02 ต.ค. 2566 | 15:44 น.
สำหรับงานดังกล่าว ถือเป็นครั้งแรกกับการเปิดประสบการณ์การนอนหลับแบบมีคุณภาพในทุกมิติแบบ 360 องศา ด้วยการรวบรวมผู้เชี่ยวชาญเบอร์ต้น ๆ ของประเทศไทยจากสาขาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนอนโดยเฉพาะมาถ่ายทอดแนวทางการแก้ไขปัญหาให้นอนหลับได้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
เวที ‘Shall We SLEEP? เริ่มด้วย ‘อาจารย์เมธี จันทรา’ ผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีบำบัด และนักดนตรีภาวนา ผู้สนใจและทำงานเรื่องเสียงมากว่า 20 ปี ที่มาขับกล่อมบทเพลงที่ช่วยในการนอน
จากนั้นเป็นช่วงเวทีเสวนาที่อัดแน่นไปด้วยสาระความรู้น่าสนใจ โดยได้ ‘ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน’ ผู้ประกาศและผู้ดำเนินรายการช่องออนไลน์ชื่อดัง ผู้ที่ประสบปัญหาการนอนไม่หลับมานานกว่า 12 ปีมาดำเนินรายการ ได้แก่ หัวข้อ ‘ถอดรหัสลับการนอน จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนชีวิตให้ดีขึ้นทุกเช้า’ และหัวข้อ ‘อยากชวนเธอมานอน เปิดประสบการณ์การนอนหลับที่จะเปลี่ยนให้พวกเรามีสุขภาพที่ดียิ่งขึ้น’
สำหรับหัวข้อแรก ‘ถอดรหัสลับการนอน จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนชีวิตให้ดีขึ้นทุกเช้า’ ได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญในด้านเวชศาสตร์การนอนหลับ และผู้ทรงคุณวุฒิที่มาถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการนอน ประกอบด้วย ‘นพ.ชัชพล เกียรติขจรธาดา’ นายแพทย์ นักเขียนหนังสือแนว Pop Science เช่น ‘เรื่องเล่าจากร่างกาย’ และ ‘500 ล้านปีแห่งความรัก, ‘นพ.ฉัตรกรินทร์ เทพวิมลเพชรกุล’ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ, ‘อ.ดร.นพ.ไตรรักษ์ พิสิษฐ์กุล’ ผู้เชี่ยวชาญด้านชีววิทยาเชิงระบบ, ‘ดร.นิตยา สุริยะพันธ์’ หัวหน้าศูนย์นวัตกรรมและการเรียนรู้สมอง กรมสุขภาพจิต
'นพ.ชัชพล เกียรติขจรธาดา’ นายแพทย์ นักเขียนหนังสือแนว Pop Science เช่น ‘เรื่องเล่าจากร่างกาย’ และ ‘500 ล้านปีแห่งความรัก’ ที่มาเล่าถึงประวัติศาสตร์การนอนว่า มนุษย์ให้ความสนใจกับเรื่องของการนอนมานานแล้วตั้งแต่สมัยโบราณ แต่วิทยาศาสตร์การนอนเกิดขึ้นหลังจากการค้นพบเครื่องมือหนึ่งที่เราเรียกว่า EEG (Electroencephalography)เครื่องตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าสมอง และสั่นสะเทือนมากขึ้นจากการค้นพบ REM Sleep หรือ Rapid Eye Movement โดยคำถามที่นักวิจัยทางการนอนอยากทราบคือ จริง ๆ แล้วธรรมชาติการนอนของมนุษย์เป็นอย่างไร ซึ่งตอนนี้ศึกษาได้เฉพาะคนในยุคปัจจุบัน จึงไม่สามารถศึกษาการนอนที่หลากหลายได้
