AI-Innovation towards Innovation Nation สร้างโอกาสให้เกิดความร่วมมือด้านนวัตกรรมระหว่างองค์กร

AI-Innovation towards Innovation Nation สร้างโอกาสให้เกิดความร่วมมือด้านนวัตกรรมระหว่างองค์กร

NIA จัดงาน Top Executives Meeting : Innovation Thailand Alliance x Global “AI-Innovation towards Innovation Nation” สร้างโอกาสให้เกิด ‘ความร่วมมือด้านนวัตกรรมระหว่างองค์กร’

9 ธันวาคม 2567 กรุงเทพมหานคร  สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA จัดงาน Top Executives Meeting : Innovation Thailand Alliance x Global “AI-Innovation towards Innovation Nation” ขึ้นที่ ห้อง The Crystal Box ชั้น 19 เกษร เออร์เบิน รีสอร์ท เกษร ทาวเวอร์ เพื่อสร้างเครือข่ายนวัตกรรมทางปัญญาประดิษฐ์ (AI) ของประเทศไทย ในระดับผู้บริหารระดับสูง เพื่อสร้างโอกาสให้เกิด ‘ความร่วมมือด้านนวัตกรรมระหว่างองค์กร’ ขึ้นในประเทศ

งานครั้งนี้ มีผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานชั้นนำจากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ บริษัทเอกชนขนาดใหญ่ สถาบันการศึกษา และสมาคมที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมปัญญาประดิษฐ์ ในระบบนิเวศนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์ของประเทศไทย เข้าร่วมงานถึง 23 หน่วยงาน ทั้งจากหน่วยงานชั้นนำของประเทศไทย และบริษัทชั้นนำระดับโลก

AI-Innovation towards Innovation Nation สร้างโอกาสให้เกิดความร่วมมือด้านนวัตกรรมระหว่างองค์กร

ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดงานในครั้งนี้ว่า จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเชื่อมโยงความร่วมมือระหว่างหน่วยงานชั้นนำจากทุกภาคส่วนในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI-Innovation) และเชื่อมโยงการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในประเทศไทย ผ่านการสร้างความรู้จักและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านนวัตกรรมระหว่างกันของผู้บริหารระดับสูงจากหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนระบบนิเวศนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์ (AI-Innovation Ecosystem) ของประเทศไทย

AI-Innovation towards Innovation Nation สร้างโอกาสให้เกิดความร่วมมือด้านนวัตกรรมระหว่างองค์กร

ภายในงานได้รับเกียรติจาก คุณยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ กรรมการนวัตกรรมแห่งชาติ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวเปิดงานและปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ ‘AI-Innovation towards Innovation Nation’ โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการยกระดับเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชนไทย พร้อมผลักดันให้ประเทศไทยเป็นผู้นำด้าน AI ในภูมิภาค ด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา

AI-Innovation towards Innovation Nation สร้างโอกาสให้เกิดความร่วมมือด้านนวัตกรรมระหว่างองค์กร

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้เล็งเห็นถึงศักยภาพและโอกาสดังกล่าว จึงได้ประกาศนโยบาย ‘อว. for AI’ ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาภายใต้ 3 เสาหลัก ได้แก่ AI for Education: การใช้ AI เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ด้วยตนเอง, AI Workforce Development: การพัฒนากำลังคนด้าน AI ในทุกระดับ และ AI Innovation: การสนับสนุนนวัตกรรม AI สู่ตลาด เพื่อสร้างความแพร่หลายและยกระดับเศรษฐกิจไทย

AI-Innovation towards Innovation Nation สร้างโอกาสให้เกิดความร่วมมือด้านนวัตกรรมระหว่างองค์กร

อว. มุ่งเน้นการสร้างระบบนิเวศด้านปัญญาประดิษฐ์ที่ครบถ้วน เชื่อมโยงทุกภาคส่วน และพัฒนานวัตกรรม AI ที่สร้างผลกระทบในวงกว้าง ทั้งในภาคธุรกิจและภาคสังคม วันนี้จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่จะร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็น สร้างเครือข่าย และกำหนดทิศทางการพัฒนา AI ของประเทศไทย เพื่อก้าวขึ้นเป็นผู้นำในภูมิภาค และใช้ AI เพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืนร่วมกัน

