EXIM BANK ขับเคลื่อนเครื่องยนต์รุ่นใหม่ ให้ทุกคนเป็นผู้ส่งออกได้ง่ายขึ้น เพื่อยกระดับการพัฒนาประเทศไทย

EXIM BANK ขับเคลื่อนเครื่องยนต์รุ่นใหม่ ให้ทุกคนเป็นผู้ส่งออกได้ง่ายขึ้น เพื่อยกระดับการพัฒนาประเทศไทย
ตอนนี้ความปกติใหม่ (New Normal) เริ่มกลายเป็นเรื่องปกติ (Now Normal) สิ่งที่เราต้องเตรียมพร้อมเผชิญคือ Next Normal ที่มีทั้งโอกาสและความท้าทายใหม่ ๆ รออยู่ข้างหน้า ในช่วงรอยต่อของการเปลี่ยนแปลงนี้ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) ได้ขับเคลื่อนเครื่องยนต์รุ่นใหม่ เพื่อยกระดับการพัฒนาประเทศไทย ภายใต้นโยบาย Dual-track Policy ที่จะ ‘ซ่อม’ ‘สร้าง’ และ ‘เสริม’ ภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจ โดยเฉพาะ SMEs ให้ก้าวพ้นวิกฤตและพร้อมเดินหน้าไปสู่อนาคตในตลาดต่าง ๆ ทั่วโลกอย่างสมดุล  เครื่องยนต์ที่ 1 คือ การทำหน้าที่ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย (Thailand Development Bank) ส่วนเครื่องยนต์ที่ 2 คือ การเป็นศูนย์บริการครบวงจรเพื่ออำนวยความสะดวกด้านการค้าระหว่างประเทศให้แก่ SMEs (One Stop Trading Facilitator for SMEs) ช่วยผู้ประกอบการ SMEs ทุกคนให้เป็นนักธุรกิจส่งออกได้ง่ายขึ้น เพิ่มความสามารถการแข่งขันในตลาดโลก ผลการขับเคลื่อน 2 เครื่องยนต์ทำให้ EXIM BANK ช่วยเหลือผู้ประกอบการได้มากขึ้น ผู้ประกอบการที่ได้รับการสนับสนุนทั้งให้คำปรึกษาและการเงิน มีจำนวน 11,500 ราย วงเงินรวมกว่า 71,000 ล้านบาท ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2564 นอกจากนี้ ผลการดำเนินงานของ EXIM BANK ยังพลิกโฉมเติบโตแบบก้าวกระโดด 9 เดือนแรกของปี 2564 มียอดสินเชื่อคงค้างเพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2563 จำนวน 12,450 ล้านบาท เป็น 147,678 ล้านบาท คาดการณ์ปี 2564 เพิ่มขึ้นมากกว่า 10% เป็น 150,000 ล้านบาท มีปริมาณธุรกิจสะสมบริการประกัน 134,876 ล้านบาท ณ สิ้นเดือนกันยายน 2564 คาดการณ์เพิ่มขึ้น 11% เป็น 150,000 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2564 เปลี่ยนจากผลขาดทุนจำนวน 1,340 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2563 เป็นกำไรสุทธิ 822 ล้านบาท ณ สิ้นเดือนกันยายน 2564 คาดการณ์กำไรสุทธิ ณ สิ้นปี 2564 เป็น 1,500 ล้านบาท และได้รับการอนุมัติให้เพิ่มทุนเป็นครั้งแรกในรอบ 12 ปี จำนวน 4,198 ล้านบาท ทำให้มีทุนจดทะเบียนเพิ่มขึ้นเป็น 16,998 ล้านบาท ช่วยให้ EXIM BANK พร้อมที่จะสนับสนุนเพื่อยกระดับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและพัฒนาประเทศไทยต่อไป EXIM BANK ขับเคลื่อนเครื่องยนต์รุ่นใหม่ ให้ทุกคนเป็นผู้ส่งออกได้ง่ายขึ้น เพื่อยกระดับการพัฒนาประเทศไทย 2 เครื่องยนต์รุ่นใหม่ ขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทย เครื่องยนต์ที่ 1 คือ การทำหน้าที่ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย (Thailand Development Bank) เครื่องยนต์ที่ 2 คือ การเป็นศูนย์บริการครบวงจรเพื่ออำนวยความสะดวกด้านการค้าระหว่างประเทศให้แก่ SMEs (One Stop Trading Facilitator for SMEs) เพื่อยกระดับธุรกิจของคนตัวเล็กให้สามารถผันตัวเป็นผู้ส่งออกและแข่งขันได้ในตลาดโลก ภายใต้นโยบาย Dual-track Policy ได้ ‘ซ่อม’ ‘สร้าง’ และ ‘เสริม’ ภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจ โดยเฉพาะ SMEs ให้ก้าวพ้นวิกฤต และพร้อมเดินหน้าไปสู่อนาคต  โดยออกมาตรการสนับสนุนการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการธุรกิจ (สินเชื่อฟื้นฟู) ช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 และให้บริการประกันการส่งออกและประกันความเสี่ยงการลงทุน เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยขยายตลาดระหว่างประเทศได้อย่างมั่นใจ แม้ในภาวะวิกฤตที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน EXIM BANK ขับเคลื่อนเครื่องยนต์รุ่นใหม่ ให้ทุกคนเป็นผู้ส่งออกได้ง่ายขึ้น เพื่อยกระดับการพัฒนาประเทศไทย   การขับเคลื่อน 2 เครื่องยนต์ในเวลาเดียวกันทำให้ EXIM BANK สามารถช่วยเหลือผู้ประกอบการได้มากขึ้น  ยอดสินเชื่อคงค้าง ณ สิ้นเดือนกันยายน 2564 เพิ่มขึ้น 12,450 ล้านบาท รวมเป็น 147,678 ล้านบาท โดยคาดการณ์สิ้นปี 2564 จะเพิ่มขึ้นมากกว่า 10% จากสิ้นปี 2563 รวมเป็นยอดสินเชื่อคงค้างไม่ต่ำกว่า 150,000 ล้านบาท ผู้ประกอบการที่ได้รับการสนับสนุนจาก EXIM BANK ทั้งด้านการเงินและไม่ใช่การเงิน ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2564 รวมเป็นจำนวนราย 11,500 ราย วงเงินรวมกว่า 71,000 ล้านบาท ภาพรวมผลการดำเนินงานของ EXIM BANK มีปริมาณธุรกิจสะสมบริการประกัน 134,876 ล้านบาท ณ สิ้นเดือนกันยายน 2564 คาดการณ์เพิ่มขึ้น 11% เป็น 150,000 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2564 ผลการดำเนินงานเติบโตก้าวกระโดดจากที่มีผลขาดทุน 1,340 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2563 เป็นกำไรสุทธิในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2564 เท่ากับ 822 ล้านบาท และคาดการณ์กำไรสุทธิ 1,500 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2564 และ EXIM BANK ยังได้รับการอนุมัติให้เพิ่มทุนอีกจำนวน 4,198 ล้านบาท เป็นครั้งแรกในรอบ 12 ปี ทำให้มีทุนจดทะเบียนเพิ่มขึ้นจากเดิม 12,800 ล้านบาท เป็น 16,998 ล้านบาท EXIM BANK ขับเคลื่อนเครื่องยนต์รุ่นใหม่ ให้ทุกคนเป็นผู้ส่งออกได้ง่ายขึ้น เพื่อยกระดับการพัฒนาประเทศไทย EXIM BANK ทำหน้าที่ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย เริ่มตั้งแต่การติดกระดุมเม็ดแรกของการเริ่มต้นธุรกิจระหว่างประเทศของผู้ประกอบการไทยตัวเล็ก ๆ และพร้อมเป็น Lead Bank นำผู้ประกอบการไทยออกไปลงทุนอย่างมั่นใจ ในอนาคต EXIM BANK ตั้งเป้าหมายขยายยอดสินเชื่อคงค้างให้เติบโตเฉลี่ย 11% ต่อปี ในอีก 5 ปีข้างหน้าไป แตะระดับ 212,730 ล้านบาท ในปี 2568 ทั้งยอดสินเชื่อคงค้างในมิติของการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่ EEC และ SEZs และในมิติของการสนับสนุนการส่งออกและการลงทุนของไทยในต่างประเทศ ประกอบด้วยตลาดหลัก ตลาด CLMV และตลาดใหม่ (New Frontiers) เช่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ อินเดีย แอฟริกา  โดย EXIM BANK ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมประสานความต้องการและความคาดหวังของภาครัฐและภาคเอกชนตลอด Supply Chain เพื่อความสำเร็จร่วมกันแบบ Win-win ทุกภาคส่วนได้กำไรจากการสั่งสมประสบการณ์และการดำเนินธุรกิจ ต่อยอดการพัฒนาประเทศไทยอย่างยั่งยืนในระยะยาว