‘Hang Over Forum’ วงเสวนาที่บอกเล่าวัฒนธรรมการดื่มที่ไม่ได้มีแค่ความเมา

‘Hang Over Forum’ วงเสวนาที่บอกเล่าวัฒนธรรมการดื่มที่ไม่ได้มีแค่ความเมา

The People จัดงาน Hang Over Forum เมื่อความเมาของเราไม่เท่ากัน วงเสวนาอันแสนรื่นรมย์ว่าด้วยเรื่องความเมาและความเท่าเทียม เวทีระดมความคิดเห็นทั้งในเรื่องสังคม - วัฒนธรรมการดื่ม สู่ความท้าทายด้านภาษี เพื่อสร้างโอกาสและเพิ่มความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจไทย

Hang Over Forum เมื่อความเมาของเราไม่เท่ากัน จัดขึ้นเมื่อวันจันทร์ที่ 24 เมษายน 2566 ณ Crystal Box - GAYSORN URBAN RESORT เวลา 13.30 - 16.00 น. โดยมีถ่ายทอดภาพผ่านช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ ของ The People ‘Hang Over Forum’ วงเสวนาที่บอกเล่าวัฒนธรรมการดื่มที่ไม่ได้มีแค่ความเมา ภายในงานเสวนา Hang Over Forum เมื่อความเมาของเราไม่เท่ากัน มีตัวแทนผู้ที่จะมาบอกเล่าขุดลึกไปถึง ‘ราก’ ของวัฒนธรรมการดื่มกินที่ไม่ได้มีดีแค่ความเมา เริ่มตั้งแต่ ว่าที่ ร.ต.ประยุทธ เสตถาภิรมย์ ตัวแทนจากทั้งภาครัฐที่มีหน้าที่ในการดูแลและกำหนดนโยบายการจัดเก็บภาษี, ตั้งแต่ ดวงพร ทรงวิศวะ ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนศาสตร์ และวัฒนธรรมการดื่ม, ธนากร ท้วมเสงี่ยม ตัวแทนกลุ่มประชาชนเบียร์ และ ดร.วิชิต ซ้ายเกล้า เจ้าของ CHIT BEER แบรนด์คราฟต์เบียร์ไทยบนเกาะเกร็ด

เหล้า - ร่องรอยอารยธรรมที่หลงเหลือของมนุษย์

ดวงพร ทรงวิศวะ ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนศาสตร์ และพิธีกรรายการกินอยู่คือ กล่าวถึงวัฒนธรรมการดื่มกินของแต่ละประเทศว่า ทุกอารยธรรมที่หลงเหลือร่องรอยของความรุ่งเรืองในอดีต ล้วนมีเหล้าหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นส่วนสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์ทั้งสิ้น เพราะในอดีตมนุษย์เราไม่ได้ต้องการดื่มเหล้าเพราะอยากเมามาย หากแต่เป็นการดื่มเพื่อเอาชีวิตรอด เพราะกรรมวิธีในการผลิตเหล้านั้นมีความบริสุทธิ์ ผ่านการต้มฆ่าเชื้อมาเป็นอย่างดี ต่างจากแหล่งน้ำจากธรรมชาติที่ไม่อาจรู้ได้ว่ามีสิ่งแปลกปลอมอะไรผสมอยู่บ้าง

“ถ้ามองกลับไปยังอารยธรรมที่เขาอยู่รอดพอประมาณหนึ่ง พอให้เราเห็นร่องรอยบางอย่าง ทุกอารยธรรมที่เราเห็นร่องรอยเชื่อว่ามีการดื่มแอลกอฮอล์ เพราะว่ามันเป็นของสำคัญ ไม่ได้เป็นแค่น้ำดื่ม แต่เป็นยา ใช้ในการรักษาโรคเยอะมาก ไม่ว่าจะเป็นจีน เรามีเหล้าดอง ใช้เหล้าเป็นกระสายยา มันเลยฝังรากลึกในทุก ๆ อารยธรรม เพราะมันสำคัญและจำเป็นต่อทุกชีวิต” ‘Hang Over Forum’ วงเสวนาที่บอกเล่าวัฒนธรรมการดื่มที่ไม่ได้มีแค่ความเมา

พร้อมทั้งอธิบายเหตุผลว่าทำไมคนเราถึงต้องทำความเข้าใจวัฒนธรรมการดื่ม เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้เห็นภาพรวมของการก่อกำเนิดวัฒนธรรมของแต่ละประเทศในปัจจุบัน ที่ไม่ได้มีไว้เพื่อเพิ่มความรื่นรมย์เพียงอย่างเดียว หากแต่เป็นความพยายามในการส่งต่อมรดกภูมิปัญญาอาหาร (Culinary Heritage) ผ่านเครื่องดื่มที่ทุกชนชั้นสามารถเข้าถึงได้

