Culture of Living เมื่อเราให้ สังคมได้รับ ชูประโยชน์เชิงบวกด้วยการวัดผล SROI

Culture of Living เมื่อเราให้ สังคมได้รับ ชูประโยชน์เชิงบวกด้วยการวัดผล SROI

เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย ชวนมาร่วมวัดผลกระทบทางสังคมด้วยตัวชี้วัด SROI ไปกับกิจกรรมบริจาคโลหิต “มิตรให้โลหิต ต่อชีวิตให้กัน” โครงการต้นแบบเพื่อการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก

ในสังคมที่มีวัฒนธรรมแห่งการให้และแบ่งปัน การสร้างการมีส่วนร่วมให้กับคนในคอมมูนิตี้ของเราเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยชี้วัดถึงความตื่นตัว ซึ่งเป็นเครือข่ายที่ดีที่จะเป็นเบาะรองรับเมื่อสังคมต้องการความช่วยเหลือ แสดงให้เห็นว่าเราไม่ได้อยู่อย่างโดดเดี่ยว ดังนั้น ช่วงเวลาที่ขาดแคลนจะเป็นโอกาสในการแสดงถึงน้ำใจที่เรามีให้แก่กัน Culture of Living จึงเป็นน้ำหยดเล็กหยดน้อยที่คอยเติมหล่อเลี้ยงให้กับเพื่อนมนุษย์ 

นั่นจึงเป็นที่มาของโครงการ ‘มิตรให้โลหิต ต่อชีวิตให้กัน’ กิจกรรมบริจาคโลหิต ที่จัดโดย เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย ซึ่งจัดต่อเนื่องเป็นประจำทุก ๆ 3 เดือนตั้งแต่พ.ศ.2563 เรื่อยมาจนปัจจุบัน นับรวมแล้วเป็นครั้งที่ 15 ที่ เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย ได้สร้างผลกระทบทางสังคม เกิดความเปลี่ยนแปลงทางบวกที่สามารถประเมินผลตอบแทนทางสังคมหรือที่เรียกว่า SROI (Social Return on Investment)

คนทำธุรกิจคงคุ้นเคยกับ ROI หรือ Return on Investment ซึ่งให้ความสำคัญกับการใช้ตัวชี้วัดเพื่อตัดสินใจลงทุนและกำไรที่จะพาธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ แต่ SROI จะเป็นเครื่องมือวัดผลโครงการด้านสังคมที่ไม่ได้หวังผลกำไรเป็นเม็ดเงินว่าแล้วโครงการนั้น ๆ สามารถสร้างคุณค่าให้กับสังคมอย่างไรบ้าง

Culture of Living เมื่อเราให้ สังคมได้รับ ชูประโยชน์เชิงบวกด้วยการวัดผล SROI สาริษฐ์ ไตรโรจน์ รองกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายสื่อสารองค์กรและแบรนด์ดิ้ง บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าถึงการจุดเริ่มต้นของการจัดกิจกรรมนี้เกิดขึ้นหลังจากที่โลกต้องประสบกับสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งทำให้กระทบต่อการรับบริจาคโลหิตของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย 

นับตั้งแต่การดำเนินงานครั้งแรกจนถึงปัจจุบันได้รับผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจ จำนวนผู้บริจาคโลหิตเพิ่มขึ้น สามารถเพิ่มปริมาณโลหิตให้กับสภากาชาดไทยอย่างต่อเนื่อง โดยกิจกรรม ‘มิตรให้โลหิต ต่อชีวิตให้กัน’ ได้เข้ารับการประเมินจาก สมาคมผู้ประเมินมูลค่าทางสังคมไทย (Social Value Thailand) ซึ่งได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการในฐานะเครือข่ายของ Social Value International ให้ร่วมเป็น 1 ใน 700 องค์กรจาก 60 ประเทศทั่วโลก

ผลจากการประเมินพบว่า ทุก ๆ 1 บาทของกิจกรรม ‘มิตรให้โลหิต ต่อชีวิตให้กัน’ ก่อให้เกิดคุณค่าทางสังคมถึง 4.5 บาท ซึ่งก็หมายถึงผลตอบแทนจากการลงทุน 4.5 เท่า ตลอดระยะเวลาของโครงการนี้สามารถส่งต่อโลหิตให้กับ สภากาชาดไทย มากกว่าถึง 5.5 ล้านซีซี

Culture of Living เมื่อเราให้ สังคมได้รับ ชูประโยชน์เชิงบวกด้วยการวัดผล SROI

อย่างไรก็ดี หนึ่งในความท้าทายของการจัดกิจกรรมนี้คือ พบว่าคนที่มีความตั้งใจและต้องการบริจาคโลหิตแต่ไม่สามารถได้มีจำนวนมาก บริษัทจึงได้ทำการวิเคราะห์และหาถึงสาเหตุ ปรากฏผลคือเพราะความเข้มข้นของโลหิตไม่ถึงตามเกณฑ์ ซึ่งเกิดจากการขาดธาตุเหล็ก และการรับประทานอาหารที่เหมาะสม

สาริษฐ์ ไตรโรจน์ ให้ข้อมูลว่า บริษัทได้ปรับแผนการทำงานเพื่อช่วยลดยอดผู้ที่ไม่สามารถบริจาคโลหิตได้ ด้วยการจัด 2 กิจกรรมที่ช่วยคัดกรองเบื้องต้น ดังนี้ 

  1. FPT New Blood ให้ความรู้พนักงานภายในบริษัทที่ต้องการบริจาคโลหิตแต่ไม่สามารถบริจาคได้ โดยทำบัตรเช็กลิสต์บันทึกกิจกรรมต่าง ๆ ในการดูแลตัวเอง เช่น รายชื่ออาหารที่กินแล้วบำรุงโลหิต เพิ่มธาตุเหล็กในร่างกาย และคำแนะนำเวลานอนที่เหมาะสม 
  2. Blood Donation Volunteer จัดอบรมพนักงานอาสาสมัครให้ข้อมูลการบริจาคโลหิตกับผู้สนใจในวันงาน มีการจัดทำแผ่นพับให้ความรู้แก่อาสาสมัคร ช่วยในการตอบคำถามผู้สนใจบริจาค เพื่อคัดกรองผู้บริจาคเบื้องต้นก่อนจะถึงเจ้าหน้าที่ศูนย์บริการโลหิต

Culture of Living เมื่อเราให้ สังคมได้รับ ชูประโยชน์เชิงบวกด้วยการวัดผล SROI หลังดำเนินการ ผลที่เกิดขึ้นคือ ยอดผู้สนใจบริจาคโลหิตแต่ไม่สามารถบริจาคได้มีจำนวนลดลงจากกว่า 20% มาอยู่ที่ประมาณ 10% โดยกิจกรรมนี้ได้สร้างคุณค่าทางสังคมให้กับหลากหลายกลุ่ม ได้แก่ ผู้บริจาคโลหิต ช่วยลดลดค่าใช้จ่ายระยะยาวในการดูแลสุขภาพจากการหันมาดูแลร่างกายแต่เนิ่น ๆ, อาสาสมัคร เกิดความภาคภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมกับกิจกรรมเพื่อสังคม ได้รับการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสาร การจัดการกิจกรรม และการทำงานเป็นทีม

นอกจากนี้ ร้านค้าหรือชุมชนรอบข้างยังมีความสุขจากการได้ร่วมทำบุญสมทบในการจัดกิจกรรม พร้อมมียอดขายที่เติบโตจากการเยี่ยมชมและใช้จ่ายของผู้คน, ศูนย์บริการโลหิต มีปริมาณโลหิตที่ได้รับบริจาคเพิ่มขึ้น ประหยัดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการจัดหาโลหิตเอง และ เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย ที่ได้รับความภูมิใจและความภักดีต่อองค์กรของพนักงาน รวมถึงได้สร้างการรับรู้ให้กับแบรนด์เพิ่มขึ้นเป็นผลตอบแทน

ขณะที่ สกุลทิพย์ กีรติพันธวงศ์ กรรมการและเลขาธิการสมาคมผู้ประเมินมูลค่าทางสังคมไทย บอกเล่าถึง กิจกรรมบริจาคโลหิตของ เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย ว่า สามารถตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ใน 2 หัวข้อ ดังนี้

1. SDG 3 - สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี เพราะเป็นการช่วยเพิ่มการเข้าถึงโลหิต ซึ่งเป็นหัวใจหลักของการรักษาพยาบาลในสถานการณ์ต่าง ๆ รวมถึงการรับมือกับอุบัติเหตุและภัยพิบัติต่าง ๆ อีกด้วย 

2. SDG 17 - ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยถือว่าเป็นโครงการตัวอย่างในการสร้างความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจ องค์กรด้านสุขภาพ องค์กรทางสังคม และรัฐบาล ในการส่งเสริมและสนับสนุนการบริจาคโลหิตจากประชาชนด้วยความสมัครใจ ทันต่อความต้องการโลหิต ทั้งยังส่งผลทางอ้อมในด้านการส่งเสริมสุขภาพให้ดีขึ้นกับคนในคอมมูนิตี้ 

นอกจากนี้ทาง สกุลทิพย์ กีรติพันธวงศ์ ระบุว่า กิจกรรม ‘มิตรให้โลหิต ต่อชีวิตให้กัน’ ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในโมเดลกิจกรรมต้นแบบให้กับภาคเอกชนรายอื่นๆ ได้ศึกษาเรียนรู้ เพื่อนำไปต่อยอดและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน พร้อมทั้งเป็นข้อมูลสำหรับการตัดสินใจก่อนเริ่มต้นจัดกิจกรรมเพื่อสังคม ซึ่งการใช้เครื่องมือประเมินผล SROI เป็นแนวทางเพื่อให้ได้ทราบถึงผลลัพธ์ และพัฒนาการดำเนินงานให้ดียิ่งขึ้น อันจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวมในอนาคต