็นบุคลากรเช่นกัน
นอกจากนี้เรายังร่วมมือกับกลุ่มธุรกิจค้าปลีก อาทิ CP All, CJ Express, CPN กล่าวโดยสรุปคือ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มีความสามารถในการพัฒนาหลักสูตรอย่างไม่เป็นทางการในระหว่างทางก่อนครบกำหนด 5 ปี เพราะเราสามารถเพิ่มกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะและส่งเสริมการเรียนรู้ ได้ก่อนการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรในเชิงวิชาการ ด้วยเครือข่ายความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับภาคเอกชน ที่พร้อมสนับสนุนการสร้างบุคลากรเพื่อตลาดแรงงานและผู้ประกอบการที่ก้าวสู่การเป็นกำลังสำคัญสำหรับการขับเคลื่อนธุรกิจและเศรษฐกิจในโลกอนาคต อีกทั้งปีการศึกษานี้ ภารกิจสำคัญของเราคือการปรับหลักสูตรครั้งใหญ่ นั่นคือจำนวนหน่วยกิต จากหน่วยกิตบังคับเดิมอยู่ที่ 138 หน่วยกิต ให้เหลือเพียง 120 หน่วยกิตเท่านั้น เพื่อให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างกระชับและคล่องตัว และให้นักศึกษาสามารถทุ่มเทเวลาให้กับรายวิชาที่เน้นการปฏิบัติมากขึ้น”
สหกิจอาจารย์ เน้นสอนจากประสบการณ์มากกว่าตำเราเรียน
“ไม่เฉพาะแค่การพัฒนาผู้เรียนให้มีความเก่งและเชี่ยวชาญในภาคปฏิบัติ แต่มหาวิทยาลัยฯ ยังมี “สหกิจอาจารย์” ซึ่งเป็นนโยบายการส่งอาจารย์ผู้สอนที่ไม่มีภารกิจการสอนในช่วงภาคฤดูร้อน ไปฝึกปฏิบัติงานจริงกับองค์กรเอกชนซึ่งเป็นเครือข่ายสมาชิกหอการค้าไทย เพื่อสร้างความรู้ในทางปฏิบัติและประสบการณ์ที่เหนือไปกว่าความรู้จากวิชาการและงานวิจัย เพราะจุดอ่อนข้อหนึ่งของอาจารย์ผู้สอนซึ่งไม่เคยทำงานจริง คือการขาดประสบการณ์ที่จะสามารถถ่ายทอดแก่ผู้เรียนได้ ดังนั้นการเป็นอาจารย์ผู้สอน นอกจากจะเป็น “Instructor” แล้วต้องมีคุณสมบัติของการเป็น Practitioner คือการเป็นนักปฏิบัติด้วย จึงจะสามารถเป็น “เจ้าของประสบการณ์จริง” และ “พร้อมสอน” ตามความต้องการที่ผู้เรียนรุ่นใหม่ต่างมองหา มากกว่าความรู้ที่ปรากฏอยู่แค่ในตำราเรียน” คณบดีคณะบริหารธุรกิจ ม.หอการค้าไทย กล่าวทิ้งท้าย
จุดประกายพลังฝัน จากรุ่นพี่ถึง
#เด็กหัวการค้าNextGen
นางสาวลิเลียน ไออันซอน
ศิษย์เก่าคณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เล่าว่า
“
จากประสบการณ์ตลอด 4 ปี ในรั้ว ม.หอการค้าไทย สัมผัสได้ว่าหลักสูตรของมหาวิทยาลัยมีความทันสมัยอย่างมาก อาจารย์ทุกท่านที่สอนเรามาให้ความดูแลเอาใจใส่ พร้อมให้คำปรึกษาในทุกเรื่องการเรียนที่เราสงสัยได้ครบทุกมิติ ทั้งเรื่องวิชาการและการปฏิบัติในประเทศและต่างประเทศ มีความเปิดกว้างอย่างมากในเรื่องของไอเดียการทำกิจกรรมหรือโปรเจคต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อตัวเราในฐานะผู้เรียน ได้ประสบการณ์การทำงานในระหว่างเรียนจากการร่วมโปรเจคกับแบรนด์ผลิตภัณฑ์ที่มีจำหน่ายจริงในท้องตลาด ได้รับการโค้ชชิ่งจากผู้บริหารธุรกิจที่เป็นเจ้าของ “ประสบการณ์จริง” ทำให้เราสามารถนับหนึ่งประสบการณ์การทำงานได้ตั้งแต่ยังเป็นนักศึกษา หากจะต้องไกด์ไลน์น้อง ๆ รุ่นใหม่ที่กำลังตัดสินใจเลือกเส้นทางตามความฝัน ก็คงอยากแนะนำว่าถ้ารู้ตัวเองว่าชอบหรือใฝ่ฝันจะทำ หรือเรียนอะไร ขอให้ศึกษาหาข้อมูลในสิ่งที่เราต้องการอย่างเต็มที่ และลงมือทำอย่างไม่ต้องลังเล เหมือนอย่างที่มหาวิทยาลัยฯ บอกอยู่เสมอเรื่องการทำตามความฝัน จากแคมเปญ Follow Your Dream เพราะแค่เราได้ลงมือทำสิ่งที่รัก ความสำเร็จก็เริ่มต้นที่จุดนั้นค่ะ”