ด้าน ธนากร ท้วมเสงี่ยม ตัวแทนกลุ่มประชาชนเบียร์ มองว่า การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นมีส่วนยึดโยงไปทุกภาคส่วน โดยเฉพาะแง่มุมของการเมือง การปกครอง พร้อมทั้งได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นว่า การดื่มสุราจะเป็นตัวเชื่อมรอยร้าวความสัมพันธ์และเปิดให้คนได้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดมากขึ้น ‘Hang Over Forum’ วงเสวนาที่บอกเล่าวัฒนธรรมการดื่มที่ไม่ได้มีแค่ความเมา
นอกจากนี้ ยังได้เสนอแนะวิธีการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ของคนดื่มแอลกอฮอล์ จากความไม่ปกติให้เป็นความปกติ เพราะคนที่ดื่มแอลกอฮอล์ไม่ใช่คนไม่ดี แต่เป็นเพียงคนคนหนึ่งที่ต้องการหาความรื่นรมย์จากการใช้เวลาร่วมกับสิ่งที่เขารัก รวมถึงควรจะต้องแก้ตัวบทกฎหมาย ทำให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงได้อย่างอิสระ เพิ่มตัวเลือกให้พวกเขาได้เข้าถึงผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย เพื่อที่จะได้มีประสบการณ์ว่าการเมาของคนเราแตกต่างกันอย่างไร

“เราอยู่ในสังคมที่มองว่าเป็นเรื่องผิดปกติมานานจนเกินไปแล้ว นานจนถึงขนาดที่แม้แต่การพูดว่าเหล้าเบียร์อร่อยก็ผิดกฎหมาย มันเพราะอะไร แค่อร่อย ไม่อร่อย ทำไมต้องโดน อันนี้ก็อยากจะฝากทุกคนให้ไปคิดต่อ เพราะว่ามีคดีแนวนี้ค่อนข้างเยอะมาก ๆ มันยึดโยงไปสู่การผูดขาดต่ออีก ทำไมเราถึงรู้จักแบรนด์เหล้าเบียร์แค่ไม่กี่แบรนด์ ทั้ง ๆ ที่ตอนนี้เรามีคนจดทะเบียนสุราชุมชนประมาณสองพันแบรนด์ แล้วถามว่าตอนนี้รู้จักกันกี่แบรนด์ เราอาจจะไม่รู้จักสุราชุมชนเลย เราอาจจะรู้จักน้อยมาก ๆ ด้วยความที่ถูกผูกขาด มันก็เลยเชื่อมโยงกระทั่งการเมือง การปกครอง และสังคม”

ซึ่ง ดร.วิชิต ซ้ายเกล้า เจ้าของ CHIT BEER คราฟต์เบียร์ไทยบนเกาะเกร็ด เห็นด้วยกับธนากรในประเด็นดังกล่าว เขาบอกว่าไม่ว่าจะในอดีตหรือปัจจุบันความเมาของคนเรายังคงเมาเหมือนเดิม ไม่ต่างจากในอดีต แต่สิ่งที่จะสร้างความแตกต่างคือ จะมีตัวแปรไหนบ้างเข้ามาทำให้เราเมาไม่เท่ากัน ‘Hang Over Forum’ วงเสวนาที่บอกเล่าวัฒนธรรมการดื่มที่ไม่ได้มีแค่ความเมา เพราะความเมามีหลายรูปแบบ และในประเทศไทยก็มีแค่ไม่กี่แบรนด์ที่ทำให้คนในสังคมเมาได้ ดร.วิชิต จึงอยากเพิ่มทางเลือกให้คนเมาไม่เท่ากันมากขึ้น “ผมเชื่อว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่คนไทยสามารถพึ่งพาตัวเองด้านความเมาได้ ประเทศนี้เปลี่ยนเลย นั่นหมายความว่า เมาเหมือนเดิม แต่ทำให้ตัวเองเมา มันแตกต่างกัน

“ผมต้องการเห็นออปชัน เห็นทางเลือก เพราะถ้าเราเมาแต่ของเดิม ๆ ผมเชื่อว่ามันไม่ส่งกับคุณภาพ มันจะลดคุณภาพลง เพราะเรารู้ดีว่าจุดนวัตกรรมต่าง ๆ มันอยู่ที่รากฝอย ความคิดสร้างสรรค์ มันอยู่ที่คนตัวเล็ก ๆ แต่วันนี้คนตัวเล็ก ๆ ได้รับโอกาสหรือเปล่า นั่นหมายความว่าคนที่ไม่ได้รับโอกาส โอกาสที่จะเกิดนวัตกรรม คนที่ทำทางด้านนี้อุตสาหกรรมแอลกอฮอล์ ซึ่งเราก็รู้ว่ามันมีข้อได้เปรียบเยอะมาก วัฒนธรรมการเมาเราก็ไม่แพ้ชาติใดในโลก

“เรามีวัตถุดิบที่โคตรอลังการงานสร้าง แต่เราไม่สามารถสร้างซิกเนเจอร์ของเราได้ เพราะว่าเรามองแต่ฝั่งผู้บริโภค ฝั่งเมา แต่เราลืมให้ความสำคัญฝั่งผู้ผลิต ซึ่งตรงนี้ต่างหากที่เรารอการปลดปล่อยศักยภาพของคนไทย”

ด้าน ว่าที่ ร.ต.ประยุทธ เสตถาภิรมย์ ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานและการจัดเก็บภาษี 1 กรมสรรพสามิต ได้ยกแง่มุมที่ช่วยเข้ามาคลายข้อสงสัยของผู้ร่วมวงเสวนา โดยระบุว่า ในแง่ของการทำงานของภาครัฐที่มีการควบคุมผ่านการบังคับใช้กฎหมายรวมถึงมาตรการต่าง ๆ นั้น มีไว้เพื่อปกป้องประชาชนและสร้างความสงบเรียบร้อยให้เกิดขึ้นในสังคม

เพราะเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีส่วนไม่น้อยที่ทำให้อารมณ์ของผู้ดื่มเปลี่ยนไป ว่าที่ ร.ต.ประยุทธเข้าใจดีว่าผู้ที่ดื่มและไม่ก่อความวุ่นวายก็มี แต่ยังมีอีกกลุ่มที่หลังจากดื่มแอลกอฮอล์เข้าไป พฤติกรรมกลับเปลี่ยนเป็นก้าวร้าวรุนแรง

“สืบเนื่องจากเรื่องวัฒนธรรมการดื่มกิน ไม่ว่าในประเทศใด รวมถึงประเทศไทย จนกระทั่งย้อนกลับมาที่พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะเห็นเลยว่า พูดถึงพฤติกรรมมันมีหลายแบบ บางรูปแบบดื่มสุราแล้วก็ไม่มีผลกระทบต่อสังคม แต่บางพวกบางกลุ่มก็จะมีผลกระทบต่อสังคม เช่น การทะเลาะวิวาท อุบัติเหตุ แล้วก็บางส่วนถ้าบริโภคมากไป ก็จะมีผลต่อสุขภาพ มีภาระต้นทุนทางด้านสาธารณสุขที่ต้องดูแล เพราะฉะนั้นนี่คือผลกระทบที่เกิดจากการบริโภคสุราที่เกินกว่าขอบเขตที่กำหนดไว้ ภาครัฐเองก็ต้องกลับมาควบคุมดูแล

“กรมสรรพสามิตเอง นอกเหนือจากการจัดเก็บภาษีแล้ว เราก็มีหน้าที่เข้ามาทำให้ลดการบริโภคด้วย เพื่อที่จะลดผลกระทบที่เกิดขึ้นทางด้านสังคมต่าง ๆ อันนี้คือมุมมอง เหรียญมันมีสองด้านเสมอ เวลาเรามอง เราต้องมองทั้งสองด้าน ประเด็นสำคัญคือถ้าเราบริโภคอย่างมีสติ มันจะลดผลกระทบทางด้านสังคมเป็นอย่างมาก” ‘Hang Over Forum’ วงเสวนาที่บอกเล่าวัฒนธรรมการดื่มที่ไม่ได้มีแค่ความเมา เหรียญอีกด้านนั้นหมายรวมถึงการมีกฎกระทรวงออกมากำกับดูแล โดยแยกออกเป็นสองส่วน ได้แก่ การผลิตสุราเพื่อการค้า ที่กรมสรรพสามิตได้ปลดล็อกเงื่อนไขที่ยุ่งยากออกไป เพื่อให้กลุ่มผู้ผลิตรายย่อยสามารถเข้าถึงกระบวนการเหล่านี้ได้ง่ายขึ้น

พร้อมทั้งยกตัวอย่าง กรณีของเบียร์ขึ้นมาประกอบ โดยระบุว่า “เมื่อก่อนมีข้อจำกัดในเรื่องของทะเบียนหรือกำลังการผลิต กรมสรรพสามิตได้ปลดล็อกทำให้คนที่จะเข้าสู่ธุรกิจเบียร์สามารถเข้าได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเบียร์โรงใหญ่ หรือว่าเบียร์ผับ หรือในกรณีโรงงานสุราชุมชนขนาดเล็ก เราก็เปิดให้เขาขยายเป็นขนาดกลางได้

“เรายังเปิดให้คนทั่ว ๆ ไป บริโภคสุราดื่มกินเองได้ แต่ต้องเข้าระบบ ตรงนี้เป็นมาตรการผ่อนคลายทำให้ผู้ประกอบการสามารถที่จะขยับลงได้ ปัจจุบันเรามีโรงงานสุราชุมชนกว่าสองพันแห่งทั่วประเทศ ภาครัฐเองก็จะช่วยสนับสนุนภาคเอกชน ไม่ว่าจะเป็นรายเล็ก รายกลาง รายใหญ่ เพื่อให้เขาเติบโตอย่างยั่งยืน เรามองในมิติของการซัพพอร์ตให้ธุรกิจเขาเติบโต อีกอันหนึ่งเรามองในเรื่องของการลดผลกระทบทางด้านสังคมด้วย ลดผลกระทบที่เกิดทางด้านสาธารณสุข อย่าลืมว่าคนที่บริโภคมันมีค่าใช้จ่ายทางด้านต่าง ๆ มันมีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา เพราะฉะนั้นเราต้องบาลานซ์ความสมดุลในทั้งสองมิติระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค

ข้อกังวลที่มีต่อนักดื่มหน้าใหม่กับแนวทางการแก้ปัญหา

ว่าที่ ร.ต.ประยุทธ เสตถาภิรมย์ ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานและการจัดเก็บภาษี 1 กรมสรรพสามิต กล่าวถึงข้อกังวลของแนวโน้มที่จะเกิดนักดื่มหน้าใหม่ขึ้นในประเทศไทยว่า หนึ่งในหน้าที่ของกรมสรรพสามิตคือการเข้ามากำกับดูแลประชาชน เพื่อไม่ให้จำนวนนักดื่มหน้าใหม่เพิ่มขึ้น แต่สิ่งที่สำคัญกว่าสิ่งอื่นใดคือ การสร้างองค์ความรู้และส่งต่อไปยังสังคมชุมชน ‘Hang Over Forum’ วงเสวนาที่บอกเล่าวัฒนธรรมการดื่มที่ไม่ได้มีแค่ความเมา “ถ้าเราไปในท้องตลาดเราจะเห็นว่าผลิตภัณฑ์สุรามันเยอะแยะมากเลย ประเด็นสำคัญคือเราจะสอนคนรุ่นใหม่อย่างไรให้เขาดื่มสุราอย่างมีสติ รับผิดชอบต่อสังคม ผมเชื่อว่าเด็กรุ่นใหม่ใส่ใจสุขภาพมากขึ้น เขาก็จะไปดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์น้อย ๆ หรือเบียร์ศูนย์เปอร์เซ็นต์ หรือไปดื่มในน้ำผลไม้ก็ได้"

“เพราะฉะนั้น จุดสำคัญคือมาตรการของรัฐ ในเรื่องการควบคุม นอกเหนือจากการพัฒนาภาษีแล้ว มันจะมีมาตรการที่ไม่ใช่ภาษี เช่น การควบคุมเรื่องระยะเวลาในการจำหน่าย หรือในกรณีวันสำคัญทางศาสนาอันนี้ก็ห้าม อีกสำคัญคือการให้ความรู้กับเยาวชน คนรุ่นใหม่ เพราะเขาจะต้องโตไปเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ ให้เขาโตแบบยั่งยืน เพราะฉะนั้นเราต้องให้ความรู้ในหลาย ๆ อย่างกับเขาเพื่อที่จะลดผลกระทบตรงนี้ คือเวลามอง ผมมองในทุกมิติ เพราะว่าสังคมมันจะเติบโตได้เนี่ย มันต้องโตอย่างยั่งยืน” ‘Hang Over Forum’ วงเสวนาที่บอกเล่าวัฒนธรรมการดื่มที่ไม่ได้มีแค่ความเมา ด้าน ธนากร ท้วมเสงี่ยม ตัวแทนกลุ่มประชาชนเบียร์ มองว่า ประเด็นนักดื่มหน้าใหม่ไม่ได้เป็นเรื่องที่น่ากังวลใจ แต่เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะเมื่อเยาวชนก้าวเข้าสู่อายุ 20 ปีบริบูรณ์ พวกเขาก็มีสิทธิที่จะเลือกดื่มหรือไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

“มันเป็นสิ่งที่คุณต้องเรียนรู้กับสังคมโลกมนุษย์ มันหนีไม่พ้น ยังไงก็ต้องดื่ม แล้วการที่คุณไปแตะมันนิดหนึ่ง เอาลิ้นไปแตะ มันไม่ได้ทำให้คุณตาย มันไม่ได้ทำให้เมา ไม่ได้ทำให้ติดด้วย โอเค คุณอยากจะเรียนรู้ว่ามันคืออะไร ผมเชื่อว่าหลายคนเคยดื่ม แล้วก็เลิกดื่มไปแล้ว ต่อให้คนที่เขาไม่อยากดื่ม คุณยัดเยียดให้ตายเขาก็ไม่ดื่มอยู่แล้ว”

ซึ่ง ดร.วิชิต ซ้ายเกล้า เจ้าของ CHIT BEER คราฟต์เบียร์ไทยบนเกาะเกร็ด ก็เห็นด้วยกับธนากร เพราะเขาเชื่อว่าไม่ว่าจะออกกฎหมายควบคุมอีกกี่ฉบับ กลุ่มคนที่ดิ้นรนเพื่อหาวิธีเติมเต็มความรื่นรมย์ของตัวเอง ย่อมทำทุกวิถีทางเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ต้องการ

และได้ตั้งข้อสังเกตถึงกฎหมายในปัจจุบันว่า หากกฎหมายมีความเข้มแข็งมากพอ แล้วในส่วนของสถิติจำนวนนักดื่มหน้าใหม่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นหรือลดลง “สถิติที่ออกมามันดีขึ้นตามไหม หรือว่าสิ่งที่เราคาดหวังมันไม่เวิร์ก เราควรจะคิดใหม่ไหม หรือว่ามันควรจะมีวิธีการใหม่ไหม” ‘Hang Over Forum’ วงเสวนาที่บอกเล่าวัฒนธรรมการดื่มที่ไม่ได้มีแค่ความเมา ส่วนกลุ่มคนที่เมาแล้วสร้างปัญหา ดร.วิชิต มองว่าพวกเขาต้องรับผิดชอบตัวเอง รัฐไม่สามารถเข้ามาดูแลทุกชีวิตได้ทั้งหมด รัฐมีหน้าที่เพียงออกกฎหมาย กติกา และนโยบาย เพื่อป้องกันไม่ให้กลุ่มคนที่สร้างปัญหาไปทำร้ายคนอื่นในสังคม จึงจะสามารถพัฒนาทั้งอารยธรรมและประเทศไปได้อย่างยั่งยืน

ด้าน ดวงพร ทรงวิศวะ ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนศาสตร์ และพิธีกรรายการกินอยู่คือ ได้เสนอแนวทางที่จะแก้ปัญหาการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักดื่มหน้าใหม่ว่า ควรจะจัดพื้นที่ปลอดภัยให้ทุกคนที่อยากลอง สามารถลองได้อย่างเต็มที่ในพื้นที่ดังกล่าวโดยไม่ต้องกังวลว่าจะทำให้ตนตกอยู่ในอันตราย