ต่อมาก็ได้เข้าสู่ช่วง ‘Innovation Showcase Sharing’ ในหัวข้อ ‘AI-Innovation Platform: Global Perspective’ ที่จะเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการขับเคลื่อนนวัตกรรมในวงการอุตสาหกรรม AI จากผู้บริหารระดับสูงทั้ง 4 ท่าน เริ่มต้นจาก คุณสุรศักดิ์ วนิชเวทย์พิบูล หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี แผนกธุรกิจคลาวด์ ประเทศไทย บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด, คุณวสุพล ธารกกาญจน์ รองกรรมการผู้จัดการ สายงานการตลาดและปฏิบัติการบริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด, คุณศาศวัต นธการกิจกุล Head of Technology (AI/GenAI) for AWS Public Sector (Thailand) และ ดร.นที เทพโภชน์ ประธานหลักสูตร ACC Program, CCC Academy

AI-Innovation towards Innovation Nation สร้างโอกาสให้เกิดความร่วมมือด้านนวัตกรรมระหว่างองค์กร

เริ่มต้นที่ คุณสุรศักดิ์ วนิชเวทย์พิบูล ที่มาพร้อมกับหัวข้อ ‘Huawei AI Ecosystem’ ได้ฉายภาพให้เราได้เห็นถึงความพร้อมของ Huawei ในการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่โลกของ AI ตั้งแต่การจดสิทธิบัตร บุคลากร ไปจนถึงทรัพยากร “วันนี้ AI ส่วนใหญ่ยังอยู่ใน Public Cloud แต่จากประสบการณ์ของ Huawei ในหลายประเทศยังคงกังวลในเรื่องการรัน AI บน Public Cloud” คุณสุรศักดิ์จึงได้นำเสนอ ‘Pangu’ ซึ่งเป็นโมเดล AI จากทาง Huawei ที่พร้อมจะตอบโจทย์ในด้านปลอดภัยทางข้อมูลในอนาคต 

นอกจากนั้น Pangu เอง ยังมาพร้อมกับความแม่นยำในฟังก์ชั่นอื่น ๆ อีกมากมาย ยกตัวอย่างเช่น การคาดการณ์สภาพอากาศ, การขับรถอัตโนมัติ (Autonomous Driving) ที่มาพร้อมความปลอดภัยกว่าเดิม, การขุดเหมืองถ่านหินเพื่อประสิทธิภาพและความปลอดภัย, ไปจนถึงในด้านสาธารณสุขที่ได้ประยุกต์ Pangu ใช้ในการวิจัยตัวยาจนสามารถร่นระยะเวลาจะ 1 ปี เหลือเพียง 1 เดือน ซึ่งเป็นการฉายภาพให้เราเห็นถึงความเป็นไปได้ในการประยุกต์ใช้ AI เข้ากับเนื้องานในปัจจุบัน ที่ไม่เพียงประหยัดเวลา แต่อาจจะนำไปสู่ผลิตภาพที่สูงขึ้นกว่าเดิม ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานั้น คุณสุรศักดิ์เองก็มองว่ามีโอกาสอีกมากมายในประเทศไทยที่เฝ้ารออยู่

AI-Innovation towards Innovation Nation สร้างโอกาสให้เกิดความร่วมมือด้านนวัตกรรมระหว่างองค์กร

ท้ายที่สุด คุณสุรศักดิ์ กล่าวว่า Huawei ให้ความสำคัญเรื่องคน หรือบุคลากรเป็นอย่างมาก ด้วยเหตุนั้นการส่งต่อองค์ความรู้และการเทรนบุคลากรจึงกลายเป็นสิ่งสำคัญในการเปลี่ยนผ่านองค์กรเข้าสู่โครงสร้างที่มี AI อยู่ในนั้นด้วย จึงเป็นเหตุว่าในอนาคตข้างหน้าที่จะถึงนี้ สายอาชีพและผู้เชี่ยวชาญด้าน AI ที่จะสามารถกระจายไปในอุตสาหกรรมต่าง ๆ จึงเป็นการเตรียมพร้อมที่จะละทิ้งไปไม่ได้ รวมไปถึงความตระหนักรู้ในการประยุกต์ใช้จากผู้คนธรรมดาด้วย โดย Huawei เองก็พร้อมที่จะสนับสนุนในทุก ๆ มิติและภาคส่วนที่มุ่งหวังที่อยากจะประยุกต์ AI เข้าไปอยู่ในชีวิตของพวกเขาตั้งแต่โครงสร้างพื้นฐานไปจนถึงเนื้องานเชิงลึก

คุณวสุพล ธารกกาญจน์ ก็ได้นำเสนอผ่านหัวข้อ ‘Microsoft AI at Scale’ ที่ถอดหมวกผู้บริหารมาพูดถึงการประยุกต์ใช้ AI ในฐานะคนธรรมดาผู้ใช้งานคนหนึ่ง โดยคุณวสุพลได้กล่าวว่าการเข้ามาของ AI ย่อมมาพร้อมความท้าทาย แต่สำคัญที่ว่าประเทศไทยจะสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงนี้อย่างไร “เราต้องการที่จะนำสิ่งที่ Microsoft ระดับโลกมีมาประยุกต์ใช้กับประเทศไทย” ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property) ถือเป็นสิ่งสำคัญที่อุตสาหกรรมต้องตระหนักรู้ ไม่เพียงแค่ตระหนักรู้ในสิทธิ์ของตัวเอง แต่ยังรวมไปถึงการใช้ประโยชน์เท่าที่จะเป็นไปได้อีกด้วย

AI-Innovation towards Innovation Nation สร้างโอกาสให้เกิดความร่วมมือด้านนวัตกรรมระหว่างองค์กร

Microsoft เป็นแค่แพลตฟอร์มให้ท่านไปต่อยอดได้ แต่คนที่ทำให้เราสามารถแข่งขันกับที่อื่นได้คือนักพัฒนาทุกคน” ด้วยเหตุนั้น การเห็นภาพการนำ AI ไปประยุกต์ใช้จึงเป็นเรื่องสำคัญในการพัฒนานวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์ในอนาคต ยกตัวอย่างเช่น ‘Azure AI Foundry’ แพลตฟอร์มจาก Microsoft ที่จะมาช่วยดูแลความปลอดภัยทางข้อมูล เพื่อให้ผู้ใช้งานมุ่งเน้นไปที่การสร้างสรรค์ในการประยุกต์ใช้ AI โดยไม่ต้องพะวงหลัง “เราจะเอา AI ไปสร้าง Impact ให้ประเทศไทยได้อย่างไร และ Microsoft พร้อมสนับสนุนในส่วนนั้น

ลำดับถัดมา คุณศาศวัต นธการกิจกุล มาพร้อมกับการฉายภาพความท้าทายและโอกาสในการพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรม AI ในหัวข้อ ‘The Future of AI with AWS’ การเข้ามาของ AI ถือเป็นสิ่งที่ผู้คนตั้งคำถามอยู่มากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา คุณศาศวัตได้ฉายภาพให้เห็นถึงวิธีที่ AWS มองการเข้ามาของ AI ในมิติของโอกาสที่สร้างให้แก่การดำเนินธุรกิจ ว่าเป็น ‘ผู้ช่วย’ (Assistant) ในด้านต่าง ๆ ตั้งแต่การบันทึกการประชุม การช่วยเขียนโปรแกรม หรือช่วยงานยิบย่อยต่าง ๆ ที่ AI สามารถดำเนินงานได้ 

AI-Innovation towards Innovation Nation สร้างโอกาสให้เกิดความร่วมมือด้านนวัตกรรมระหว่างองค์กร

ปัญหาที่มักพบในการประยุกต์ AI เข้ากับองค์กรก็คงหนีไม่พ้นกับ ‘คุณภาพของข้อมูล’ (Data Quality) ที่ยังไม่เสถียรมากเท่าไหร่นัก AWS เองจึงมอง AI ลึก ไม่เพียงแค่ Generative AI แต่ไปจนถึง Data Foundation ที่จะเจาะลึกไปที่คุณภาพการเก็บเกี่ยวข้อมูลและนำไปสู่การประมวลผลที่แม่นยำมากขึ้นกว่าเดิม และจะช่วยแก้ไขปัญหา ‘Hallucination’ หรือปรากฎการณ์ที่ปัญญาประดิษฐ์ประมวลข้อมูลที่ไม่ถูกต้องออกมา

เฉกเช่นเดียวกับวิทยากรท่านก่อน ๆ คุณศาศวัตก็ให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลกร ไม่ว่าจะเป็นการร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในการส่งต่อองค์ความรู้ข้อมูล หรือแม้แต่การตั้งเป้าหมายลงทุนในประเทศไทยที่จะนำไปสู่ผลประโยชน์ในอนาคตระยะยาว แต่ในขณะเดียวกัน แม้จะมีบุคลากร แต่การมีโอกาสในประเทศ ก็ถือเป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน เพราะแม้มีบุคลากรแต่ไร้ซึ่งโอกาส ก็จะนำไปสู่ปรากฎการณ์ ‘สมองไหล’ หรือการที่บุคลากรไหลออกไปที่ต่างประเทศในท้ายที่สุดอยู่ดี ด้วยเหตุนั้น การเห็นค่าและจ้างงานศักยภาพที่มีอยู่ในประเทศก็ต้องเดินหน้าไปพร้อม ๆ กัน

