เจี๊ยบ-วิมล เหลืองอรุณ : ทายาทรุ่น 3 ของ ‘เฮงเสง’ กับการปรับตัวจากเบาะไหว้เจ้าสู่หมอนอิงทำมือ

เจี๊ยบ-วิมล เหลืองอรุณ : ทายาทรุ่น 3 ของ ‘เฮงเสง’ กับการปรับตัวจากเบาะไหว้เจ้าสู่หมอนอิงทำมือ

ทายาทรุ่น 3 ของ ‘เฮงเสง’ กับการปรับตัวจากเบาะไหว้เจ้าสู่หมอนอิงทำมือ

“สมัยก่อน หน้าบ้านจะเป็นตลาด ก็จะมีร้านค้า ขายผักขายหมู แล้วตรุษจีนก็ขายกันทั้งวันทั้งคืน ชาวบ้านก็เดินกัน รถไม่ค่อยมี แล้วตอนหลังก็มาเป็นเซียงกงค้าเหล็กซะเยอะ เดี๋ยวนี้ก็กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวไปแล้ว ร้านกาแฟขึ้นเยอะแยะเลย” ‘เจี๊ยบ-วิมล เหลืองอรุณ’ เล่าถึงบรรยากาศและความเปลี่ยนแปลงของย่านตลาดน้อยตั้งแต่จำความได้ เธอเติบโตมาในบ้านไม้หลังเก่าสมัยอากงอาม่าเริ่มกิจการทำที่นอนหมอนมุ้ง ส่งต่อมาจนถึงเจี๊ยบซึ่งเป็นทายาทรุ่น 3  เจี๊ยบ-วิมล เหลืองอรุณ : ทายาทรุ่น 3 ของ ‘เฮงเสง’ กับการปรับตัวจากเบาะไหว้เจ้าสู่หมอนอิงทำมือ ปัจจุบัน เฮงเสงกลายเป็นร้านเบาะทำมือเพียงไม่กี่แห่งในย่านเยาวราช-ตลาดน้อยที่ยังคงหลงเหลืออยู่ แถมเบาะสีสันสดใสเหล่านี้ ยังสามารถครองใจกลุ่มคนรุ่นใหม่และวัยทำงานได้อยู่หมัด  ‘อะไรเป็นหัวใจสำคัญของเฮงเสงที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงไป และอะไรที่ปรับเปลี่ยนไปตามกาลเวลา ?’ ประโยคข้างต้น คือคำถามที่เราสงสัยและทำให้ตัดสินใจนัดหมายพูดคุยกับเจี๊ยบ-วิมล เหลืองอรุณ ถึงจุดเริ่มต้นของร้าน ไปจนถึงการปรับตัวให้สามารถขยายฐานลูกค้าสู่คนรุ่นใหม่    เรื่องเบาะ ๆ และการเย็บปักถักทอด้วยใจ   ณ บ้านไม้ขนาดย่อมในซอยวานิช 2 บทสนทนาของเราเริ่มต้นขึ้นท่ามกลางเสียงจ้อกแจ้กจอแจของผู้คน ผสานกับเสียงอะไหล่กระทบกันในย่านตลาดน้อย  เริ่มแรกก็คืออากงมาจากเมืองจีน ในสมัยรัชกาลที่ 5 แล้วก็มาตั้งรกรากที่นี่เลย แรก ๆ อากงเขาก็ทำพวกที่นอนนุ่น แล้วก็มีเย็บมุ้งเย็บหมอนขาย ทำส่งโรงแรมในเยาวราช สมัยนั้นจะมีโรงแรม 6 ชั้น 7 ชั้นค่ะ แล้วก็มีส่งแถวประตูผี สมัยนั้นจะนิยมใช้เป็นเบาะวางบนเก้าอี้หวาย “แล้วพอมารุ่นที่ 2 คือรุ่นแม่มารับช่วงต่อ ก็มาทำเป็นพวกเบาะไหว้เจ้า เบาะกลม เพราะที่นอนกับมุ้งเริ่มไม่นิยมแล้ว ก็เลยมาทำเบาะกลมส่งเยาวราช แล้วก็ศาลเจ้า แต่ส่วนมากลูกค้าก็จะอยู่ในวงแคบ ๆ ไม่กว้างมาก ทำไปสักระยะหนึ่ง แม่ก็เริ่มไม่อยากทำ เขาเลยหยุดไป 2-3 เดือน แต่เห็นฐานลูกค้าว่ายังมีอยู่ เขาเลยเรียกเราเข้ามาสานต่อเป็นรุ่นที่ 3” เจี๊ยบ-วิมล เหลืองอรุณ : ทายาทรุ่น 3 ของ ‘เฮงเสง’ กับการปรับตัวจากเบาะไหว้เจ้าสู่หมอนอิงทำมือ เจี๊ยบ-วิมล เหลืองอรุณ : ทายาทรุ่น 3 ของ ‘เฮงเสง’ กับการปรับตัวจากเบาะไหว้เจ้าสู่หมอนอิงทำมือ แม้ก่อนจะเข้ามารับช่วงต่อ เจี๊ยบจะทำงานในบริษัทด้านการส่งออกมาก่อน แต่เธอก็ตกหลุมรักและถูกปลูกฝังเรื่องงานคราฟต์มาตั้งแต่สมัยเด็ก ๆ  “สมัยก่อนตอนเป็นนักเรียน เราจะมีชั่วโมงคลาสเรียนงานฝีมือ เย็บปักถักร้อยอะไรพวกนี้ ถักนู่นถักนี่ เย็บผ้าเย็บอะไร เราชอบตั้งแต่ตอนนั้นแหละ “แล้วทุกอย่างเราก็เห็นมาตั้งแต่เกิด มันก็เหมือนซึมซับไปด้วย ก็เลยไม่ยากสำหรับเรา คือทำด้วยใจรัก แล้วเป็นสิ่งที่เราถนัด เราก็เลยทำไปแล้วไม่รู้สึกเบื่อ” เจี๊ยบกล่าวด้วยรอยยิ้ม เจี๊ยบ-วิมล เหลืองอรุณ : ทายาทรุ่น 3 ของ ‘เฮงเสง’ กับการปรับตัวจากเบาะไหว้เจ้าสู่หมอนอิงทำมือ ทายาทรุ่น 3 คราฟต์เหมือนเดิมเพิ่มเติมคือดีไซน์ “วิธีทำ วิธีเย็บ แต่ละเจ้ามันก็เย็บไม่เหมือนกันค่ะ” เจี๊ยบบอกกับเราเมื่อถามถึงความแตกต่างของร้านเบาะแต่ละเจ้า พร้อมอธิบายต่อว่าเบาะของเฮงเสงจะใช้นุ่นอย่างดีผสมกับมะพร้าวยัดไว้ด้านใน (สมัยก่อนใช้ฟาง แต่เพราะประเทศไทยหาใยมะพร้าวได้ง่ายกว่า ระยะหลังจึงเปลี่ยนมาใช้ใยมะพร้าวแทน) แล้วเย็บหมอนอย่างประณีตทีละใบ หัวใจสำคัญคือตอนที่เรายัดนุ่นนี่แหละ ยัดอย่างไรให้มันแข็ง แข็งไปก็ไม่ดี นิ่มไปก็ยุบเร็ว ใช้ได้ไม่นาน เราก็ต้องมีเทคนิคของเราว่า ทำอย่างไรให้มันใช้ทน แล้วก็นุ่มด้วยค่ะ” เดิมทีเจี๊ยบทำเบาะไหว้เจ้ารูปแบบเดียวกับรุ่นของคุณแม่ จนกระทั่งมีโอกาสได้ร่วมงานกับ TCDC ในช่วง Bangkok Design Week ที่พาศิลปินมา collab กับหลายกิจการในย่านตลาดน้อย “มี designer มาร่วมงานกับเรา ก็มาใช้ดอกโบตั๋นเป็นเอกลักษณ์ ปรากฏว่าผลตอบรับดี ลูกค้าชอบ ก็เลยออกมาเป็นหมอนที่เห็นอยู่ทุกวันนี้ เจี๊ยบ-วิมล เหลืองอรุณ : ทายาทรุ่น 3 ของ ‘เฮงเสง’ กับการปรับตัวจากเบาะไหว้เจ้าสู่หมอนอิงทำมือ “ดอกโบตั๋นเป็นดอกไม้มงคล คนจีนชอบดอกโบตั๋นอยู่แล้ว แล้วสีมันก็คือสีมงคล สีแดง สีชมพู คนจีนก็ชอบ แล้วเบาะพวกนี้มันก็ไม่ได้ใช้เฉพาะในศาลเจ้า บางทีงานมงคล งานยกน้ำชาเขาก็ซื้อไปใช้ค่ะ” เจี๊ยบเล่าว่า เบาะแต่ละใบจะใช้เวลาทำประมาณ 1 วัน แม้ขนาดจะไม่เท่ากัน แต่รายละเอียดวิธีการทำต่างต้องใช้เวลาและความละเมียดละไม “กระบวนการทำมันก็ไม่ต่างจากของเดิม เพียงแต่รูปแบบในการเย็บมันต่างไป เย็บยากขึ้นค่ะ เดิมมันก็แค่กลม ๆ สี่เหลี่ยมแค่นั้น อันนี้มันจะเป็นขอบหยัก แล้วก็มีใช้ผ้าอย่างอื่นมาทำกับผ้าโบตั๋น ก็เลยออกมาสวยค่ะ” นอกจากลวดลายที่เปลี่ยนแปลงไปแล้ว เจี๊ยบยังออกแบบ ‘หมอนรูปทรงบ๊ะจ่าง’ สำหรับวางโทรศัพท์มือถือ เพื่อตอบโจทย์ยุคสมัยที่โทรศัพท์แทบจะกลายเป็นปัจจัยที่ห้าของใครหลายคน “เพราะตลาดน้อยมันดังเรื่องบ๊ะจ่าง เราก็เลยทำหมอนเป็นทรงบ๊ะจ่างวางมือถือ แล้วก็มีเบาะเล็ก ๆ เอาไว้เป็นของที่ระลึก เวลามีนักท่องเที่ยวมา มีทัวร์มา เขาก็จะนิยมใบเล็ก ๆ เพื่อที่จะเอากลับบ้านได้ หรือบางครั้งเราก็มีทำ workshop หมอนใบเล็กอะไรพวกนี้ด้วยค่ะ” เจี๊ยบ-วิมล เหลืองอรุณ : ทายาทรุ่น 3 ของ ‘เฮงเสง’ กับการปรับตัวจากเบาะไหว้เจ้าสู่หมอนอิงทำมือ เจี๊ยบ-วิมล เหลืองอรุณ : ทายาทรุ่น 3 ของ ‘เฮงเสง’ กับการปรับตัวจากเบาะไหว้เจ้าสู่หมอนอิงทำมือ เมื่อลวดลายและดีไซน์ของหมอนเริ่มเข้าถึงง่าย ช่องทางการจัดจำหน่ายจึงขยับขยายไปมากกว่าหน้าร้าน โดยมีจัดจำหน่ายทั้งในโซน ICON CRAFT ของ ICONSIAM กับ Siam Discovery และเพจเฟซบุ๊ก ‘Hengseng เฮงเสง รับทำหมอน เบาะไหว้เจ้า ตลาดน้อย’  ความเปลี่ยนแปลงข้างต้น ทำให้เฮงเสงสามารถขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มวัยรุ่น วัยทำงาน ไปจนถึงนักท่องเที่ยวที่อยากซื้อหมอนลายดอกโบตั๋นไปตกแต่งบ้าน และช่วงการระบาดของโควิด-19 เฮงเสงก็ไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เพราะดีไซน์ที่เตะตา คุณภาพที่คงทน และช่องทางการจัดจำหน่ายที่เข้าถึงง่ายกว่าสมัยก่อน  “รุ่นต่อไปยังไม่รู้ใคร” (หัวเราะ) เจี๊ยบให้คำตอบกับเราเมื่อถามถึงภาพในอนาคต  เราก็ไม่อยากให้มันตายไปหรอก ถ้าเกิดเราไม่ทำ เราก็อาจจะส่งต่อให้ใครที่เขาสนใจ ก็อาจจะสอนคนอื่นต่อไปค่ะ” แม้ยังไม่แน่ใจนักว่าเธอจะได้ส่งต่อให้รุ่นถัดไปหรือไม่ แต่สิ่งที่เธอแน่ใจคงจะเป็น ‘ความสุข’ และ ‘ความใส่ใจ’ ทุกคราวที่ได้บรรจงยัดนุ่นและเย็บเบาะทีละใบ ภายในบ้านไม้อันแสนอบอุ่นในย่านตลาดน้อยแห่งนี้…   ช่องทางการติดต่อ ร้านเฮงเสง : https://www.facebook.com/HengsengTaladnoi/