จี-สุภาวดี เจ๊ะหมวก: ‘HOC BookCafe’ ร้านหนังสือที่คนไม่ได้รักหนังสือก็ตกหลุมรักได้

จี-สุภาวดี เจ๊ะหมวก: ‘HOC BookCafe’ ร้านหนังสือที่คนไม่ได้รักหนังสือก็ตกหลุมรักได้
เมื่อพูดถึงย่านตลาดน้อย บางคนอาจจะนึกถึงร้านอร่อย หรือสถานที่ถ่ายรูปสุดฮิตของเหล่าวัยรุ่น แต่ใครจะรู้ว่าริมคลองคลองผดุงกรุงเกษม ติดกับสะพานพิทยเสถียร จะมีร้านหนังสืออิสระเล็ก ๆ ซ่อนตัวอยู่... ‘HOC BookCafe’ หรือ ‘House Of Commons BookCafe’ คือชื่อของร้านหนังสือแห่งนี้ จี-สุภาวดี เจ๊ะหมวก: ‘HOC BookCafe’ ร้านหนังสือที่คนไม่ได้รักหนังสือก็ตกหลุมรักได้ ที่นี่มีทั้งหนังสือ กาแฟ เสื้อผ้า แถมยังสามารถแปลงร่างเป็นห้องสมุดได้ทันทีที่คลิกสมัครสมาชิก เพราะคุณสามารถยืมหนังสือกลับไปอ่านได้ 1 สัปดาห์โดยไม่จำเป็นต้องซื้อหนังสือเล่มนั้น  แต่มากกว่าสินค้าและบริการ ภายในห้องสี่เหลี่ยมขนาดย่อม ยังอัดแน่นไปด้วยความทรงจำของผู้คนมากหน้าหลายตาที่ได้มาพบปะทักทาย บ้างก็ได้สร้างมิตรสหายหน้าใหม่ บ้างก็ได้มาตกหลุมรักใครสักคนจนคบหาดูใจกันในเวลาต่อมา เมื่อความพิเศษของ HOC มีมากกว่าหนังสือและกาแฟ เราจึงตัดสินใจนัดหมายกับ ‘จี-สุภาวดี เจ๊ะหมวก’ ผู้เป็นทั้งหุ้นส่วนและคนที่คอยดูแลความเรียบร้อยภายในร้าน เพื่อพูดคุยถึงแนวคิดเบื้องหลังก่อนจะมาเป็นร้านหนังสือแสนน่ารักในย่านตลาดน้อย จี-สุภาวดี เจ๊ะหมวก: ‘HOC BookCafe’ ร้านหนังสือที่คนไม่ได้รักหนังสือก็ตกหลุมรักได้ จี-สุภาวดี เจ๊ะหมวก: ‘HOC BookCafe’ ร้านหนังสือที่คนไม่ได้รักหนังสือก็ตกหลุมรักได้ เมื่อปลายปากกาพามาพบร้านหนังสือ “แกะห่อพลาสติกออกมาอ่านก่อนได้นะครับ” “นั่งอ่านตรงนี้ได้นะคะ” น้ำเสียงอบอุ่นดังมาจากหลังเคาน์เตอร์ หนึ่งในเจ้าของเสียงนั้นคือจีที่กำลังเดินเข้ามาทักทายเราอีกครั้งอย่างเป็นมิตร ก่อนจะหามุมสงบเพื่อเปิดบทสนทนา... “สำหรับเรา หนังสือเป็นเหมือนที่พักผ่อนและที่หลบภัย ตอนเด็ก ๆ บางทีเรามีเรื่องไม่สบายใจ ไม่รู้ว่าจะพูดกับใคร พออ่านหนังสือแล้วก็หาย พอโตมา หนังสือก็จะกลายเป็นเหมือน tool ของเรามากกว่า มันอาจจะมีบางเรื่องที่เราหาคำตอบไม่ได้ เราก็จะไปดูที่หนังสือสักเล่ม” จีเล่าถึงจุดเริ่มต้นของการเปิดประตูสู่โลกแห่งตัวอักษร เธอหลงใหลวรรณกรรมเยาวชนเป็นพิเศษโดยเฉพาะงานเขียนของ Marie-Aude Murail อย่างเรื่อง Oh, boy! และ พี่ซิมเปิ้ล : Simple ส่วนนักเขียนชาวไทย จีเป็นแฟนตัวยงของบินหลา สันกาลาคีรี โดยเฉพาะเล่ม ‘คิดถึงทุกปี’ และ ‘หลังอาน’  วันเวลาผ่านไป เมื่อจีอ่านหนังสือมากเข้า เธอก็เริ่มอยากจรดปากกาเขียนเรื่องราวของตนเองออกมา กลายเป็นผลงานการเขียนเล่มแรกอย่างรวมเรื่องสั้น ‘ฉันเป็น’ จากการประกวด Young Thai Artist Award และนั่นคือจุดเริ่มต้นที่ทำให้เธอได้รู้จักกับร้าน ‘HOC BookCafe’ “พอได้รางวัลแล้วตีพิมพ์หนังสือ ซึ่งเป็นหนังสือที่ห้ามจำหน่าย เป็นการเผยแพร่เพื่อให้ความรู้ เราก็เลยลิสต์ร้านหนังสือที่เราจะเอาไปวางให้เขา หนึ่งในนั้นคือ ‘HOC’ ซึ่งเป็นร้านหนังสือแล้วก็ร้านกาแฟ “ตอนเข้าไปร้าน HOC ครั้งแรก เรารู้สึกว่ามันมีความเป็นกันเองอยู่ในนั้น พอเข้าไปแล้วเราไม่ค่อยอึดอัด เพราะบางทีเราอาจจะรู้สึกเกร็ง ๆ ว่าคนอ่านหนังสือจะต้องลุคดูขรึม ๆ เคร่งเครียดหรือเปล่า” จีเล่าถึงความรู้สึกแรกที่ได้ก้าวเข้าไปในร้านตั้งแต่ช่วงที่ยังตั้งอยู่ในย่านเจริญนคร ตอนนั้นเธอเป็นลูกค้าประจำ ก่อนจะเริ่มสมัครเป็นสตาฟ แล้วขยับมาเป็นหุ้นส่วนในช่วงที่ร้าน HOC ย้ายมาอยู่ในย่านตลาดน้อยเมื่อประมาณ 2 ปีที่แล้ว โดยยังใช้ชื่อ HOC หรือ ‘House of Commons’ ที่หมายถึง ‘สภาสามัญชนที่คนทั่วไปมาพบปะกัน’ อยู่เช่นเดิม “ช่วงที่ย้ายร้าน เขาก็เหมือนหาหุ้นส่วนเพิ่ม เราก็เลยลงไปด้วย เลยได้ขยับจากสตาฟมาเป็นหุ้นส่วน แต่ทุกวันนี้ก็ยังเป็นสตาฟ ยังทำงานอยู่ แต่หน้าที่หลัก ๆ คือเป็นคนที่ maintain แล้วก็ operate ร้านหนังสือ ...หุ้นส่วนส่วนใหญ่ก็เป็นคนที่รู้จักหรือเคยทำงานร่วมกันมาก่อน แต่หลังจากนั้น ก็เริ่มมีลูกค้าบางคนที่อาจจะชอบหรือเห็นอะไรบางอย่างในตัวร้าน แล้วอยากเข้าไปมีส่วนร่วม เลยขอเข้าไปเป็นหุ้นส่วน ก็มีเหมือนกันค่ะ” จียกตัวอย่างชายผู้กำลังนั่งอ่านหนังสืออยู่เงียบ ๆ ในมุมหนึ่งของร้าน เขาเองก็เป็นหนึ่งในลูกค้าที่ขยับมาเป็นหุ้นส่วนเช่นเดียวกันกับเธอ “บางคนก็ดูหน้าร้าน บางคนก็ให้มาเป็นตัวเงินแล้วมาบริหารจัดการโดยตรง เรียกว่าเป็นเครือข่าย เป็นคอนเนคชันที่มาช่วยกันพยุงร้านหนังสือค่ะ” จีกล่าวด้วยรอยยิ้ม จี-สุภาวดี เจ๊ะหมวก: ‘HOC BookCafe’ ร้านหนังสือที่คนไม่ได้รักหนังสือก็ตกหลุมรักได้ จี-สุภาวดี เจ๊ะหมวก: ‘HOC BookCafe’ ร้านหนังสือที่คนไม่ได้รักหนังสือก็ตกหลุมรักได้   เลือกสรรและแนะนำด้วยหัวใจ สำหรับหนังสือภายในร้านจะมีทั้งวรรณกรรม ธุรกิจ จิตวิทยา การพัฒนาตัวเอง และอีกหลากหลายแนวที่ตั้งต้นมาจากความชอบของจี ความสนใจของหุ้นส่วนภายในร้าน และเล่มที่ลูกค้า (น่าจะ) อยากอ่าน “เราจะเลือกเล่มที่เราจะอ่าน แล้วก็ให้พี่คนอื่น ๆ ในร้านช่วยเลือกด้วย แล้วก็รับหนังสือที่คนกำลังพูดถึงเขามาด้วย หรือบางแนวที่เราอยาก test ดูว่ามันจะไปได้ไหม อย่างนิยายวาย เราไม่เคยอ่านนะ ก็ลองสั่งเข้ามาดู เพราะว่าโซนนี้ใกล้โรงเรียน แล้วเรารู้สึกว่าเด็กนักเรียนส่วนใหญ่ เขาก็จะค่อนข้างเปิดมาก ๆ เลย อย่างนิยายวาย หรือความหลากหลายทางเพศ บางคนก็บอกว่า เฮ้ย! พี่จีสั่ง Call Me by Your Name เข้ามาด้วยเหรอ อะไรอย่างนี้ เราก็ลองหาอะไรใหม่ ๆ เข้ามาในร้านบ้าง จี-สุภาวดี เจ๊ะหมวก: ‘HOC BookCafe’ ร้านหนังสือที่คนไม่ได้รักหนังสือก็ตกหลุมรักได้ จี-สุภาวดี เจ๊ะหมวก: ‘HOC BookCafe’ ร้านหนังสือที่คนไม่ได้รักหนังสือก็ตกหลุมรักได้ “ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นใหม่ นักเรียนนักศึกษา first jobber บางคนเขาก็อยากให้เราแนะนำหนังสือให้เขา ถ้าเขาต้องการความช่วยเหลือ เราก็เข้าไปแนะนำ แต่บางคนก็ซื้อโดยที่เราไม่ได้แนะนำอะไรเลย เขาก็ไปเดินเลือกของเขาเอง เราก็จะรู้แล้วว่าเขาน่าจะเป็นคนอ่านหนังสือระดับหนึ่ง ซึ่งเขาก็จะมีลิสต์หนังสืออยู่แล้วแหละ เราก็จะปล่อยให้เขาเลือก  “หรือแม้กระทั่งพนักงานออฟฟิศที่เขามาซื้อกาแฟ แล้วแค่เดินผ่าน เห็นหนังสือบ่อย ๆ เขาก็คงมีความรู้สึกอยากหยิบมันไปอ่านบ้าง คือบางเล่มมันอาจจะมาในจังหวะที่เขากำลังมองหาอะไรบางอย่างอยู่ อย่างฮาวทู มันเขียนมาเพื่อเอาไปใช้ได้เลย เรารู้สึกว่าพนักงานออฟฟิศทำงานมาแล้วมีปัญหาหรือกำลัง blank อยู่ก็ซื้อไปได้ หรือบางคนเป็นคุณพ่อ เห็นหนังสือเกี่ยวกับเด็ก ๆ ลูก ๆ ก็ให้เราช่วยแนะนำให้ ...