ไม่มีเบอร์ท่านอนุทิน! สัมภาษณ์หมอบุรินทร์: การรับมือโควิด-19 ประคองสุขภาพจิตอย่างไร “ไม่ให้เครียดตายก่อน”

ไม่มีเบอร์ท่านอนุทิน! สัมภาษณ์หมอบุรินทร์: การรับมือโควิด-19 ประคองสุขภาพจิตอย่างไร “ไม่ให้เครียดตายก่อน”

       “เครียดโว้ย งานก็ไม่มี เงินก็ร่อยหรอ นี่กลัวจะติดโรคอีก ทั้งหมดคือความกังวลของใครหลายคนที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทุกวันนี้การรับข่าวสารจากช่องทางต่าง ๆ ที่วัน ๆ มีแต่คำว่าโควิด โควิด และโควิดได้เปลี่ยนความกังวลที่ว่าให้กลายเป็นความกลัวบวกกับแนวทางการแก้ไขปัญหาระดับมหภาค ที่หลายอย่างทำเอาร้อง #อิหยังวะ ยิ่งเป็นการสร้างความหงุดหงิดให้กับสังคมที่กำลังมีความเครียดสุด ๆ

จะนั่งดู พัค แซรอย และทำกับข้าวเองจนฝีมือระดับเชฟก็แล้ว หรือแม้กระทั่งตามติดเรื่องเผือกต่าง ๆ แต่ความรู้สึกที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากผลพวงของโรคโควิด-19 ก็ยังติดอยู่ในใจทุกคน จะแงะเท่าไหร่ก็ไม่หลุด คำถามที่เกิดขึ้นในหัวของใครหลายคนตอนนี้ก็คือ นี่ถ้าเราต้องอยู่กับความเครียดแบบนี้นาน ๆ มีหวังเครียดตายแน่ ๆเราต้องทำอย่างไรดี? ในเมื่อเราไม่สามารถทำให้ไวรัสนี้หายไปได้ในพริบตาได้ หรือสามารถดีดนิ้วเปลี่ยนผู้นำให้ถูกใจได้ แล้วสุดท้ายเราควรรับมือกับความรู้สึกพวกนี้อย่างไร

ถ้าเครียดเรื่องความรักอาจจะต้องโทรปรึกษาพี่อ้อยพี่ฉอด แต่นี่เครียดเรื่องโควิดคงต้องโทรปรึกษาท่านอนุทินก่อน แต่เอาเป็นว่าวันนี้ The People ไม่มีเบอร์ท่านรองนายกฯ เลยขอเปลี่ยนไปคุยกับนายแพทย์บุรินทร์ สุรอรุณสัมฤทธิ์ ผู้อำนวยการกองบริหารระบบบริการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข กับคำถามที่ว่าเราจะประคองสุขภาพจิตอย่างไรไม่ให้เครียดตายในยุคของโรคระบาด

The People:  ตอนนี้เริ่มมีคนตกงาน ถูกเลิกจ้าง เป็นหนี้เพราะโควิด-19 ในมุมของจิตแพทย์มีคำแนะนำอย่างไร

นพ.บุรินทร์: จริง ๆ ต้องบอกว่าวิกฤตครั้งนี้เป็นวิกฤตที่ไม่คาดคิดกันมาก่อนว่าจะเกิดขึ้นได้รุนแรงขนาดนี้ จริง ๆ แล้วประเด็นสำคัญที่เป็นประเด็นหลักของเรื่องสุขภาพจิตมันมีอยู่ ถ้าถามว่าอะไรที่ทำให้สังคมมีปัญหาเกิดขึ้น มีการเลิกจ้างงาน มีเรื่องการที่คนไม่ยอมไปใช้บริการเรื่องต่าง ๆ ที่เกิดเรื่องขึ้น จริง ๆ มาจากประเด็นหลัก ๆ เลยคือเรื่องปฏิกิริยาทางอารมณ์ อันนี้เป็นสาเหตุหลัก เป็นแก่นกลางของปัญหาที่ทำให้เกิดการใช้พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ปฏิกิริยาทางอารมณ์ที่ว่าก็คือเรื่องของความกลัว ตัวนี้แหละจะเป็นตัวที่ทำให้มีปัญหา ทำให้คนไม่กล้าไปใช้บริการในเรื่องต่าง ๆ แล้วก็ส่งผลทางด้านสังคมส่งผลเรื่องอื่น ๆ ตามมา

