แบโครงสร้าง ‘ภาษีความเมา’ กับวัฒนธรรมการดื่มที่สวนทางกับความจริงในสังคม

แบโครงสร้าง ‘ภาษีความเมา’ กับวัฒนธรรมการดื่มที่สวนทางกับความจริงในสังคม

วงเสวนา ‘Hang Over Forum เมื่อความเมาของเราไม่เท่ากัน’ ที่ผ่านมา The People ได้หยิบประเด็นที่หลายคนกังวลในเวลานี้คือ ‘ภาษี’ ที่ไม่แฟร์สำหรับผู้เล่นในวงการ โดยบทความนี้เพื่อต้องการปลดแอกทุกความไม่เท่าเทียม และให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโครงสร้างภาษีในปัจจุบัน

ว่าด้วยเรื่อง ‘ความเมา’ ที่หลายคนตีกรอบว่ามันคือส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมของคนทั่วโลก ซึ่งตามหลักประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมการดื่มจัดว่าเป็นส่วนที่ปรากฎให้เห็นตั้งแต่ในอดีต และมีจุดประสงค์การดื่มที่หลากหลายไม่ใช่เพื่อความเมา หรือเพื่อสังสรรค์เท่านั้น แต่ดื่มเป็นกระสายยาด้วย

มีข้อมูลจากองค์กรอนามัยโลกที่ว่า ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในทำเนียบนักดื่มลำดับที่ 41 ของโลก แม้ว่าจะมีการบังคับใช้นโยบายที่หลากหลายอย่างเข้มข้นเพื่อจำกัดการดื่ม โดยนักดื่มไทยนิยมดื่มสุรามากที่สุด ตามด้วยเบียร์ และไวน์

ที่น่าแปลกใจคือ การเก็บภาษีสรรพสามิตที่ถูกใช้เป็นหนึ่งในเครื่องมือจำกัดการดื่ม กลับเรียงลำดับในทางตรงกันข้าม จึงไม่แปลกที่วงเสวนา ‘Hang Over Forum เมื่อความเมาของเราไม่เท่ากัน’ เมื่อวันที่ 24 เมษายนที่ผ่านมา The People ได้หยิบประเด็นที่หลายคนกังวลมากที่สุดในเวลานี้ก็คือ ‘โครงสร้างภาษี’ ที่ไม่แฟร์สำหรับผู้เล่นในวงการ โดยบทความนี้เพื่อต้องการปลดแอกทุกความไม่เท่าเทียม และให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโครงสร้างภาษีในปัจจุบัน

รศ. ดร. นพ.อุดมศักดิ์ แซ่โง้ว ผู้อำนวยการ สถาบันส่งเสริมการวิจัยและนวัตกรรมสู่ความเป็นเลิศ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และนักวิชาการศูนย์วิจัยปัญหาสุรา ได้อธิบายในมุมของนักวิชาการเกี่ยวกับโครงสร้างภาษี ว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีอยู่ 2 กลุ่มใหญ่ คือ สุราแช่ ซึ่งเป็นสุราที่เกิดจากการหมัก และสุรากลั่น ที่ได้แอลกอฮอล์มาจากการกลั่น ส่วนการจัดเก็บจะเป็นแบบผสมประกอบด้วย อัตราภาษี ‘ตามมูลค่า’ และ ‘ตามปริมาณ’

‘สุราขาว’ (ที่ผลิตในไทย) อยู่ในหมวดหมู่สุรากลั่น มีการจัดเก็บภาษีที่ต่ำ เพียง 2% ตามมูลค่า และ 155 บาทต่อลิตรตามปริมาณ ซึ่งหากมองในปริมาณของแอลกอฮอล์ในมุมของสุขภาพ ‘สุราขาว’ ถือว่ามีการจัดเก็บภาษีที่ต่ำเกินไป เมื่อเทียบกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประเภทเบียร์ และ RTD แบโครงสร้าง ‘ภาษีความเมา’ กับวัฒนธรรมการดื่มที่สวนทางกับความจริงในสังคม

ส่วนสุราแช่ ก็มีความซับซ้อนในโครงสร้างการจัดเก็บ เพราะผลิตภัณฑ์ที่แม้จะเป็นหมวดหมู่เดียวกัน แต่กลับมีการเก็บภาษีที่ลักลั่น เช่น เบียร์ ที่มีปริมาณแอลกอฮอล์ราว 4-7 ดีกรี ถูกเก็บตามมูลค่าอยู่ที่ 22% และถูกเก็บตามปริมาณแอลกอฮอล์อยู่ที่ 430 บาทต่อลิตรของแอลกอฮอล์

ในขณะที่ ที่ ‘สุราแช่ผลไม้’ หรือที่รู้จักกันในประเภทของ RTD อาทิ wine cooler ที่มีแอลกอฮอล์ระดับไล่เลี่ยกันคือ ราว 4-10 ดีกรี ขนาดบรรจุไม่เกิน 0.330 ลิตร จะถูกเก็บภาษีตามมูลค่า 10% และภาษีตามปริมาณอยู่ที่ 150 บาทต่อลิตร