ในหัวข้อสุดท้าย ดร.นที เทพโภชน์ ก็ได้กล่าวถึงหัวข้อ ‘AI-Innovation Service Provider: Tech Talent’ ที่จะมาเจาะลึกถึงการสร้างบุคลากรทาง AI ในประเทศไทยผ่าน ‘ACC Program’ หลักสูตรสอน AI ที่ร่วมมือกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ร่วมมือกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ที่ไม่เพียงแค่ส่งต่อองค์ความรู้และสร้างบุคลากรผ่านการร่วมมือของสมาคม AI ที่ได้ส่งสมาคม AI มาส่งต่อองค์ความรู้และประสบการณ์ แต่ยังสร้างเครือข่ายในอุตสาหกรรมที่จะนำไปสู่การร่วมมือและประยุกต์ใช้ในอนาคต

โดยหลักสูตรก็จะแบ่งเป็นคอร์สต่าง ๆ 9 ประเภทที่มีเนื้อหามุ่งเน้นแตกต่างกันไป สิ่งที่หลักสูตรนี้มุ่งเน้น คือการไม่ได้นั่งเรียนเฉย ๆ แต่จะเน้นให้ได้ลงมือปฏิบัติและประยุกต์ใช้ตามโจทย์ที่มอบให้ เพื่อให้รู้และลองวิธีการใช้จริง ๆ ในอนาคต นอกจากนั้นก็ยังได้มีการพูดคุยและแลกเปลี่ยนกับผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรชั้นนำที่ได้ประยุกต์ใช้ AI ในการทำงานจริง 

AI-Innovation towards Innovation Nation สร้างโอกาสให้เกิดความร่วมมือด้านนวัตกรรมระหว่างองค์กร

นอกจากนั้น ดร. นที ก็ได้นำเสนอ ‘Tech Talent Pool’ ที่ฉายภาพให้เราเห็นถึงไอเดียจากผู้เข้าร่วมหลักสูตรและสะท้อนให้เราเห็นถึงความเป็นไปได้นการใช้ AI ผ่านการผสมผสานความสร้างสรรค์ที่จะนำไปสู่นวัตกรรมทาง AI ที่อาจช่วยขับเคลื่อนองค์กร อุตสาหกรรม หรือแม้แต่ประเทศอย่างมีนัยสำคัญในอนาคต “การพัฒนากำลังคนอาจไม่ใช่หน้าที่ของสถาบันการศึกษาอย่างเดียว เพราะทุกคนสามารถจะแบ่งปันความรู้ได้ เพราะทุกคนล้วนมีความถนัดเชี่ยวชาญของตัวเอง”

หลังจากนั้น ก็เข้าสู่ช่วง Innovation Thailand Alliance Collaboration “AI-Innovation Ecosystem” ที่เป็นการแนะนำบรรดาผู้บริหารระดับสูงที่มาร่วมงาน รวมไปถึงการนำเสนอว่าในองค์กรของตัวเองได้ประยุกต์ใช้ AI ไปแบบใดแล้วบ้าง รวมถึงนำเสนอว่าองค์กรของตัวเองอยากจะมีการร่วมงานด้าน AI อื่นกับหน่วยงานอื่นอย่างไรบ้าง ซึ่งทุกคนล้วนเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนนวัตกรรมในแต่ละองค์กร ภายหลังจากนั้นก็จะเป็นช่วงเวลาที่ผู้เข้าร่วมแต่ละคนสามารถทำความรู้จักพบปะพูดคุยและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านนวัตกรรมระหว่างกัน เพื่อความร่วมมือกันภายในอุตสาหกรรม และนำไปสู่ความขับเคลื่อนนวัตกรรมที่ยิ่งใหญ่กว่าเดิมในอนาคต

AI-Innovation towards Innovation Nation สร้างโอกาสให้เกิดความร่วมมือด้านนวัตกรรมระหว่างองค์กร

เครือข่ายนวัตกรรมประเทศไทย (Innovation Thailand Alliance) เป็นกิจกรรมภายใต้โครงการนวัตกรรมประเทศไทย ประจำปี 2567 หรือ Innovation Thailand 2024 โดย สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) 

กิจกรรมดังกล่าว ถือเป็นภารกิจในการสร้างการรับรู้และความเข้าใจด้านนวัตกรรมเพื่อให้เกิดความตื่นตัวด้านนวัตกรรมขึ้นในทุกภาคส่วนของประเทศ รวมถึงเกิดการยอมรับและเชื่อมั่นในนวัตกรรมของประเทศไทยทั้งระดับในประเทศและระดับสากล และความร่วมมือกับหน่วยงานจากทุกภาคส่วนที่มีบทบาทในการส่งเสริมและสนับสนุนด้านนวัตกรรม