เรื่องของความกลัวนั้น ทางแก้ของเราในมุมมองทางจิตวิทยา เรามองว่าเรื่องของความกลัวเกิดมาเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว มันเป็นการตอบสนองของคน ทุก คนถ้าเจอเรื่องภยันตราย เราจำเป็นที่จะต้องดูแลตัวเองให้เหมาะสม ความกลัวที่จะกระตุ้นให้เรารอดตาย แต่ในปฏิกิริยาที่ไม่ปกติ ความกลัวที่เกิดขึ้นนั้นรุนแรงเกินไป มันทำให้เราพยายามที่จะหลบทุก เรื่อง แล้วก็ส่งผลถึงเรื่องสังคม เรื่องอะไรต่าง ตามมา

ไม่มีเบอร์ท่านอนุทิน! สัมภาษณ์หมอบุรินทร์: การรับมือโควิด-19 ประคองสุขภาพจิตอย่างไร “ไม่ให้เครียดตายก่อน”

เพราะฉะนั้น ถ้าประเด็นจริงหลัก ที่จะแนะนำก็คือ เราต้องจัดการกับเรื่องความกลัวก่อน ประเด็นนี้เป็นตัวหลักที่ทำให้คนมีปัญหา อย่างแรกต้องบอกว่าวิกฤตที่เกิดขึ้น ส่วนใหญ่มันอาจจะเกิดยาว แต่ขณะเดียวกันมันก็มีการปรับตัวของมนุษย์ด้วย บางครั้งวิกฤตมันเกิดได้ ก็มีโอกาสที่จะค่อย ดีขึ้นได้

อย่างที่สอง วิกฤตที่เกิดขึ้นมันทำให้เรากลัว กลัวที่เราจะเปลี่ยนชีวิตตัวเอง เช่น ปกติเราทำกิจการอันนี้แล้ววันดีคืนดีไม่มีคนมาอุดหนุนกิจการเลย อย่างพวกกิจการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบรุนแรง อันนี้เป็นภาพที่จริง ๆ ก็ต้องบอกว่าเราอยากจะให้ลองค่อย ๆ ตั้งสติก่อนว่า พอวิกฤตมา สิ่งที่สำคัญก็คือการรับมือกับมัน ตั้งสติและรับมือว่าเราจะปรับเปลี่ยนธุรกิจของเราได้ยังไงบ้าง ธุรกิจที่เราพอจะปรับเปลี่ยนได้จริง ๆ เราเห็นตัวอย่างดี ๆ เยอะในสังคมไทย ไม่อยากให้มองเฉพาะภาพของเศรษฐกิจที่มันพังหมดเลย สนามบินว่างเปล่า เราพบว่าวิกฤตบางอัน อย่างสายการบินก็พลิกวิกฤตเป็นโอกาสอยู่ เขาก็เลือกไปทำเดลิเวอรีเรื่องอาหาร เป็นต้น มันมีธุรกิจบางอย่างที่ถ้ามองเป็นจุดแข็ง เราสามารถลองวิเคราะห์ตัวเอง แล้วลองดูว่าเราสามารถปรับเปลี่ยนตัวเราได้แค่ไหน เพราะภาวะวิกฤตทุกคนจะต้องปรับเปลี่ยนตัวเองไปตามความเหมาะสมที่เกิดขึ้น

