ผลวิจัยเทรนด์สื่อออนไลน์ปี 65 ชี้ อาชญากรรม การเมือง บันเทิง มีเอ็นเกจสูงสุด

ผลวิจัยเทรนด์สื่อออนไลน์ปี 65 ชี้ อาชญากรรม การเมือง บันเทิง มีเอ็นเกจสูงสุด

กองทุนพัฒนาสื่อฯ เผยผลวิจัยพร้อมบทวิเคราะห์ “จากเทรนด์ปี 65 สู่ทิศทางการสื่อสารออนไลน์ ปี 66” พบ ประเด็นอาชญากรรมและอุบัติเหตุ การเมือง บันเทิง มีเอ็นเกจเมนต์สูงสุด และพบพฤติกรรมการใช้สื่อเป็นไปตามบุคลิกของแพลตฟอร์ม

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จัดเวทีเสวนา “จาก Trend ในโลกออนไลน์ปี 65 สู่การวิเคราะห์ทิศทางการสื่อสารออนไลน์ ปี 66” เพื่อเสนอผลการศึกษา “การสื่อสารออนไลน์ของสังคมไทยในปี 65” และการวิเคราะห์ทิศทางการสื่อสารออนไลน์ ปี 66” โดยผู้มีประสบการณ์ด้านสื่อหลัก สื่อออนไลน์ Big Data และนักวิจัยด้านสังคม 
ผลวิจัยเทรนด์สื่อออนไลน์ปี 65 ชี้ อาชญากรรม การเมือง บันเทิง มีเอ็นเกจสูงสุด

ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ได้บรรยายพิเศษที่มีสาระสำคัญ คือ ในยุคสังคม Digital ที่ทุกคนสามารถสื่อสารเพื่อแสดงความคิดเห็น ความรู้สึก รวมทั้งเพื่อขับเคลื่อนทางสังคม อันมีผลต่อนิเวศการสื่อสาร 

สำหรับผลการศึกษาประเด็นที่โลกออนไลน์ให้ความสนใจตลอดปี 2565  ที่กองทุนฯ ได้ดำเนินการร่วมกับบริษัท Wisesight (ประเทศไทย) จำกัด พบความคล้ายคลึงกันกับผลการศึกษารายการข่าวโทรทัศน์ที่ทางกองทุนฯโดย Media Alert ดำเนินการ กล่าวคือ ความสนใจในข่าวโทรทัศน์กับความสนใจของสังคมออนไลน์เป็นไปในเรื่องเดียวกัน คือ ประเด็นอาชญากรรม ประเด็นอุบัติเหตุ ที่นำเสนอในรูปแบบเรื่องราวที่เร้าอารมณ์ โดยเนื้อหาอาจไม่มีอะไรมาก แต่ก็ขยี้อารมณ์จนเกินกว่าเหตุ ตลอดจนในบางกรณี สื่อหลักก็นำประเด็นในโลกออนไลน์มานำเสนอต่อเป็นการกระพือความรู้สึกอีกด้วย    

ผลจากการศึกษาครั้งนี้ทำให้กองทุนฯเห็นภารกิจในการระดมความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมพัฒนาคุณภาพข่าวโทรทัศน์และคุณภาพการสื่อสารออนไลน์ให้สร้างคุณค่าต่อสังคม ให้ส่งเสริมการนำเสนอและการสื่อสารแสดงออกที่เสริมสร้างระบบนิเวศสื่อที่ดี เพราะการดูแลสื่อหลักและการสื่อสารออนไลน์ไม่ใช่หน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นหน้าที่ของทุกคน

กองทุนพัฒนาสื่อฯ เผยผลวิจัยพร้อมบทวิเคราะห์ “จากเทรนด์ปี 65 สู่ทิศทางการสื่อสารออนไลน์ ปี 66” พบ ประเด็นอาชญากรรมและอุบัติเหตุ เรื่องเกี่ยวกับรัฐ สื่อและสิ่งบันเทิง มีเอ็นเกจเมนต์สูงสุด และพบพฤติกรรมการใช้สื่อเป็นไปตามบุคลิกของแพลตฟอร์ม

จากการสำรวจพฤติกรรมการสื่อสารออนไลน์ของสังคมไทยในปี 2565 โดย Social Listening Tool ที่ชื่อ ZOCIAL EYE พบ 10 ประเด็นที่มียอดเอ็นเกจเมนต์สูงสุด ดังนี้ ผลวิจัยเทรนด์สื่อออนไลน์ปี 65 ชี้ อาชญากรรม การเมือง บันเทิง มีเอ็นเกจสูงสุด
สำหรับเอ็นเกจเมนต์สูงสุด 10 อันดับแรกในแต่ละเดือน ที่จำแนกเป็นหมวดหมู่ได้ 23 หมวดหมู่เนื้อหา โดย 3 หมวดหมู่ที่มีเอ็นเกจเมนต์สูงสุดได้แก่

อันดับ 1 อาชญากรรมและอุบัติเหตุ (Crime & Accidents)
อันดับ 2 เรื่องเกี่ยวกับรัฐ (Politics)
อันดับ 3  สื่อและสิ่งบันเทิง (Media & Entertainment)

เมื่อวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์รายแพลตฟอร์ม พบระดับการใช้และความสนใจที่แตกต่างกัน ดังนี้ ผลวิจัยเทรนด์สื่อออนไลน์ปี 65 ชี้ อาชญากรรม การเมือง บันเทิง มีเอ็นเกจสูงสุด เฟซบุ๊ก เป็นช่องทางหลักที่มีการเผยแพร่ข่าวสารมากที่สุด ในขณะที่ ทวิตเตอร์ เป็นแพลตฟอร์มที่ใช้ในการถกเถียง วิพากษ์วิจารณ์ พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ทำให้เกิดกระแสเชิงบวก-ลบต่อประเด็นนั้น ๆ อย่างชัดเจน ส่วนอินสตาแกรม มีจุดเด่นในการนำเสนอรูปและวิดีโอ เป็นแพลตฟอร์มยอดนิยมสำหรับคนดังหรือนักแสดง จึงทำให้หมวดหมู่สื่อและความบันเทิงได้รับความนิยมมากที่สุดในอินสตาแกรม สำหรับ ยูทูป มีข้อจำกัดตรงที่เหมาะสำหรับวิดีโอ จึงมักใช้ในสื่อใหญ่และการไลฟ์สด รวมถึงการสรุปประเด็นที่มีการพูดถึงในระยะยาว แต่ไม่เหมาะกับการถกเถียงที่ทันกับสถานการณ์

ข้อมูลนี้ชี้ให้เห็นว่าพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้โซเชียลมีเดียเปลี่ยนแปลงไปตามแพลตฟอร์ม และมีแนวโน้มที่จะมีส่วนร่วมแบบทันทีทันใดกับประเด็นที่เกิดขึ้น ทั้งสรุปได้ว่า ผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียสนใจเหตุการณ์ที่มีผลกระทบต่อสาธารณะทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยบุคคลในเหตุการณ์มักเป็นผู้มีชื่อเสียง ผู้มีสถานะทางสังคม เช่น คดีFOREX 3D เหตุการณ์การกราดยิงที่หนองบัวลำภู การเสียชีวิตของนักแสดงแตงโม นิดา ทั้งพบสถานการณ์เชิงบวกที่ผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียมีแนวโน้มเป็นผู้บริโภคที่ชาญฉลาดรู้เท่าทันและปกป้องสิทธิของตนเองมากขึ้น ทั้งมีการแสดงออกอย่างเปิดเผยต่อเรื่องที่มีผลกระทบกับสิทธิของตนเอง เช่น การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. เพราะเชื่อว่าการสื่อสารบนโลกออนไลน์ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้