ด้าน
นายกิตติเทพ โชติชูทิพย์ คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่
ร่วมแบ่งปันประสบการณ์ในฐานะศิษย์ปัจจุบันจากสาขาวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ เล่าว่า “ส่วนตัวผมได้รับทุนการศึกษาจากมหาวิทยาลัยในการเข้ามาเรียนที่มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ทำให้ในขณะเดียวกัน ผมจึงมีประสบการณ์ด้านการทำงานจริงและได้สัมผัสกับธุรกิจค้าปลีก ตามแบบที่ผมตั้งใจ จากการได้ฝึกงานควบคู่ไปกับการเรียน แม้จะเป็นรูปแบบการเรียนที่หนัก แต่ก็คุ้มค่าในเรื่องของประสบการณ์ และทำให้เห็นถึงระบบการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยฯ ที่เอื้อต่อไลฟ์สไตล์ที่หลากหลาย ไม่ว่าเราจะสะดวกแบบไหน เช่นทำงานไปพร้อม ๆ กับการเรียน ทางมหาวิทยาลัยฯ ก็ตอบโจทย์ข้อนี้ได้อย่างดีโดยที่เราสามารถทำสองสิ่งได้พร้อม ๆ กัน อยากฝากถึงน้อง ๆ ในรุ่นต่อไปในการตัดสินใจเลือกเรียนตามสิ่งที่ตั้งใจไว้ ตอบตัวเองให้ชัด หาสิ่งที่เราชอบให้เจอ แล้วศึกษาข้อมูลจากหลาย ๆ สถาบันถึงจุดเด่น จุดแข็ง เพราะแต่ละที่จะมีความโดดเด่นในแต่ละสาขาวิชาต่างกันออกไป เหมือนอย่างที่ผมเลือกเรียนคณะบริหารธุรกิจ ที่มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เพราะเรามองจากศักยภาพและเครือข่ายธุรกิจของมหาวิทยาลัยฯ ในเรื่องของหลักสูตรด้านการบริหารธุรกิจ ที่ตอบโจทย์ความต้องการของเราอย่างแท้จริง แค่การเริ่มต้นที่ดีความสำเร็จจะเริ่มค่อย ๆ ปรากฏชัดขึ้นครับ”
ปัจจุบัน
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
เปิดสอนระดับปริญญาตรี ได้แก่
สาขาวิชาการตลาด
, สาขาวิชาการบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ, สาขาวิชาการเงิน, สาขาวิชาการจัดการ, สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์, สาขาวิชาธุรกิจเกมส์และอีสปอร์ต, สาขาวิชาการประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรม, สาขาวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่
และมีโครงการพัฒนาหลักสูตรจาก
สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
สู่
สาขาวิชาธุรกิจดิจิทัลและนวัตกรรม
และหลักสูตรปริญญาโท อีกหลากหลายหลักสูตร สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาต่อ สามารถติดตามสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์รับสมัครนักศึกษา
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย อาคาร
24 ชั้น 2 โทร. 02-697-6767 ในเวลาทำการ 9.00-16.00 น.
https://www.utcc.ac.th
Facebook page : มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย UTCC (
https://web.facebook.com/utccsmart?_rdc=1&_rdr
)
หรือ
LINE @UTCC
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
‘บิ๊กโจ๊ก’ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล ตำแหน่งใหญ่ขณะอายุน้อย บารมีมาก เส้นทางสีกากีติดไฮสปีด
15 ก.ย. 2566
3487
ถอดรหัส ‘Naatu Naatu’ เพลงประกอบหนังอินเดียฉากร้อง-เต้นใน RRR ได้ออสการ์-Golden Globes
13 มี.ค. 2566
6940
‘เอมิลิโอ เฟอร์นันเดส’ ชายผู้เป็นต้นแบบของตุ๊กตารางวัล ‘ออสการ์’
12 มี.ค. 2566
818
แท็กที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
ดร.รวิดา วิริยกิจจา
เด็กหัวการค้า Next Gen