อันที่สาม ต้องบอกว่าเราต้องยอมรับความไม่เพอร์เฟกต์ เวลาไม่เกิดวิกฤต เราเดินตามแผนเราได้ เราวางแผนไว้ว่าเดี๋ยวอีกประมาณ 1 ปีเราจะขยายกิจการอย่างนู้นอย่างนี้ แต่ว่าวันที่เกิดวิกฤตขึ้น สิ่งที่ทำได้จริง ๆ มันจะไม่เพอร์เฟกต์ ไม่สมบูรณ์แบบอย่างที่เราคิดแล้ว บางครั้งทำให้เราเกิดความเครียดที่เราไม่ได้อย่างที่คาดหวังไว้ อาจจะขออนุญาตให้ลดความคาดหวังลง แล้วยอมรับว่าในวิกฤตมันไม่มีความเพอร์เฟกต์เกิดขึ้น มีแต่สิ่งที่เราทำได้ดีที่สุดในเวลานั้น

ข้อสี่คือ ต้องบอกว่าต้องให้กำลังใจตัวเอง แล้วก็ให้กำลังใจคนรอบตัวด้วย เรื่องที่สำคัญเลยก็คือการที่จะคุยกับเพื่อน ถึงแม้ว่าจะต้อง social distancing ในเวลานี้ ไปปรับทุกข์กับเพื่อนตรง ๆ ไม่ได้ ไปนั่งกินกับเพื่อนแล้วปรับทุกข์ไม่ได้ ก็อาจจะขออนุญาตให้อย่างน้อยมีการโทรศัพท์ มีไลน์คุยกัน มันจะมีคนที่หัวอกเดียวกันเยอะ ทุก ๆ คนเป็นเหยื่อเหมือนกัน แต่ขณะเดียวกันอยากให้มองว่าเราเป็นเหยื่อก็จริง แต่เราสามารถเป็นผู้กอบกู้วิกฤตได้ด้วย เราสามารถควบคุมตัวเองได้ และก็อยากให้มองมุมดี ๆ ของสังคมว่ามันมีการปรับตัวค่อนข้างเยอะ เราไม่รู้หรอกว่าการปรับตัวนี้อาจจะทำให้เราเป็นทุกข์ตอนแรก แต่ในระยะยาวเราอาจจะเป็นคนที่รวยก็ได้ อาจจะมีอะไรที่ดี ๆ เกิดขึ้นกับเราก็ได้ ก็ยังอยากให้กำลังใจตัวเองว่ามีอนาคตอยู่

The People: ความเครียดทั้งหลายที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ หลัก มาจากปริมาณของข่าวที่มีตลอด เราจะวิธีรับมือกับมันอย่างไร

นพ.บุรินทร์จริง ๆ วันนี้เรื่องที่เรากำลังพูด มันกลับไปแก่นกลางเรื่องเดียวกันคือความกลัว เรื่องนี้ก็เหมือนกัน พอเกิดวิกฤตขึ้น ทุกคนจะรู้สึกแต่ว่าวิกฤตนี้จะทำให้ตัวเองตาย ทำให้คนอื่นติดโรคจากเราถ้าเราติดขึ้นมา ความกลัวที่เกิดขึ้นทำให้เราพยายามที่จะค้นหาข้อมูล ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่ทุก ๆ คนจะพยายามหาข้อมูลให้เยอะที่สุดเพื่อเอาชีวิตรอด แต่โชคร้ายนิดหนึ่ง ข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ ส่วนใหญ่เป็นข้อมูลที่อยู่บนโซเชียลมีเดีย มันเป็นยุคของข้อมูลเยอะแยะไปหมดเลย แต่ข้อมูลนี้จริงไม่จริงไม่รู้ เพราะฉะนั้น สิ่งที่สำคัญก็คือว่าการที่มีข้อมูลไม่ได้แย่ และการที่เราพยายามจะหาข้อมูลก็ไม่ใช่เรื่องแย่ แต่ข้อมูลที่มีอยู่อาจจะไม่ได้ถูกต้อง

ดังนั้น ข้อหนึ่งก็คือ เช็กก่อนชัวร์ ให้เช็กข่าวหลาย ๆ ข่าวพร้อม ๆ กัน แล้วดูว่าข่าวที่เกิดขึ้นมันชัวร์จริงหรือเปล่า ถ้าให้ดีอาจจะต้องเป็นข่าวส่วนหนึ่งมาจากรัฐบาล และส่วนหนึ่งเป็นข่าวที่ประกาศตรงกลาง ให้หาแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้ และให้ระวังมากที่สุดคือพวกข้อมูลที่มาจากไลน์ จากโซเชียลมีเดียที่แชร์กันลอย ๆ พวกนี้จะทำให้เกิดความตระหนกได้ และอาจจะไม่ใช่เรื่องจริง

