คนหัวใจสีเขียว ชวนแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วยการรณรงค์ให้คนหันมาใช้ผลิตภัณฑ์จากไม้และเยื่อไม้ที่มีการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน ผ่านโครงการ “Easy Choice to Save the World”

คนหัวใจสีเขียว ชวนแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วยการรณรงค์ให้คนหันมาใช้ผลิตภัณฑ์จากไม้และเยื่อไม้ที่มีการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน ผ่านโครงการ “Easy Choice to Save the World”

คนหัวใจสีเขียว ชวนแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วยการรณรงค์ให้คนหันมาใช้ผลิตภัณฑ์จากไม้และเยื่อไม้ที่มีการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน ผ่านโครงการ “Easy Choice to Save the World”

“ตัดต้นไม้เป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม” แต่เราจะทำอย่างไรในเมื่อทุกวันนี้ยังจำเป็นต้องใช้กระดาษในการเขียนหนังสือ หยิบทิชชู่มาทำความสะอาด เก็บไม้ฟืนเป็นเชื้อเพลิงหุงหาอาหาร หรือแม้แต่ประดับบ้านด้วยเฟอร์นิเจอร์จากไม้เนื้อดี คำตอบง่าย ๆ ก็คือ การเปลี่ยนความคิดที่ว่า ตัดต้นไม้เป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม เป็น การตัดไม้มีส่วนช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม เหมือนอย่างคนหัวใจสีเขียวกลุ่มนี้ได้เริ่มต้นทำเป็นตัวอย่างว่านี่เป็นหนทางใหม่ในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม "คนไทยส่วนมาก ยังมีความคิดว่าการใช้ไม้เท่ากับการทำลายป่า เเต่ที่จริงเเล้วทุกอย่างมีการ เกิด เเก่ เจ็บ ตาย ตามธรรมชาติ ต้นไม้ก็เช่นกันถ้าเรารู้จักการบริหารที่ถูกต้อง รู้จักนำไม้มาใช้ในเวลาที่เหมาะสม และปลูกทดเเทนคืนธรรมชาติด้วยแผนการจัดการที่ดี ยิ่งทำให้ธรรมชาติเกิดความหลากหลายมากขึ้น” กอบรัตน์ สวัสดิวร ผู้ประสานสภาผู้พิทักษ์ป่าไม้ หรือเป็นที่รู้จักกันในนาม FSC™ ในลุ่มเเม่น้ำโขง พูดถึงแนวคิดในการบริหารจัดการไม้อย่างถูกวิธี Kimberly-Clark กอบรัตน์ ทำงานอยู่กับ FSC™ (Forest Stewardship Council™) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่เกิดขึ้นจากผู้บริโภคที่มีความกังวลต่อการสูญเสียป่าเเละต้องการรู้ถึงเเหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์จากไม้เเละเยื่อกระดาษที่ใช้อยู่ทุกวัน เลยทำให้ในปี 2535 ผู้บริโภค นักสิ่งเเวดล้อม สหพันธ์เเรงงาน จึงมารวมตัวกันเพื่อหาหนทางการรักษาพื้นที่ป่า ในการประชุม United National Earth Summit ที่กรุงรีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล เเม้ความพยายามในการออกกฎหมายควบคุมพื้นที่ป่าไม้อย่างยั่งยืนในครั้งนั้นจะไม่สำเร็จ เเต่ก็เป็นที่มาให้เกิดการก่อตั้ง FSC™ ขึ้นในปีต่อมา  นอกจากความพยายามในการจัดการการใช้ผลิตภัณฑ์จากไม้และเยื่อไม้แล้ว สิ่งที่ FSC™ กำลังพยายามทำอย่างต่อนื่องคือ การปกป้องพื้นที่ป่าซึ่งปัญหาที่สำคัญคือการตัดไม้ทำลายป่า มีการคำนวณว่าในทุก ๆ 1.2 วินาที พื้นที่ป่าจะหายไปขนาดเท่าสนามฟุตบอลหนึ่งสนาม เรียกได้ว่า 1 นาที เราเสียพื้นที่ป่าไปถึง 50 สนามฟุตบอลเลยทีเดียว ถึงเเม้ทุกวันนี้ประเทศไทยเราใช้ผลิตภัณฑ์ไม้จากป่าปลูก เเต่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่ามีผู้ผลิตบางรายไม่ได้ตระหนักถึงปัญหาป่าไม้หรือได้ทำลายผืนป่าอย่างไม่ตั้งใจ จากการรับซื้อไม้โดยไม่ตรวจสอบเเหล่งที่มา บางทีไม้เหล่านั้นอาจจะมาจากการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งการจัดการป่าไม้ตามเเนวทาง FSC™ นั้นไม่ใช่เพียงการเลือกใช้ต้นไม้อย่างถูกวิธีเท่านั้น ยังครอบคลุมไปถึง ดิน น้ำ เเละการใช้เเรงงานในการผลิตอีกด้วย ว่าไม่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือชาวบ้านในบริเวณใกล้เคียง จากการติดตามเเละควบคุมดูเเลผู้ผลิตเหล่านั้นอยู่ตลอดเวลา  “มาตรฐาน FSC™ ไม่ได้ดูเเค่เเปลงที่จะรับรอง เเต่เราดูแลไปถึงกิจกรรมเกี่ยวเนื่องที่ต้องไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับการรบกวนป่า ไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับกิจกรรมผิดกฎหมาย ไม่มีการตัดไม้ทำลายป่า ไม่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในการจัดการสวนป่าที่อื่น" Kimberly-Clark ฉะนั้นสิ่งที่ผู้บริโภคอย่างเราจะทำได้คือเวลาจะซื้อผลิตภัณฑ์จากกระดาษ ควรพลิกดูฉลากว่ามีสัญลักษณ์ของ FSC™ ถ้ามีเเสดงว่าการใช้ผลิตภัณฑ์นั้นของเราไม่ไปรบกวนสิ่งเเวดล้อม โดยปัจจุบันภาคธุรกิจบางส่วนได้ตระหนักถึงปัญหาสิ่งเเวดล้อมมากยิ่งขึ้น อย่างเช่นห้างสรรพสินค้า Future Park รังสิต ก็ได้มีการรณรงค์เรื่องสิ่งเเวดล้อม ลดใช้ไฟฟ้าจากการใช้พลังงานเเสงอาทิตย์ ทำให้ลดพลังงานไฟฟ้าไปได้ 1.4 ล้านบาทต่อปี เเละการปลูกต้นไม้ทดเเทนมาเเล้วกว่า 22 ปี  คิดเป็นพื้นที่ป่าจำนวน 2,200 กว่าไร่ Kimberly-Clark นอกจากนั้นทางผู้ผลิตกระดาษทิชชู่อย่างคิมเบอร์ลี่ย์-คล๊าค ซึ่งเป็นธุรกิจที่วัตถุดิบส่วนใหญ่มาจากเยื่อไม้ทั้งหมด ได้มีเเนวคิดที่ว่า “ธุรกิจจะอยู่ได้อย่างยั่งยืนก็ต่อเมื่อโลกของเรายั่งยืน” ทำให้ดำเนินเเนวทางพัฒนาเทคโนโลยีให้เป็นมิตรต่อสิ่งเเวดล้อมมาโดยตลอด ชมัยพร เอื้อไพโรจน์กิจ ผู้อำนวยการประจำประเทศไทยเเละผู้จัดการทั่วไปภูมิภาคอาเซียนของธุรกิจคิมเบอร์ลี่ย์-คล๊าค โปรเฟสชันแนล ได้ขยายความว่า “เราพยายามที่จะพูดถึงการจัดการเเบบ end to end เราไม่ได้ดูเเค่ผืนป่าเล็ก ๆ เเต่ทุกส่วนต้องร้อยเรียงกันเป็นการรักษาป่าไม้อย่างยั่งยืน ครอบคลุมกระบวนการทั้งหมด ตั้งแต่การผลิตไปจนถึงมือผู้ใช้ การรักษาป่าไม้อยู่ในดีเอ็นเอของเราอยู่เเล้ว เพราะเราก่อตั้งมา 147 ปี อยู่ในเมืองไทย 53 ปี ถ้าเราไม่เริ่มการจัดการตั้งเเต่วันเเรก ๆ วันนี้เราคงไม่มีเยื่อไม้ในการใช้ทำกระดาษเเล้ว” Kimberly-Clark ล่าสุดผู้ผลิตกระดาษทิชชู่รายนี้ได้จัดทำโครงการ Easy Choice To Save The World นำเสนอวิธีง่าย ๆ ที่จะช่วยกันรักษาสิ่งเเวดล้อมทางอ้อม ด้วยการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีสัญลักษณ์ FSC™ ซึ่งจะได้ใช้สินค้าที่ไม่รบกวนป่าไม้ธรรมชาติ เเละสินค้าของคิมเบอร์ลี่ย์-คล๊าค ยังเป็นเจ้าเเรกในไทยที่ได้รับการรับรองจาก FSC™ นอกจากนั้นยังได้จัดกิจกรรมส่งเสริมสิ่งเเวดล้อม โดยถ้าซื้อกระดาษทิชชู่จำนวน 100 ลัง จะถูกนำมาเปลี่ยนเป็น 1 คะเเนน ซึ่งคะเเนนนี้จะเท่ากับต้นไม้ 1 ต้น เเละการดูเเลรักษาตลอด 1 ปี โดยองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ที่ผู้ใช้อย่างเราสามารถติดตามดูผ่านแอปพลิเคชันออนไลน์ได้ตลอดว่า ต้นไม้ที่เราเริ่มปลูกตอนนี้เติบโตงอกงามแค่ไหน แล้วช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์ไปเเล้วจำนวนเท่าไร Kimberly-Clark การตัดต้นไม้เลยไม่ได้เท่ากับการทำลายธรรมชาติสิ่งแวดล้อมเสมอไป เพราะการเลือกใช้ไม้ที่มีการจัดการอย่างยั่งยืนและมีการรับรองที่ได้รับมาตรฐานเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยโลกใบนี้ทางอ้อม ผ่านการสนับสนุนผลิตภัณฑ์หรือธุรกิจที่ให้ความสำคัญในเรื่องสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิธีง่าย ๆ ที่พวกเราจะช่วยโลกของเราเอาไว้ได้ ซึ่งแม้จะเป็นเพียงจากส่วนเล็ก ๆ แต่หากทุกคนช่วยกันใส่ใจดูแลสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น ประโยชน์ก็จะกลับมาสู่ชีวิตเรา นั่นคือการมีทรัพยากรให้ใช้ต่อไปในอนาคต Kimberly-Clark   เรื่อง : อนัญญา นิลสำริด (The People Junior)