อย่างไรก็ตาม การศึกษาวิจัยครั้งนี้ พบข้อห่วงใยในด้านลบ คือ ลักษณะเฉพาะของโซเชียลมีเดียที่ส่งผลกระทบต่อการรับและการใช้สื่อของบุคคลทั่วไป เช่น ปัญหาการวิเคราะห์และแยกแยะข้อเท็จจริง ความรับผิดชอบในการสื่อสารและส่งต่อข่าวสาร  รวมทั้งปัญหาความน่าเชื่อถือของผู้ทรงอิทธิพลในโซเชียลมีเดีย และ ปัญหาจริยธรรมของสื่อกระแสหลักในแพลตฟอร์มออนไลน์ 

สะท้อนให้เห็นถึงโอกาสและข้อจำกัดของการสื่อสารในโลกออนไลน์ ในปัจจุบัน จึงถึงเวลาระดมความร่วมมือและเสนอข้อคิดเห็น ในการเพิ่มพลังเชิงบวกและลดผลกระทบในเชิงลบ ซึ่งจะส่งเสริมการพัฒนานิเวศสื่อที่สร้างสรรค์และยั่งยืน 

กล้า ตั้งสุวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท Wisesight (ประเทศไทย) จำกัด  เสนอว่า ผู้คนเริ่มให้ความสำคัญกับบทบาทของตนเอง เห็นได้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่อินฟลูเอ็นเซอร์ก็มีส่วนในการผลักดันประเด็นต่างๆ กับสังคมมากขึ้น ในบางครั้ง สื่อชี้นำสังคมและสังคมก็ชี้นำสื่อ เพราะหากประเด็นที่สื่อนำเสนอนั้นได้รับความสนใจจากสังคม สื่อก็จะนำประเด็นนั้นมาขยี้และนำเสนออย่างต่อเนื่อง จนบางครั้ง คอนเทนต์ที่มีคุณภาพ มีประโยชน์ หรือเป็นความจริง (Fact) อาจไม่สามารถสร้างรายได้ได้

เนื่องจากในปัจจุบัน ศูนย์กลางการสื่อสารในยุคนี้อยู่ที่ผู้รับสาร แพลตฟอร์มให้อำนาจแก่ผู้รับสารด้วยการจัดสรรคอนเทนต์ ตามความสนใจของผู้รับสารแต่ละคน (Personalization) เมื่อผู้ผลิตต้องผลิตคอนเทนต์ตามความสนใจของผู้รับสาร เพื่อสร้างรายได้  กลไกตลาดจึงไม่เอื้อให้ผู้ผลิตสามารถผลิตคอนเทนต์คุณภาพได้ ภาครัฐหรือผู้ควบคุม (Regulator) สามารถสนับสนุนและส่งเสริมเพื่อกระตุ้นในส่วนนี้ รวมไปถึงการตักเตือน ควบคุม ดูแล สื่อและคอนเทนต์ที่อาจขัดต่อสิทธิมนุษยชน  เช่น  Alert ด้วยการให้ข้อมูลที่ถูกต้อง อย่างเอื้อประโยชน์ในเชิงเศรษฐศาสตร์ได้ แต่หากเหตุการณ์ใดเริ่มไม่พอเหมาะพอควร กลไกภาครัฐควรเข้าไปจัดการให้ถูกที่ถูกทาง ผลวิจัยเทรนด์สื่อออนไลน์ปี 65 ชี้ อาชญากรรม การเมือง บันเทิง มีเอ็นเกจสูงสุด

สำหรับการสื่อสารเรื่องที่เป็นประโยชน์ ให้ได้รับความสนใจจากสังคม สื่อควรกำหนดกลุ่มเป้าหมายอย่างเฉพาะเจาะจง เพื่อให้สามารถกำหนดรูปแบบสื่อ และภาษาที่ใช้ เหตุนี้ Content Creator จึงสำคัญมาก เพราะการเล่าเรื่องให้กลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่มนั้น ต้องใช้วิธีการ รูปแบบ และภาษาที่แตกต่างกัน

