ติดปีกศักยภาพผู้ประกอบการไทย...เพื่อก้าวสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 โดย ธรินทร์ ธนียวัน กรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย

ติดปีกศักยภาพผู้ประกอบการไทย...เพื่อก้าวสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0  โดย ธรินทร์ ธนียวัน กรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย

ช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ประเทศไทย โดยสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน ได้เป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมสุดยอดธุรกิจและการลงทุนอาเซียน (ASEAN Business and Investment Summit 2019) ซึ่งเป็นเวทีของภาคธุรกิจที่จัดควบคู่กับการประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) ครั้งที่ 35 โดยมีผู้นำทั้งภาครัฐและเอกชนจากทั่วทั้งภูมิภาคอาเซียนเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว เพื่อร่วมหารือถึงโอกาสและเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่เศรษฐกิจในยุคดิจิทัล ผมเองได้มีโอกาสเป็นตัวแทนจากภาคธุรกิจร่วมบรรยายในหัวข้อ Empowering MSMEs Towards ASEAN 4.0 ซึ่งถือเป็นประเด็นสำคัญที่สะท้อนโมเดลธุรกิจของแกร็บและสอดคล้องกับพันธกิจทางสังคมของเราที่เรียกว่า Grab For Good หรือแกร็บเพื่อชีวิตที่ดีกว่า หลายคนอาจกำลังตั้งคำถามว่า MSMEs ซึ่งย่อมาจาก Micro-entrepreneurs, Small and Medium-sized Enterprises หรือกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมไปถึงผู้ประกอบการรายย่อยนั้นมีความสำคัญอย่างไร และผู้ให้บริการแอปพลิเคชันอย่างแกร็บจะช่วยเสริมสร้างศักยภาพให้กับ MSMEs เหล่านี้สามารถปรับตัวและรับมือกับอุตสาหกรรมในยุค 4.0 ได้อย่างไร?

ประการแรก MSMEs ถือเป็นกำลังสำคัญที่คอยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของภูมิภาคอาเซียน จากข้อมูลของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ระบุว่า ในปี 2561 ผู้ประกอบการขนาดกลางถึงขนาดย่อมในประเทศไทยมีจำนวนมากกว่า 3 ล้านราย ซึ่งคิดเป็น 99% ของจำนวนผู้ประกอบการทั้งหมดของประเทศ โดยผู้ประกอบการเหล่านี้ส่งเสริมให้เกิดการจ้างงานมากกว่า 13 ล้านคนหรือคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 85% ของอัตราการจ้างงานรวมทั้งประเทศ ข้อมูลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า MSMEs ถือเป็นกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยขับเคลื่อนและผลักดันประเทศไทยไปสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัลตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 อย่างไรก็ดี แม้ว่าจะมีผู้ประกอบการเหล่านี้อยู่เป็นจำนวนมาก แต่มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ที่เกิดจากกลุ่ม MSMEs คิดเป็นสัดส่วน 43% ของ GDP ทั้งประเทศเท่านั้น ซึ่งนี่ถือเป็นโอกาสในการขยายตัวของ GDP ในอนาคตหากมีการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเหล่านี้มีศักยภาพมากขึ้น

ประการที่สอง กลุ่ม ASEAN-6 หรือ ประเทศหลักในภูมิภาคอาเซียนซึ่งรวมถึงประเทศไทย ได้พัฒนาแผนแม่บทเพื่อปรับยุทธศาสตร์ชาติด้านเศรษฐกิจ จากเดิมที่มุ่งเน้นในภาคอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลักไปสู่ภาคบริการหรือธุรกิจที่อาศัยความรู้ความสามารถพิเศษมากขึ้น ซึ่งถือเป็นตัวแปรสำคัญที่จะช่วยให้ประเทศไทยรอดพ้นจากการติดหล่ม “กับดักรายได้ปานกลาง” (middle-income trap) หรือการที่ประเทศหยุดชะงักอยู่ในกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางมาอย่างยาวนาน โดยไม่สามารถก้าวไปสู่กลุ่มประเทศรายได้สูง ดังนั้น การส่งเสริมให้ MSMEs ปรับตัวและเข้าถึงเทคโนโลยีเพื่อก้าวให้ทันยุคเศรษฐกิจดิจิทัลได้จะช่วยเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกและช่วยสร้างความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของประเทศได้ในที่สุด

ประการสุดท้าย เป็นที่คาดการณ์ว่ามูลค่าของเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) ของภูมิภาคอาเซียนจะเติบโตสูงขึ้นถึง แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2568 ซึ่งจะถูกขับเคลื่อนโดยธุรกิจและบริการใหม่ๆ ที่มีอัตราการเติบโตแบบก้าวกระโดด ไม่ว่าจะเป็น การทำธุรกิจออนไลน์ (E-commerce) บริการธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ (Mobile Payment) บริการเรียกรถ (Ride-hailing) หรือแม้แต่บริการส่งอาหารหรือพัสดุผ่านแอปพลิเคชัน โดยประเทศต่างๆ ในกลุ่มอาเซียนต่างให้ความสำคัญกับการปรับตัวเพื่อรับมือกับเศรษฐกิจดิจิทัลในเชิงรุก โดยกำหนดเป็นแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติ ทั้งยังได้ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของกลุ่ม MSMEs ให้สามารถรับมือและปรับตัวให้ทันกับเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภคที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปในอีก 5 ปีข้างหน้า

แต่อะไรคืออุปสรรคสำคัญที่คอยขัดขวางไม่ให้ MSMEs สามารถสร้างโอกาสในทางธุรกิจโดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี? คำตอบก็คือ การเข้าถึงโอกาสอย่างเท่าเทียมของกลุ่มผู้ประกอบการเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น ความยากลำบากในการเข้าถึงบริการทางการเงิน ความพร้อมของผู้ประกอบการในการปรับตัวเพื่อให้เกิดความคุ้นชินกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ รวมไปถึงแนวคิดและการกำหนดนโยบายของภาครัฐที่เอื้อต่อการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมและเทคโนโลยีในการพัฒนาธุรกิจ โดยประเด็นต่างๆ เหล่านี้ยังถือเป็นช่องโหว่ที่อาจส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจและกลายเป็นความท้าทายของหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน อย่างไรก็ดี ภาคเอกชนหรือบริษัทผู้พัฒนาเทคโนโลยีอย่างแกร็บสามารถมีส่วนช่วยในการผลักดันและลดข้อจำกัดเหล่านั้นลงได้

ติดปีกศักยภาพผู้ประกอบการไทย...เพื่อก้าวสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0  โดย ธรินทร์ ธนียวัน กรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย  

ผมขอยกตัวอย่างหนึ่งในผู้ประกอบการรายย่อยอย่าง “คุณยอด” นนทกานต์ ซ้ายกาละคำ เจ้าของธุรกิจร้านอาหารอิสาน “ส้มตำอมร” ซึ่งในอดีตมีแต่ลูกค้าที่เข้ามาทานอาหารจากหน้าร้านเท่านั้น โดยเฉลี่ยในแต่ละวันจะมีลูกค้าไม่เกิน 100 คน แม้ว่าบางวันจะขายดีมากแต่ก็ยังมีข้อจำกัดบางประการที่ปิดกั้นโอกาสในการสร้างรายได้เพิ่มขึ้น เนื่องจากร้านของคุณยอดมีพื้นที่ให้บริการจำกัด สามารถรองรับลูกค้าได้สูงสุดเพียง 60 คนเท่านั้น

ทุกอย่างเปลี่ยนไปเมื่อคุณยอดได้เห็นช่องในการขยายธุรกิจสู่โลกออนไลน์โดยได้เข้าร่วมกับ “แกร็บฟู้ด” (GrabFoodเพื่อให้ลูกค้าสามารถสั่งอาหารจากร้านของเขาผ่านแอปพลิเคชันของแกร็บได้ ทำให้ร้านส้มตำอมรเป็นที่รู้จักในวงกว้างและสามารถขยายฐานลูกค้าได้เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล ทั้งยังใช้ประโยชน์จากเครื่องมือต่างๆ บนแอปพลิเคชัน รวมถึงการเข้าถึงข้อมูลพฤติกรรมการบริโภคของลูกค้า ทำให้สามารถพัฒนาเมนูอาหารและบริการต่างๆ ให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ดียิ่งขึ้น ทุกวันนี้คุณยอดไม่ต้องพึ่งพาลูกค้าจากหน้าร้านเพียงอย่างเดียว แต่แอปพลิเคชันอย่างแกร็บซึ่งมีพาร์ทเนอร์ผู้ส่งอาหารจำนวนมากช่วยให้เขาสามารถขยายธุรกิจให้เติบโตได้อย่างก้าวกระโดดโดยไม่จำเป็นต้องเสียเงินลงทุนไปกับการขยายพื้นที่หน้าร้าน ปัจจุบัน กว่า 75% ของยอดขายของร้านส้มตำอมรมาจากการสั่งอาหารผ่าน GrabFood นี่คือหนึ่งในตัวอย่างของผู้ประกอบการรายย่อยที่ใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจ ซึ่งไม่เพียงสร้างโอกาสในการเข้าถึงรายได้ที่เพิ่มมากขึ้น แต่ยังเป็นอีกแรงที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้มีความแข็งแกร่ง เพื่อชิงส่วนแบ่งของเศรษฐกิจดิจิทัลที่มีมูลค่า 3 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ ในอีก 5 ปีข้างหน้าได้อีกด้วย