‘นพ.ฉัตรกรินทร์ เทพวิมลเพชรกุล’ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ กล่าวว่า ระยะเวลาการนอนหลับที่ดีจะอยู่ที่ 7 - 9 ชั่วโมง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตื่นมาแล้วรู้สึกสดชื่นหรือไม่ ส่วนหลายคนอาจเกิดคำถามถึงการนอนกรนว่า สะท้อนถึงการหลับลึกหรือไม่ คำตอบคือ ไม่ใช่ เพราะการกรนเป็นอาการอย่างหนึ่ง และต้องนำมาวิเคราะห์หาสาเหตุ หากกรนแล้วหายใจแผ่วหรือหยุดหายใจระหว่างการนอนจนกระทบให้ตื่นนอนตอนดึก จำเป็นต้องตรวจเพื่อหาสาเหตุ
ด้าน ‘อ.ดร.นพ.ไตรรักษ์ พิสิษฐ์กุล’ ผู้เชี่ยวชาญด้านชีววิทยาเชิงระบบ เล่าว่า การนอนหลับที่มีคุณภาพจะเป็นการนอนที่หลับลึกตาม cycle ของการนอนหลับที่มีประมาณ 4 - 6 รอบ รอบละ 90 นาที หากนอนไม่พอหรือมีคุณภาพการนอนไม่ได้ ก็มีความเสี่ยงกับการเป็นภาวะอัลไซเมอร์ เพราะในแต่ละวันสมองของคนเราจะสร้างโปรตีนที่เป็นของเสียที่ร่างกายต้องขับทิ้ง ซึ่งการ deep sleep จะทำให้ร่างกายขับของเสียเหล่านี้ออกไปให้หมดจากสมอง แต่ถ้าหลับไม่ลึกเพียงพอก็จะเกิดการสะสมของเสียเหล่านี้เสี่ยงต่อการเป็นสมองเสื่อม (dementia) และอัลไซเมอร์ที่เพิ่มสูงขึ้น
ส่วน ‘ดร.นิตยา สุริยะพันธ์’ หัวหน้าศูนย์นวัตกรรมและการเรียนรู้สมอง กรมสุขภาพจิต ได้พูดถึงวงจรของการนอนหลับว่า สมองของคนเรามีการกำหนดวงจรการนอนไว้ที่ 21.00 น. ไปจนถึง 04.00 - 05.00 น. ขณะที่ช่วงการเก็บเกี่ยว Growth Hormones และสารเมลาโทนินที่ช่วยให้นอนหลับจะหลั่งออกมาช่วง 23.00 - 01.00 น. หากเข้าใจการทำงานของสมอง จะทำให้ปรับปรุงการนอนได้ไม่ยาก อย่างไรก็ตาม อาการนอนไม่หลับหากเกิดขึ้นนาน ๆ ถือเป็นความเสี่ยงในการเป็นโรคซึมเศร้าด้วย
ขณะที่เวทีเสวนาในหัวข้อ ‘อยากชวนเธอมานอน เปิดประสบการณ์การนอนหลับที่จะเปลี่ยนให้พวกเรามีสุขภาพที่ดียิ่งขึ้น’ ได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้มีประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับปัญหาการนอนมาร่วมให้ความรู้ ได้แก่ ‘พญ.กัลยา ปัญจพรผล’ ผู้เชี่ยวชาญจากสมาคมโรคจากการหลับแห่งประเทศไทย, ‘ดร.บารมี นวนพรัตน์สกุล’ ผู้ก่อตั้ง และประธานบริหาร Panacura, ‘คุณพรชัย ปัทมินทร’ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดร.ซีบีดี จำกัด, ‘คุณฆนากร ปุณณะตระกูล’ ผู้บริหารสายงานฝ่ายการตลาด กลุ่มผลิตภัณฑ์เทคโนโลยี บริษัทเซ็นทรัล มาร์เก็ตติ้ง กรุ๊ป และ ‘คุณอริศรา กังสดาล’ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด แบรนด์ ซีลี่ โพสเจอร์พีดิค ประเทศไทย
'พญ.กัลยา ปัญจพรผล' ผู้เชี่ยวชาญจากสมาคมโรคจากการหลับแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ถ้าเราใช้เวลากว่าจะหลับ 30 นาที หรือตื่นแล้วกว่าจะหลับใช้เวลารวมกันทั้งคืนเกิน 30 นาที หรือตื่นก่อนเวลาที่ควรจะเป็นอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง ถ้ามีอาการแบบนี้อย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เรียกได้ว่า เป็นโรคนอนไม่หลับ และถ้าเกิน 3 เดือน เป็นอาการของโรคนอนไม่หลับแบบเรื้อรัง
หากมีปัญหาดังกล่าวเบื้องต้นให้สังเกตและแก้ไขด้วยตัวเองก่อน ถ้าอาการไม่ดีขึ้นควรไปปรึกษาแพทย์ ซึ่งการนอนไม่หลับสร้างผลกระทบหลายอย่าง เช่น ระยะสั้นจะส่งผลต่อการทำงาน เพราะตื่นเช้ามาแล้วง่วง ไม่สดชื่น กระทบต่อความคิดและคุณภาพชีวิต ส่วนระยะยาวจะส่งผลต่อจิตใจ อาจเกิดความเครียด ภาวะซึมเศร้า ส่งผลต่อการทำงานของหลอดเลือดต่าง ๆ ไปจนถึงโรคสมอง
'ดร.บารมี นวนพรัตน์สกุล' ผู้ก่อตั้ง และประธานบริหาร Panacura กล่าวว่า การนอนหลับไม่เพียงพอได้สร้างผลกระทบต่อชีวิตคนเราหลายอย่าง ซึ่งส่วนใหญ่มักบอกว่า ไม่กล้าตรวจเพราะไม่อยากรู้ และการไม่รู้ เท่ากับ(ยัง)ไม่เป็นโรค แต่ความจริงควรตรวจเพื่อหาสาเหตุ เนื่องจากหากรู้ก่อนจะเป็นโรคจะถือเป็นการป้องกัน
ทั้งนี้นวัตกรรมของ Panacura เป็นการตรวจสุขภาพที่เกี่ยวเนื่องกับโรคที่เกิดหลังจากการอดนอน เช่น รูปแบบการนอนของแต่ละคนเป็นอย่างไร ทำให้เสี่ยงต่อโรคใดบ้าง เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ตรงกับสิ่งที่ DNA ของตัวเองเป็น ต่อมาตรวจจุลชีพในลำไส้ เพื่อให้รู้แบคทีเรียในร่างกาย ช่วยให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน ออกกำลังกาย การนอนหลับ ให้ ecosystem ในลำไส้ดีขึ้น สุดท้ายคือการตรวจการอักเสบในร่างกาย จากนั้นจะนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์ เพื่อพยากรณ์การเกิดโรคในอนาคตสำหรับวางแผนป้องกันหรือรักษา
สำหรับทางออกของการนอนไม่หลับ ‘คุณพรชัย ปัทมินทร’ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดร.ซีบีดี จำกัด กล่าวว่า หากจะนอนแล้วยังมีเรื่องกังวล เครียดสูง จะทำให้นอนหลับได้ยาก CBD สารสกัดจากกัญชงที่ไม่มีสารกระตุ้นให้รู้สึกมึนเมาเหมือนกับกัญชาเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะจะทำงานกับระบบประสาท ช่วยให้ผ่อนคลาย เข้าไปอยู่ในสภาพที่หลับง่าย มากกว่านั้นยังช่วยปรับสมดุลการนอน ทำให้หลับนานและการนอนดีขึ้น
นอกจากนี้อย่างที่หลายคนทราบว่า คุณภาพอากาศมีผลต่อการนอน ซึ่งเรื่องนี้ ‘คุณฆนากร ปุณณะตระกูล’ ผู้บริหารสายงานฝ่ายการตลาด กลุ่มผลิตภัณฑ์เทคโนโลยี บริษัทเซ็นทรัล มาร์เก็ตติ้ง กรุ๊ป แนะนำหลักในการเลือกเครื่องฟอกอากาศว่า 1. พิจารณาตามความเหมาะกับลักษณะของห้องทั้งฟีเจอร์และฟังก์ชัน 2. ฟีเจอร์สำหรับกรองสารอื่น ๆ เช่น ฟอร์มัลดีไฮด์ (สารเคมีที่ใช้ประกอบในงานหลายด้าน) ที่แฝงมากับสีทาบ้าน พรม หรือเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ ซึ่งอาจเป็นบ่อเกิดของโรคร้ายต่าง ๆ 3. เสียงที่ดังจากเครื่องขณะทำงาน เพราะหากเสียงดังจะกระทบต่อคุณภาพการนอน และ 4. ตัวชี้วัดต่าง ๆ อาทิ เครื่องสามารถวัดคุณภาพอากาศและความชื้นต่าง ๆ ได้ เป็นต้น