#การจัดเก็บภาษี ‘โซจู’

นอกจากนี้ รศ. ดร. นพ.อุดมศักดิ์ ยังพูดถึง ‘โซจู’ ที่มีอัตราการเก็บภาษี 2 รูปแบบซึ่งหากมองตามโครงสร้างทางภาษี ก็ถือว่ามีจุดบอดที่ทำให้ผู้ผลิตใช้ประโยชน์ในการหลีกเลี่ยงได้ แบโครงสร้าง ‘ภาษีความเมา’ กับวัฒนธรรมการดื่มที่สวนทางกับความจริงในสังคม เขาอธิบายว่า หากเป็นโซจูเพียว ๆของแท้จากเกาหลี ผู้ผลิตจะถูกเก็บภาษีแบบวิสกี้ คืออยู่ที่ 20% ตามมูลค่า และตามปริมาณอยู่ที่ 255 บาทต่อลิตร 

แต่ประเด็นที่เกิดขึ้นก็คือ หากเป็นเครื่องดื่มเสมือนโซจู หรือโซจูที่นำมาผสมกันมากกว่าหนึ่งประเภท คือมีทั้งสุรากลั่นและสุราแช่ แนวทางการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพสามิตรก็คือดูว่าดีกรีของโซจูนั้นเกิน 15% หรือไม่ หากต่ำกว่า 15% จะถูกนับว่าเป็นสุราแช่ทันที แบโครงสร้าง ‘ภาษีความเมา’ กับวัฒนธรรมการดื่มที่สวนทางกับความจริงในสังคม

ทั้งนี้ โซจูที่วางขายในตลาดไทยซึ่งมีแอลกอฮอล์อยู่ที่ประมาณ 12 ดีกรี จึงนับเป็น ‘สุราแช่’ โดยมีการจัดเก็บภาษีอยู่ที่ 10% ตามมูลค่า และ 150 บาทต่อลิตรตามปริมาณ (ต่ำกว่าโซจูเพียว ๆ ของแท้จากเกาหลีถึงครึ่งหนึ่ง)

รศ. ดร. นพ.อุดมศักดิ์ ได้พูดว่า “ในแง่ของการจัดเก็บภาษีที่มีการหลบหลีกด้วยช่องว่างบางอย่าง ผู้ผลิตมีการใช้ทริคต่าง ๆ ก็อาจจะกระทบในแง่ผลลัพธ์ที่ไม่ได้ช่วยลดปริมาณนักดื่มหน้าใหม่ เพราะราคาขายเครื่องดื่มไม่ได้สูงอย่างที่ควรจะเป็น”

นอกเหนือจากราคาขายที่ช่วยให้เข้าถึงนักดื่มหน้าใหม่ได้ง่ายขึ้นแล้ว เครื่องดื่มแอลกอฮอล์สีสันสดใส รสหวาน หอมกลิ่นผลไม้ ของ RTD ทำให้เป็นที่นิยมสำหรับนักดื่มหน้าใหม่ แถมเครื่องดื่มบางประเภทอย่างโซจูยังอาศัยซอฟต์พาวเวอร์เทรนด์เกาหลีมาช่วยกระตุ้น ทำให้เป็นที่นิยม ครองใจวัยใสได้อย่างง่ายดาย

ทำให้ประเด็น โครงสร้างภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของไทย เป็นที่วิพากย์ถึงความบิดเบี้ยวลักลั่น นำมาซึ่งปัญหาและข้อกังวลในหลายด้าน ไม่ว่าจะเรื่องความเท่าเทียมในการแข่งขันในตลาด บางคนเลือกใช้คำว่า ผู้เล่นหน้าใหม่ถูกกีดกันด้วยกำแพงภาษี ผู้ประกอบการหน้าใหม่สู้ศึกการผูกขาดในตลาดไม่ได้ ขณะเดียวกันในมุมผู้บริโภคเองก็ขาดตัวเลือกที่มีเอกลักษณ์ที่แตกต่าง เพราะผู้ประกอบการรายเล็กหน้าใหม่อย่างกลุ่มคราฟต์เบียร์ ก็ถูกกีดกันด้วยโครงสร้างภาษีที่ไม่เป็นธรรม

ดังนั้น ประเด็นเรื่องภาษีของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ทั้งนักดื่มและผู้ผลิตให้ความสนใจ โดยคาดหวังที่จะเห็นการปรับเปลี่ยนโครงสร้างในอนาคตเพื่อให้เกิดความเท่าเทียม

ขณะที่ผู้ประกอบการก็คาดหวังที่จะผลักดันอารยธรรมการดื่มนี้ให้ไปไกลกว่านี้ บนพื้นฐานการแข่งขันที่ไม่ถูกเอาเปรียบ ซึ่งในวงเสวนาของฟอรั่มที่ผ่านมา ถือว่ามีการแลกเปลี่ยนมุมมองกันพอสมควร ก็หวังว่าจะทำให้วงการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของไทยก้าวได้ไกลกว่าที่เคยเป็นมา