ก้องกาน - กันตภณ เมธีกุล: ศิลปินผู้เปลี่ยน ‘รู’ ให้กลายเป็น ‘ประตูสู่โลกที่ต้องการ’

ก้องกาน - กันตภณ เมธีกุล: ศิลปินผู้เปลี่ยน ‘รู’ ให้กลายเป็น ‘ประตูสู่โลกที่ต้องการ’
คงจะเคยเห็นผ่านตากันมาบ้างแล้วสำหรับภาพวาดที่มี ‘วงรีสีดำ’ เป็นจุดเด่น และมีบุคคลหรือสิ่งของโผล่ทะลุออกจากวงรีสีดำราวกับกำลังก้าวข้าม ‘มิติเวลา’ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นไปตามแนวคิดที่อยากให้ ‘รู’ กลายเป็น ‘ประตู’ สำหรับก้าวข้ามความจำเจ หรือความทุกข์-เศร้าซ้ำซากของ ‘ก้องกาน - กันตภณ เมธีกุล’ ศิลปินชาวไทยผู้สร้างสรรค์งานสาย ‘ป็อปอาร์ต’ (Pop art) ให้ดังไกลระดับโลก ล่าสุดก้องกานกำลังจัดแสดงผลงานในนิทรรศการเดี่ยวของตนเองที่มีชื่อว่า ‘Introspection’ (การใคร่ครวญคิด) ที่ ‘Tang Contemporary Art Bangkok’ ซึ่งจัดมาตั้งแต่วันที่ 6 พฤศจิกายน และจะปิดนิทรรศการในวันที่ 12 ธันวาคม 2021 ก้องกาน - กันตภณ เมธีกุล: ศิลปินผู้เปลี่ยน ‘รู’ ให้กลายเป็น ‘ประตูสู่โลกที่ต้องการ’ ภายในนิทรรศการยังคงคละคลุ้งไปด้วยกลิ่นอายและคอนเซปต์อันเข้มแข็งของก้องกานเกี่ยวกับ ‘Teleportation’ หรือ ‘การวาร์ปทะลุมิติ’ แต่เพิ่มเติมคือความเข้มข้นของความหมายที่ก้องกานได้ออกสำรวจโลกแห่งความคิดของตนเองและสร้างสรรค์ออกมาเป็นผลงานภาพวาดและประติมากรรม เพื่อให้ผู้ชมได้ร่วมสำรวจโลกแห่งความคิดของศิลปิน และสำรวจตัวตนในใจของตัวเองไปพร้อมกัน The People ชวนก้องกานแชร์เรื่องราวหลังเดินทางกลับมาจาก ‘การสำรวจจิตใจ’ ซึ่งเขาได้ย้อนเล่าตั้งแต่ความทรงจำในวัยเด็ก การออกจากงาน จุดเปลี่ยนครั้งใหญ่ในชีวิต และการพัฒนาผลงาน รวมถึงการเดินหน้าของ ‘หลุมดำ’ ที่ไม่ได้ทำหน้าที่ ‘ดูดกลืน’ อย่างที่ใครคิด หากแต่เป็น ‘ประตู’ ที่บอกเล่าถึงสิ่งที่หัวใจต้องการ รวมไปถึงเสียงเรียกร้องของสังคม ก้องกาน - กันตภณ เมธีกุล: ศิลปินผู้เปลี่ยน ‘รู’ ให้กลายเป็น ‘ประตูสู่โลกที่ต้องการ’ ก้องกาน - กันตภณ เมธีกุล: ศิลปินผู้เปลี่ยน ‘รู’ ให้กลายเป็น ‘ประตูสู่โลกที่ต้องการ’ ก้องกาน - กันตภณ เมธีกุล: ศิลปินผู้เปลี่ยน ‘รู’ ให้กลายเป็น ‘ประตูสู่โลกที่ต้องการ’ สารตั้งต้นของชายผู้เดินเข้าใกล้หลุมดำ “ผมชอบวาดรูปอย่างไม่รู้สาเหตุ ตั้งแต่เด็กมาก ๆ 3-4 ขวบก็วาดรูปแล้ว พอโตขึ้นก็ยิ่งชัดเจนว่าชอบด้านนี้จริง