“โครงการแบบนี้อาจจะเพิ่มขึ้น ครอบครัวเองเราก็ต้องให้ความรู้เขาเพิ่มว่า จะปล่อยให้ลูกดื่มอย่างไรให้ปลอดภัย ให้เขาดื่มแล้วเขารู้สึกว่าต้องมีความรับผิดชอบ ไม่ใช่แค่กับตัวเองเท่านั้น แต่กับคนรอบข้างด้วย ถ้าลุกออกไปคุณจะต้องไม่ทำลายทรัพย์สินข้าวของของคนรักคนอื่น อันนี้มันเป็นสิ่งที่ถ้าภาครัฐเก็บเงินมาได้ โครงสร้างภาษีถูกต้อง มันก็จะพัฒนาไปได้ แล้วเราจะดื่มไปได้นาน ๆ อย่างมีความสุขทั้งสังคม"

“แต่เราจะทำอย่างไรให้คนดื่มทั้งหน้าใหม่และหน้าเก่าดื่มอย่างมีความรับผิดชอบ มีสติ มีความรับผิดชอบ ตอนนี้ FAO (องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ) เขามีคำออกมาว่า Food Literacy แปลออกมาเป็นภาษาไทยว่า โภชนปัญญา คือปัญญาในการกินและดื่ม” ‘Hang Over Forum’ วงเสวนาที่บอกเล่าวัฒนธรรมการดื่มที่ไม่ได้มีแค่ความเมา แต่การตระหนักรู้ในสิ่งที่กินดื่มว่าสร้างผลกระทบต่อสังคมตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำได้อย่างไรนั้น ในมุมมองของดวงพร คือการที่ประชาชนทุกคนมีสิทธิในการเลือกว่าจะดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จากแบรนด์ใด “เพราะเรารู้ว่าเราดื่มแอลกอฮอล์ที่มีคุณภาพดี ไม่ทำลายสุขภาพเรา เราส่งเสริมเกษตรกรให้มีวิถีชีวิตที่ดี เราก็จะมีสิ่งแวดล้อมที่ดี แล้วเราจะมีเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนไปในทางที่ดี แต่เราต้องมีสิทธิเลือก”

ว่าที่ ร.ต.ประยุทธเองก็เห็นด้วยกับดวงพรในเรื่องของการสร้างความรู้ความเข้าใจในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เชื่อว่าสิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวเปลี่ยนเกมทำให้พฤติกรรมของนักดื่มหน้าใหม่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี ก่อนจะสร้างความสบายใจให้กับผู้ร่วมวงเสวนาว่า ภาครัฐพร้อมที่จะอยู่เคียงข้างและรับฟังประชาชนเสมอ ขอเพียงแค่เปิดใจเข้ามาพูดคุยหาทางออกร่วมกัน ‘Hang Over Forum’ วงเสวนาที่บอกเล่าวัฒนธรรมการดื่มที่ไม่ได้มีแค่ความเมา “ผมจะบอกว่าภาครัฐรับฟังมุมมองของคนรุ่นใหม่ และรับฟังอย่างเข้าใจ และมองในมุมของภาครัฐรุ่นใหม่ เพราะฉะนั้นสังคมมันสามารถแก้ไขปัญหาได้ จะต้องรับฟังเขา คุยด้วยกัน หาทางออก ว่าทางไหนจะดีที่สุดสำหรับประเทศ อยากจะโฟกัสตรงนี้ว่าภาครัฐรับฟังความเห็น แล้วคงไม่ได้ควบคุมอย่างเดียว แต่คงต้องสร้างความเข้าใจด้วยว่าทำไมถึงทำแบบนี้ แล้วถ้าออกไปแล้วมีผลกระทบตามมา เราก็พร้อมที่จะปรับเปลี่ยนกฎกติกาต่าง ๆ เพื่อให้ประเทศเดินหน้าไปได้”

กฎหมายคุมเหล้าลักลั่น ต้นเหตุทำให้ผู้ผลิตรายย่อยไม่สามารถลืมตาอ้าปาก ‘Hang Over Forum’ วงเสวนาที่บอกเล่าวัฒนธรรมการดื่มที่ไม่ได้มีแค่ความเมา

ธนากร ท้วมเสงี่ยม ตัวแทนกลุ่มประชาชนเบียร์ กล่าวถึงความไม่สมเหตุสมผลของกฎหมายว่า ต้องย้อนกลับไปที่รากของปัญหา ซึ่งเป็นรากที่หยั่งลึกอยู่ในสังคมไทยมาช้านาน โดยเฉพาะความเชื่อด้านศาสนา

“ก่อนจะมีผู้ที่ถือกฎหมาย มันอาจจะเป็นวัฒนธรรมที่ถูกบ่มเพาะมาจากศาสนาส่วนหนึ่ง เพราะมันผิดศีลธรรม เรายึดโยงตรงนั้นมาเขียนกฎหมายต่อ แล้วก็เป็นแนวทางนโยบายของรัฐที่ทำให้บังคับใช้ได้อย่างเปิดกว้าง เราก็นำมาเปิดใช้เบ็ดเสร็จเด็ดขาด มันเป็นการลิดรอนสิทธิของประชาชนไปเลย ผมว่ามันเลยเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม ศาสนา ลามไปจนถึงกฎหมาย มันจะเป็นสามสิ่งแรกที่เราจะต้องเริ่มแก้ก่อน”

"รวมถึงกลุ่มธุรกิจรายใหญ่ที่ครองตลาดเพียงไม่กี่รายในประเทศไทย แต่ปัญหาทั้งหมดเหล่านี้สามารถแก้ไขได้ เพียงแค่ทุกฝ่ายร่วมมือกัน ไม่ว่าธุรกิจจะมีขนาดเล็ก กลาง หรือใหญ่ สุดท้ายแล้วความร่วมมือคือสิ่งสำคัญที่สุด “ถ้าเกิดได้รับการซัพพอร์ตจากทุกธุรกิจ ทั้งใหญ่ กลาง เล็ก ทุกคนมาจับมือแล้วพูดกันว่าอยากแก้ตรงนี้ แล้วทำกลุ่มให้มันแข็งแรง เราก็จะสามารถเสนอนโยบายไปให้ภาครัฐได้เป็นก้อนเดียวกัน แต่ว่ามันมีความยิบย่อย เช่น สุราชุมชนก็อีกแบบหนึ่ง เบียร์ก็อีกแบบหนึ่ง เหล้าก็อีกแบบหนึ่ง ทุกคนก็มีเวย์ของตัวเอง มันไม่เคยถูกนำมาหล่อรวมเป็นก้อนเดียวกัน เพื่อที่จะพูดว่าเราต้องการอะไร เราต้องการเปลี่ยนอะไร วันนี้ผมต้องการจะสร้างกลุ่มแบบนั้นขึ้นมา เพื่อให้ทุกคนสามารถพูดได้เต็มปากว่าเราต้องการอะไร” ‘Hang Over Forum’ วงเสวนาที่บอกเล่าวัฒนธรรมการดื่มที่ไม่ได้มีแค่ความเมา ด้าน ว่าที่ ร.ต.ประยุทธ เสตถาภิรมย์ ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานและการจัดเก็บภาษี 1 กรมสรรพสามิต ยกมือขออธิบายให้เห็นโครงสร้างการจัดเก็บภาษีในภาพรวม “ในกรณีของเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เราจะแยกเป็นสุราแช่ สุรากลั่น ในส่วนของสุราแช่เราจะเริ่มในส่วนของการจัดแบ่งประเภท เบียร์เราจะเก็บภาษีตามมูลค่าก็คือ 22% ตามปริมาณ 430 บาทต่อลิตรแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ ถัดมาเป็นพวกไวน์ เรามองว่าไวน์จะมีความลักชัวรี เพราะฉะนั้นภาษีของไวน์ก็คือตามมูลค่า 10% ตามปริมาณก็คือ 1,500

“ถัดลงมาจะเป็นในส่วนของสุราผลไม้ที่มีไวน์ผสม จากปริมาณ 1,500 ก็จะเหลือ 900 แล้วถัดลงมาจะเป็นสุราแช่ผลไม้ที่ไม่มีไวน์ผสม จะเหลือ 10% กับ 150 เพราะฉะนั้นกลไกการจัดเก็บภาษีก็จะลดหลั่นกัน สำหรับประเทศไทยที่เราใช้โครงสร้างภาษีแบบไฮบริดทั้งมูลค่าและปริมาณก็ตอบรับในส่วนของปรัชญาในการจัดเก็บภาษี ณ ปัจจุบันที่มีอยู่”

ส่วนคำถามที่ว่าทำไมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ศูนย์เปอร์เซ็นต์จึงมีการจัดเก็บภาษีสูงกว่าปกติ ว่าที่ ร.ต.ประยุทธ อธิบายว่า “ในส่วนของเบียร์ศูนย์เปอร์เซ็นต์ เราจะไม่ตีเข้าเป็นเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ แต่เราจะตีเข้าเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ ตัวภาษีของเบียร์ศูนย์เปอร์เซ็นต์จะเก็บ 14% ในส่วนของตัวสุราขาวกลั่น กรณีเก็บตามมูลค่าตามปริมาณ 155 บาทต่อลิตรแอลกอฮอล์บริสุทธิ์

“ส่วนสุราสี เราจะเก็บตัวภาษีจะสูงกว่าสุราขาวคือ 20% กับ 255 ซึ่งในส่วนของสุราขาวจะมีส่วนของชาวบ้านด้วย ถ้าเราไปเก็บสูงมากมันก็จะมี ผลกระทบต่อชาวบ้านเขา เพราะฉะนั้นในการจัดเก็บภาษีหรือว่าอะไรก็แล้วแต่ เราควรจะต้องดูผลกระทบ”

นอกจากนี้ ยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมสรรพสามิตกำลังจัดตั้งคณะทำงานชุดใหม่ขึ้นมาเพื่อปฏิรูปโครงสร้างภาษีทั้งระบบ รวมถึงในเรื่องของภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มที่ไม่ใช่แอลกอฮอล์ เพราะการจัดเก็บภาษีเองก็ต้องปรับเปลี่ยนไปตามบริบทสังคม

“อย่างตัวเบียร์ศูนย์เปอร์เซ็นต์ไม่มีแอลกอฮอล์ ก็ไม่จัดไปอยู่ในพิกัดของเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ทีนี้มันจะมีพิกัดของเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ก็ลงล็อกตรงนี้ได้ เพราะว่าในส่วนของเครื่องดื่มเราจะเก็บทั้งสองขาคือขาคุณภาพ กับขาปริมาณ เราจะโฟกัสในเรื่องของความหวาน ถ้าความหวานมาก ก็ถือว่าจะทำให้คนบริโภคมากก็มีผลต่อสุขภาพ ภาษีก็จะสูง ถ้าหวานน้อย ภาษีก็จะต่ำ”

ด้าน ดร.วิชิต ซ้ายเกล้า เจ้าของ CHIT BEER คราฟต์เบียร์ไทยบนเกาะเกร็ด กล่าวว่าโครงสร้างภาษีที่รัฐออกมากำลังทำให้ผู้ประกอบการไม่มีทางเลือก และเริ่มไม่แน่ใจว่าภาครัฐพร้อมสนับสนุนประชาชนจริง ๆ หรือทำไป เพราะหวังจะบีบรัดผู้ประกอบการจนไม่สามารถลืมตาอ้าปากได้

