ศูนย์คุณธรรมฯ เผยผลสำรวจดัชนีชี้วัดคุณธรรมและทุนชีวิต ปี 67 พร้อมจัดเสวนาภายใต้แนวคิด “Sustainable Value Creation ..รักษ์โลกแบบไหน ที่เรียกว่ายั่งยืน”

ศูนย์คุณธรรมฯ เผยผลสำรวจดัชนีชี้วัดคุณธรรมและทุนชีวิต ปี 67 พร้อมจัดเสวนาภายใต้แนวคิด “Sustainable Value Creation ..รักษ์โลกแบบไหน ที่เรียกว่ายั่งยืน”

ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) หน่วยงานของรัฐในกำกับของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เผยโพลสำรวจสถานการณ์ด้านคุณธรรม โดยเชื่อมโยงกับคุณธรรม 5 ด้าน ได้แก่ พอเพียง วินัย สุจริต จิตสาธารณะ กตัญญู และประเด็นอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) หน่วยงานของรัฐในกำกับของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ได้ดำเนินการจัดทำรายงานสถานการณ์คุณธรรมในสังคมไทยมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในรูปแบบของงานวิจัย องค์ความรู้ และโพลสำรวจสถานการณ์ด้านคุณธรรม เพื่อมุ่งเน้นนำเสนอประเด็นด้านคุณธรรม วิธีการแก้ไขปัญหา และปรากฏการณ์ด้านบวกและลบ ทั้งระดับปัจเจก ระดับชุมชน และสังคม เพื่อรณรงค์ปลูกฝังด้านจิตสำนึกแก่ประชาชน โดยเชื่อมโยงกับคุณธรรม 5 ด้าน ได้แก่ พอเพียง วินัย สุจริต จิตสาธารณะ กตัญญู และประเด็นอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์คุณธรรมฯ เผยผลสำรวจดัชนีชี้วัดคุณธรรมและทุนชีวิต ปี 67 พร้อมจัดเสวนาภายใต้แนวคิด “Sustainable Value Creation ..รักษ์โลกแบบไหน ที่เรียกว่ายั่งยืน” โดยสถานการณ์คุณธรรมปี 2567 รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม เผยว่า “ปัจจุบันได้มีการสำรวจสถานการณ์คุณธรรมของสังคมไทย ประจำปี 2567 ด้วย 2 เครื่องมือ คือดัชนีชี้วัดคุณธรรมและทุนชีวิต ในกลุ่มคนไทย 3 ช่วงวัย คือ อายุ 13-24 ปี อายุ 25-40 ปี และ อายุ 41 ปีขึ้นไป รวม 29,432 คน ใน 6 ภูมิภาค คือ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคใต้ พบผลสำรวจที่น่าสนใจคือ ดัชนีชี้วัดคุณธรรมภาพรวม 3 ช่วงวัยอยู่ในระดับพอใช้ อยู่ที่ค่าเฉลี่ย 4.32 จากคะแนนเต็ม 6 คะแนน เปรียบเทียบกับปี 2566 ที่อยู่ในระดับพอใช้ ค่าเฉลี่ย 4.73 ลดลง 8.67% และคุณธรรม 5 ด้าน ภาพรวม 3 ช่วงวัย พบว่า คุณธรรมด้านพอเพียง วินัยรับผิดชอบ และสุจริต อยู่ในระดับน้อย ค่าเฉลี่ย 4,17, 4.27 และ 4.19 ตามลำดับ ส่วนคุณธรรมด้านกตัญญู และจิตสาธารณะ อยู่ในระดับพอใช้ ค่าเฉลี่ย 4.64 และ 4.35 และเป็นที่น่าสังเกตว่าคุณธรรมด้านสุจริต อยู่ในระดับน้อยทั้ง 3 ช่วงวัย คือ อายุ 13-24 ปี ค่าเฉลี่ย 4.21 อายุ 25-40 ปี ค่าเฉลี่ย 4.04 และอายุ 41 ปีขึ้นไป ค่าเฉลี่ย 4.31

ในขณะที่ผลสำรวจทุนชีวิตภาพรวม ปี 2567 ใน 3 ช่วงวัย พบว่า อยู่ในระดับดี ร้อยละ 77.57 เปรียบเทียบปี 2566 ที่อยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ 83.80 ลดลง 7.43% และผลสำรวจทุนชีวิตรายพลัง ซึ่งเป็นระบบนิเวศรอบตัวมนุษย์ที่เป็นรากฐานของการดำรงชีวิตและเป็นปัจจัยสำคัญในการรับมือและแก้ไขปัญหา ประกอบไปด้วย 5 พลัง คือ พลังตัวตน พลังครอบครัว พลังสร้างปัญญา/พลังที่ทำงานหรือพลังองค์กร พลังเพื่อนและกิจกรรม และพลังชุมชน พบว่า ในกลุ่มอายุ 13-24 ปี พลังตัวตนอยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ 80.15 ขณะที่ อายุ 25-40 ปี พลังตัวตน และพลังครอบครัว อยู่ในระดับดีมาก คือ ร้อยละ 81.13 และร้อยละ 80.70 ส่วน อายุ 41 ปี ขึ้นไป ทั้ง 5 พลัง อยู่ในระดับดี พลังตัวตน ร้อยละ 78.24 พลังครอบครัว ร้อยละ 77.94 พลังที่ทำงานหรือพลังองค์กร ร้อยละ 76.21 พลังเพื่อนและกิจกรรม ร้อยละ 75.58 และพลังชุมชน ร้อยละ 74.66 ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่า ผลสำรวจทุนชีวิตรายข้อ ใน 3 ช่วงวัย มีเรื่องเดียว ที่มีคะแนนอยู่ในระดับปานกลาง คือ พลังชุมชน อายุ 13-24 ปี เรื่องการมีเพื่อนบ้านที่สนใจและให้กําลังใจ ร้อยละ 69.04”

ศูนย์คุณธรรมฯ เผยผลสำรวจดัชนีชี้วัดคุณธรรมและทุนชีวิต ปี 67 พร้อมจัดเสวนาภายใต้แนวคิด “Sustainable Value Creation ..รักษ์โลกแบบไหน ที่เรียกว่ายั่งยืน”

โดย มีข้อเสนอแนะ หลัก 3 ข้อ ได้แก่ 1.) ควรหยิบยกประเด็นคุณธรรมด้านสุจริตและด้านวินัยรับผิดชอบ มาเป็นประเด็นร่วมในการรณรงค์สร้างจิตสำนึกในลักษณะที่เชื่อมโยงเป็นระบบนิเวศ ทั้ง (a.) ระบบภาพรวมของสังคม (Macro system) เช่นคุณธรรมด้านสุจริต คือการสร้างบรรทัดฐานทางสังคม การบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ชัดเจน เป็นรูปธรรม เพื่อสร้างและพัฒนาระบบแจ้งเบาะแสการทุจริต (Whistle-blower) การสร้างพื้นที่ปลอดภัยในการให้ข้อมูลและร้องเรียนเรื่องทุจริต เพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมการไม่ทนต่อการทุจริต และคุณธรรมด้านวินัยรับผิดชอบ คือ การบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังเป็นรูปธรรม เพื่อสร้างบรรทัดฐานทางสังคมเรื่องวินัยรับผิดชอบ โดยเฉพาะวินัยจราจร (b.) ระบบสิ่งแวดล้อมที่ใกล้ชิดมนุษย์ (Micro system) เช่น ครอบครัว สถานศึกษา องค์กร ชุมชน อาทิ การส่งเสริมคุณธรรมด้านสุจริตและวินัยรับผิดชอบโดยมีจุดเริ่มจากครอบครัว และใช้ชุมชนเป็นฐานในการขับเคลื่อน และ (c.) สื่อ (Media) คือ การใช้พลังของสื่อในการพัฒนา Soft skill การปรับเปลี่ยนวิธีคิด (Mindset) ในเรื่องสุจริตและวินัยรับผิดชอบ เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้จริง

ศูนย์คุณธรรมฯ เผยผลสำรวจดัชนีชี้วัดคุณธรรมและทุนชีวิต ปี 67 พร้อมจัดเสวนาภายใต้แนวคิด “Sustainable Value Creation ..รักษ์โลกแบบไหน ที่เรียกว่ายั่งยืน”

ศูนย์คุณธรรมฯ เผยผลสำรวจดัชนีชี้วัดคุณธรรมและทุนชีวิต ปี 67 พร้อมจัดเสวนาภายใต้แนวคิด “Sustainable Value Creation ..รักษ์โลกแบบไหน ที่เรียกว่ายั่งยืน”

ศูนย์คุณธรรมฯ เผยผลสำรวจดัชนีชี้วัดคุณธรรมและทุนชีวิต ปี 67 พร้อมจัดเสวนาภายใต้แนวคิด “Sustainable Value Creation ..รักษ์โลกแบบไหน ที่เรียกว่ายั่งยืน”

ศูนย์คุณธรรมฯ เผยผลสำรวจดัชนีชี้วัดคุณธรรมและทุนชีวิต ปี 67 พร้อมจัดเสวนาภายใต้แนวคิด “Sustainable Value Creation ..รักษ์โลกแบบไหน ที่เรียกว่ายั่งยืน”

รวมถึงข้อเสนอแนะที่ 2.) รณรงค์ให้เกิดความเข้าใจ และรู้เท่ากระแสบริโภคนิยมมากยิ่งขึ้น เพื่อเสริมสร้างความรู้ด้านวินัยทางการเงิน และส่งเสริมรูปแบบการบริโภคที่ยั่งยืน และ 3.) ส่งเสริมให้เกิดการเตรียมความพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงของคนวัยทำงานในด้านสุขภาพ ด้านเศรษฐกิจ และด้านการเรียนรู้ เพื่อรองรับการก้าวสู่สังคมสูงวัยระดับสุดยอด (Super-Aged Society) ของไทย ซึ่งคาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นในปี 2583 และการ เปิดพื้นที่ให้เด็กและเยาวชนออกแบบกิจกรรมจิตอาสาที่สร้างสรรค์ ที่เกิดจากความสมัครใจ ไม่ใช่การบังคับหรือสั่งการ และภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการจัดกิจกรรมจิตอาสาควรบูรณาการงาน เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน หรือสร้างภาระให้กับเด็กและเยาวชน

และเพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดการสร้างความเปลี่ยนแปลงในสังคมอย่างยั่งยืน  ภายในงานยังได้มีการจัดเสวนา ในแนวคิด Sustainable Value Creation “รักษ์โลกแบบไหน ที่เรียกว่ายั่งยืน” โดยได้วิทยากรชื่อดัง มาร่วมแลกเปลี่ยน ข้อมูล อาทิ ณัฐกร เวียงอินทร์ หัวหน้าแผนกเนื้อหา และแบรนด์ดิ้ง บริษัท ไลค์มี จำกัด ซึ่งจะมาร่วมพูดคุยและให้มุมมองด้านการเรียนรู้และเติบโตอย่างไรในยุคที่ปัญญาประดิษฐ์ และความยั่งยืน คือแรงขับเคลื่อนโลก รวมถึงการแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดและมุมมองจากวิทยากร กูรูด้านความยั่งยืนของเมืองไทย ได้แก่ อนันตชัย ยูรประถม ผู้อำนวยการ สถาบันพัฒนาธุรกิจยั่งยืน, อมรพล หุวะนันทน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท มอร์ลูป จำกัด (Moreloop) ในหัวข้อ “มองกรอบความยั่งยืนแบบไหน เพื่อในคนสุข โลกดี ธุรกิจมีกำไร ไปพร้อมกัน” และปิดท้ายด้วย เอซ ธนบูรณ์ สมบูรณ์ ผู้ก่อตั้ง Greenery เครือข่ายผู้บริโภครุ่นใหม่ที่สนใจการใช้ชีวิตที่ยั่งยืนและ พิมพ์ลดา ไชยปรีชาวิทย์ อดีตพิธีกรดังสตรอเบอรี่ชีสเค้ก เจ้าของเพจ Pear is Hungry ที่นำเสนอเนื้อหาในด้านการลดปริมาณอาหารเหลือทิ้ง Food waste ในหัวข้อ “เศรษฐกิจหมุนเวียน ช่วยให้โลกเย็นขึ้นได้อย่างไร”