ๆ” ก้องกานเล่าว่า เขาเป็นคนที่ชอบดูการ์ตูนมาตั้งแต่เด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ์ตูนญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็น โดราเอมอน โปเกมอน ดิจิมอน หรือแม่มดน้อยโดเรมี ซึ่งในสมัยนั้น เด็กหลายคนเติบโตขึ้นมาพร้อมกับช่อง 9 การ์ตูน และเสียงของนักพากย์ในตำนานอย่าง ‘น้าต๋อยเซมเบ้’ สำหรับเด็กที่ชอบวาดรูป การดูการ์ตูนแอนิเมชันญี่ปุ่นย่อมส่งผลต่อลายเส้นของพวกเขา เช่นเดียวกับก้องกานที่เคยวาดโปเกมอนเยอะเป็นพิเศษ และเมื่อถามถึงศิลปินที่เป็นไอดอลของเขา ชื่อที่ก้องกานเอ่ยขึ้นก็คือ ยาโยย คุซามะ (Yayoi Kusama)  “เขาเป็นไอดอลและแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิตของศิลปิน เพราะผมเคยหดหู่ รู้สึกหมดไฟไปช่วงหนึ่ง เคยโดนคนคอมเมนต์แย่ ๆ ช่วงหนึ่ง บางทีการเป็นศิลปินผมต้องเชื่อมั่นในตัวเองแล้วก็ทำงานต่อ ซึ่งยาโยยเขาเป็นคนที่ช่วงแรกโดนปฏิเสธตลอด กว่าเขาจะประสบความสำเร็จ เขาใช้เวลาเป็น 20 ปีเลย” [caption id="attachment_39703" align="alignnone" width="982"] ก้องกาน - กันตภณ เมธีกุล: ศิลปินผู้เปลี่ยน ‘รู’ ให้กลายเป็น ‘ประตูสู่โลกที่ต้องการ’ ยาโยย คุซามะ (Yayoi Kusama) [/caption] ก่อนที่ก้องกานจะเดินอยู่บนเส้นทางศิลปินเช่นเดียวกับไอดอลของเขา ก้องกานได้เริ่มศึกษาความถนัดทางด้านนี้จากคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และเริ่มทำงานในสายครีเอทีฟโฆษณาหลังเรียนจบ “ตอนเรียนผมไม่ได้เรียน Fine art แต่เรียน Communication art ก็คือนิเทศศิลป์ เรียนเกี่ยวกับศิลปะและการสื่อสาร ซึ่งตอนนั้นรู้สึกว่าผมชอบการคิดสร้างสรรค์ ชอบดูโฆษณาด้วย ผมรู้สึกสนใจด้านครีเอทีฟก็เลยไปเป็นอาร์ตไดเรกเตอร์ประมาณ 2 ปี แล้วก็รู้สึกว่าผมอิ่มตัวแล้ว ได้เรียนรู้โลกของการโฆษณา โลกของธุรกิจมามากแล้ว ก็เลยตัดสินใจออก” และหลังจากนั้น จุดเปลี่ยนสำคัญก็ได้มาถึง ก้องกาน - กันตภณ เมธีกุล: ศิลปินผู้เปลี่ยน ‘รู’ ให้กลายเป็น ‘ประตูสู่โลกที่ต้องการ’ ศิลปินอยู่กระโดดเข้าไปในหลุมดำ ก้องกานเล่าว่า การเป็นศิลปินตอบโจทย์ชีวิตของเขามากกว่าการทำงานครีเอทีฟเพื่อลูกค้า เมื่อเวลาแห่งความเปลี่ยนแปลงมาถึง เขาจึงเริ่มต้นลงมือสร้างงานเป็นของตัวเองเพื่อเสนอความเป็นตัวเอง “ก่อนหน้านั้นผมวาดไปเรื่อย ๆ จะชอบวาดฟิกเกอร์คน สรีระร่างกายคน ในงานเทเลพอร์ตก็มีคน เพราะความรู้สึกของคนมันหลากหลาย บางทีตัวแทนของคนคนนี้อาจเป็นผมก็ได้ แต่ตอนนั้นยังไม่มีไอเดียเรื่องเทเลพอร์ตนะ เพราะผมยังไม่เกิดความดีเพรส (depress) หรือเกิดอะไรที่อยากทำให้ผมวาดประตูมิติขึ้นมา” ก้องกาน - กันตภณ เมธีกุล: ศิลปินผู้เปลี่ยน ‘รู’ ให้กลายเป็น ‘ประตูสู่โลกที่ต้องการ’ ส่วนหลุมดำของก้องกานเกิดขึ้นที่นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา หลังการหักดิบครั้งใหญ่ที่เขาออกจากงาน และต้องเผชิญหน้ากับการใช้ชีวิตด้วยตัวเองคนเดียว “สังคมไม่เหมือนกัน ค่าใช้จ่ายเยอะกว่าที่ไทย ผมเคยเป็นคนที่มีเงินเลี้ยงตัวเองได้ แต่ตอนนั้นใช้เงินที่บ้าน ผมก็เครียดว่าใช้เงินที่บ้านไปเยอะ ภาษาก็ไม่ได้ ต้องไปเรียนภาษา หลายอย่างมันสะสม ความตั้งใจที่จะเป็นศิลปิน ผมก็ตัวเล็กมากในตอนนั้น “ผมเคยหยิบพอร์ตตัวเองเดินตามแกลเลอรี เขาก็ไม่รับ เพราะผมไม่ได้อยู่ในลิสต์เขา ผมเป็นใครก็ไม่รู้ ช่วงหนึ่งผมนอนไม่หลับเลย เครียด ตาค้าง อยู่ดี ๆ ก็เห็นภาพประตูหลุมดำ มันอาจจะเกี่ยวข้องกับภาพจำของโดราเอมอนที่ผมดูตอนเด็ก เหมือนโนบิตะทำอะไรไม่ได้ โดราเอมอนก็เสกประตูวิเศษสีดำขึ้นมา จะมุดไปไหนก็ได้ “ผมก็คิดว่า ถ้าตอนนั้นไม่มีทางออกในชีวิต ผมขอให้งานศิลปะของผมได้มีทางออกไปโลดแล่นเถอะ ผมอยากให้คนเห็น อยากมีอิสรภาพให้กับตัวเองสักที” หลังจากนั้น ก้องกานก็ได้ก้าวข้ามขีดจำกัดของตัวเองในหลายด้าน เขาเริ่มทำสตรีทอาร์ต ปีนตึกวาดภาพ และทำสติกเกอร์บอมบ์ (sticker bomb - การสร้างผลงานจากการปะติดปะต่อจนเกิดลวดลาย) จนเริ่มมีคนรู้จัก และก่อกำเนิดเป็น ‘หลุมดำ’ อันโด่งดังในที่สุด ก้องกาน - กันตภณ เมธีกุล: ศิลปินผู้เปลี่ยน ‘รู’ ให้กลายเป็น ‘ประตูสู่โลกที่ต้องการ’ จากรูสู่ประตูมิติเพื่อตัวเองและสังคม “คนที่มีความสุขเสมอมันไม่มีอยู่จริง คนมักจะมากับความทุกข์ หลุมดำของผมมันคือการที่ผมไปอยู่ในความหวัง หรือโลกในอุดมคติของผม ซึ่งมันสอดคล้องกับทุกคนและสังคม บางอย่างมันมีเรื่องความเท่าเทียมและอิสรภาพ ทั้งเรื่องเพศสภาพ LGBTQ+ ธุรกิจ เศรษฐกิจ ผมเลยรู้สึกว่าเทเลพอร์ตมันสื่อได้หลายแบบ” เมื่อศิลปะกับการตีความเป็นของคู่กัน บางคนมองวงรีสีดำของก้องกานเป็นรู ขณะที่บางคนมองมันเป็นหลุมดำและเทเลพอร์ต แต่เมื่อถามเจ้าของผลงานว่าสังคมไทยมีหลุมดำอยู่หรือไม่? ก้องกานให้คำตอบว่า แท้จริงแล้วหลุมดำของเขาคือสิ่งที่เรียกว่า ‘ประตู’ และประตูที่เขาต้องการให้กับประเทศไทยคือ ประตูที่นำไปสู่ความเท่าเทียม เพราะสังคมไทยขณะนี้เต็มไปด้วยความเหลื่อมล้ำ และผลประโยชน์ที่กระจุกตัวอยู่ในคนเพียงบางกลุ่ม หาใช่ประชาชนทั่วไป ส่วนสาเหตุที่ใช้สีดำ ก้องกานได้ให้คำตอบว่า “สีดำมันเป็นสีที่มืด ดังนั้นคนที่เข้าไป เขาจะเข้าไปในที่ที่ไม่เหมือนกัน ผมทิ้งพื้นที่ให้เขาคิดว่า เขากำลังไปที่ไหนนะ สมมติ ถ้าผมวาดทุ่งหญ้า บางคนอาจจะอยากไป แต่บางคนไม่ชอบ พอเป็นสีดำ มันเลยเป็นสีที่แฟร์กับทุกคน มันเป็นสีที่คนสามารถเติมแต่งจินตนาการต่อได้เองว่าเขาจะไปที่ไหน” ก้องกาน - กันตภณ เมธีกุล: ศิลปินผู้เปลี่ยน ‘รู’ ให้กลายเป็น ‘ประตูสู่โลกที่ต้องการ’ ก้องกานเล่าต่อว่า เขาเคยพบกับผู้ชมที่มาดูงานศิลปะของเขาแล้วร้องไห้ ซึ่งน้ำตาของบางคนไหลออกมาด้วยความโศกเศร้า ขณะที่บางคนคือการร้องไห้ด้วยความตื้นตัน “ผมไม่ได้เป็นซึมเศร้า งานของผมมาจากความหดหู่ ดังนั้นคนที่เขาเป็นแบบผมมาก่อน เขาจะเข้าใจในสิ่งที่ผมสื่อสาร ผมพูดถึงสภาพจิตใจ ผมพูดเพื่อการหลุดพ้น ซึ่งมันไปตรงใจเขาพอดี เขาเลยอิน เขามีกำลังใจต่อในการหาประตูนั้น เพราะคนที่เป็นซึมเศร้าหลายคนคิดว่าชีวิตของเขาไม่มีทางออกแล้ว” เมื่อถามต่อว่า หากวันหนึ่งก้องกานไม่เหลือความหดหู่อีกต่อไป เขาจะยังสร้างผลงานออกมาได้หรือไม่? ก้องกานก็ตอบว่า เขาอาจจะทำงานยาก เพราะเขาทำงานโดยใช้ปัญหาในชีวิต ปัญหาของสังคม ความหดหู่ และความไม่เข้าใจของตนเอง หากช่วงไหนที่เขามีความสุข เขาจะไม่หยิบพู่กันขึ้นมา “มันอาจจะไม่หมดไป ผมจะมีปัญหาในชีวิตตลอดเวลา ผมรู้สึกว่ามันยากมากที่คนคนหนึ่งจะมีความสุขตลอดไป “ผมทำงานจากความเศร้า ความไม่เข้าใจ ความที่หลุดพ้นไม่ได้ คือผมไม่ได้บอกว่า ผมหลุดพ้นได้เลยมาวาดรูป ผมเดินไปกับงาน งานผมปลอบประโลมผม เป็นตัวเสนอความคิดของผมมากกว่า สุดท้ายผมก็ยังวนเวียนอยู่ในโลกที่ประตูนี้เข้าไปแล้วออกไม่ได้ ออกไปเจอสิ่งใหม่บ้าง สิ่งเดิมบ้าง วนอยู่แบบนี้” ก้องกาน - กันตภณ เมธีกุล: ศิลปินผู้เปลี่ยน ‘รู’ ให้กลายเป็น ‘ประตูสู่โลกที่ต้องการ’ ก้องกาน - กันตภณ เมธีกุล: ศิลปินผู้เปลี่ยน ‘รู’ ให้กลายเป็น ‘ประตูสู่โลกที่ต้องการ’ แม้ รู หลุมดำ เทเลพอร์ต