17 ก.พ. 2567 | 12:02 น.
การเดินทางตลอด 5 ปีที่ผ่านมาของทางเทสบัด ระบบอาหารของเราที่เปรียบเสมือนฐานของชีวิตความรู้สึกของอารมณ์คนในปัจจุบัน โดยสังคมเราเชื่อมกันกับอาหาร ซึ่งเป็นรากฐานสําคัญเศรษฐกิจ มากกว่า 20ล้านล้านเหรียญสหรัฐ จากอดีตปัจจุบัน
การส่งออกอุตสาหกรรมอาหารของไทย เป็นลําดับที่ 13 ของโลก มูลค่ามากกว่า 36,000 ล้านเหรียญสหรัฐ อุตสาหกรรมอาหาร สร้างชีวิตของคนทั่วโลกมากกว่า 60-70% แต่ในประเทศไทยกลับมีการใช้งบประมาณในการพัฒนาเทคโนโลยีด้านอาหารน้อยที่สุด และได้รับเงินลงทุนสนับสนุนน้อยที่สุด อีกทั้งการผลิตอาหาร สร้างมลภาววะสูงมากกว่า 1 ใน 4 ของมลภาววะที่เกิดขึ้น และในเวลาเดียวกัน มีอาหารที่สูญเสียและทิ้งเสียเป็นอัตราส่วน 1 ใน 3 และ ยังมีคนหิวโหยทั่วโลกเป็นอัตราส่วน 1 ใน 3 อีกด้วย อยากชวนคิดร่วมกัน ถึงระบบอาหารของเราว่าตอนนี้เป็นอย่างไร และอาจจะต้องยอมรับว่า .... กําลังพังลงแล้ว
เมื่อเราพูดถึงระบบอาหารที่มั่นคงยั่งยืน อาจจะไม่ใช่แค่ Reduce และ Reuse เหมือนในอดีตที่ผ่านมา เราจำเป็นต้อง คิดถึงแนวทางการฟื้นฟู Restore-Resilience-Regenerative คิดใหม่ ทําใหม่ โดยไม่ใช่เพียงแค่เรื่องของการผลิตอาหารที่มีคุณค่าสูงหรือการใช้ทรัพยากรทางการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพในจุดจุดเดียวในห่วงโซ่อาหารหรือ food supply chain แต่ยังเกี่ยวข้องกับการสร้างวงจรที่ทำให้ระบบนี้มีความยั่งยืนต่อเนื่อง และเกี่ยวข้องกับการฟื้นคืนระบบอาหารของเรากลับมา โดยต้องหาแนวทางที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างรวดเร็วและทันถ่วงที
“Life always comes full circle”
การผลิตอาหารในปัจจุบันและต่อเนื่องไปในอนาคตถึงปี 2030 นอกเหนือจากเป้าหมายทางด้าน SDG แล้ว การร่วมกัน “สร้าง” และ “เร่ง” ให้เกิดระบบอาหารยั่งยืน ผ่านการปรับตัวและพัฒนาเทคโนโลยี สรุปได้เป็น 3 ประเด็นหลักดังนี้
1. SYMBIOTIC GROWTH การพัฒนาฟื้นคืนควบคู่กับการเติบโตผ่ านการพัฒนาเทคโนโลยีอาหารอนาคตควบคู่กับการดึงคุณค่ากับ local wisdom, local ingredient, Permaculture และ Bio Dynamic
เทสบัด แลป วางแผนศึกษาแนวทาง ทํางานกับหน่วยงานและแหล่งทุนที่ผลักดันด้านนี้ เพื่อเสนอและผลักดัน FUTURE VISION 2030
2. REGENERATIVE FOOD SYSTEM สร้างระบบอาหารที่มั่นคงยั่งยืน การผลิตอาหารแบบ regenerative บริบทใหม่ในการผลิตอาหาร คือการผลิตอาหารแบบฟื้นฟูวงจรธรรมชาติให้กลับมาหรือการดึงระบบนิเวศที่เคยหายไปหรือถูกกระทบให้กลับคืนมา และนำไปใช้เพื่อการปรับตัวและพัฒนาอย่างเป็นระบบในระบบอาหาร (Food System)
2.1 มุ่งเน้นให้ผู้บริโภคเข้าใจคุณค่าของอาหาร ที่มากกว่าพลังงาน สุขภาพ และ สภานภาพทางสังคม แต่เป็นการร่วมกันเลือกบริโภคอย่างเข้าใจปลายทางของระบบอาหารที่ยั่งยืน ส่งต่อแนวความคิดให้ผู้บริโภคกว่า 5,000 คน โดยคาดการณ์การมูลค่าการบริโภคอาหารแห่งอนาคต รวมมูลค่ากว่า 500 ล้านบาท
2.2 ทำงานร่วมกันกับผู้กําหนดนโยบายและผู้สนับสนุน (Policy Makers / Actors ที่สําคัญในด้านต่างๆ) ผลักดันให้เกิดโปรเจค และ สนับสนุนให้ผู้ที่พัฒนาโปรเจคที่สําคัญนี้ สําเร็จได้อย่างยั่งยืน
เทสบัด แลป ดำเนินการร่วมกับกองทุน TED FUND ให้ทุนกับสตาร์ตอัพด้านอาหารอนาคตและบ่มเพาะพัฒนา ผ่านโครงการ Future Food Bootcamp กว่า 30 โครงการ