“อัลกอริทึม พยายามเดาว่าเราอยากอ่านอะไรมากขึ้น หลาย ๆ คนกังวลว่ามันมีข้อเสียเหมือนกัน ผมมองว่าเราไม่เข้าใจมัน เราก็เลยกลัวมัน พอเรากลัวมัน เราก็เลยต่อต้านหรือควบคุมมัน ลองสะท้อนไปที่สื่อดั้งเดิม มันก็มี Natural Selection เหมือนกัน ถ้ามนุษย์ยอมรับว่าเราเอาชนะธรรมชาติไม่ได้ เราเลยไม่ค่อยกลัวการคัดสรรจากธรรมชาติ แต่อัลกอริทึมออนไลน์มันไม่เป็นธรรมชาติ เราก็เลยกลัวมัน ทีนี้ผู้ควบคุมควรเข้าใจกับมันใหม่ และปรับตัว โดยมองไปที่การระวังไม่ให้สิทธิมนุษยชนถูกลดทอนมากกว่า”

สำหรับทิศทางการสื่อสารออนไลน์ ปี 66 นั้น ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท Wisesight (ประเทศไทย) จำกัด มีความเห็นว่า จะเกิดการหลอมรวมระหว่าง Media, Content, Consumer ที่จะระบุได้ยากขึ้นว่าคอนเทนต์นั้นจัดเป็นข่าวหรือโฆษณา โดยเทรนด์การเสพสื่อเพื่อการรับรู้ เพื่อให้ไม่ตกข่าวนั้น จะชัดเจนขึ้น รวมไปถึงคอนเทนต์ที่มีลักษณะเจาะลึกและคอนเทนต์เพื่อความบันเทิงต่าง ๆ ก็จะมีคนสนใจรับชมมากขึ้น การสื่อสารจะมีความเป็น Community & Decentralize มากขึ้น  

ทั้งนี้ การรับสื่อและตัดสินเรื่องราวต่าง ๆ ในโลกโซเชียล ด้วยความเป็นมนุษย์ อาจจะมีความไม่เป็นกลาง (Bias) และอาจมีความคิดเห็นที่แตกต่าง แต่ควรอยากรู้อยากเห็นความคิดของผู้ที่คิดต่าง รวมไปถึงความคิดที่แตกต่างนั้นด้วย เพราะ “การถกเถียงทางความคิดนั้นเป็นเรื่องดี  เราจึงควรต้องทำความเข้าใจและตีความ เมื่อเราไม่พอใจต่อคอมเมนต์หนึ่งๆ  เรากำลังไม่พอใจต่อความเห็นต่างหรือต่อตัวบุคคลกันแน่  เพราะผู้เห็นต่างคือคนที่มีความคิดเห็นต่างเท่านั้น ไม่ได้หมายความว่าเขาเป็นคนไม่ดี ซึ่งหากไม่ระวังหรือตีความไม่ถูกต้อง ก็อาจทำให้เกิดการถกเถียงที่นำไปสู่ Hate Speech”   