หรือประตู ของก้องกานจะไม่อาจนำไปสู่โลกใบใหม่ที่จับต้องได้โดยฉับพลัน แต่ศิลปะของเขาก็ได้กลายเป็นทั้งสถานที่พักผ่อน พึ่งพิง เยียวยา แลกเปลี่ยน โอบอุ้ม ระบาย และเรียนรู้ตัวตนของผู้คนที่ผ่านมาและผ่านไปในนิทรรศการ หรือแม้กระทั่งคนที่ติดตามเขาอยู่ในโลกออนไลน์ “ศิลปะของผมคือการสื่อสาร “ผมรู้สึกว่าศิลปินต้องมีสิ่งที่อยากบอก สิ่งที่เขาอยากพูด แล้วนำเสนอออกมาโดยที่ไม่ได้พูดตรง ๆ แต่รู้สึกได้ มันคือการสื่อสารระหว่างคนดูกับคนวาด คนทำงานกับคนรับรู้” เมื่อถามถึงประตูของวงการศิลปะไทยในมุมมองของก้องกาน เขาได้ให้คำตอบว่า “ประตูคือทางออก เพราะฉะนั้นน่าจะเป็นคำว่า เปิดกว้าง บางทีศิลปินด้วยกันเองหรือนักวิจารณ์มีความใจแคบ ในเชิงว่าไม่โอเคกับงานสไตล์นี้ หรือมีการทำลายเครดิตกัน ผมรู้สึกว่ามันไม่ได้พาวงการไปไหน มันแค่สนองความต้องการของตนเอง หรือบางทีมันก็แคบจนเราไม่เปิดรับอะไรที่มันแปลกใหม่ หรือที่ในเชิงสากลมองว่ามันน่าสนใจ” เขาอธิบายต่อว่า แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อได้คนรุ่นใหม่เข้ามาในวงการศิลปะไทย อะไรหลายอย่างก็เริ่มดีขึ้น มีผู้คนสนใจเสพงานต่างชาติมากขึ้น ทำให้เกิดการเปิดกว้าง ซึ่งจะช่วยทำให้คนในวงการได้มองเห็นความแปลกใหม่ร่วมกันมากกว่าเดิม สุดท้าย ก้องกานอยากให้เกิดการเปิดประตูแห่งการสนับสนุนและความเป็นมิตรในวงการศิลปะไทย เพื่อให้เกิดความหลากหลายและความน่าสนใจ ส่วนตัวเขาจะยังคงพัฒนาแนวคิดและผลงานของตนเองต่อไป โดยหวังว่าสักวันจะมีโอกาสได้เห็นศิลปินที่มาพร้อมงานสดใหม่ได้กระโดดผ่านประตูแห่งความซ้ำซากมาโลดแล่นในวงการศิลปะอย่างเสรีมากยิ่งขึ้น หากใครที่สนใจแนวคิดและอยากลองสำรวจจิตใจของก้องกาน รวมไปถึงสำรวจจิตใจของตัวเอง งาน ‘Introspection’ ที่เป็นหนึ่งในผลงานจาก ‘Souleport Project’ (Soul + Teleportation) ยังคงจัดให้ชมที่ Tang Contemporary Art Bangkok จนถึงวันที่ 12 ธันวาคม 2021 นี้ ก้องกาน - กันตภณ เมธีกุล: ศิลปินผู้เปลี่ยน ‘รู’ ให้กลายเป็น ‘ประตูสู่โลกที่ต้องการ’ ก้องกาน - กันตภณ เมธีกุล: ศิลปินผู้เปลี่ยน ‘รู’ ให้กลายเป็น ‘ประตูสู่โลกที่ต้องการ’ ก้องกาน - กันตภณ เมธีกุล: ศิลปินผู้เปลี่ยน ‘รู’ ให้กลายเป็น ‘ประตูสู่โลกที่ต้องการ’ เรื่อง: วโรดม เตชศรีสุธี ภาพและข้อมูล: ก้องกาน - กันตภณ เมธีกุล