นักเขียนการ์ตูนสู้โควิด-19 : เมื่อสบู่ ปากกา หน้ากากอนามัย เปลี่ยนคนธรรมดาให้กลายเป็นฮีโร่

นักเขียนการ์ตูนสู้โควิด-19 : เมื่อสบู่ ปากกา หน้ากากอนามัย เปลี่ยนคนธรรมดาให้กลายเป็นฮีโร่

เมื่อสบู่ ปากกา หน้ากากอนามัย เปลี่ยนคนธรรมดาให้กลายเป็นฮีโร่

“โจรมุมตึก” อาจเป็นเรื่องน่ากลัวพอๆ กับเรื่อง “คนติดเกาะ” ที่ฟังแล้วชวนน่าเศร้า แต่ถ้ามันอยู่ในแก๊กการ์ตูนขายหัวเราะ จากเรื่องเศร้าก็จะกลับตรงกันข้าม ทั้งยังเป็นความทรงจำที่เราคุ้นเคย เช่นเดียวกับแก๊กการ์ตูนแอบในตู้เสื้อผ้า, กางปลาแขวนบนโต๊ะอาหาร, คุณผู้ชายกับคนใช้สาวในยามวิกาล  ต่อให้สื่อเปลี่ยนผ่านไปกี่ยุคสมัย ช่องทางการเสพข้อมูลเปลี่ยนหน้าตาไปหลายแพลตฟอร์ม แต่การ์ตูนก็ยังคงเป็นการ์ตูนอยู่ดี มันยังทำหน้าที่สื่อสารได้ทรงพลัง ด้วยคุณลักษณะพิเศษที่ง่าย สนุกสนาน และเข้าถึงกลุ่มคนทุกเพศทุกวัย ถึงเช่นนั้นกว่าจะมาเป็นแก๊กการ์ตูนล้วนมีที่มาที่ไป ไอเดียความตลกมาจากการใช้ชีวิต การพยายามทำความเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นตรงหน้า นักเขียนการ์ตูนจึงไม่ต่างอะไรกับนักสังเกตการณ์ทางสังคม เพียงแต่ถ้อยคำที่สื่อสารออกไป หวังเพียงเพื่อรอยยิ้ม- เสียงหัวเราะ มากกว่าจะเสียดสีใครให้เจ็บช้ำ “มันเป็นการอธิบายสิ่งที่เป็นกระแสในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งเราเองก็ต้องศึกษาสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นประจำด้วย ทั้งดูข่าว ฟังเพลง ดูหนัง อย่างเวลาดูหนัง เราก็เอาสมุดเข้าไปจด ดูโฆษณาก็อัดวีดีโอไว้ นั่งอยู่ป้ายรถเมล์ก็สังเกตพฤติกรรมผู้คน เห็นอะไรน่าสนใจก็จดไว้ก่อน แล้วเอามาคิดจนเป็นแก๊กการ์ตูน ร่าง วาด ตัดเส้น แล้วค่อยลงสี” กลุ่มนักเขียนการ์ตูนสรุปที่มาของการผลิตผลงาน นั่นคือเรื่องราวปกติธรรมดาๆ สำหรับงานสร้างสรรค์ และนิยามของนักเขียนการ์ตูนอารมณ์ดี ที่น่าจะจบลงแค่เพียงเท่านี้ จนกระทั่งไม่กี่เดือนก่อนที่พวกเขาได้รับการเชื้อเชิญให้เข้าร่วมการรณรงค์เสริมสร้างสุขอนามัยของคนไทย ในโครงการ “วิถีใหม่ ไกลโรค” ผ่านรูปแบบการ์ตูนที่พวกเขาถนัด เพื่อสื่อสารการปฏิบัติตนในชีวิตวิถีใหม่ (New normal) ท่ามกลางการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 นักเขียนการ์ตูนสู้โควิด-19 : เมื่อสบู่ ปากกา หน้ากากอนามัย เปลี่ยนคนธรรมดาให้กลายเป็นฮีโร่ บ่ายวันหนึ่งปลายเดือนมกราคม 2564  เรามีนัดกับนักเขียน 5 ท่าน ที่เราคุ้นเคยกันดีกับลายเส้นและสไตล์การวาดการ์ตูนแก๊ก แบบจบในตอนเดียวตามแบบฉบับของ “ขายหัวเราะ” ทั้ง เอก-วิรัตน์ ยืนยงพัฒนากิจ เอ๊ะ-ภูวดล ปุณยประยูร ขวด-ณรงค์ จรุงธรรมโชติ โย่ง-อัครเดช มณีพันธ์ และยุง-จีรพงษ์ ศรนคร จุดเริ่มต้นของคนทั้ง 5 คนคล้ายๆ กันตรงที่พวกเขาชอบงานศิลปะ ชอบการวาดภาพ และมีความสุขที่จะเห็นผู้อ่านยิ้มและหัวเราะไปกับการเล่าเรื่อง มากกว่านั้นพวกเขายังเห็นตรงกันว่า การ์ตูนเปรียบได้กับการบันทึกความเป็นไปของสังคมในช่วงเวลาหนึ่ง เช่น เขียนถึงแก๊กการแข่งขันกีฬาในช่วงมหกรรมกีฬา เขียนถึงการเลือกตั้งในช่วงรณรงค์หาเสียง เช่นเดียวกับในขณะนี้ที่สังคมไทยและสังคมโลกกำลังเผชิญกับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อครั้งใหญ่แห่งยุค นักเขียนการ์ตูนกลุ่มนี้ย่อมติดตามข่าวสาร และจับประเด็นมาเล่าเช่นเดียวกัน “หมอต้อล นิวนอร์มัลแมน” จึงกลายเป็นชื่อผลงานการ์ตูนที่ถูกสร้างขึ้น จากปลายปากกาของนักเขียนกลุ่มนี้ ในช่วงระยะเวลา ที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ นักเขียนการ์ตูนสู้โควิด-19 : เมื่อสบู่ ปากกา หน้ากากอนามัย เปลี่ยนคนธรรมดาให้กลายเป็นฮีโร่ ขวด-ณรงค์ จรุงธรรมโชติ ขวด-ณรงค์ บอกว่า ตอนที่ตัดสินใจมาเขียนการ์ตูน “หมอต้อล นิวนอร์มัลแมน” เพื่อสื่อสารการใช้ชีวิตบนวิถีใหม่ที่จะช่วยให้ผู้คนห่างไกลจากโรค มันเป็นประเด็นที่ใหญ่และต้องสื่อสารให้รัดกุมที่สุด จึงเป็นที่มาของการรวมตัวกันของทีมนักเขียนการ์ตูนทั้ง 5 คนเพื่อแบ่งปันไอเดีย และหาแง่มุมในการเล่าเรื่องที่ตรงกับเป้าหมายของคนทุกกลุ่ม ทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ ด้วยบริบทของเรื่องราวที่สนุกสนานพร้อมสอดแทรกความรู้ด้านสุขอนามัย ทั้ง 5 ตอน “ในตอนแรกที่รู้ว่าเรื่องราวที่จะถ่ายทอดผ่านลายเส้นการ์ตูนเป็นเรื่องของการปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตบนวิถีชีวิตใหม่ให้ห่างไกลโรคในธีมเรื่องหมอต้อล นิวนอร์มัลแมน ก็ยอมรับว่าแอบหนักใจ เพราะต้องระมัดระวังในการนำเสนอข้อมูล การสร้างสมดุลของสาระด้วยความสนุก เพราะด้วยความที่เป็นการ์ตูนคนอ่านย่อมคาดหวังว่าจะสนุกเบา ๆ อยู่แล้ว แต่ถ้ามันสนุกโดยขาดสาระ ความตั้งใจที่จะสอดแทรกเนื้อหาเพื่อให้ความรู้กับผู้อ่านก็จะหายไป และในฐานะผู้เขียนก็อยากจะให้ข้อมูลที่อยู่ในเรื่องได้ถูกนำไปใช้ได้จริง ๆ ไม่ใช่แค่ได้ความสนุกอย่างเดียว” ยุง-จีรพงษ์ อธิบายเสริม นักเขียนการ์ตูนสู้โควิด-19 : เมื่อสบู่ ปากกา หน้ากากอนามัย เปลี่ยนคนธรรมดาให้กลายเป็นฮีโร่ นักเขียนการ์ตูนสู้โควิด-19 : เมื่อสบู่ ปากกา หน้ากากอนามัย เปลี่ยนคนธรรมดาให้กลายเป็นฮีโร่ ยุง-จีรพงษ์ ศรนคร “หมอต้อล นิวนอร์มัลแมน” คือเรื่องราวที่ว่าด้วย “หมอต้อล” แพทย์หนุ่มไฟแรงในโรงพยาบาลวิถีใหม่ ซึ่งทำงานร่วมกับ พี่ๆ อสม. หรืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เพื่อต่อสู้กับวายร้ายซึ่งคือ “เชื้อไวรัสและแบคทีเรีย” ตัวการสำคัญซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคที่สามารถแพร่กระจายได้ทั้งทางอากาศและผ่านการสัมผัส โดยอาวุธสำคัญของหมอต้อลและพี่อสม. คือการให้ความรู้เพื่อเสริมสร้างการมีสุขอนามัย การล้างมือและการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมและเท่าทันกับโรคแก่ชาวบ้านในชุมชน พร้อมกับการใช้พลังสบู่พิฆาตล้างมือ เพื่อตัดวงจรการแพร่ระบาดของเชื้อโรคออกไป ซึ่งเป็นพื้นฐานในการปกป้องตนเองและคนรอบข้างที่ทำได้ง่าย ๆ  “หมอต้อล นิวนอร์มัลแมน” ถูกนำเสนอในรูปแบบของการ์ตูนสั้น จำนวน 5 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 หมอต้อลนิวนอร์มอลแมน เขียนโดย เอก-วิรัตน์ ตอนที่ 2 ถ้าไม่ล้างมือ เชื้อโรคจะแพร่กระจายเป็นวายร้ายที่น่ากลัว โดยเอ๊ะ-ภูวดล ตอนที่ 3 กระบวนท่าล้างมือปราบมาร ครบทุกจุดสำคัญด้วยท่า LOVE โดยขวด-ณรงค์ ตอนที่ 4 เชื้อโรคมีพลังถึง 10 ชั่วโมงเลยหรือ? โดย โย่ง- อัครเดช และตอนที่ 5 วิถีชีวิตใหม่ ห่างไกลโรคเราต้องช่วยกัน โดย ยุง-จีรพงษ์ นักเขียนการ์ตูนสู้โควิด-19 : เมื่อสบู่ ปากกา หน้ากากอนามัย เปลี่ยนคนธรรมดาให้กลายเป็นฮีโร่ เอก-วิรัตน์ ยืนยงพัฒนากิจ เอก-วิรัตน์ เล่าถึงขั้นตอนแรกในการทำงานว่า ในฐานะนักเขียนตอนแรก เขาต้องดีไซน์ตัวละครหลัก ทั้งหมอต้อล พี่อสม. ตัวไวรัสและแบคทีเรียเพื่อเป็นแนวทางให้ตอนต่อ ๆ มา เล่าเรื่องที่คงคาแรกเตอร์เดียวกัน เมื่อได้ตัวละครหลักที่แข็งแรงแล้ว นักเขียนในแต่ละตอนก็จะวาดไปตามลำดับ ให้สอดรับกับพล็อตเรื่องในแต่ละตอนที่วางไว้ ซึ่งในตอนที่ 1 ที่เขารับผิดชอบ คือการเปิดตัว “หมอต้อล” ตัวเอกผู้เป็นฮีโร่ของเรื่องให้น่าสนใจและน่าจดจำ นักเขียนการ์ตูนสู้โควิด-19 : เมื่อสบู่ ปากกา หน้ากากอนามัย เปลี่ยนคนธรรมดาให้กลายเป็นฮีโร่ เอ๊ะ-ภูวดล ปุณยประยูร จากนั้นในตอนที่ 2 เอ๊ะ-ภูวดล เน้นไอเดียหลักของเรื่องไปที่การแพร่กระจายของเชื้อโรค ซึ่งเป็นสาเหตุที่เราต้องตัดวงจรของเชื้อโรคโดยการล้างมือด้วยน้ำกับสบู่ให้ครบทุกจุดสำคัญเป็นเวลา 20 วินาที ซึ่งถือเป็นพฤติกรรมหลักในวิถีชีวิตใหม่ ก่อนที่ ตอนที่ 3 จะมุ่งเน้นสร้างการจดจำด้วยท่า LOVE ซึ่งเป็นท่าล้างมือที่ “โครงการวิถีใหม่ ไกลโรค” ได้คิดค้นเพื่อปลูกฝังพฤติกรรมการล้างมือที่ถูกต้องแบบใหม่ที่ทำตามง่ายและจดจำได้ง่ายขึ้น ในขณะที่ตอนที่ 4 จะพูดถึงโอกาสของการติดเชื้อจากพื้นผิว สัมผัส ที่เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคต่าง ๆ เช่น ลูกบิด ราวบันได พาชนะใส่อาหาร สถานที่ทำกิจกรรมในชุมชน เป็นต้น “ถึงตรงนี้ความยากคือเราจะทำอย่างไรให้การดำเนินเรื่องเดินไปอย่างสมูธ (Smooth) ที่สุด เราปูเรื่องด้วยการให้ความรู้เกี่ยวกับเชื้อโรค ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคติดต่อ แนะนำวิธีการป้องกันตัวเองอย่างถูกวิธีด้วยการล้างมือด้วยน้ำร่วมกับสบู่ให้ครบทุกจุด สำคัญเป็นเวลา 20 วินาที และยังเน้นอีกว่า ถึงล้างมือให้สะอาดมาแล้วก็จริง แต่ถ้าเราไปสัมผัสพื้นผิวที่มีเชื้อโรคติดหรืออาศัยอยู่ ก็ต้องล้างมือใหม่ เพราะเชื้อโรคสามารถอยู่ในสถานที่ต่าง ๆ ได้นานถึง 10 ชั่วโมง การล้างมือบ่อย ๆ จึงเป็นพฤติกรรมที่จะช่วยตัดวงจรการแพร่เชื้อโรคได้ดีที่สุด” โย่ง-อัครเดช อธิบายถึงรายละเอียดของวิธีการดำเนินเรื่อง นักเขียนการ์ตูนสู้โควิด-19 : เมื่อสบู่ ปากกา หน้ากากอนามัย เปลี่ยนคนธรรมดาให้กลายเป็นฮีโร่ โย่ง-อัครเดช มณีพันธ์ ก่อนจะปิดท้ายในตอนที่ 5 ตอนจบของเรื่อง ยุง-จีรพงษ์ ย้ำว่า นอกจากการปราบวายร้ายด้วยความร่วมมือร่วมใจของทุกคนในชุมชนและอาวุธสบู่พิฆาตแล้ว การ์ตูนตอนสุดท้าย ยังปิดจบเรื่องด้วยสาระสำคัญในการสื่อสารที่ว่า พฤติกรรมวิถีใหม่นี้ต้องทำอย่างต่อเนื่อง เพราะหากเราการ์ดตกเมื่อใด วายร้ายที่น่ากลัวก็หวนจะกลับมาอีก เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า ในสถานการณ์การแพร่กระจายของโควิด-19 เช่นนี้ เราทุกคนต่างก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นทั้งผู้รับเชื้อและพาหะแพร่กระจายเชื้อไปพร้อม ๆ กัน ดังนั้น ในทางกลับกัน หน้าที่ของการบรรเทาสถานการณ์การแพร่ระบาดก็ไม่ควรเป็นหน้าที่ของบุคลากรทางการแพทย์หรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเท่านั้น แต่ควรเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของทุกคน ในฐานะนักเขียนการ์ตูนและนักสื่อสาร พวกเขาทั้งห้าต่างก็มีความมุ่งหวังว่า ผลงานชุดหมอต้อล นิวนอร์มัลแมนของพวกเขาจะเป็นอีกหนึ่งในตัวช่วยในการยกระดับสุขอนามัยของผู้อ่าน และสร้างแรงบันดาลใจให้คนธรรมดาๆ อยากลุกขึ้นมาร่วมช่วยกันต่อสู้กับวิกฤติสุขภาพในครั้งนี้ได้ “อย่างแรกคือการ์ตูนต้องสนุก และทำให้ผู้อ่านเข้าใจว่า เชื้อโรคและการแพร่ระบาดของเชื้อมันเป็นเรื่องใกล้ตัว ตลอด 1 ปีที่เราเผชิญกับโควิด-19 มา เรามีสื่อที่ทำหน้าที่ในแต่ละรูปแบบแล้ว มีทั้งสาระเชิงวิชาการ ข่าว สารคดี คลิปวีดีโอ แต่สำหรับผลงานของพวกเรา เราหวังว่าการ์ตูนทั้ง 5 ตอนนี้จะสร้างความบันเทิง ให้คนอยากมาอ่านซ้ำได้ เด็กอยากอ่านแบบไม่มีใครต้องสั่ง และผู้อ่านทุกคนสามารถจับเรื่องราวสาระที่สอดแทรกไว้และนำไปปฏิบัติได้จริง มากกว่าดูผ่าน ๆ ด้วยความสนุกเพียงอย่างเดียว” เอก วิรัตน์บอกความคาดหวัง นักเขียนการ์ตูนสู้โควิด-19 : เมื่อสบู่ ปากกา หน้ากากอนามัย เปลี่ยนคนธรรมดาให้กลายเป็นฮีโร่ เอ๊ะ-ณรงค์ ยกตัวอย่างประเด็นเดียวกันนี้ว่า อยากให้ใครก็ตามที่ได้อ่านแล้วรู้สึกสนุกไปกับชีวิตวิถีใหม่ที่ห่างไกลโรค เช่น เด็กอยากล้างมือและสนุกไปพร้อมกันด้วยท่า LOVE หมั่นทำความสะอาดพื้นผิวต่าง ๆ จนเป็นนิสัย ไม่ใช่ต้องทำเพราะถูกบังคับ หรือจดจำแต่คำสั่งของผู้ปกครองที่กำชับให้ต้องล้างมือเท่านั้น “เด็กถูกบังคับให้ล้างมือ ก็คงจะล้างแบบขอไปที และทำไปเพียงเพราะว่าต้องทำ แต่พออ่านการ์ตูนชุดนี้จบ รู้จักหมอต้อลและเห็นการปราบวายร้าย ก็น่าจะนึกอยากทำบ้างและอยากเป็นฮีโร่เหมือนกัน และมองการล้างมือเป็นความสุขแทน”   “ผมรู้สึกภูมิใจมากนะที่ได้มีส่วนร่วมในโครงการนี้ ในฐานะนักวาดการ์ตูนก็จะใช้ปากกาผลิตการ์ตูนที่สนุกและให้ความรู้ ให้คนอ่านมีพลังและแรงบันดาลใจที่จะใช้ชีวิตวิถีใหม่และรักษาสุขอนามัยของตนเองและคนที่รัก” เอก วิรัตน์ พูดเสริม ขณะที่ ขวด-ณรงค์ มองว่า ตัวละคร “หมอต้อล” เปรียบเสมือนฮีโร่ของเรื่อง ซึ่งก็คือบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความสำคัญและเป็นด่านหน้าของการรักษาผู้ติดเชื้อ แต่ในอีกทางหนึ่งเราจะไปยกภาระให้บุคลากรทางการแพทย์อย่างเดียวคงไม่ได้ สิ่งที่สามารถทำได้เลยคือ เราทุกคนต้องรักษาสุขอนามัย เรามีอาวุธคือสบู่ มีหน้ากากอนามัยเป็นเครื่องป้องกันเช่นเดียวกับหมอต้อล ฮีโร่ในเรื่อง นั่นหมายความว่า แม้จะไม่ใช่ฮีโร่ในการ์ตูน แต่เราทุกคนล้วนเป็นฮีโร่ได้ในชีวิตจริง จากการสร้างพฤติกรรมใหม่ เพราะโควิด-19 จะลดความน่ากลัวไป หากเราปฏิบัติตัวได้ตามชีวิต “วิถีใหม่ห่างไกลโรค” เพื่อปกป้องตนเอง และลดความเสี่ยงของการแพร่กระจายโรค ทุกคน ทุกอาชีพ จึงเป็นฮีโร่ได้ ในแบบของตัวเอง