สำหรับเหตุการณ์สำคัญของปี 66 คือ การเลือกตั้งทั่วไป คุณกล้า อธิบายว่า เครื่องมือ Social Listening Tool ของ Wisesight เราสามารถมองเห็นภาพการพูดถึงพรรคการเมืองต่างๆ และเอ็นเกจเมนต์ที่เกิดขึ้นในโซเชียลมีเดีย เช่น สามารถเห็นได้ว่าในช่วงระยะเวลาต่างๆ มีการพูดถึงพรรคการเมืองมากขึ้นหรือน้อยลงอย่างไร สามารถเห็นได้ว่าอินฟลูเอ็นเซอร์คนไหนมีความเกี่ยวข้องอยู่กับพรรคใด  โดย Wisesight เก็บข้อมูลเพื่อฟัง เพื่อเข้าใจ เพื่อเห็นถึงแรงกระเพื่อมของสังคมในด้านนี้มากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม Wisesight ไม่มีจุดยืนในการวิเคราะห์การเลือกตั้งเพื่อชี้นำสังคม จึงมอบข้อมูลให้สื่อมวลชนนำไปวิเคราะห์และนำเสนอในมุมมองของสื่อมวลชน โดยคุณกล้ามองว่า การเลือกตั้งครั้งนี้น่าจะได้เห็นการใช้โซเชียลมีเดียไปในทางบวกมากกว่าด้านลบ เช่น มีการรณรงค์หาเสียงที่เข้าถึงประชาชนได้มากขึ้น แพลตฟอร์มมีการจัดการ Fake news และบัญชีปลอมได้อย่าง active มากกว่าจะถูกใช้เพื่อเป็นการชี้นำประชาชน ผลวิจัยเทรนด์สื่อออนไลน์ปี 65 ชี้ อาชญากรรม การเมือง บันเทิง มีเอ็นเกจสูงสุด คุณลลิตา เทียรศรี ผู้จัดการฝ่ายวิเคราะห์ข้อมูล บริษัท Wisesight (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบัน แบรนด์ถูกท้าทายในการสื่อสารออนไลน์อย่างมาก จำเป็นต้องปรับตัวเพื่อให้เข้าถึงผู้ใช้ให้ได้มากที่สุด โดยต้องผลิตคอนเทนต์ให้มีคุณภาพ จุดประกายความคิดเชิงบวก เช่น แนวทางการใช้ชีวิตให้มีคุณภาพและมีความเป็นอยู่ในสังคมที่ดี ผลวิจัยเทรนด์สื่อออนไลน์ปี 65 ชี้ อาชญากรรม การเมือง บันเทิง มีเอ็นเกจสูงสุด

แนวโน้มการสื่อสารออนไลน์ในปี 2566 นี้ คุณลลิตามองว่า ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น เราจึงจะได้เห็นคอนเทนต์ที่หลากหลายมากขึ้น สื่อออนไลน์สามารถสร้างทั้งผลกระทบในเชิงบวกและเชิงลบได้ ดังนั้น ควรมีการคัดสรรข้อมูลก่อนสื่อสารและส่งต่อ เพราะผลกระทบที่เกิดนั้นจะส่งผลในวงกว้าง


รศ.พิจิตรา ศุภสวัสดิ์กุล อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เห็นว่า อัลกอริทึมในสื่อออนไลน์ทำให้คนได้รับชมคอนเทนต์ที่อยากดู สื่อออนไลน์จึงทำคอนเทนต์ที่คนอยากดูเป็นหลัก ซึ่งไม่ต่างอะไรกับสื่อหลัก “ สื่อคือบริษัท มีต้นทุนสูง ดังนั้นสื่อหลักจึงต้องทำคอนเทนต์ตามที่สังคมต้องการเช่นเดียวกัน  คำถามที่สำคัญคือ สื่อหลักซึ่งควรต้องเป็นตะเกียงส่องทางสังคม แต่กลับทำตัวเหมือนสื่อออนไลน์  ทำให้ขาดกระจกของสังคม  ปัจจุบันสื่อออนไลน์จึงกลายเป็นสื่อที่มีบทบาทสูง เพราะต้นทุนต่ำกว่าสื่อโทรทัศน์ จึงสามารถใช้งบประมาณไปกับพนักงานและการสร้างข่าวที่มีคุณภาพได้  แต่ในอีกมุมหนึ่ง เมื่อต้นทุนต่ำ คนมาทำหน้าที่สื่อได้ง่าย อาจส่งผลต่อคุณภาพข่าว เกิด Fake News จึงควรมีการกำกับดูแลสื่อในแบบที่เหมาะสม เท่าที่จำเป็น โดยคำนึงถึงการปกป้องสิทธิของผู้บริโภคเป็นสำคัญ ” ผลวิจัยเทรนด์สื่อออนไลน์ปี 65 ชี้ อาชญากรรม การเมือง บันเทิง มีเอ็นเกจสูงสุด

ศ.พิจิตรา กล่าวต่อว่า ปัจจุบัน ผู้รับสื่อมีความฉลาด รู้เท่าทันสื่อมากขึ้น คอนเทนต์จึงควรมีฐานข้อมูลที่เป็นความจริง รวมไปถึงรูปแบบในการโฆษณาก็ถูกปรับเปลี่ยน เพราะคนสามารถเลือกไม่รับชมโฆษณาบางประเภทได้ จึงทำให้เกิดรูปแบบธุรกิจโฆษณาแบบใหม่ เช่น การโฆษณาแฝง (Product Tie-in) การมีผู้นำทางความคิดเห็น (KOL)

“พอเรามีแพลตฟอร์มออนไลน์ ทำให้เกิดการสะท้อนความคิดเห็นในสาธารณะได้ กลุ่มคนรุ่นใหม่ จึงกระโดดเข้ามาในพื้นที่นั้น ในเชิงวิชาการเรียกว่า “Public Spheres” คือ พื้นที่ที่สามารถสะท้อนเสียงของบุคคลได้”

นอกจากนี้ รศ.พิจิตรา ได้เปรียบเปรยว่า อัลกอริทึมก็เหมือนสูตรอาหาร เพราะสามารถทำให้ผู้ใช้เห็นคอนเทนต์ได้รับโฆษณาที่ตรงกับความต้องการของตนเอง หมายความว่าสูตรอาหารนี้จะเด็ดก็ต่อเมื่อแพลตฟอร์มรู้จักผู้ใช้ แต่ในปัจจุบันพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ทำให้แพลตฟอร์มรู้จักผู้ใช้ได้น้อยลง สูตรอาหารนี้ก็จะปรุงได้ถูกใจน้อยลง แพลตฟอร์มจึงมีแนวโน้มที่จะเก็บค่าสมาชิกจากผู้ใช้ต่อไปในอนาคต   สิ่งที่น่ากังวลเกี่ยวกับอัลกอริทึม คือปัญหาเรื่อง Echo Chamber ส่วนปัญหาอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้น ก็ควรมีวิธีการกำกับดูแลที่มองทั้งในแง่ประโยชน์และโทษ จุดไหนมีปัญหา ก็ควรแก้ให้ถูกจุด

สำหรับการเลือกตั้งและการใช้ Social Listening Tool ของ Wisesight  ตามที่คุณกล้าชี้แจงนั้น รศ.พิจิตรา ตั้งข้อสังเกตว่า จะสามารถทำให้เห็นได้ว่าสื่อให้พื้นที่กับใครเป็นพิเศษหรือไม่ ทั้งอาจสะท้อนความไม่สมดุลของพื้นที่สื่อในช่วงก่อนการเลือกตั้งได้ด้วย

“ในปี 2566 นี้ ต้องพิจารณาเรื่องการปรับตัวของผู้ควบคุม (Regulator) และสื่อออนไลน์ เช่น แพลตฟอร์ม OTT สื่อไหนที่ปรับตัวไม่ได้ก็จะตายไป เราจะเห็นการปรับตัวของคนทำคอนเทนต์ไทย ที่มีการลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะคอนเทนต์ในวิดีโอออนดีมานด์ (Video on Demand) และคงได้เห็นการต่อสู้ระหว่างประเทศมหาอำนาจสองฝั่งที่กำลังครอบครองแพลตฟอร์มหลักของโลกอยู่ตอนนี้ด้วย ”

คุณเชน สุขสวัสดิ์ Business Head - Twitter, Entravision ทวิตเตอร์ ประเทศไทย มองว่า ปัจจุบันเรามีช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลที่มากขึ้น เร็วขึ้น ในอนาคตแพลตฟอร์มจะยิ่งพัฒนาให้สามารถเข้าถึงได้เร็วขึ้นอีก การจะทำให้คนสนใจคอนเทนต์ที่มีประโยชน์ ต้องคำนึงถึงลักษณะของแพลตฟอร์ม ลักษณะของผู้ใช้แพลตฟอร์ม เช่น ผู้ใช้ในทวิตเตอร์มักจะชอบพูดคุยและถกเถียงกัน และคอนเทนต์มักจะเป็นข้อความสั้น 

อัลกอริทึมของทวิตเตอร์ส่งเสริมให้คนกล้าคิด กล้าบอกต่อ ช่วยส่งเสริมข้อมูลที่ผู้ใช้สนใจ โดยสำหรับทวิตเตอร์แล้ว มีระบบที่สามารถจับข้อความในเชิงลบ (Hate Speech) แล้วระงับบัญชีนั้น (Ban) หรือผู้ใช้สามารถกดรายงาน (Report) บัญชีที่ผิดปกติได้ 

“สำหรับการรับสื่อในปี 2566 นี้ ผู้รับสื่อควรเช็คแหล่งที่มาของข้อมูลที่ได้รับจากสื่อเสมอ เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ หรือไปละเมิดสิทธิของบุคคลอื่น”  ผลวิจัยเทรนด์สื่อออนไลน์ปี 65 ชี้ อาชญากรรม การเมือง บันเทิง มีเอ็นเกจสูงสุด คุณชลนภา อนุกูล นักวิจัย สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ปัจจุบันสื่อออนไลน์กลายเป็นสื่อหลักในการสื่อสาร เพราะต้นทุนที่ต่ำ และความสะดวกในการสื่อสาร แม้กระทั่งสื่อหลักเองก็มักจะหยิบความเห็นของคนในสื่อออนไลน์มาส่งต่อในเชิงความรู้สึก (Emotional) อีกด้วย แต่อย่างไรก็ตาม สื่อออนไลน์ก็มีการกระทำในเชิงพาณิชย์เพิ่มมากขึ้น เช่น การที่อินฟลูเอ็นเซอร์ต้องการยอดไลค์ด้วยคอนเทนต์ที่กระตุ้นความอยากรู้ จนอาจมีลักษณะเป็นการหลอกให้กดเข้าไปดูได้ (Clickbait) อีกทั้งคุณชลนภามองว่า สื่อออนไลน์ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมทางสังคมได้  เช่น กรณีที่ดาราสามารถส่งเสียงทางสื่อออนไลน์ได้ดังกว่าคนทั่วไป ผลวิจัยเทรนด์สื่อออนไลน์ปี 65 ชี้ อาชญากรรม การเมือง บันเทิง มีเอ็นเกจสูงสุด

นอกจากนี้ คุณชลนภามองว่า โซเชียลมีเดียจะทำให้คนทะเลาะกันเป็นมากขึ้น เพราะจะเกิดวาทกรรมการถกเถียงกันบ่อยขึ้น จนทำให้สังคมเกิดความเข้าใจว่า การถกเถียงนั้นไม่ได้กระทำเพื่อฆ่ากัน แต่กระทำเพื่อชนะกันด้วยข้อมูล ความเป็นจริง เป็น “Political Engagement”  ปัจจุบันข้อมูลข่าวสารในโลกออนไลน์จากสื่อต่างๆ มีปริมาณมาก ทำให้คนไม่สามารถควบคุมการไหลเวียนของข้อมูลได้ แต่คนสามารถเลือกที่จะให้คุณค่าแก่สื่อนั้น ๆ ได้  

“ส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับคำว่า “Smart Consumer” เพราะหมายถึง คนที่เลือกซื้อสินค้าแบบสมเหตุสมผล แต่งานวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่าผู้เสพสื่อมีความเป็น “Active Citizen” มากขึ้น คือแม้จะยังเลือกเสพสื่อไม่ได้ แต่สิ่งที่เลือกได้ คือ เลือกที่จะประเมินคุณค่าของมัน หรือเลือกที่จะเชื่อหรือไม่เชื่อได้”

และจากข้อมูลการสื่อสารออนไลน์ของสังคมไทยในปี 2565 การที่มีความสนใจสูงในประเด็นอาชญากรรม ประเด็นอุบัติเหตุนั้น เนื่องมาจากความกังวลว่าเรื่องนั้นจะเกิดขึ้นกับตนเอง และมองหาแนวทางในการป้องกันเหตุร้ายนั้น ส่วนการที่สังคมสนใจข่าวการเมือง ตนมองว่าเป็นประโยชน์ ถือว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดี  

ในปี 2566 นี้ คุณชลนภา เห็นว่า สื่อทุกสื่อกระหายเอ็นเกจเมนต์ อยากให้คนอยู่กับคอนเทนต์ของตนนาน ๆ จึงต้องมีการเร่งพัฒนาศักยภาพการสื่อสาร และคุณภาพการสื่อสารของสังคม โดยใช้ข้อมูลจริงจากหลายแหล่งในลักษณะเชิงเปรียบเทียบมากขึ้น รวมไปถึงความท้าทายที่จะเข้าถึงสังคมไทยที่มีช่วงอายุ แตกต่างกัน (Generation Gap คุณชลนภาส่งท้ายด้วยข้อฝากถึงสังคมไทย

“อย่าเชื่อ! กระทั่งที่พวกเราพูด ก็ไม่จำเป็นต้องเชื่อเรา 
เห็นอะไรได้ยินอะไร ก็ต้องพิจารณา 
ก่อนจะเขียนอะไรออกไป ก็ต้องพิจารณาอีกเช่นกัน!”


ดร.ชำนาญ งามมณีอุดม รองผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวสรุปว่า การนำเสนอข้อมูลทางสื่อออนไลน์มีความแตกต่างกันไปตามแพลตฟอร์ม รูปแบบของเอ็นเกจเมนต์ก็มีความแตกต่างกัน จัดได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงไปอย่างผสมผสานพร้อม ๆ กัน การที่ประเด็นอาชญากรรมและประเด็นอุบัติเหตุได้รับ ไม่ใช่เรื่องผิดอะไร แต่สื่อควรมีการนำเสนอแนวทางของการป้องกัน การปฏิบัติตน และการระมัดระวังภัยด้วยควรมีการนำเสนอแนวทางของการป้องกัน และระมัดระวังภัยด้วย   กิจกรรมวันนี้ทำให้เห็นมุมมองเกี่ยวกับ “ทิศทางการสื่อสารออนไลน์ ปี 66”  ในมิติใหม่ ๆ ทั้งจุดที่น่ายินดีและที่น่าเป็นห่วง  ผลวิจัยเทรนด์สื่อออนไลน์ปี 65 ชี้ อาชญากรรม การเมือง บันเทิง มีเอ็นเกจสูงสุด วันนี้จึงจัดเป็นจุดเริ่มต้นของการค้นหาและพัฒนาว่า “Active Citizen” ที่รู้เท่าทันสื่อควรเป็นอย่างไร เพื่อให้เราปรับทิศทางการสื่อสารให้เหมาะสมได้ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ยินดีที่โครงการ “Media Alert” มีส่วนในการกระตุ้นให้เกิดการตระหนักรู้ถึงประเด็นต่างๆทางสื่อสังคมออนไลน์ และยินดีให้นำผลการศึกษาวิจัยและข้อมูลเหล่านี้ไปศึกษาค้นคว้าวิจัยต่อ หรือใช้อ้างอิงเพื่อประโยชน์ต่าง ๆ ต่อไป