23 เม.ย. 2567 | 11:43 น.
แอคคอมกรุ๊ป นำโดย ดร.อัจฉรา จุ้ยเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ฉลองครบรอบการดำเนินงานด้านการโค้ชและพี่เลี้ยงของแอคคอมกรุ๊ป 18 ปีในประเทศไทย จับมือกับบริษัท NEWS® Navigation นำโดยมารีน่า เจียรานี่ ประธานกรรมการบริหาร มอบรางวัลระดับโลกอันทรงเกียรติสูงสุดด้านองค์กรที่โดดเด่นในการนำการโค้ชและพี่เลี้ยงไปใช้อย่างมีประสิทธิผล “NEWS Compass® Global Award - Distinguished Achievement in Coaching and Mentoring” ให้กับเคทีซี บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) พร้อมทั้งมอบรางวัลดีเด่นด้านการโค้ชและพี่เลี้ยง “NEWS Compass® Global Award - Excellence in Coaching and Mentoring” ให้กับ บริษัท เอบี ฟู้ด แอนด์ เบฟเวอร์เรจส์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) บริษัท ดีทีจีโอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด บริษัท เอ็กโซติค ฟู้ด จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) ณ ห้องฉัตราบอลรูม โรงแรมสยาม เคมปินสกี้ กรุงเทพฯ
ดร. อัจฉรา จุ้ยเจริญ กล่าวว่า “การโค้ช ไม่เพียงช่วยให้ผู้อื่นได้นำศักยภาพที่ซ่อนอยู่ในตัวเองออกมาใช้อย่างเต็มที่เท่านั้น แต่ยังทำให้ผู้ที่ทำหน้าที่โค้ชได้เพิ่มศักยภาพให้กับตนเอง ไปพร้อมๆ กันอีกด้วย การโค้ชเป็นวิธีการสื่อสารในเชิงสร้างสรรค์ เป็นการช่วยลดช่องว่างของการสื่อสารระหว่างวัย และเน้นสร้างการเติบโตทางความคิด ถ้าทุกคนในองค์กร และสังคมเข้าใจการโค้ช และนำการโค้ชไปใช้ได้ โลกเราจะน่าอยู่มากยิ่งขึ้นพียงใด”
ทั้งนี้ ดร.อัจฉรา ได้เผยถึงเทรนด์การโค้ชระดับโลกและในประเทศไทยว่า แม้การเทรนนิ่งบุคลากรทั่วโลกใช้งบประมาณสูงในแต่ละปี แต่ยังไม่สามารถพัฒนาบุคลากรได้ทันกับความต้องการของตลาด ปัญหาการพัฒนาคนในองค์กรปัจจุบัน คือ มีการฝึกอบรมพนักงานให้สามารถทำงานได้ (In-Service of Productivity and Performance) สิ่งที่ถูกละเลยไปคือ การพัฒนาสุขภาวะทางจิตที่ดี (Emotional Well-Being) หรือการติดตามผลการพัฒนาอย่างจริงจัง การโค้ชจึงเป็นจิ๊กซอว์ที่สำคัญที่จะเข้ามาช่วยได้
จากการสำรวจในระดับโลกล่าสุดของสหพันธ์โค้ชนานาชาติ ได้พบว่า อาชีพโค้ชในเอเชียในปี 2022 มีการเติบโตสูงถึง 86% เมื่อเทียบกับปี 2019 ทั้งที่เป็นช่วงของการระบาดของโควิด 19 (ช่วงปี 2019 – 2022) สำหรับตะวันออกกลางและแอฟริกา เติบโต 74% และในยุโรปตะวันออก เติบโต 59%
นอกจากนี้ ปี 2022 ยังเป็นปีแรกในประวัติศาสตร์ ที่สหพันธ์โค้ชนานาชาติมีสมาชิกโค้ช เพิ่มจำนวนมากขึ้น แตะที่เกินหนึ่งแสนคนเป็นครั้งแรก มีมากถึง 109,200 คนทั่วโลก นับเป็นการเติบโต 54% จากปี 2019 นอกจากนั้น การสำรวจนี้ยังชี้ให้เห็นว่า ปริมาณรายได้โดยประมาณต่อปีของโค้ชสูงขึ้น 60% เทียบกับปี 2019 เป็นที่น่าสนใจว่าตัวเลขนี้กำลังบอกเราหรือไม่ว่า การโค้ชกำลังเป็นที่ต้องการมากขึ้น
(ข้อมูลจาก: International Coaching federation. (2023). 2023 ICF Global Coaching Study, Executive Summary. International Coaching Federation)
เทรนด์การโค้ชในประเทศไทยเปลี่ยนไปในทางที่ดี เมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้ว คนเข้าใจเพียงว่า การโค้ชนำมาใช้เฉพาะผู้บริหารระดับสูง (Executive Coaching) แต่ปัจจุบัน คนเริ่มเข้าใจว่า ใครๆ ก็ใช้การโค้ชได้ และองค์กรที่มีการสร้าง Coaching & Mentoring Culture วัฒนธรรมการโค้ชและการเป็นพี่เลี้ยง ซึ่งมีคุณลักษณะเด่นๆ คือ เปิดโอกาสให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงการได้รับการโค้ชหรือการมีพี่เลี้ยงได้ มีการส่งเสริมให้นำการโค้ชมาใช้ในการทำงานและในชีวิตส่วนตัวได้อีกด้วย นอกจากนั้น คนไทยมีความตระหนักรู้ถึงประโยชน์ของการโค้ชมากขึ้น และการพัฒนาผู้นำให้มีทักษะการโค้ชที่ถูกต้องใกล้เคียงโค้ชมืออาชีพ มีการเติบโตมากขึ้นเท่าตัวแต่ละปี องค์กรจำนวนมากก็เปิดโอกาสให้ผู้บริหารมาเรียนรู้ทักษะการโค้ชและสอบการรับรองมาตรฐานโค้ชมืออาชีพจากสหพันธ์โค้ชนานาชาติอีกด้วย
8 คุณสมบัติเด่นของคนที่มีทักษะการโค้ช
4 ทักษะแห่งอนาคต พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและสถานการณ์อย่างมีประสิทธิภาพ อยู่รอดในอนาคต ได้แก่