'คุณอริศรา กังสดาล' ผู้จัดการฝ่ายการตลาด แบรนด์ ซีลี่ โพสเจอร์พีดิค ประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยการนอนให้ดีขึ้น คือ การเลือกที่นอนให้เหมาะสมกับพฤติกรรมการนอน และรองรับกับสัดส่วนร่างกายของแต่ละคน อย่างเทคโนโลยีของซีลี่จะมี sense and respond ที่มีแรงรับส่ง ลดแรงต้าน ทำให้ตอนนอนขยับตัวได้ง่ายขึ้น เพราะแรงต้านจะทำให้การไหลเวียนของโลหิตไม่ดี ซึ่งทำให้เกิดอาการบาดเจ็บ เป็นเหน็บชา และทำให้ช่วงเวลาหลับลึกอาจไม่ยาวนาน ดังนั้นถ้าที่นอนรองรับสรีระเราไม่ดีพอ จะทำให้ตื่นกลางดึกและการนอนหลับในค่ำคืนนั้นไม่มีความสุข
ภายในงาน Shall We SLEEP? นอกจากเวทีสัมมนาที่อัดแน่นด้วยสาระความรู้แล้ว ยังมีการเปิดประสบการณ์โลกการนอนหลับอย่างมีคุณภาพในทุกมิติใน ‘Sleep Journey สำรวจเส้นทางการนอนจาก DNA จนถึงที่นอน เพื่อวันใหม่ที่สดใสในทุกวัน’ ให้ผู้สนใจได้ทดลองเข้าไปสัมผัสประสบการณ์การนอนหลับที่ดีขึ้นได้ถึง 1 ชั่วโมงเต็ม ผ่านทั้งห้าผัสสะ รูป รส กลิ่น เสียง และการสัมผัส ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากผู้ร่วมงาน
ทั้งนี้ Shall We SLEEP? ถอดรหัสลับการนอนเพื่อนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เป็นงานที่ The People ได้ร่วมกับแบรนด์ชั้นนำที่ให้ความสำคัญในเรื่องการนอนหลับที่ดี ที่จะมาร่วมเปลี่ยนประสบการณ์การนอนหลับอย่างมีคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็น ANYA The total sleep solution clinic ศูนย์รวมสุขภาพที่เชื่อว่าสุขภาพที่ดี เริ่มต้นจากการนอน จึงได้รวบรวมเทคโนโลยี รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์เข้าด้วยกัน เพื่อมอบการบริการที่เข้าถึงง่าย รู้ก่อน รักษาได้
Dr.CBD บริษัทที่เชี่ยวชาญเรื่องการดูแลสุขภาพด้วยทางเลือกจาก CBD มาประยุกต์ใช้กับการดูแลสุขภาพปัจจุบันด้วยทางเลือกใหม่ โดยเฉพาะสุขภาพการนอนหลับอย่างมีประสิทธิภาพที่ดีในการหลับลึก หลับยาว และไม่ตื่นกลางดึก, Dyson มอบประสบการณ์การนอนหลับที่มีคุณภาพจากเครื่องฟอกอากาศ Dyson ที่มากับตัวกรองประสิทธิภาพสูงพร้อมระบบการกระจายอากาศที่ทรงพลัง และมั่นใจว่าความเงียบของเครื่องฟอกอากาศระหว่างทำงานจะไม่รบกวนการนอนหลับ ทำให้คุณได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ และพร้อมเริ่มต้นวันใหม่ในทุก ๆ วัน
Panacura บริษัทด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์และชีวภาพเพื่อสุขภาพให้บริการด้านการถอดรหัสพันธุกรรมเพื่อประเมินหาความเสี่ยงของโรค และออกแบบโปรแกรมการรักษาโรคต่าง ๆ ที่ให้บริการตรวจสุขภาพแบบองค์รวมด้วยนวัตกรรมทางการแพทย์ชั้นสูง และ Sealy Posturepedic แบรนด์ที่นอนเอกสิทธิ์จากอเมริกามาตรฐานระดับสากล ให้ความสำคัญในด้านการลงทุน วิจัย และพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อการนอนหลับ ส่งมอบประสบการณ์การนอนหลับอย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้องตามหลักสรีรศาสตร์แก่ทุกคน