#กกตมีไว้ทำไม ส่องแฮชแท็กร้อนแรงกว่าอากาศประเทศไทยในช่วงเลือกตั้งนี้!

#กกตมีไว้ทำไม ส่องแฮชแท็กร้อนแรงกว่าอากาศประเทศไทยในช่วงเลือกตั้งนี้!

ไวซ์ไซท์ เผยผลสำรวจกระแสแฮชแท็ก #กกตมีไว้ทำไม หลังจากการเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตในวันที่ 7 พฤษภาคม 2566 จบลง จนเกิดกระแสเรียกร้องให้ กกต. รับผิดชอบด้วยการลาออก

อากาศที่ว่าร้อนแรงยังไม่เท่ากระแสจากแฮชแท็ก #กกตมีไว้ทำไม หลังจากการเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตในวันที่ 7 พฤษภาคม 2566 จบลง เมื่อชาวโซเชียลได้ร่วมมือกันสะท้อนประเด็นต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงของการลงคะแนนเลือกตั้ง และได้เกิดข้อสงสัยมากมายจนพา #กกตมีไว้ทำไม พุ่งทะยานขึ้นติดอันดับหนึ่งเทรนด์ Twitter ประเทศไทยในวันดังกล่าว และได้เกิดกระแสเรียกร้องให้ กกต. รับผิดชอบด้วยการลาออกผ่านแคมเปญ Change.org ที่เคยลงชื่อถอดถอน กกต.จากการเลือกตั้งเมื่อปี 2562 ซึ่งล่าสุดทะลุ 1 ล้านคนเป็นที่เรียบร้อย

#กกตมีไว้ทำไม ส่องแฮชแท็กร้อนแรงกว่าอากาศประเทศไทยในช่วงเลือกตั้งนี้!

ทางไวซ์ไซท์ ได้ทำการเก็บข้อมูลผ่านเครื่องมือ ZOCIAL EYE ในวันที่ 6-7 พฤษภาคม 2566 เกี่ยวกับแฮชแท็ก #กกตมีไว้ทำไม และข้อความที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งล่วงหน้าทั้งหมด พบว่ามีการพูดถึงบนโลกโซเชียลจำนวน 11,105 ข้อความ มีเอ็นเกจเมนต์รวมมากกว่า 4 ล้านเอ็นเกจเมนต์ ถือว่าผู้คนให้ความสนใจเรื่องดังกล่าวไม่น้อยเลยทีเดียว  ซึ่งสัดส่วนการพูดถึงเรื่องดังกล่าวกว่า 70% อยู่บน Twitter และมีการพูดถึงทาง Facebook, Instagram และ YouTube เพียงเล็กน้อยเท่านั้น

เมื่อลองวิเคราะห์ถึงประเด็นที่เกิดขึ้นในแฮชแท็กดังกล่าวบน Twitter พบว่าชาวโซเชียลแสดงความคิดเห็นกันอย่างหลากหลาย ซึ่งส่วนมากเกี่ยวข้องกับประเด็น ดังนี้

#กกตมีไว้ทำไม ส่องแฮชแท็กร้อนแรงกว่าอากาศประเทศไทยในช่วงเลือกตั้งนี้! ซึ่งสัดส่วนการพูดถึงเรื่องดังกล่าวกว่า 70% อยู่บน Twitter และมีการพูดถึงทาง Facebook, Instagram และ YouTube เพียงเล็กน้อยเท่านั้น #กกตมีไว้ทำไม ส่องแฮชแท็กร้อนแรงกว่าอากาศประเทศไทยในช่วงเลือกตั้งนี้!

เมื่อลองวิเคราะห์ถึงประเด็นที่เกิดขึ้นในแฮชแท็กดังกล่าวบน Twitter พบว่าชาวโซเชียลแสดงความคิดเห็นกันอย่างหลากหลาย ซึ่งส่วนมากเกี่ยวข้องกับประเด็น ดังนี้

การทำงานของกกต.

แม้คำขวัญองค์กรคือ "สุจริต โปร่งใส เที่ยงธรรม" แต่ชาวโซเชียลต่างตั้งข้อสงสัยถึงคำขวัญนี้ เมื่อประชาชนได้พบความผิดปกติที่เกิดขึ้นในวันเลือกตั้งล่วงหน้ามากมาย ชาวโซเชียลหลายฝ่ายออกมาร้องเรียนให้แก้ไขข้อผิดพลาดดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้าที่มีมากผิดปกติในบางพื้นที่ซึ่งส่วนมากเป็นผู้สูงอายุและมีคนพามาเป็นกลุ่มก้อน, รายชื่อผู้สมัครบางพรรคหายในบางพื้นที่, บัตรลงคะแนนหาย, เจ้าหน้าที่เขียนบัตรผิดจนกลายเป็นบัตรเสีย, ผู้ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งที่เป็นผู้พิการทางสายตาแจ้งว่าเจ้าหน้าที่เป็นคนลงคะแนนให้ตนเองแทนที่จะใช้บัตรเลือกตั้งอักษร, ป้ายหน้าหน่วยของบางพรรคการเมืองหาย, กรณีเจ้าหน้าที่ประจำเขตเลือกตั้งกรอกเลขไปรษณีย์แทนกรอกรหัสจังหวัดที่ผิดทั้งประเทศ, การไม่เตรียมความพร้อมเรื่องอุปกรณ์ที่ใช้การเลือกตั้งให้ดี แม้จะได้งบจัดการการเลือกตั้งมากถึง 6,000 ล้านบาท และการจัดการใบลงคะแนนหลังจากเลือกตั้งเสร็จเรียบร้อย

มีการตั้งคำถามเกิดขึ้น เช่น ผลิตบัตรเลือกตั้งออกมามากมายด้วยจุดประสงค์อะไร?, เจ้าหน้าที่จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไร?, การเลือกตั้งในประเทศยังสับสนขนาดนี้แล้วในต่างประเทศล่ะจะเป็นเช่นไร? เป็นต้น

#กกตมีไว้ทำไม ส่องแฮชแท็กร้อนแรงกว่าอากาศประเทศไทยในช่วงเลือกตั้งนี้! #กกตมีไว้ทำไม ส่องแฮชแท็กร้อนแรงกว่าอากาศประเทศไทยในช่วงเลือกตั้งนี้! #กกตมีไว้ทำไม ส่องแฮชแท็กร้อนแรงกว่าอากาศประเทศไทยในช่วงเลือกตั้งนี้!

ทุกคนต่างช่วยกันจับตาสอดส่องเพื่อความโปร่งใส ไปจนถึงสวดมนต์!

ตามโซเชียลมีเดียเราจะเห็นข่าวการติดตั้ง CCTV รอบคูหาเลือกตั้งในกรุงเทพมหานครตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อดูความผิดปกติที่เกิดขึ้น แต่ความเป็นสายมูของชาวโซเชียลทำให้เกิดการการสวดมนต์ให้บัตรเลือกตั้งของตนเองปลอดภัยในบางพื้นที่ และขอให้บัตรลงคะแนนของตนถูกนับคะแนนตามสิ่งที่ตนเลือกอย่างถูกต้อง จะเห็นได้ว่า แม้จะร้อนและวุ่นวายแค่ไหน แต่คนไทยก็ยังติดตลกได้เสมอ ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งสีสันที่เกิดขึ้นในการเลือกตั้งล่วงหน้าครั้งนี้

#กกตมีไว้ทำไม ส่องแฮชแท็กร้อนแรงกว่าอากาศประเทศไทยในช่วงเลือกตั้งนี้! #กกตมีไว้ทำไม ส่องแฮชแท็กร้อนแรงกว่าอากาศประเทศไทยในช่วงเลือกตั้งนี้! #กกตมีไว้ทำไม ส่องแฮชแท็กร้อนแรงกว่าอากาศประเทศไทยในช่วงเลือกตั้งนี้!

ไม่ลืมจะเชิญชวนให้ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง

นอกจากความโกลาหลที่เกิดขึ้น ชาวโซเชียล ดารา นักแสดง ศิลปินเองก็ตื่นตัวกับเรื่องดังกล่าว เพราะมองว่า “การเลือกตั้งเป็นหน้าที่และเป็นการแสดงออกถึงความเท่าเทียมของทุกคนในการขับเคลื่อนสังคม” หลายคนจึงให้ความสำคัญกับการออกไปใช้สิทธิ์ใช้เสียง โดยโพสต์ภาพแสดงตนว่าออกไปใช้เสียงแล้ว พร้อมเชิญชวนให้ทุกคนออกไปเลือกตั้งในวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 อย่างพร้อมเพรียง

ก็ถือเป็นเรื่องดีๆ ที่กระแสโซเชียลช่วยสะท้อนสิ่งที่คนในสังคมอยากให้เปลี่ยนแปลงในแต่ละพื้นที่และเกิดการแก้ไขขึ้น ก็ต้องมาดูกันว่าในวันเลือกตั้งที่จะมาถึงนี้ สิ่งที่ชาวโซเชียลบ่นถึงจะถูกแก้ไขจนหายไปหมดหรือไม่