20 เม.ย. 2566 | 17:30 น.
ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในทำเนียบนักดื่มลำดับที่ 41 ของโลก จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก เมื่อเทียบอัตราส่วนการดื่มเฉลี่ย 20.3 ลิตรต่อคนต่อปี หรือ 43.9 กรัมต่อคนต่อวันของนักดื่มชาวไทย มาจากการดื่มสุรา หรือ เหล้า เป็นหลัก ทิ้งห่างมาด้วยเบียร์และไวน์
ตัวเลขชุดดังกล่าว ยิ่งเพิ่มน้ำหนักการขึ้นภาษีสุราให้มากขึ้นอย่างชัดเจนด้วยวัตถุประสงค์เพื่อ “ลดอัตราการดื่ม” หรือ “ลดนักดื่มหน้าใหม่”
ถึงจะรู้ว่าภาษีส่วนนี้จะถูกแบ่งสัดส่วนเพื่อไปให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) พัฒนาท้องถิ่น และส่งให้สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) รณรงค์ ลดละเลิก เหล้า-บุหรี่ แบ่งให้ทีวีสาธารณะ ส่งให้กองทุนพัฒนาการกีฬา รวม ๆ กว่า 15%
แต่สิ่งที่เป็นประเด็นกลับไม่ใช่จุดหมายปลายทางของเม็ดเงิน แต่เป็นรายละเอียดการจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มแต่ละชนิดมากกว่า เพราะตัวเลขการจัดเก็บภาษีเหล้าและเบียร์ในปี 2565 (สิ้นสุดปีงบประมาณที่ 31 ต.ค. 2565) เมื่อเทียบกับปี 2564 ภาษีเบียร์จัดเก็บได้สูงสุดคิดเป็นอันดับที่ 3 รองจากน้ำมัน และรถยนต์ ส่วนภาษีเหล้ากลับจัดเก็บภาษีได้เป็นอันดับ 4 ทั้งnๆ ที่คนไทยดื่มเหล้าเป็นสัดส่วนที่สูงกว่า เบียร์ และไวน์ อย่างมีนัยะสำคัญ
การจัดเก็บภาษีที่ลักลั่นในกลุ่มเครื่องดื่มกลายเป็นอีกปัญหาที่ถูกซ่อนเอาไว้ก้นขวดอย่างมิดชิดจนแทบไม่มีใครสังเกต
หากเปรียบเทียบจากรายละเอียดของงานวิจัยการศึกษาทบทวนประวัติระบบภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในต่างประเทศ ที่เสนอต่อศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) ก็จะพบความท้าทายที่เป็นช่องว่างในเรื่องนี้อยู่
โดยกำหนดทั้งอัตรามาตรฐานเป็นอัตราเดียว และอัตราลดหย่อน ซึ่งเอื้อสําหรับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีปริมาณความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ตํ่า และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มาจากประเทศที่เคยเป็นอาณานิคม
นอกจากนี้ยังมีการเก็บภาษีเพิ่ม ณ สถานบริการเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์เพื่อนําเงินเข้ากองทุนประกันการเจ็บป่วย
ที่ “สหราชอาณาจักร” ก็มีการเก็บภาษีสรรพสามิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แบบตามปริมาณความเข้มข้นของแอลกอฮอล์เช่นเดียวกัน โดยกำหนดอัตรามาตรฐานเป็นอัตราเดียว และอัตราลดหย่อนสำหรับผู้ผลิต หรือ ผู้ประกอบการรายย่อย รวมทั้งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีปริมาณความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ตํ่า
แม้แต่เกาหลีที่แต่เดิมเคยพยามปกป้องเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศจึงยังไม่ได้เก็บภาษีตามปริมาณแอลกอฮอล์บริสุทธิ์นั้น ก็มีการเคลื่อนไหวเพื่อขยับสถานะขึ้นมาใช้รูปแบบภาษีมาตรฐานโลกที่แอลกอฮอล์ยิ่งสูง ยิ่งเสียภาษีแพง
ส่วน ฟิลิปปินส์ ก็มีการเก็บภาษีเพื่อป้องกันผู้ค้าปลีกแจ้งราคาหน้าโรงงานต่ำกว่าความเป็นจริง
จะเห็นได้ว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศที่พัฒนาแล้ว กำกับดูแลโดยใช้หลักเกณฑ์ของปริมาณแอลกอฮอล์เป็นตัวตั้ง รวมทั้งการให้ความสำคัญกับผู้ค้า และผู้ผลิตรายย่อย
ขณะที่ประเทศไทยนั้นยังไม่ได้พัฒนายกระดับวิธีการเก็บภาษีให้เทียบเคียงประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่ แม้จะพร่ำบอกเสมอมาว่าต้องการใช้เครื่องมือทางภาษีมาช่วยลดการบริโภคแอลกอฮอล์
แม้ว่าเบียร์คราฟต์หรือสุรากลั่นพื้นบ้านของไทยจะเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการรายย่อยหลายคนต้องการผลักดันให้เป็นอีกหนึ่ง “Soft Power” ของประเทศไทยเหมือนกับโซจูของเกาหลีใต้ที่พบเห็นได้จากสื่อทุกช่องทาง