“เบียร์ของพวกเรามีสตอรี่ มีคาแรกเตอร์ มีความคิดสร้างสรรค์ มีที่มาที่ไป แต่กฎหมายกลับทำเหมือนกับว่าเป็นการทำร้ายคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ พอเรื่องของมูลค่าตรงนี้ ต้องแยกว่ามันลักชัวรีอิมพอร์ตหรือโดเมสติก ถ้าภาครัฐคิดว่าเราพูดย้ำแล้วย้ำอีกว่าสร้างมูลค่าเพิ่ม ใช้ความคิดสร้างสรรค์ มันคือ Domestic Product จริง ๆ ตรงนี้รัฐต้องมีวิธีปฏิบัติที่แตกต่างกัน ผมว่าภาครัฐยังไม่ละเอียดพอ ไม่ละเอียดพอตรงที่ว่า รักเราจริงหรือเปล่า หรือไม่ได้รักเรา”

ส่วนโครงสร้างภาษีในปัจจุบัน ดร.วิชิต ให้คำตอบสั้น ๆ ว่า ไม่แฟร์ ไม่ต่างจากเตี้ยอุ้มค่อม รัฐกำลังปฏิบัติกับคนตัวเล็กเหมือนคนตัวใหญ่ ผู้บริโภคจึงไม่มีทางเลือกในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่หลากหลายมากนัก เพราะผู้ประกอบการรายย่อยไม่มีทุนหนาพอจะสร้างแบรนด์

“ถ้าเกิดเราไปศึกษาประเทศที่เขาส่งเสริมจริงไม่ว่าจะเป็น ญี่ปุ่น ยุโรป อเมริกา เวลาเขาส่งเสริมส่วนใหญ่เขาจะให้แต้มต่อกับคนตัวเล็กเสมอ ภาพมันก็คล้ายกับว่าถ้าเราเป็นพืชเล็ก ๆ เพิ่งแทงหน่อออกมา มันก็ควรจะมีสิ่งแวดล้อมอุดมสมบูรณ์ คำว่ารัฐส่งเสริมคือรัฐใส่ทุกทรัพยากร เพื่อให้เขาสามารถจะครีเอทแบรนด์ สร้างความแตกต่าง เป็นที่เชิดหน้าชูตา เป็นแบรนด์ระดับชาติ เป็นแบรนด์ทางเลือกได้

“ในวันนี้ถ้าเราปฏิบัติกับเขาเหมือนพี่ใหญ่ ก็เหมือนเป็นการทำร้ายเขา นั่นหมายความว่าเขาไม่มีโอกาสได้เกิดเลย ซึ่งเราก็รู้ดีว่าอย่างนี้ เรื่องแบบนี้ก็อยากฝากไว้ว่าคิดใหม่อีกทีว่าคนตัวเล็กจะต้องประคบประหงม จะต้องเพาะเลี้ยงเขา เพราะเราพูดอยู่เสมอว่า ‘ส่งเสริม’ ถ้าไม่พูดคำว่าส่งเสริมอันนั้นค่อยว่ากันอีกที” ‘Hang Over Forum’ วงเสวนาที่บอกเล่าวัฒนธรรมการดื่มที่ไม่ได้มีแค่ความเมา ด้าน ดวงพร ทรงวิศวะ ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนศาสตร์ และพิธีกรรายการกินอยู่คือ กล่าวว่า ราคาของเครื่องดื่มควรจะแพงด้วยวัตถุดิบและองค์ความรู้ ไม่ใช่แพงเพราะภาษี ขณะเดียวกันรัฐควรทำหน้าที่สนับสนุนผู้ประกอบการปล่อยให้คนตัวเล็กแข่งขันกันเองได้อย่างเต็มที่ ประชาชนจะได้มีประสบการณ์การดื่มกินที่หลากหลาย

“คุณภาพของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่จะเกิดขึ้นในประเทศบ้านเรามันจะดีขึ้นได้ แล้วคนจะเมาอย่างมีความรับผิดชอบมากขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อเขาเข้าถึงของได้หลากหลาย โครงสร้างภาษีควรสนับสนุนผู้ผลิตรายย่อยภายในประเทศมากกว่า”

เปลี่ยนความเมามาย เป็นอนาคตแสนหวานที่จะเห็นคนไทย ‘เมา’ อย่างมีคุณภาพ

ดร.วิชิต ซ้ายเกล้า เจ้าของ CHIT BEER คราฟต์เบียร์ไทยบนเกาะเกร็ด กล่าวถึงภาพฝันที่จะเห็นสังคมไทยเมาได้อย่างมีคุณภาพนั้น รัฐควรจะเปิดให้มีการแข่งขันอย่างเสรี เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้อย่างหลากหลาย เมื่อเกิดการแข่งขันย่อมนำมาซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพตามมา

เพราะไม่อย่างนั้น ผู้ผลิตตัวเล็กเองก็ต้องหลงวนเวียนอยู่ในวังวนเดิม ๆ ที่ไม่มีทางออก “รัฐต้องเปิดเวทีให้คนที่เป็นผู้สร้างสรรค์ นี่คือสิ่งที่ไม่ใช่เฉพาะวงการเบียร์ แต่ทุกวงการ เรายังขาดในเรื่องของผู้สร้างสรรค์หน้าใหม่ มันเลยทำให้คุณภาพแย่ลงไปเรื่อย ๆ แล้วก็วนอยู่ในลูปเดิม มันยังไม่หนีลูปไปสักที ถ้าเราปลดปล่อย ถ้าเราสามารถสร้างความก้าวหน้าของวงการคราฟต์เบียร์ ให้มันเจริญก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องได้ ก็จะมีโอกาสอีกมากมายที่เราเชื่อว่าภาคเอกชน ภาครัฐ ยังไม่ได้เกิดการร่วมมือกัน เพื่อที่จะหลุดพ้นไปจากตรงนี้”

ส่วนภาพฝันแสนหวานที่จะเห็นอนาคตของการเมาอย่างมีคุณภาพในมุมมองของ ธนากร ท้วมเสงี่ยม ตัวแทนกลุ่มประชาชนเบียร์ คือ ฝันอยากจะเห็นการแบ่งตลาดของรายย่อยที่เป็นของชุมชนมากกว่านี้ เพียงแค่ 20% ก็ยังดี เมื่อมีการแบ่งพื้นที่ให้ผู้ผลิตเข้ามามากขึ้น ไม่แน่ว่าอนาคตประเทศไทยอาจจะเป็นหมุดหมายสำคัญในการมาดื่มกินแอลกอฮอล์ เหมือนอย่างประเทศเยอรมนีก็เป็นได้

“เราอยากเห็นกิจกรรมที่จัดอีเวนต์ระดับโลก เช่น OktoberFest มาอยู่เมืองไทย งานเหล้าเบียร์สุราชุมชนแล้วให้ทุกคนบินมากินเหล้ากินเบียร์ที่เมืองไทย เราอยากเห็นการทำงานร่วมกับภาครัฐ ที่สนับสนุนจริง ๆ เราอยากเห็นสิทธิและเสรีภาพในการกินดื่มของทุกคนจริง ๆ ว่ากินแค่สามขวดเมา แต่เป็นสามแบรนด์เมาแทน” ‘Hang Over Forum’ วงเสวนาที่บอกเล่าวัฒนธรรมการดื่มที่ไม่ได้มีแค่ความเมา ในขณะที่ ดวงพร ทรงวิศวะ ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนศาสตร์ และพิธีกรรายการกินอยู่คือ อยากจะเห็นภาครัฐที่ทำงานบนความเข้าใจของประชาชนอย่างแท้จริง และยึดเอาประโยชน์ของคนในประเทศเป็นที่ตั้ง

“อย่างวันนี้ในเรื่องของภาษีถ้าประเมินใหม่ได้ ในมุมของหน่วยงานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศไทย ทำโครงสร้างใหม่สำหรับเหล้าชุมชน คราฟต์เบียร์หรือว่าให้กับคนตัวเล็ก รัฐอาจจะต้องขีดเส้นใหม่ รัฐจะต้องดูแลประชาชนคนไทย ถ้าการที่เขาทำได้แล้วเรากินของอิมพอร์ตน้อยลง เราไม่ต้องเสียเชื้อเพลิงฟอสซิลในการขนของเข้ามา เราสร้างงานได้ เราสร้างความหลากหลายทางชีวภาพ เราสร้างความยั่งยืนทางอาหารให้บ้านเราเองได้”

ก่อนจะเน้นย้ำอีกครั้งว่า สิ่งที่ดวงพรอยากเห็นมากที่สุดในช่วงเวลานี้คือ การเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของหน่วยงานราชการ ที่ไม่ได้มีเพียงหน่วยงานสรรพสามิตที่เดียว “ถ้ามันถูกเปลี่ยนทางโครงสร้างตั้งแต่ต้น ไม่ใช่หน่วยงานเดียว แล้วเดินไปด้วยกัน เข้าใจจริง ๆ เห็นเข้าใจพัฒนาการจริง ๆ เชื่อว่าประเทศไทยไปได้ แล้วผู้บริโภคในประเทศไทยก็จะดื่มได้อย่างมีความรับผิดชอบ ไม่ต้องให้ใครมาดูเรื่องของตับแข็ง เพราะว่าเราดื่มกินอย่างมีคุณภาพ” ‘Hang Over Forum’ วงเสวนาที่บอกเล่าวัฒนธรรมการดื่มที่ไม่ได้มีแค่ความเมา ด้าน ว่าที่ ร.ต.ประยุทธ เสตถาภิรมย์ ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานและการจัดเก็บภาษี 1 กรมสรรพสามิต ได้กล่าวทิ้งท้ายถึงภาพฝันอนาคตการเมาของสังคมไทยเอาไว้สั้น ๆ ว่า กรมสรรพสามิตทำงานบนความเข้าใจ และพยายามตอบโจทย์สิ่งที่ประชาชนต้องการ และเชื่อว่าหากทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ รวมถึงผู้ประกอบการเล็ก กลาง ใหญ่ ร่วมมือกันอย่างเข้มแข็ง ย่อมทำให้ประเทศไทยสามารถขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

“ผมเชื่อว่ามันน่าจะมีหนทางหรือแสงสว่างในการก้าวไปข้างหน้า ถ้าเราร่วมมือ ร่วมพลังกันในการขับเคลื่อน เราก็น่าจะฟันฝ่าอุปสรรคที่ขวางกั้นอยู่ไปได้”

#Hangover #เมื่อความเมาของเราไม่เท่ากัน #เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ #ภาษีเครื่องดื่ม #ThePeople