T-WAVE คลื่นลูกใหม่ ไทยนิยม พลิกโฉมและขับเคลื่อน ‘การศึกษาไทยสู่ระดับโลก’

T-WAVE คลื่นลูกใหม่ ไทยนิยม พลิกโฉมและขับเคลื่อน ‘การศึกษาไทยสู่ระดับโลก’

เพราะ ‘คน’ ถือเป็นรากฐานและพลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ การสร้างคนให้มีศักยภาพทันการเปลี่ยนแปลงของโลกได้นั้น ต้องเริ่มต้นที่ ‘การศึกษา’ จึงเป็นที่มาให้ The People ที่นำเสนอเนื้อหาผ่านมุมมองของ ‘คน’ เปิดเวที FORUM : T-WAVE จาก ปฏิรูป สู่ ปฏิบัติ ‘การศึกษาไทยสู่ระดับโลก’

สำหรับเวที FORUM : T-WAVE จาก ปฏิรูป สู่ ปฏิบัติ ‘การศึกษาไทยสู่ระดับโลก’  จัดขึ้นมาเพื่อสร้างให้สังคมไทยตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาและเชื่อมั่นในศักยภาพคนไทย ผ่านการจุดกระแส T-Wave คลื่นลูกใหม่ ไทยนิยม โดยให้ความสำคัญไปที่ THAI - คนไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก, TECH - การใช้เทคโนโลยีขับเคลื่อนความรู้และทลายกรอบการศึกษาที่ถูกจำกัด, TEEN - การพัฒนาเด็กไทยให้เต็มศักยภาพ ด้วยการรวบรวมวิทยากรที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนและยกระดับการศึกษาของไทย T-WAVE คลื่นลูกใหม่ ไทยนิยม พลิกโฉมและขับเคลื่อน ‘การศึกษาไทยสู่ระดับโลก’

รวมถึงคนจากหลายภาคส่วนมาร่วมระดมความคิดเห็นในการออกแบบและกำหนดยุทธศาสตร์ด้านการศึกษา เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง และเตรียมทรัพยากรคนของประเทศให้มีความแข็งแกร่งสอดคล้องกับทิศทางและแนวโน้มของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
 

งานเริ่มต้นด้วย ‘ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช’ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ให้เกียรติกล่าวปาฐกถาเปิดงานว่า การสร้างกระแส T-Wave ไทยนิยม ภายใต้แนวคิด ‘ปฏิรูปสู่ปฏิบัติ’ เป็นยุทธศาสตร์ในการกำหนดอนาคตของการศึกษาให้สอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก นอกจากนี้การใช้ ‘การศึกษา’ เป็นสารตั้งต้นเพื่อสร้างคนเก่ง จะสร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทย จนสามารถจุดกระแส T-WAVE ให้เกิดขึ้นได้ในระดับโลก  T-WAVE คลื่นลูกใหม่ ไทยนิยม พลิกโฉมและขับเคลื่อน ‘การศึกษาไทยสู่ระดับโลก’

‘การศึกษา’ คือ กุญแจในการสร้างคน

รศ.ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดีสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ กล่าวว่า ความสามารถของคนไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก และการศึกษาถือเป็นกุญแจในการสร้างคนที่ช่วยผลักดันให้ประเทศไทยมีความโดดเด่นในทุกเรื่อง แต่ทุกวันนี้การศึกษาของไทยยังมีช่องว่างเป็นอย่างมาก โดยทางออกในเรื่องนี้ สามารถทำได้ผ่านสูตร 3 5 7 11 12 ประกอบด้วย
T-WAVE คลื่นลูกใหม่ ไทยนิยม พลิกโฉมและขับเคลื่อน ‘การศึกษาไทยสู่ระดับโลก’

การติดอาวุธ 3 ด้าน ได้แก่ ทักษะฝีมือ, ภูมิปัญญา และคุณธรรม, การสร้างคนให้เก่ง 5 ด้าน ได้แก่ เก่งงาน, เก่งเงิน, เก่งเทคโนโลยี, เก่งภาษา และเก่งคน, สร้างคนมีความสามารถ 7 ด้าน ได้แก่ การตั้งโจทย์, การวิเคราะห์โจทย์, รู้ว่าต้องแก้ปัญหาเมื่อไร, รู้เวลาลงมือทำ, ต้องทำตรงไหนก่อน, เลือกคนที่มาทำ และกำหนดเป้าหมายในการทำงาน

การสร้างให้คนมี 11 คุณสมบัติ ได้แก่ สื่อสารให้เก่ง, มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมที่ดี, ความสัมพันธ์ที่ดี, เชื่อมั่นในการปฏิบัติ, ความมุ่งมั่นสูง, แรงบันดาลใจ, มีวิสัยทัศน์, มีจินตนาการ, มีความคิดสร้างสรรค์, ความคิดในเชิงวิพากษ์วิจารณ์ และมีความเป็นผู้นำ’ สุดท้าย การพัฒนาคน 12 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาคนให้ถูกต้อง, การรับคนที่ถูกต้อง, การรักษาคน, การให้ผลตอบแทน, การให้รีวอร์ด, การรู้จักตอบสนอง, การยอมรับกันและกัน, การสร้างความนับถือระหว่างกัน, การให้ตำแหน่งที่เหมาะสม, การสร้างความสัมพันธ์ที่ดี, การทำงานที่ปลอดภัย และการสร้างความจงรักภักดีต่อองค์กร 
 
TECH (เทคโนโลยี) อนาคตการศึกษา


ด้าน ‘โอชวิน จิรโสตติกุล’ ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง FutureSkill กล่าวว่า แนวทางในการจะเลือกศึกษาอะไรก็ตาม การตัดสินใจจะมาจาก 3 ปัจจัย คือ ตัวเองถนัดอะไร, ตลาดงานในปัจจุบัน และทิศทางในอนาคตเป็นอย่างไร ซึ่ง ณ ตอนนี้ ธุรกิจที่มาแรงทั้งในบ้านเราและระดับโลก จะเป็นธุรกิจเกี่ยวข้องกับนวัตกรรม
T-WAVE คลื่นลูกใหม่ ไทยนิยม พลิกโฉมและขับเคลื่อน ‘การศึกษาไทยสู่ระดับโลก’ ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่า หลักสูตรด้านเทคโนโลยีหรือดิจิทัลจึงมาแรงได้รับความนิยม ไม่ว่าจะเป็น Data Analysis and Scientists, AR/VR, Digital Marketing, Big Data ฯลฯ และเทคโนโลยีจะเข้ามาเปลี่ยนการศึกษา เพราะสามารถเรียนที่ไหนก็ได้ เวลาใดก็ได้ เป็นการทลายกรอบข้อจำกัดหลายอย่าง

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าสังเกต คือ ไทยกำลังเผชิญกับปัญหาสมองไหล โดยปี 2563 ปัญหานี้เพิ่มขึ้น 30% เมื่อเทียบกับปี 2562 โดยเฉพาะกับคนรุ่นใหม่ที่เห็นจากเทรนด์ย้ายประเทศ

การศึกษาควรเปิดโอกาสให้ค้นหาตัวเอง

ขณะที่ ‘วทันยา อมตานนท์’ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟอร์ท เวนดิ้ง จำกัด ผู้ให้กำเนิดคาเฟ่ตู้เต่าบิน ชวนทุกคนมาตั้งคำถามว่า ระบบการศึกษาไทยในปัจจุบัน เหมาะสมกับโลกความเป็นจริง ณ ตอนนี้หรือไม่ และเปิดโอกาสให้นักเรียนหรือนักศึกษาได้ลองค้นหาตัวเองมากแค่ไหน

ยกตัวอย่าง จากประสบการณ์ของตัวเธอเองที่เปลี่ยนจากวุฒิการศึกษาที่จบ Computer Science มาทำอาชีพแรกด้านดีไซน์ UX/UI (การออกแบบประสบการณ์ของผู้ใช้งาน) เธอต้องใช้เวลาถึง 2 ปีในการปรับตัว ซึ่งไม่ง่ายที่จะเปลี่ยนสายงานโดยไม่มีพื้นฐานมาก่อน

T-WAVE คลื่นลูกใหม่ ไทยนิยม พลิกโฉมและขับเคลื่อน ‘การศึกษาไทยสู่ระดับโลก’ สำหรับเธอมองว่า ‘การฝึกงาน’ เป็นวิธีที่ง่ายและเร็วที่สุดในการให้เด็กค้นหาตัวเอง จึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาสนับสนุนให้บริษัทเปิดรับเด็กฝึกงานมากขึ้น

Future of T-WAVE ต่อยอดและพัฒนาการศึกษาไทยสู่ระดับโลก

ด้าน ศ. ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ประธานการศึกษาทันสมัยพรรคประชาธิปัตย์ เริ่มต้นฉายภาพว่า ตอนนี้โลกได้เปิดกว้างทางการศึกษาแบบไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เช่น ประเทศอาหรับที่ส่งเสริมการเรียนจนเมื่อไม่นานมานี้มีวิศวกรชาวอาหรับได้ร่วมมือกับ SpeceX ของ ‘อีลอน มัสก์’ หรือจะเป็นความยิ่งใหญ่ของประเทศเกาหลีใต้ที่สามารถยกมูลค่าให้กับประเทศได้อย่างน่าสนใจ ตั้งแต่เป็นผู้ส่งออกสมาร์ทโฟนเบอร์ต้นของโลก ไปจนถึงสินค้าเทคโนโลยีอื่น ๆ

“การเปลี่ยนแปลงที่ยกตัวอย่างมานั้น เป็นเชิงสัญลักษณ์ของ A-WAVE และ K-WAVE แล้วทำไม T-WAVE คลื่นลูกใหม่ ไทยนิยมถึงยังไม่มีคลื่นลูกใหม่ ไทยนิยมเกิดขึ้น และตอนนี้ไทยมีอัตราการเกิดของเด็กที่ต่ำ เด็กไทยจบระดับปริญญาตรีน้อยลง กลายเป็นวิกฤตพีระมิดกลับหัว สร้างความน่ากังวลอย่างยิ่งต่อสังคมไทย”
T-WAVE คลื่นลูกใหม่ ไทยนิยม พลิกโฉมและขับเคลื่อน ‘การศึกษาไทยสู่ระดับโลก’

สำหรับ T-WAVE ศ. ดร.สุชัชวีร์ กล่าวว่า มีเป้าหมายที่จะยกระดับคนไทยไปสู่การเป็นพลเมืองชั้นหนึ่งของโลก โดยให้ความสำคัญผ่าน 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ THAI  หมายถึง ศักยภาพของคนไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก และไม่ด้อยไปกว่าชนชาติอื่น จึงชวนคนไทยเก่งๆ ระดับมืออาชีพมาร่วมแบ่งปันประสบการณ์ความรู้สร้างแรงบันดาลใจแก่คนไทย สร้างค่านิยมที่ถูกต้อง ไม่ใช่แค่ภูมิใจที่เกิดเป็นคนไทย แต่มั่นใจในศักยภาพของตัวเอง

TECH หมายถึง ใช้เทคโนโลยีขับเคลื่อนความรู้ ซึ่งจากสถานการณ์โควิดที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่า เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่ลดความเหลื่อมล้ำ และทยอยกรอบทางการศึกษา จึงต้องพัฒนาให้คนไทยพร้อมเผชิญการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีใหม่ๆ

TEEN  หมายถึง พัฒนาเด็กไทยให้เต็มศักยภาพ ด้วยการออกแบบและพัฒนาให้การศึกษาให้ตรงกับความต้องการและตอบรับกับอนาคตของเด็กๆ ซึ่งเป็นแรงงานและพลังสำคัญของชาติในอนาคต

ศ. ดร.สุชัชวีร์ มองว่า เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว สิ่งที่ต้องเร่งมือ คือ ต้องรีบปฏิวัติด้านการศึกษา ด้วยการสนับสนุนคนไทยให้ได้เรียนรู้เต็มศักยภาพ และพัฒนาทักษะให้สูงขึ้น เพราะทุกวันนี้คนที่มีทักษะสูงเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานโลก

“ใครว่าใบปริญญาไม่สำคัญ คำคำนี้ไม่มีอยู่จริง เพราะคนที่พูดมานั้นก็ยังส่งลูกเรียนหนังสือหมด” 

สำหรับ ศ. ดร.สุชัชวีร์ สิ่งที่อยากจะสนับสนุนให้เกิด T-WAVE ก็คือ การผลักดันให้เด็กไทยเข้าสู่ระบบการศึกษาทักษะสูงให้ได้ 100% และให้เด็กไทยได้เรียนปริญญาตรีฟรี เพื่อให้เกิดคลื่นที่สำคัญในการกำหนดอนาคตของประเทศ

“T-WAVE คือทางรอดของไทย การเปลี่ยนแปลงจะทำให้ไทยเปลี่ยนเป็นประเทศที่มีรายได้สูงขึ้นจากการติดกับดักรายได้ปานกลาง และเราตั้งเป้าให้คนไทยก้าวสู่พลเมืองชั้นหนึ่งของโลกให้ได้ ขณะเดียวกันคนไทยก็ต้องเชื่อมั่นและสนับสนุนไทยนิยมด้วยกัน ประเทศไทยถึงจะอยู่รอด”
T-WAVE คลื่นลูกใหม่ ไทยนิยม พลิกโฉมและขับเคลื่อน ‘การศึกษาไทยสู่ระดับโลก’

การศึกษาวันนี้หมดเวลาปฏิรูป - ถึงเวลาปฏิบัติจริง

มาถึงเวที Panel Discussion ‘ปฏิรูปสู่ปฏิบัติ’ สร้างความทัดเทียมทางการเรียนรู้ เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้คนไทยสู่เวทีโลก โดยวิทยากรที่มาร่วมในเวทีนี้ ได้แก่ ‘ศ. ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์’ ประธานการศึกษาทันสมัยพรรคประชาธิปัตย์, ‘รศ. ดร.เอกนฤน บางท่าไม้’ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมการศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร, ‘ดร.นิพัทธ์ รัศมีโกเมน’ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท พีทีที เรส จำกัด และ ‘พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์’ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้ง บริษัท โชว์ไร้ขีด จำกัด
T-WAVE คลื่นลูกใหม่ ไทยนิยม พลิกโฉมและขับเคลื่อน ‘การศึกษาไทยสู่ระดับโลก’

แน่นอนบนเวที วิทยากรแต่ละคนได้แสดงความคิดเห็นไว้อย่างน่าสนใจและเข้มข้น โดยมองเห็นตรงกันว่า การศึกษาของไทย ณ วันนี้หมดเวลาของการปฏิรูป แต่ต้องลงมือปฏิบัติจริงได้แล้ว

สำหรับความพยายามในการพัฒนาหลักสูตรให้สำเร็จเป็นรูปธรรม ‘รศ. ดร.เอกนฤน บางท่าไม้’ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมการศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร กล่าวว่า ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน โดยเฉพาะการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ เพราะหากยังมีกระบวนการทำงานที่ล่าช้าแนวทางหรือวิธีการพัฒนาหลักสูตรอาจไม่สำเร็จในเร็ววัน

นอกจากนี้ หลักสูตรการเรียนการสอนในระดับมหาวิทยาลัยควรต้องหัดปฏิเสธอะไรที่ไม่จำเป็น เพราะภาคการศึกษามีอิสระในการออกแบบหลักสูตรการเรียนการสอนอย่างเต็มที่ โดยที่รัฐบาลไม่สามารถแทรกแซงได้ ฉะนั้นหลักสูตรที่จะประสบความสำเร็จเป็นรูปธรรมคือหลักสูตรที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง และเป็นเพียงหลักสูตรในฝัน
T-WAVE คลื่นลูกใหม่ ไทยนิยม พลิกโฉมและขับเคลื่อน ‘การศึกษาไทยสู่ระดับโลก’

เช่นเดียวกับ พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้ง บริษัท โชว์ไร้ขีด จำกัด ที่กล่าวว่า การปฏิเสธ เป็นสิ่งสำคัญอีกข้อของการพัฒนาการศึกษาไทย โดยเฉพาะการตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นต้องเรียนรู้ออกไปจากชั่วโมงเรียน เพราะระบบการศึกษาตอนนี้มีความรู้ที่ไม่จำเป็นเยอะเกินไป

ในส่วนของการเรียนการสอน เขามองว่า ความรู้ทุกเรื่องต้องสนุกถึงจะทำให้คนอยากเรียน และนำพาไปสู่เป้าหมายต่าง ๆ ได้ อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะมีปัญหาอย่างไรก็ตาม เชื่อว่า การศึกษาไทยยังมีความหวัง
T-WAVE คลื่นลูกใหม่ ไทยนิยม พลิกโฉมและขับเคลื่อน ‘การศึกษาไทยสู่ระดับโลก’

ขณะที่ ศ. ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ เล่าถึงประสบการณ์ไปศึกษาในต่างประเทศทำให้เห็นว่า คนไทยเก่งไม่แพ้ใครในโลก และคนเก่งของไทยถูกซื้อตัวให้ทำงานในประเทศนั้น ๆ แสดงว่า หากปรับอีกเพียงเล็กน้อย โดยทุกคนมากระตุกฝาที่ครอบคนเอาไว้ คนเก่งของไทยจะมีโอกาสเฉิดฉายได้

เขาเน้นย้ำว่า การศึกษาในระดับปริญญาตรีมีความสำคัญในการยกระดับการศึกษาระยะสั้น เนื่องจากทุกวันนี้ไทยยังขาดแรงงานที่มีทักษะ โดยทักษะสามารถสร้างได้ด้วยมหาวิทยาลัยที่เป็นแหล่งเรียนรู้และบ่มเพาะสร้างทักษะให้บุคลากรได้ ดังนั้นหากสนับสนุนให้คนเรียนเก่งในระดับมัธยมศึกษามีโอกาสได้เรียนและสร้างทักษะเพิ่มในมหาวิทยาลัยอีก 4 ปีได้มากขึ้น เราจะได้ทั้งคนเก่งและมีทักษะ

“วันนี้เราขาดทั้งปริมาณและคุณภาพ น้อยกว่า 30% เท่านั้นที่ได้เรียนมหาวิทยาลัย โอกาสนี้โอกาสทอง (รัฐ) มีเงินพอ ค่าเล่าเรียนทั้งประเทศไทยปีละไม่ถึง 3 หมื่นล้านบาท สร้างถนน-ทาง ปีละ 1.2 แสนล้าน จะมาสร้างคน ถ้าทำไม่ได้ก็แปลก
T-WAVE คลื่นลูกใหม่ ไทยนิยม พลิกโฉมและขับเคลื่อน ‘การศึกษาไทยสู่ระดับโลก’

“ท่านเห็นตัวเลขแล้ว ไม่ใช่ดราม่า เพราะอย่างนั้น หนทางรอดของไทย ระยะสั้น ๆ ย้ำว่า ระยะสั้นคือดึงลูกหลานซึ่งน้อยเหลือเกินในตอนนี้เข้าสู่ปริญญาตรี เพื่อเปลี่ยนจากแรงงานไม่มีทักษะสูง เป็นแรงงานทักษะสูงให้มากที่สุด ขณะเดียวกัน (แง่การเพิ่ม) คุณภาพหรือวิชา (ที่จะมี) ปฏิเสธ เราทำควบคู่กันไป นี่คือทางรอด เราทำได้ ลงมือทำ”

สอดคล้องกับ ‘ดร.นิพัทธ์ รัศมีโกเมน’ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท พีทีที เรส จำกัด ที่เสนอว่า ประเทศไทยควรทำให้การศึกษาระดับปริญญาตรีกลายเป็นสวัสดิการขั้นพื้นฐานที่ทุกคนในประเทศสามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม เนื่องจากเป็นพื้นฐานที่ดีในการพัฒนาคนในอนาคต ซึ่งตอนนี้หลาย ๆ ประเทศได้เริ่มบรรจุเรื่องนี้ให้เป็นส่วนหนึ่งของสวัสดิการของแต่ละประเทศแล้ว

นอกจากนี้ สิ่งที่จะทำให้การศึกษาของไทยเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจนที่สุด ก็คือ การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ เพราะตอนนี้เทคโนโลยีเข้าไปมีบทบาทสำคัญในทุกภาคส่วน และหากเราต้องการจะเปลี่ยนการศึกษาได้จริง ๆ ก็ต้องนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของการศึกษาที่ตอนนี้เป็นยุคของคนรุ่นใหม่

T-WAVE คลื่นลูกใหม่ ไทยนิยม พลิกโฉมและขับเคลื่อน ‘การศึกษาไทยสู่ระดับโลก’

สำหรับคำถามที่ว่า อนาคตของ T-WAVE คลื่นการศึกษาที่ผลักดันแนวคิด ‘ไทยนิยม’ ให้เป็นที่ยอมรับระดับสากลต้องทำอย่างไร?

วิทยากรทั้งหมดเห็นตรงกันว่า หากต้องการเห็นประเทศไทยยกระดับไปอีกขั้นหนึ่ง เรื่องสำคัญที่สุดคือ การพัฒนาการศึกษา ซึ่งมหาวิทยาลัยและรัฐบาลต้องร่วมมือกันในกำหนดหลักสูตรการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ไปพร้อมกัน โดยมีเทคโนโลยีมาเป็นตัวช่วยปลดล็อกศักยภาพการศึกษาไทย ทั้งในเรื่องของข้อจำกัดด้านบุคลากร การทำงาน เพื่อให้คนไทยเข้าถึงการศึกษาได้อย่างเท่าเทียม T-WAVE คลื่นลูกใหม่ ไทยนิยม พลิกโฉมและขับเคลื่อน ‘การศึกษาไทยสู่ระดับโลก’ #ThePeople #T_WAVE #ปฏิรูปสู่ปฏิบัติ #การศึกษาไทยสู่ระดับโลก #การศึกษาไทย