เรื่องที่สองก็คือ เราต้องชัวร์ก่อนแชร์ด้วย อยากให้เช็กก่อนชัวร์ ชัวร์ก่อนแชร์ หมายความว่าเราเองจะเป็นคนนำสารไปให้คนอื่น พอเราได้ไลน์บางอย่างเข้ามาปั๊บ ด้วยความโกรธ ด้วยความรู้สึกหงุดหงิด หรือความกลัว เราจะส่งไปให้คนอื่นต่อ เพื่อให้คนอื่นเขารู้สึกเอาตัวรอดได้เหมือนเรา แต่ข้อมูลนี้อาจจะเป็นข้อมูลที่ผิด และข้อมูลนี้อาจจะทำให้ตื่นตระหนก เพราะฉะนั้น สิ่งสำคัญก็คือให้เราระวังเรื่องการแชร์ของเราด้วย มันทำให้สังคมตื่นกลัวและตื่นตระหนกได้มากขึ้นในปัจจุบัน

ไม่มีเบอร์ท่านอนุทิน! สัมภาษณ์หมอบุรินทร์: การรับมือโควิด-19 ประคองสุขภาพจิตอย่างไร “ไม่ให้เครียดตายก่อน”

อันที่สาม สิ่งที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งก็คือ การรับข้อมูลเยอะไป บางทีเรารู้สึกว่าเราต้องหาข้อมูลให้เยอะ จนกระทั่งบางทีเราไม่ได้หลับได้นอน ตอนนี้ล่าสุดงานวิจัยของกรมสุขภาพจิตเราพบว่า ประชาชนหาข้อมูลเพิ่มเติมเยอะมากเมื่อเทียบกับ 2-3 อาทิตย์ที่แล้ว (สัมภาษณ์ นพ.บุรินทร์ เมื่อต้นเดือนเมษายน 2563) การหาข้อมูลเพิ่มเติม ใช้เวลากับข้อมูลอย่างน้อย 1-3 ชั่วโมงเกือบครึ่งหนึ่ง แล้วถ้าเทียบกับสมัยก่อนเราใช้แค่ชั่วโมงเดียว ตอนนี้เพิ่มมาเป็น 1-3 ชั่วโมง อันนี้ค่าเฉลี่ย จริง ๆ แล้วหลักการก็คือค่าเฉลี่ยไม่ควรจะหาข้อมูลติดต่อกันอย่างน้อย 1 ชั่วโมงถ้าเผื่อเราใช้เวลาอยู่กับข้อมูลเป็นชั่วโมงจะทำให้เกิดเรื่องภาวะข้อมูลโหลดแล้วทำให้เกิดความเครียดเพราะเราไม่รู้ว่าตกลงข้อมูลไหนดีหรือไม่ดี

ข้อสี่ เรื่องข้อมูลผมแนะนำว่าลองดูข้อมูลด้านบวกด้วย เรามักจะดูแต่ข้อมูลด้านลบ ตอนนี้มีคนไข้เยอะขึ้นเท่านี้ มีตายเท่านี้ ลองดูครับว่าจริง ๆ แล้วถึงจะเยอะ ถึงจะตาย เรามีความพยายาม มีเรื่องดี ๆ อะไรเกิดขึ้นในการป้องกันโรคโควิด-19 ในสังคมไทย มีเรื่องอะไรบ้างที่เป็นเรื่องดี ๆ ของหน่วยงานภาครัฐ หรือภาคเอกชน กระทั่งชาวบ้าน ข่าวพวกนี้จะทำให้เรารู้สึกสงบลง และเรารู้สึกว่ามันเป็นความผูกพันในสังคม ซึ่งจะช่วยให้เราอยู่ได้ในยุคข่าวสารท่วมท้นขนาดนี้

The People: #กูติดยังวะ แฮชแท็กสุดฮิต เป็นความกังวลที่อยู่ในใจทุกคนที่ยังไม่สามารถเอาออกไปได้ อีกทั้งนโยบายของรัฐที่หลายคนไม่เห็นด้วย สิ่งเหล่านี้ยิ่งเป็นการสะสมความเครียดที่มาจากอคติด้วยหรือเปล่า

นพ.บุรินทร์ก็เป็นเรื่องอย่างที่บอก วิกฤตนี้มันไม่ปกติ มันเป็นความกลัว บวกกับเรื่องของเดิมของเราคือทัศนคติที่มีอยู่ เพราะฉะนั้น ทัศนคติที่มีอยู่ทำให้การแปลภาพของเรามีปัญหา พอเราได้ข้อมูลอะไรมาเราจะเชื่อตามทัศนคติของเรา อย่างเช่น เราชอบอะไรเราก็มีแนวโน้มชอบแบบนั้น ถ้าเรามองเรื่องในแง่ลบยังไง เจอวิกฤตเราก็มองไปเรื่องของความกลัวเยอะ หรือทำให้เราหมกมุ่นอยู่กับข่าวที่ทำให้เรากลัวเยอะ อันนี้ก็เป็นภาพที่จริง ๆ ผมต้องบอกว่าไม่น่าแปลกใจ อย่างที่บอก ความกลัวทำให้เราหาข่าว อยากให้ทำความเข้าใจตรงนี้ก่อน

ส่วนเรื่องทัศนคติภายใต้วิกฤต ผมบอกว่ามันเป็นเรื่องของการเกิดความไม่เพอร์เฟกต์และไม่สมบูรณ์แบบ มันมีความโกลาหลอยู่ข้างใน ไม่มีอะไรที่จะดีที่สุด เพราะฉะนั้น หลายครั้งทุกคนก็จะมองว่าหน่วยงานที่ทำเรื่องวิกฤตเป็นหน่วยงานที่ไม่ได้เรื่อง หรือทำไมไม่ทำแบบนี้ล่ะ อันนี้เป็นเรื่องปกติ อยากให้ทุกคนเข้าใจก่อนว่า ภายใต้ภาวะวิกฤต การหาแพะรับบาปเป็นเรื่องง่ายมาก แต่ว่าปัญหาคือถ้าคุณเลือกที่จะโกรธ มันจะทำให้คุณไม่มีความสุข และจะทำให้ความเครียดคุณยังอยู่ แต่ถ้าเลือกที่จะไม่โกรธ แล้วลองตั้งสติดี ๆ ผมคิดว่าภายใต้ความโกรธจะทำให้เรารู้สึกสงบลง

The People: ความเครียดจากสถานการณ์โควิด-19 มีโอกาสที่จะนำไปสู่ความรุนแรงทางอารมณ์ในอนาคต หรือเกิดการฆ่าตัวตายในกลุ่มผู้ทำธุรกิจไหม

นพ.บุรินทร์: ภายใต้ภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้น ทุกคนจะมีความเครียดเกิดขึ้นค่อนข้างเยอะเมื่อเทียบกับสถานการณ์ปกติ เขาเรียกว่าภาวะเครียด ภาวะเครียดตัวนี้เป็นภาวะที่ทำให้เรามีปัญหา จะแสดงออกมาทางด้านอารมณ์ ความคิด จิตใจ ยกตัวอย่างเช่น เราอาจจะหงุดหงิดง่ายกว่าปกติ เรารู้สึกว่าเราจะเศร้ากว่าปกติ พวกนี้เกิดขึ้นได้ แต่ว่าจะหายไปในระยะหนึ่ง คือพอเรามีการปรับตัวได้ พวกนี้จะดีขึ้น เพราะฉะนั้น ผมจะบอกว่าภายใต้ภาวะเครียดอาจจะทำให้คนที่มีความเสี่ยงอยู่แล้วบางกลุ่มกลายเป็นคนที่มีปัญหาสุขภาพจิตได้ ไม่ใช่ทุกคนที่เจอภาวะเครียดจะมีปัญหาสุขภาพจิต เพราะฉะนั้น คน 100 คน จะมีอยู่ประมาณ 10-20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นเองที่อาจจะเกิดภาวะเครียดระยะยาวนาน แล้วอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตตามมา

คนส่วนใหญ่ถ้ามีเรื่องการปรับตัวที่เหมาะสม เขาจะเครียดสักระยะหนึ่ง นอนไม่หลับระยะหนึ่ง เขาจะกลับมาดีขึ้น เพราะฉะนั้น ส่วนที่เกี่ยวข้อง 20 เปอร์เซ็นต์จะเป็นกลุ่มที่จะเป็นภาวะเสี่ยง แล้วอยากให้เฝ้าระวังเลยก็คือ หนึ่ง คนที่เคยรักษาโรคจิตเวช อย่างเช่น โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า หรือว่ามีปัญหาปรับตัวเข้ากับเรื่องสถานการณ์ความเครียดได้ไม่ดีอันเป็นนิสัย ยังไงอาจจะให้คนรอบตัวสอดส่องมองหาดูแลเขานิดหนึ่ง แล้วก็ถ้ารู้สึกว่าภาวะเครียดเยอะ อาจจะมีการทําแบบประเมินออนไลน์ที่จะช่วยดูแลเขา ในกลุ่มนี้มีไม่เยอะมากนัก จำเป็นที่จะต้องดูแลใกล้ชิด และคนรอบตัวจะรู้ว่าเป็นยังไง

กลุ่มที่สองที่เราห่วงคือ คนที่ใช้พวกสุรายาเสพติดเป็นระยะ หรือใช้จนกระทั่งติดเป็นประจำ การใช้ของพวกนี้ช่วยทำให้เราสบายใจขึ้นในช่วงสั้น ๆ แต่ขณะเดียวกันก็จะพบว่าหลายคนใช้เพื่อหลบปัญหา บางคนพอเจอวิกฤตเยอะ ๆ หันไปพึ่งเหล้าดีกว่า ก็จะทำให้ติดเหล้าเพิ่มขึ้น กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ต้องจับตามอง

ไม่มีเบอร์ท่านอนุทิน! สัมภาษณ์หมอบุรินทร์: การรับมือโควิด-19 ประคองสุขภาพจิตอย่างไร “ไม่ให้เครียดตายก่อน”

กลุ่มที่สามคือ กลุ่มที่เจอวิกฤตที่รับมือไม่ทัน หรือเกิดกะทันหัน อย่างเช่น กิจการล้มเหลว แต่กลุ่มนี้จะบอกว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะเจอวิกฤต แล้วเขาไม่สามารถพลิกตัวกลับมาดีขึ้น เราพบว่าหลายคนพอเจอวิกฤตจะเครียดในช่วงแรก แต่พอดีขึ้นก็จะหายไป ฉะนั้น ทางออกที่จะช่วยดูแลคนกลุ่มนี้ได้ก็คือคนใกล้ชิดนี่แหละที่จะดูแล บวกกับให้เขารู้ว่ามันมีช่องทางความช่วยเหลือที่ไหนบ้าง เช่น 1323 สายด่วนสุขภาพจิต ซึ่งตอนนี้เราพยายามเพิ่มคู่สายให้เยอะขึ้น หรือกระทั่งเราใช้สายด่วนของกรมควบคุมโรคถ้ามีประเด็นเรื่องสุขภาพจิต นอกจากจะสอบถามเรื่องโรคแล้ว ก็จะมีคนช่วยดูแลเรื่องสุขภาพจิตด้วยซึ่งเราบูรณาการกัน แล้วก็ยังมีแหล่งความช่วยเหลืออื่น ๆ อีกที่มีเยอะแยะเลย ขอเพียงแต่คีย์เข้าไปว่าขอความช่วยเหลือที่ไหนได้ฟรีทั้งนั้น รวมทั้งโรงพยาบาลแต่ละที่ก็จะมีเจ้าหน้าที่สุขภาพจิตที่ให้คำปรึกษาได้

The People: ทำอย่างไรถึงจะประคองสุขภาพจิตให้อยู่รอด จนสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งอาจเกินระยะเวลา 1 ปีสงบลง