อีกหนึ่งตัวอย่างที่กำลังเป็นที่สนใจและถือเป็นเทรนด์ใหม่ของอุตสาหกรรมอาหาร คือ “แกร็บคิทเช่น” (GrabKitchenซึ่งเป็นโมเดลธุรกิจแบบคลาวด์ คิทเช่น (Cloud Kitchen) ที่แกร็บได้ใช้เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนธุรกิจขนาดย่อม โดยการนำเอาร้านอาหารยอดนิยมมารวมกันไว้ในสถานที่เดียว คอยทำหน้าที่เป็นครัวกลางในการปรุงอาหารและส่งให้กับลูกค้าที่สั่งผ่าน GrabFood เท่านั้น โดยภายใต้ระบบ GrabKitchen ร้านอาหารที่เป็นคู่ค้าจะสามารถขยายธุรกิจไปในแหล่งพื้นที่ที่เข้าถึงลูกค้าจำนวนมากได้สะดวกยิ่งขึ้น อย่างในประเทศไทย เราได้เปิดตัว GrabKitchen ไปเมื่อเร็วๆ นี้ที่ตลาดสามย่าน โดยแกร็บได้ให้การสนับสนุนแก่ผู้ประกอบการในด้านการบริหารจัดการต้นทุน โดยเฉพาะในเรื่องค่าเช่าสถานที่ ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในอุปสรรคสำคัญของผู้ประกอบการร้านอาหาร

ปัจจุบัน บริษัทผู้พัฒนาเทคโนโลยีหรือให้บริการแอปพลิเคชันได้ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐของประเทศต่างๆ ในการส่งเสริมและสนับสนุนกลุ่ม MSMEs ให้สามารถปรับตัวและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในการสร้างรายได้และพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ แกร็บเองก็เป็นหนึ่งในบริษัทเหล่านั้นที่ได้ร่วมส่งเสริมการเข้าถึงโอกาสในการสร้างรายได้ให้กับทั้งพาร์ทเนอร์คนขับ พาร์ทเนอร์คนส่งอาหาร รวมถึงพาร์ทเนอร์ร้านค้า โดยที่ผ่านมา เราได้สนับสนุน MSMEs กว่า 9 ล้านคนทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้มีอาชีพอิสระและสามารถสร้างรายได้เสริมจากแพลตฟอร์มของแกร็บ โดย 21% ของคนกลุ่มนี้เป็นผู้ที่ไม่เคยมีอาชีพมาก่อน รายได้ที่เกิดจากการใช้แอปพลิเคชันแกร็บถือเป็นก้าวแรกที่ทำให้พวกเขามีอิสระทางการเงิน

ติดปีกศักยภาพผู้ประกอบการไทย...เพื่อก้าวสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0  โดย ธรินทร์ ธนียวัน กรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย  

สำหรับในประเทศไทย ปัจจุบัน แกร็บให้บริการครอบคลุม 20 เมืองใน 18 จังหวัด โดยตลอดระยะเวลากว่า 6 ปีที่ผ่านมา แอปพลิเคชันแกร็บมีส่วนช่วยให้คนไทยนับแสนคนมีโอกาสในการหารายได้เสริมและยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น โดยในปี 2563 นี้ แกร็บวางแผนที่จะขยายการให้บริการไปยังเมืองรองมากขึ้น โดยมีความตั้งใจที่จะกระจายรายได้ไปสู่จังหวัดท้องถิ่นเพื่อรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจดิจิทัล

นอกจากนี้ แกร็บยังพยายามส่งเสริมให้เกิดการเข้าถึงบริการทางการเงินกับกลุ่มที่ยังขาดโอกาส จากข้อมูลของธนาคารโลกระบุว่า 18% ของประชากรไทยยังไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้ ในขณะที่ในระดับภูมิภาค ตัวเลขดังกล่าวสูงถึง 46% โดยนับตั้งแต่ปี 2555 แกร็บได้ทำงานร่วมกับพันธมิตรในกลุ่มสถาบันการเงินหลายแห่ง เพื่อช่วยให้ MSMEs กว่า 1.7 ล้านรายทั่วทั้งภูมิภาคเข้าถึงบริการทางการเงินโดยสามารถเปิดบัญชีธนาคารเล่มแรกของพวกเขาได้ ยิ่งไปกว่านั้น แกร็บยังเปิดโอกาสให้กับคนกลุ่มนี้สามารถขอกู้สินเชื่อแบบออนไลน์หรือที่เรียกว่า Digital Lending ได้ จากเดิมที่ไม่เคยได้รับโอกาสในการกู้ยืมเงินจากธนาคาร เนื่องจากไม่ผ่านคุณสมบัติหรือข้อกำหนดที่ธนาคารประกาศไว้ เช่น ขาดเอกสารรับรองการเงิน หรือมีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่ามาตรฐาน

แกร็บยังพยายามขยายการใช้งานของบริการกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์หรือ E-wallet เพื่อส่งเสริมให้ทุกคนในภูมิภาคอาเซียนเข้าถึงสังคมไร้เงินสดอย่างเท่าเทียมกัน ในประเทศไทยเอง เราได้เริ่มให้บริการ “แกร็บเพย์      วอลเล็ต” (GrabPay Walletโดยขยายไปสู่ผู้ประกอบการร้านค้าเพื่อให้สามารถรับการชำระค่าบริการจากผู้ใช้แกร็บได้โดยไม่ต้องใช้เงินสดได้ ซึ่งถือเป็นการขยายโอกาสทางธุรกิจให้กับกลุ่ม MSMEs เพื่อให้สามารถรองรับความต้องการและไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภคในยุคโมบายเฟิร์สได้อย่างไม่ตกกระแส

ไม่เพียงเท่านั้น แกร็บยังได้พยายามปิดช่องโหว่ที่อาจกลายเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาคด้วยการลงทุนในโปรแกรม “แกร็บเวนเจอร์” (GrabVentures) เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของคนรุ่นใหม่ในกลุ่มที่เป็นผู้พัฒนาธุรกิจสตาร์ตอัพ ซึ่งถือเป็นฟันเฟืองสำคัญที่คอยขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลและอาจกลายเป็นยูนิคอร์นตัวใหม่ในอนาคต เพื่อให้คนเหล่านี้สามารถพัฒนาเทคโนโลยีและขยายธุรกิจตามแผนที่วางไว้ได้อย่างไม่สะดุด ผ่านฐานผู้ใช้บริการแกร็บซึ่งมีจำนวนยอดดาวน์โหลดมากกว่า 163 ล้านครั้ง รวมไปถึง MSMEs ที่มีมากกว่า 9 ล้านรายทั่วทั้งภูมิภาค

ทั้งหมดนี้ล้วนเกิดขึ้นจากพันธกิจ Grab For Good ซึ่งแกร็บมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมให้เกิดความเท่าเทียมในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี เพื่อสร้างความก้าวหน้าให้กับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในขณะเดียวกันก็พร้อมพัฒนาศักยภาพของกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมไปถึงผู้ประกอบการรายย่อย ซึ่งถือเป็นกำลังสำคัญของชาติในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ และผลักดันให้ประเทศไทยก้าวไปสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัลตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ได้อย่างเต็มภาคภูมิ ผมหวังว่าปี 2563 นี้จะเป็นปีที่ดีของทุกๆ คน เช่นเดียวกับแกร็บที่เราจะยังคงจะสานต่อพันธกิจเพื่อสร้างประโยชน์ให้กับสังคมจากการใช้เทคโนโลยีและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับคนไทยดังเป้าหมายที่เราได้ตั้งไว้

ติดปีกศักยภาพผู้ประกอบการไทย...เพื่อก้าวสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0  โดย ธรินทร์ ธนียวัน กรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย