“แป้ง-จุฑามาศ ลาวัณย์เสถียร” ชีวิตสุดในทุกทางแบบสตรีมเมอร์ และบทบาทนักบำบัดออนไลน์

“แป้ง-จุฑามาศ ลาวัณย์เสถียร” ชีวิตสุดในทุกทางแบบสตรีมเมอร์ และบทบาทนักบำบัดออนไลน์

เมื่อเกม MOBA ไม่มีปุ่มหยุด ชีวิตเลยต้องสุดในทุกทาง สตรีมเมอร์กับบทบาทโปรดิวเซอร์คอมโพสิท และนักบำบัดออนไลน์

“แป้ง-จุฑามาศ ลาวัณย์เสถียร” จะเป็นอย่างไรเมื่อสตรีมเมอร์ต้องใช้ชีวิตแบบสุดทาง เหมือนเมื่อเกม MOBA ที่ไม่มีปุ่มหยุด ทั้งชีวิตที่ผ่านมากับบทบาทโปรดิวเซอร์คอมโพสิท และนักบำบัดออนไลน์ The Show Must Go On. ถ้าจะถามว่าชีวิตกับเกมแนว MOBA เหมือนกันตรงไหน คำตอบอาจเป็นการที่ไม่มีปุ่มหยุด ต้องเล่นไปจนจบเกม ส่วนชีวิตจริงก็จำเป็นต้องดำเนินต่อเนื่องแม้จะเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าเพียงใด เหมือนเรื่องราวของ “แป้ง-จุฑามาศ ลาวัลย์เสถียร” ไอดอลสาวเกมสตรีมเมอร์ ที่น้อยคนจะรู้ว่า ครั้งหนึ่งเธอเคยทำงานอยู่เบื้องหลังความสำเร็จของภาพยนตร์ไทยหลายเรื่อง ที่ต้องอดหลับอดนอนนานหลายวัน เคยไลฟ์สดด้วยสีหน้ายิ้มแย้มทั้งที่น้ำตาเพิ่งแห้งหมาดๆ ไปจนถึงสลับบทบาทจากสตรีมเมอร์มาเป็นนักบำบัดส่วนตัวให้กับแฟนคลับรุ่นน้องที่มีปัญหา “ไม่ได้นอนสามวันสองคืนติดกัน ไม่ได้กลับบ้านอยู่กับพี่โปรดิวเซอร์อีกคนต่างคนต่างสลับกันเข้ากะ เขาจะมีปัญหาเรื่องการหายใจ เวลานอนต้องขนถังออกซิเจนมาด้วย ส่วนเราเป็นลิ้นหัวใจรั่ว พอไม่ได้นอนหัวใจมันจะเต้นแรง บางทีก็เหมือนเต้นผิดจังหวะ แต่ก็ต้องทำงานต่อ นั่งทำงานหันไปซ้ายมียาชูกำลัง หันขวาก็เจอพี่เขานอนใส่ท่อออกซิเจน” “แป้ง-จุฑามาศ ลาวัณย์เสถียร” ชีวิตสุดในทุกทางแบบสตรีมเมอร์ และบทบาทนักบำบัดออนไลน์ เริ่มต้นจากคนเบื้องหลัง จากเด็กโปรดักส์ดีไซน์ เรียนออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่เริ่มชีวิตทำงานตั้งแต่ยังไม่จบมหาวิทยาลัย ทั้งการออกแบบอุปกรณ์ประกอบฉาก เบื้องหลังกองถ่ายภาพยนตร์ ไปกระทั่งได้มาทำงานในสายวิชวลเอฟเฟค ซึ่งแม้จะไม่ต้องออกไปตากแดดแบกของหนัก แต่ต้องใช้ความอึดถึกอดทนนั่งหน้าคอมพิวเตอร์ทำงานต่อเนื่องติดต่อกันหลายชั่วโมง โดยเฉพาะช่วงก่อนที่ภาพยนตร์จะออกฉาย “แต่ละงานมันจะมีรายละเอียดที่ไม่ค่อยเหมือนกันค่ะ บางเรื่องก็จะเป็นงานช่วยเก็บรายละเอียด แก้ไขส่วนที่ผิดพลาด แล้วนัดทางผู้กำกับมาเช็คงาน มานั่งดูเลยกับเรา ทีละคัต อันไหนผ่านก็ส่งไปที่ห้องแล็บ ทำการเช็คสีเช็คภาพ ถ้าไม่มีปัญหาก็จบ จะมาแก้อีกทีตอนฉายรอบสื่อ ถ้าภาพไม่ตรงตามที่วางไว้ หรือเจอจุดผิดพลาดจุดใหม่ ก็ต้องรีบกลับมาแก้กันตั้งแต่เที่ยงคืนอยู่จนถึงเช้า ให้ทันส่งไปยิงฟิล์มก่อนเก้าโมง เพื่อกระจายไปฉายทั่วประเทศ ก็จะวนเวียนไม่ได้พักผ่อนนอนหลับไม่ตรงเวลาแบบนี้ประจำ” อาจด้วยความที่ว่าเป็นลูกคนจีน แล้วก็เป็นพี่คนโตสุดในบ้าน เห็นพ่อแม่ทำงานหนักมาตั้งแต่เด็ก แป้ง เลยซึมซับความอดทนทรหดสู้งานมาด้วย หรืออาจจะเป็นสปิริตในเรื่อง The Show Must Go On ทำให้ผู้หญิงตัวเล็กๆ คนหนึ่งไม่ย่อแท้ ต่อความโหดและความกดดันของสายคอมโพสิทที่ต้องทำงานล่วงเวลาอยู่เสมอๆ แต่หลังจากอยู่ในวงการเบื้องหลังมานานกว่า 3 ปี จุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้เธอต้องเปลี่ยนสายอาชีพ มาจากเรื่องความปลอดภัย “แป้ง-จุฑามาศ ลาวัณย์เสถียร” ชีวิตสุดในทุกทางแบบสตรีมเมอร์ และบทบาทนักบำบัดออนไลน์

จุดเปลี่ยนในชีวิต

“ช่วงที่ทำงานดึกมากๆ ด้วยความที่ห้องพักของแป้งอยู่ใกล้กับที่ทำงาน แป้งก็เลยเดินไปกลับ บางทีงานเสร็จตีสามกว่าจะได้กลับห้องก็ประมาณตีสี่ บางวันก็จะมีคนแอบเดินตาม แม่เลยเป็นห่วง บวกกันหลายๆ เรื่องพอดี แป้งเลยตัดสินใจขอหัวหน้าเขาออกมาพักก่อน” แม้จะไม่ได้ทำงานประจำ แต่ด้วยความที่เป็นคนแอคทีฟ เธอยังคงรับงานโปรดักชันมาทำที่บ้าน หรือบางทีก็รับงานพริตตี้ เอ็มซี อย่างต่อเนื่อง ซึ่งพอใช้ชีวิตฟรีแลนซ์เธอกลับมามีเวลามากขึ้น สามารถแบ่งให้กับสิ่งที่เธอรักได้อย่างเต็มที่ นั้นคือ “การเล่นเกม” “ก่อนหน้านี้แป้งเล่นเกมส์อยู่แล้วค่ะ เล่นมาตั้งแต่เด็กเลย สมัยเครื่องนินเทนโด แฟมิคอม ซุปเปอร์ อะไรก็เล่นหมด ช่วงที่อยู่ออฟฟิศถ้าไม่ใช่ช่วงเวลาที่งานยุ่งมาก พอทุ่มหนึ่งเลิกงานแล้ว ก็จะเล่นเคาน์เตอร์สไตรค์ (Counter-Strike) คอลล์ออฟดิวตี (Call of Duty)" แป้งย้อนถึงช่วงที่ทำงานออฟฟิศ "พอดีช่วงนั้นได้รู้จักกับแพลตฟอร์มที่เป็นไลฟ์สตรีมเกม ก็ลองไลฟ์ดู เล่นเกมอะไรก็ได้ตอนนั้นรู้สึกว่าจะเล่นพวก MOBA อย่าง League of Legends เล่นแล้วก็สตรีมไปหารายได้ไปด้วย ก็ถามตัวเองว่าเราทำดีไหม ด้วยความที่คุณแม่แป้งให้อิสระ เพราะเขาเห็นเราทำทุกอย่างมาด้วยตัวเอง เลยไม่ห่วงว่าเราออกจากงานประจำมานั่งเล่นเกมจะโอเคมั้ย” แน่นอนว่าในสายตาคนทั่วไป อาจไม่เข้าใจว่าการนั่งอยู่บ้านเล่นเกมทั้งวันจะเป็นอาชีพได้อย่างไร ทั้งการเก็บตัวอยู่ในห้อง พูดคุยคนเดียวเสียงดัง ไปจนถึงนอนตื่นสายเพราะต้องไลฟ์สตรีมตอนกลางคืน แต่เธอก็ได้พูดคุยและอธิบายให้ที่บ้านเข้าใจในสิ่งที่เธอกำลังทำ และเริ่มจริงจังกับสิ่งที่ทำมากกว่าการเป็นแค่รายได้เสริม “แป้งอยู่กับคุณแม่คุณยาย บางทีก็มีปัญหากัน เพราะเราต้องไลฟ์สตรีมแล้วนอนดึก ตื่นสาย ก็เลยนั่งคุยกับแม่ว่ามาทำตรงนี้จริงจังแล้วนะอยากให้แบบเข้าใจนิดหนึ่งสุดท้ายก็เลยคุยกันว่าเดี๋ยวขอแยกมาอยู่คนเดียวมาเลยจะดีกว่า เพราะตอนนั้นคนเริ่มรู้จักเรามากขึ้น จากงานไทยแลนด์เกมโชว์ ที่มีบูธ Twitch มาเปิดตัวครั้งแรก เราก็เริ่มมีรายได้เข้ามา ตอนนี้ก็กำลังลองแพลตฟอร์มอื่นๆ เพิ่มขึ้น ทั้งเล่นเกมโชว์ ทั้งทำขนมโชว์ นั่งคุย เล่นกีตาร์ร้องเพลง เรามีคนติดตามอยู่บ้างเลยพอทำตรงนี้ได้” สาวสตรีมเมอร์ ได้เปิดเผยว่าจริงแล้วชีวิตของสตรีมเมอร์ไม่ได้ดูสบาย นั่งเล่นเกมทั้งวันเหมือนอย่างที่หลายคนคิด เพราะเป็นการ “ทำงาน” เพื่อสร้างรายได้ เลยจำเป็นต้องมีวินัยและความสม่ำเสมอ อย่างเช่นที่เธอต้องมีตารางทำงาน เพื่อผลิตคลิปที่มีความยาวตามกำหนดให้ได้ตามจำนวน ซึ่งมีส่วนทำให้ความสนุกของการเล่นเกมที่เธอรักลดลงไปบ้าง “ก่อนหน้านี้มันก็สนุกค่ะ อะไรมันจะสบายไปกว่านี้ทำงานไปก็เล่นเกม แต่ทุกวันนี้คือแบบไม่เล่นเกมได้ไหม ไลฟสตรีมแล้วแบบดูหนังโชว์ได้ไหมอะไรงี้ มันกลายเป็นว่าเราอยากทำอย่างอื่นบ้าง เราไม่ได้อยากเล่นเกมส์แล้ว มันอิ่มแล้ว บางทีมันก็กลายเป็นแบบ ปกติคนทำงานก็จะเครียดเรื่องงาน เดี๋ยวต้องทำบัญชี ทำนุ่นทำนี่ แต่เราต้องมาเครียดเรื่องเกม แบบวันนี้จะเล่นเกมอะไรดีอะไรอย่างนี้แทน"โปรดิวเซอร์คอมโพสิทหัวเราะ "ซึ่งจริงๆมันไม่น่าเครียดเพราะว่าจริงๆ เราเล่นอะไรก็ได้ แต่บางทีเล่นทุกวันทุกคืน ก็ปวดหัวได้ มีช่วงที่เราเล่นเกมหนักๆ ติดต่อกันหลายชั่วโมง ตอนนี้แป้งเลยต้องแบ่งเวลาที่เหลือวันเสาร์อาทิตย์ให้กับตัวเองและเพื่อนบ้าง” “แป้ง-จุฑามาศ ลาวัณย์เสถียร” ชีวิตสุดในทุกทางแบบสตรีมเมอร์ และบทบาทนักบำบัดออนไลน์ ชีวิตต้องดำเนินต่อไป ด้วยภาระและความรับผิดชอบของสตรีมเมอร์ ที่มีหน้าที่สร้างเสียงหัวเราะและความสุขให้กับผู้ชมที่คอยเฝ้าดู ทำให้บ่อยครั้งเธอจำเป็นต้องฝืนกดปุ่มเปิดคอมพิวเตอร์ไลฟ์สตรีม ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านั้นไม่กี่นาทีเธอเพิ่งเสียน้ำตาให้กับความเศร้าที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ “วันไหนป่วยไม่สบาย เราก็จะพักบ้าง แต่ก็ไม่เคยหยุดติดกันสองวันเลย ตั้งแต่ทำงานสตรีมมา ตอนไปออกอีเวนท์หลายวัน ก็จะพยายามสตรีมผ่านมือถือ ให้อย่างน้อยเห็นว่าเรายังอยู่ บ้างทีต้องปรับอารมณ์ตัวเองจากเครียดๆ เจอช่วงหนักๆ ของชีวิต แต่ด้วยความที่ว่าเราเป็น สตรีมเมอร์มันไม่สามารถเอาเรื่องส่วนตัวมาเป็นข้ออ้างตรงนี้ได้ เพราะมันมีผลกับเรื่องของคนดู แม้จะเพิ่งนั่งร้องไห้ แต่ The Show Must Go On เราต้องหยุดเช็ดน้ำตาแล้วสตรีมต่อไปให้ได้” ไม่เฉพาะเธอเท่านั้นที่ต้องปรับอารมณ์จัดการกับความเครียด เพราะผู้ชมของเธอเองก็มีปัญหามาปรึกษาสตรีมเมอร์แบบเธอเช่นกัน หลายครั้งเธอเลยต้องปรับบทบาทจากเกมสตรีมเมอร์ มาเป็นนักบำบัดแบบออนไลน์ไปในตัว “เล่นเกมอยู่ก็มีน้องเข้ามาถามว่า พี่วันนี้ผมเครียดมากเลยทะเลาะกับพ่อมา แป้งก็บอกเดี๋ยวนะขอปิดเกมก่อน แล้วอยากคุยอะไรก็เต็มที่ น้องเขาบอกว่าพ่อดุเพราะมานั่งดูผู้หญิงสตรีม แป้งก็บอกว่างั้นก็ชวนคุณพ่อมานั่งดูด้วยกันเลย อย่างบางทีสตรีมอยู่เจอดึงเข้าเรื่องการเมือง เราก็ต้องพาออกมาให้ได้ ถ้าไม่ไหวก็ต้องพาไปสงบสติอารมณ์บ้าง" สาวสตรีมเมอร์พูดจริงจัง "ด้วยความที่ตัวแป้งเองก็ไม่ได้อายุน้อยๆ แล้วด้วย เลยต้องคอยเป็นที่ปรึกษาให้แฟนคลับเด็กๆ ที่มีปัญหาทุกวัน คือเราต้องคิดก่อนแล้วค่อยพูด เพราะเราพูดออกสาธารณะหลายอย่างมันส่งผลกระทบต่อคนอื่น ต้องควบคุมอารมณ์ให้ได้ เราถ่ายทอดสดอ่ะมันไม่มีการที่จะย้อนกลับไปแก้อะไรได้ทั้งนั้นเพราะฉะนั้นคือมันไม่ใช่แค่ว่าเล่นเกมพูดไปเรื่อย คุณต้องรับผิดชอบในสิ่งที่กระทำตอนนั้นด้วย” “แป้ง-จุฑามาศ ลาวัณย์เสถียร” ชีวิตสุดในทุกทางแบบสตรีมเมอร์ และบทบาทนักบำบัดออนไลน์ ชีวิตของ “แป้ง-จุฑามาศ ลาวัณย์เสถียร” อาจเหมือนกับเกมแนว MOBA ที่เธอเคยสตรีมซึ่งไม่มีปุ่มหยุดเกมทำให้ต้องเล่นต่อเนื่องไปจนจบเกม แม้จะหงุดหงิดและหัวร้อนแค่ไหนก็ต้องทนเพราะสปิริต ส่วนอนาคตเธอได้วางแผนเอาไว้ว่าจะลองมาทำอีกสิ่งที่เธอรักไม่แพ้การเล่นเกมนั้นคือ “การทำขนม” “แป้งชอบทำขนมชอบทำอาหาร เลยคิดเอาไว้ว่าถ้าจะยังทำต่ออาจจะเป็นเปลี่ยนคอนเทนท์ มาทำอาหารทำขนมโชว์ ทุกวันนี้ก็มีคนเรียกร้องเพราะในไทยยังไม่ค่อยมีไลฟ์โชว์ทำขนม ใจหนึ่งก็คิดไว้ว่านอกจากอยากมีบ้านที่เชียงใหม่แล้วก็คืออยากเปิดร้าน ร้านขนมแล้วก็มีกาแฟไปด้วยเล็กๆ ระหว่างบริการลูกค้าในร้าน ก็เปิดสตรีมไลฟ์สดไปด้วยน่าจะสนุกดี” นั่นคือสิ่งที่เกมเคสเตอร์ที่ชื่อแป้ง วาดฝันเอาไว้ว่าสักวันจะทำให้ได้ ซึ่งเราเชื่อว่าสาวน้อยที่มีความตั้งใจ มีความอดทนพยายาม และใช้ชีวิตแบบสุดในทุกทางอย่างเธอน่าจะไปถึงจุดนั้นได้ในเวลาอันใกล้นี้ The Show Must Go On.