นพ.บุรินทร์วิกฤตครั้งนี้เป็นวิกฤตที่รุนแรง คนที่เจอในระยะแรกเราจะพบว่าเครียดเยอะเกือบทุกคน ความเครียดส่งผลต่าง ๆ เยอะแยะไปหมดเลย ทั้งความคิด ทั้งอารมณ์ ทั้งพฤติกรรม แต่ถึงแม้ว่าวิกฤตจะอยู่ยาวนาน จะมีความเหมือนอื่น ๆ อยู่บ้าง แต่ว่าสุดท้ายผมยังเชื่อว่าศักยภาพของมนุษย์ โดยหลักการเรามีความสามารถในการปรับตัว เพราะฉะนั้น มนุษย์ส่วนใหญ่ ต้องบอกว่าส่วนใหญ่เขาจะค่อย ๆ ปรับตัว และมีมุมมองต่าง ๆ ที่เปลี่ยนไปได้ และสิ่งที่เราจะช่วยให้เขาปรับตัวได้ดีก็คือการมีคนคุยด้วย มีคนที่ให้คำปรึกษา

วิกฤตครั้งนี้ องค์การอนามัยโลกบอกเลยว่า อย่าหนีกัน ต้องสามัคคีกัน เขาใช้คำว่า solidarity เป็นหัวใจสำคัญ ในเรื่องการอย่าหนี อย่าหายไป อย่าเอาตัวรอด ให้มองคนรอบตัวให้ดี และรับผิดชอบตัวเอง เรามองว่ารับผิดชอบตัวเองทำให้คนอื่นดีขึ้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น ประเด็นของการปรับตัวต่าง ๆ มันจะเกิดขึ้นได้เอง อาจจะทุกข์ในระยะแรก แล้วความทุกข์ก็จะค่อย ๆ ลดลง อาจจะยังมีความทุกข์อยู่บ้างหรือไม่มีความสุขเหมือนเดิม แต่ว่ามันก็จะเซ็ตเรื่อง new balance หรือสมดุลใหม่เกิดขึ้น แล้วเราก็จะอยู่กับมันได้

สำหรับคนที่มีปัจจัยเสี่ยงอย่างที่บอก เป็นกลุ่มที่น่าเป็นห่วง หมอก็ยังแนะนำว่า อยากให้คนรอบตัวลองใช้หลักการ 3 ข้อหลักการนี้ง่ายที่สุดและทำให้ทุกคนสามารถทำได้และดูคนที่รักได้คือหนึ่งสอดส่องมองหาลองดูว่าคนใกล้ตัวเราที่จะผ่านวิกฤตไปด้วยกันเอาคนใกล้ตัวที่บ้านคนที่เรารักก็ได้ลองดูว่าเขาเป็นกลุ่มเสี่ยงที่เราเล่าให้ฟังเมื่อกี้ไหมเป็นจิตเวชเก่าไหมมีปัญหาเรื่องใช้สุรายาเสพติดไหมมีนิสัยที่เป็นคนที่ปรับตัวเข้ากับความเครียดไม่ค่อยดีไหมหรือมีวิกฤตขนาดใหญ่ที่ทำให้เขาเองล้มไปอย่างทันทีหรือรับไม่ได้ไหมกลุ่มนี้ถ้าเป็นไปได้เราอยากให้ลองมองคนรอบตัวดูว่าเขามีปฏิกิริยายังไงบ้างเขาปรับตัวได้ไหม

สองคือ ใส่ใจรับฟัง เรื่องสำคัญมาก ๆ เลยคือ บางทีถามเขาหน่อยว่าเขาเป็นยังไงบ้าง แล้วลองฟังเขา บางทีไม่ต้องให้คำแนะนำ แค่รับฟัง บางทีเขาจะรู้สึกว่าเขาได้ระบายแล้ว บางคนก็จะรู้สึกดีขึ้น การรับฟังเป็นเรื่องสำคัญมากกว่าการพูด หรือสอน หรือบอกด้วยซ้ำ

อันที่สาม เราลองให้กำลังใจเขาว่าทุก ๆ คนก็คล้าย ๆ กัน ไม่มีใครที่แย่กว่าใคร เวลาวิกฤตเราจะรู้สึกว่าเราแย่อยู่คนเดียว เรารู้สึกว่าเราไม่ได้เรื่องอยู่คนเดียว แต่จริง ๆ ทุก ๆ คนจะรู้สึกแบบนี้แบบเดียวกัน แล้วพอมาแชร์กันจะรู้ว่ามันเยอะมากที่รู้สึกแบบนี้

ไม่มีเบอร์ท่านอนุทิน! สัมภาษณ์หมอบุรินทร์: การรับมือโควิด-19 ประคองสุขภาพจิตอย่างไร “ไม่ให้เครียดตายก่อน”

The People: ตัวหมอเองกลัวติดโควิด-19 ไหม แล้วส่วนตัวมีวิธีจัดการกับมันอย่างไร

นพ.บุรินทร์: ผมว่าไม่ต่างกัน หมอทุกคนไม่ว่าจะตำแหน่งไหนหรือระดับบริหาร ผมคิดว่าทุกคนกลัว หมอเองก็ต้องบอกว่าวิกฤตที่เกิดขึ้นเราจะกลัวอยู่ 2 เรื่อง จริง ๆ หมอก็กลัวคล้าย ๆ พวกคุณคือ หนึ่ง-กลัวตาย สอง-กลัวติดเชื้อแล้วไปเป็นภาระให้คนอื่น เรากลัวอยู่ 2 เรื่องจริง ๆ ในเวลาติดเชื้อ ความกลัว 2 อย่างนี้จะเกิดขึ้นมาปั๊บเลย กลัวตาย ติดเชื้อแล้วเราจะตาย เราจะไม่ได้ทำในสิ่งที่เราอยากทำ เราจะไม่ได้ดูแลคนที่เรารัก

อันที่สอง ความน่ากลัวมากกว่านั้นคือ เรากลายเป็นภาระให้คนอื่น อย่างเช่นว่า ติดเชื้อแล้วคนเขาจะมองเราไม่ดี เขาจะไม่มาอุดหนุนกับข้าวเรา เขาจะไม่มาอุดหนุนอุตสาหกรรม หรืองานกิจการที่เราทำ เราก็จะต้องล้มเหลว หรือทำให้คนรอบตัวต้องถูกกักตัวไปด้วย อาจจะเกิดเป็นความรู้สึกผิดขึ้นมา แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็คืออย่างที่บอก หมอเข้าใจว่าวิกฤตที่เกิด มันมีปฏิกิริยาอะไรเกิดขึ้น และมันก็จะจบลง ขณะเดียวกันถ้ามันไม่จบลงและอยู่ยาว มนุษย์จะมีการปรับตัวได้ แล้วก็สิ่งที่สำคัญมากที่ต้องการตอนนี้คือความสามัคคีและให้กำลังใจด้วยกัน

ขณะเดียวกัน ก็อยากให้ปฏิบัติตามเรื่องต่าง เพราะว่าวิกฤตครั้งนี้มีความซับซ้อนอันหนึ่งที่อยากให้ทำก็คือ ถ้าเราจะช่วยกันจริง เราต้องทำ social distancing หรือเว้นระยะห่างทางสังคมแน่ แต่การเว้นระยะห่างสังคมไม่ได้ทำให้เราห่างไกลทางเรื่องหัวใจ เรายังติดต่อคุยกัน เรายังไลน์คุยกันได้ แต่เราต้องอยู่ห่าง ใส่แมสก์ ใส่หน้ากาก ตัวนี้คือการรับผิดชอบคนอื่นโดยการรับผิดชอบตัวเองก่อน อันนี้เป็นตัวที่สำคัญมาก และสุดท้ายเลย ความสามัคคีกับเรื่องของปัญญาจะทำให้รอด เพราะฉะนั้น ข้อแรกเลยคือการหาข้อมูลที่ดีและปฏิบัติตามอันนั้น สอง มีความรับผิดชอบกับคนอื่นและตัวเราเอง เริ่มที่ตัวเราแล้วคนอื่นจะดีขึ้น