3. AI & FUTURE OF FOOD การปรับใช้เทคโนโลยีเพื่อระบบอาหารยั่งยืน นําเทคโนโลยีเพื่อลดการสูญเสีย การเพิ่มประสิทธิภาพ การเพิ่มความยั่งยืน การสร้างเศรษกิจหมุนเวียน การฟื้นฟูคุณภาพดิน นํ้า อากาศ อาหาร หรืออาจจะพูดได้ว่า AI เกิดขึ้นมาเพื่อมาช่วยทั้งระบบอาหาร นอกเหนือจากการช่วยจัดการระบบ supply chain ยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถอีกด้วย
เทสบัด แลป เสนอแนวทางที่สามารถเกิดขึ้นได้จริงและ เร่งรัดมุ่งเป้า ผลักดัน AI ในด้านอาหารเฉพาะบุคคลและอาหารฟังก์ชั่นซึ่งเป็นตลาดอาหารแห่งอนาคต ที่คาดการณ์มูลค่าตลาดกว่า 161bil. USD. ในปี 2025
โดยทางบริษัทสร้างความร่วมมือเพื่อพัฒนา ผลึกกำลังผ่านแพลตฟอร์มความร่วมมือ
งาน Future Food System Conference & Show 2024 ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 30-31 พฤษภาคม 2567
ในงาน Future Food Immersive Ideation Workshop ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา ณ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) อาคารไปรษณีย์กลาง โดยเป็นส่วนหนึ่งของงานเทศกาล Bangkok Design Week 2024 เพื่อเป็นการขับเคลื่อนผลักดันด้านนวัตกรรมอาหารและเพื่อการพัฒนาระบบนิเวศความยั่งยืนของอาหารอนาคตของเมืองไทย ได้รับเกียรติจากผู้นําหน่วยงานสำคัญที่ร่วมกันผลักดันและสร้างความมั่นคงยั่งยืนให้อาหารในประเทศไทย จากภาครัฐที่กำหนดนโยบายเกี่ยวกับนวัตกรรมด้านอาหาร กลุ่มสมาคม ผู้นำหน่วยงานเอกชน กลุ่มนักลงทุน และสตาร์ตอัพ SME ผู้บุกเบิกด้านอาหารแห่งอนาคต ร่วมระดมสมอง ค้นหาแนวทางการฟื้นฟูเพื่อ ‘ระบบอาหารยั่งยืน’ และดื่มด่ำไปกับมื้ออาหารแห่งอนาคต รังสรรค์เมนูสุดพิเศษโดย Sustainable Chef เชฟโบ ดวงพร ทรงวิศวะ ร้านโบ.ลาน, เชฟคำนาง-ณัฏฐภรณ์ คมจิต ร้านเฮือนคำนาง, เชฟก้อง Locus Native Food Lab ร่วมด้วย Flavor Specialist จากเทสบัด แลป โดยเวิร์คช็อปในครั้งนี้ moderate โดย คุณสันติ อาภากาศ CEO และ Co-Founder Bio Buddy และ TASTEBUD LAB ควบคู่การแสดงแสงสี Immersive Experience ออกแบบโดย ศิลปิน คุณอัมรินทร์ โอชา Co-Founder 305STOP STUDIO และ คุณแพท PIPS Studio
ทุกเมนูอาหารที่เสิร์ฟภายในเวิร์กชอปครั้งนี้ เป็นการร่วมมือครั้งสำคัญจากกว่า 50 Startup ผู้บุกเบิก ที่ส่งมอบวัตถุดิบอาหารอนาคต ผสานกับวัตถุดิบท้องถิ่นตามฤดูกาล ทั้งหมดเป็นวัตถุดิบที่มีกระบวนการเพาะปลูกและเลี้ยง ด้วยวิธีการที่กระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ด้วยแนวทางที่ยั่งยืน
รายชื่อ Speaker และแขกรับเชิญพิเศษที่เข้าร่วมในกิจกรรม
ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจร่วมเดินทางเพื่อการพัฒนายั่งยืนอาหารแห่งอนาคต ผู้ประกอบการธุรกิจอาหาร ผู้ที่สนใจจะเริ่มธุรกิจอาหารแห่งอนาคต สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีอาหารและอาหารแปรรูปด้านอาหารแห่งอนาคต สามารถสอบถามรายละเอียดเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมกับกลุ่มเทสบัด แลป ได้ผ่านช่องทางสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ได้แก่ เฟสบุ๊คและ LINE OPENCHAT FUTURE FOOD NETWORK
ไลน์: @tastebudlab โทร: 095-732-4471
เว็บไซต์ www.tastebudlab.com อีเมล [email protected]