ลูกค้าตอนนี้ ส่วนใหญ่ก็ยังเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ แต่ในอนาคตเราก็อยากให้ร้านเป็นที่รู้จักของกลุ่มคนรุ่นใหญ่ ๆ ด้วย อันนี้ก็เป็นอีกโจทย์หนึ่งที่เราต้องกลับไปทำการบ้าน”    มองจากมุมของลูกค้า หมั่นแก้ไขปัญหาและปรับตัว จุดเด่นอย่างหนึ่งของร้าน HOC คือการคิดโปรโมชั่นและบริการต่าง ๆ จาก pain point ของลูกค้า อย่างการสมัครสมาชิกที่สามารถยืมหนังสือกลับไปอ่านที่บ้านได้ 7 วันโดยไม่จำเป็นต้องซื้อหนังสือเล่มนั้น ๆ แต่ฝากมัดจำไว้เท่าราคาปกแทน ซึ่งการสมัครสมาชิกจะมีทั้งแบบ 6 เดือน (500 บาท) และแบบ 1 ปี (800 บาท) แถมปกผ้าสำหรับห่อหนังสือ 1 ชิ้น และส่วนลด 10% เมื่อซื้อหนังสือภายในร้าน “บางทีเราซื้อหนังสือไป เรายืนอ่านหน้าร้านไป 2-3 หน้าแล้วรู้สึกว่าน่าจะชอบ แต่พอเราซื้อกลับไปอ่านที่บ้าน อ่านไปได้สักครึ่งเล่มแล้วรู้สึกว่าอยากจะเอาไปคืนดีกว่า หรือเราไม่ได้มีที่เก็บขนาดนั้น โปรโมชั่นนี้เลยมีขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์คนที่ยังชอบวิธีการยืม-คืนอยู่ “แต่เราก็จะมีเงื่อนไขว่าหนังสือจะต้องอยู่ในสภาพที่ดี ไม่เปื้อน ไม่มีรอยขีดข่วน ไม่มีรอยพับ เราจะเช็กก่อนจะรับคืน คือพยายามให้ลูกค้าถนอมหนังสือเราด้วย แต่ถ้าหนังสือช้ำมา ส่วนใหญ่เราก็จะมีกันเงินไว้บางส่วนที่จะซื้อหนังสือเล่มนี้ขึ้นมา เพื่อที่จะขายต่อเป็นมือสอง” จี-สุภาวดี เจ๊ะหมวก: ‘HOC BookCafe’ ร้านหนังสือที่คนไม่ได้รักหนังสือก็ตกหลุมรักได้ นอกจากโปรโมชั่นนี้ ร้าน HOC ยังมีวิธีการปรับตัวตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะช่วงโควิด-19 ที่เริ่มเปิดขายผ่านช่องทางออนไลน์ ทั้งเพจเฟซบุ๊ก แอปพลิเคชัน Shopee และล่าสุดร้านหนังสือแห่งนี้มีแพลนจะทำบริการแบบ drive through  “ลูกค้าชอบทักมาในเพจบ่อยว่า ‘พี่คะ มีเล่มนี้ไหมคะ?’ เราก็ต้องเป็นคนจัดหามาให้ ส่วนมากก็จะอาศัยคอนเนคชัน สายส่ง สำนักพิมพ์ที่เราดีลด้วยนี่แหละ ก็ถาม ๆ เขาว่ามีเล่มนี้ที่ไหนบ้าง  แล้วก็คิดว่าจะทำเป็น drive through ก็คือลูกค้าไม่ต้องเข้ามาที่ร้าน สามารถขับรถผ่านแล้วก็ส่งให้ได้เลย เหมือนไปเติมน้ำมันแล้วไม่ต้องลงมาจากรถ “หลาย ๆ สิ่งมันเกิดขึ้นมาเพราะปัญหา พอมันมีปัญหาก็เลยเกิดเป็นไอเดียขึ้นมา เรียกว่าเป็นการค่อย ๆ ปรับตัวตามปัญหา ...พอลองไปสักพักแล้วจะรู้เองว่าเราควรไปต่อไหม หรือควรถอยกลับมาดีกว่า ที่ร้านก็พยายามระดมไอเดีย ระดมความคิดกันบ่อย ๆ”   ผ่านพบจนผูกพัน จีมองว่าข้อดีของการเป็นร้านหนังสือรวมกับร้านกาแฟ คือการเปิดพื้นที่ให้ผู้คนหลากหลายได้แวะเวียนเข้ามาในร้านด้วยความรู้สึกสบายใจ ไม่ว่าจะเป็นคนที่ชอบหรือไม่ได้ชอบหนังสือก็ตาม “เราไม่ได้ทำให้คนที่เข้ามารู้สึกว่า ฉันจะต้องเป็นหนอนหนังสือนะ ฉันถึงจะซื้อหนังสือของคุณได้ มันดูเหมือนเป็นพื้นที่ที่เรารู้สึกว่า ลูกค้าเขาก็เป็นตัวของตัวเอง เราจะไม่ได้พยายาม keep character คูล ๆ นิ่ง ๆ ขนาดนั้น จะพยายามให้ดูเป็นเพื่อนกันมากที่สุด แต่ก็ไม่ได้ถึงกับไปตบบ่านะ แค่ให้เขารู้สึกไม่อึดอัดเวลาเข้ามา เพราะว่าจริง ๆ แล้ว เวลาคนแปลกหน้าเจอกัน มันก็อาจจะมีระยะห่างนิดหน่อย แต่เราก็พยายามทำให้เขารู้สึกว่า พื้นที่ตรงนี้ เขาสามารถเดินเข้ามาถาม มาพูดคุยโน่นนี่ได้ จี-สุภาวดี เจ๊ะหมวก: ‘HOC BookCafe’ ร้านหนังสือที่คนไม่ได้รักหนังสือก็ตกหลุมรักได้ “ยิ่งเป็นเมืองหลวงแบบนี้ ควรจะมีพื้นที่สาธารณะเยอะ ๆ อย่างเราไปตามสวนสาธารณะเราก็ไม่ได้ say hi ไม่มี topic จะคุยกัน แต่พอได้มาเข้าร้านหนังสือ เราก็พอรู้ว่าคนที่อยู่ร้านหนังสือและคนที่เข้าร้านหนังสือ มันน่าจะมีจุดเชื่อมอะไรสักอย่างหนึ่งที่เราน่าจะ connect กับคนนี้ได้” ดังนั้น ‘หนังสือ’ สำหรับร้าน HOC จึงเป็นมากกว่าสื่อกลางที่ใช้ถ่ายทอดความรู้ มุมมองความคิด และความรู้สึกของผู้เขียน แต่ยังเปรียบเสมือนสื่อกลางที่ช่วยผู้คนเปิดบทสนทนา สร้างมิตรภาพ ไปจนถึงสื่อกลางที่ทำให้ใครบางคน ‘ตกหลุมรักกัน’  “ถ้าเป็นช่วงเสาร์-อาทิตย์ก็จะมีลูกค้า walk-in เข้ามาเที่ยว ถ่ายรูป แวะร้านหนังสือ หรือคนที่มาชมงานนิทรรศการ งานศิลปะ ที่มีคนดึงดูดคนมาอยู่แล้ว และบรรยากาศที่นี่ก็ดีด้วย อยู่ติดริมคลอง คนก็จะชอบ “บางทีนั่งกันอยู่คนละมุม เราก็ชวนให้เขาคุยกัน เขาก็ได้เพื่อนไปด้วย หรือบางคนพบรักในร้านหนังสือก็มีนะในร้านนี้ เราก็อาจจะเป็นแม่สื่อเป็นกามเทพให้ (หัวเราะ) “แรก ๆ เราก็มีปฏิสัมพันธ์แบบห่าง ๆ นิดหน่อย แต่พอเขามาบ่อยเราก็สนิทกัน หรือแม้กระทั่งสตาฟในทีมที่เข้ามา บางคนอาจจะไม่ได้อินกับหนังสือขนาดนั้น แต่พอเป็นร้านหนังสือก็จะมีเปิดอ่านบ้าง บางคนอาจจะไม่ได้อินกับตัวหนังสือ แต่เขาชอบหนังสือภาพมาก เราก็พยายามลองหาหนังสือภาพเข้ามาเหมือนกัน”   สู่ร้านหนังสือของชุมชนที่เป็นมิตรกับทุกคน     มากกว่าสื่อกลางสร้างความสัมพันธ์ จีมองว่าร้านหนังสือแห่งนี้ยังสามารถสร้างความผูกพันในเชิงพื้นที่ให้กับผู้คนที่แวะเวียนมา โดยเธอมีแพลนในอนาคตว่า อยากให้ร้าน HOC เป็นเหมือนร้านหนังสือของคนในย่านตลาดน้อย “ถ้าเราได้มีปฏิสัมพันธ์กับพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง เขาจะรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งกับพื้นที่นั้น เช่น สนามเด็กเล่น เราเคยนั่งเก้าอี้ตัวนี้ เคยเล่นอันนั้นกับเพื่อน เราก็จะมีความรู้สึกว่าอยากให้มันเป็นพื้นที่ที่ดี เราอยากจะให้มันอยู่ไปเรื่อย ๆ คือเราจะมีความรู้สึกหวงหรือถนอมพื้นที่ตรงนั้น แล้วคนที่มา ลูกค้าส่วนใหญ่เขาจะชอบบรรยากาศ มานั่งตรงนี้ มาคุยกับคนในร้าน เขาก็จะมีความรู้สึกว่าได้เป็นส่วนหนึ่งกับพื้นที่ “ตอนนี้ก็มีคนในตลาดน้อยที่มาสมัครสมาชิกร้านหนังสือ แต่ก็ไม่เยอะมาก ถ้าเป็นลูกค้าประจำก็จะมากินกาแฟแล้วก็มานั่งคุยกับคนในร้าน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางการเมืองบ้าง สังคมบ้าง บางคนอาจจะมาเพราะว่าอยากคุยกับเรา อยากมีเพื่อนคุยแลกเปลี่ยนอะไรแบบนี้ จี-สุภาวดี เจ๊ะหมวก: ‘HOC BookCafe’ ร้านหนังสือที่คนไม่ได้รักหนังสือก็ตกหลุมรักได้ จี-สุภาวดี เจ๊ะหมวก: ‘HOC BookCafe’ ร้านหนังสือที่คนไม่ได้รักหนังสือก็ตกหลุมรักได้ “ในอนาคต เราอยากให้ HOC เป็นร้านที่อยู่กับชุมชน เป็นพื้นที่ที่คนในตลาดน้อยรู้สึกว่ามันคือที่ที่ฉันสามารถไปได้ เป็นคอมมูนิตี้ของคนในตลาดน้อย ก่อนหน้านี้ เราก็พยายามที่จะทำเป็นอีเวนต์เล็ก ๆ ดึงคนในชุมชนมาที่ร้าน เช่น การนำชมตลาดน้อย จริง ๆ ก็มีโปรเจกต์ที่อยาก survey ว่าคนในตลาดน้อยเขายังอ่านอะไรกันอยู่บ้าง เพราะเราอยากให้เป็นร้านที่เขาสามารถมาเปิดอ่านหนังสือ หรือเป็นเหมือน space ให้เขาได้มาใช้ หยิบจับ พูดคุยแลกเปลี่ยนกันได้ด้วยค่ะ” หากเพียงได้ก้าวเข้าไปในร้าน เราจะพบกับชั้นหนังสือเรียงรายพร้อมเฟอร์นิเจอร์ไม้ที่ดูอบอุ่น ยิ่งมีมุมเล็ก ๆ ใต้ร่มไม้ให้หย่อนใจและทอดสายตามองแดดระยับบนผิวน้ำ ยิ่งทำให้เราอยากใช้เวลากับที่นี่ มากกว่าการเข้ามาแวะซื้อหนังสือแล้วจากไป HOC BookCafe จึงเป็นมากกว่าร้านที่ขายหนังสือและกาแฟ แต่ยังเป็นพื้นที่ให้เราได้มาหย่อนใจท่ามกลางความวุ่นวายของกรุงเทพฯ และอาจเป็นพื้นที่ที่ทำให้ใครหลายคนตกหลุมรัก...ไม่ว่าคุณจะเป็นคนที่รักหนังสือหรือไม่ก็ตาม