สัมภาษณ์ สุกี้-กมล สุโกศล แคลปป์ จากสูงสุดคืนสู่สามัญ ย้อนความหลังในวันที่รุ่งและร่วงที่สุดของ เบเกอรี่ มิวสิค

สัมภาษณ์ สุกี้-กมล สุโกศล แคลปป์ จากสูงสุดคืนสู่สามัญ ย้อนความหลังในวันที่รุ่งและร่วงที่สุดของ เบเกอรี่ มิวสิค

       ย้อนกลับไปในปี 2537 สุกี้-กมล สุโกศล แคลปป์, บอย- ชีวิน โกสิยพงษ์, สมเกียรติ อริยะชัยพาณิชย์ และ สาลินี ปันยารชุน ร่วมกันก่อตั้งค่ายเพลงอินดี้ที่เปลี่ยนวงการเพลงไทยอย่างสิ้นเชิง พวกเขาตั้งชื่อมันว่าเบเกอรี่ มิวสิค

เบเกอรี่ มิวสิค คือปรากฏการณ์แห่งยุค 90s อย่างแท้จริง ด้วยสุ้มเสียงและเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซาวนด์ในแบบเบเกอรี่เป็นอะไรที่ใหม่และน่าลิ้มลองอย่างมากในยุคนั้น ความกล้าที่จะทำเพลงในแบบที่ไม่เหมือนใครกลายเป็นจุดกำเนิดของศิลปินอย่าง โมเดิร์นด็อก, โจอี้ บอย, บอย โกสิยพงษ์, ไทรอัมส์คิงดอม รวมถึง พอส

เบเกอรี่ มิวสิค ประสบความสำเร็จอย่างมากในช่วงแรก พวกเขากลายเป็นค่ายเพลงเล็ก ที่ทำให้ค่ายยักษ์ใหญ่ในไทยต้องรู้สึกหนาว ร้อน ด้วยยอดขายและความนิยมที่ขยายไปทั่วประเทศอย่างรวดเร็ว แน่นอนมันคือความสำเร็จที่ราวกับได้อยู่บนยอดเขาเอเวอเรสต์ยังไงยังงั้น

แต่สามปีให้หลัง เบเกอรี่ มิวสิค ได้รับผลกระทบเต็ม จากวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งที่ซัดหลายธุรกิจให้พังระเนระนาด เหตุการณ์ดังกล่าวทำเอาพวกเขารับมือไม่ทันกับสิ่งที่เกิดขึ้น มารู้ตัวอีกทีก็ตอนที่ตัวเองไปอยู่ที่ริมเหวหมิ่นเหม่จะตกเขาเสียแล้ว สุดท้ายพวกเขาตัดสินใจขายค่ายให้กับค่ายเพลงมหาอำนาจในยุคนั้นอย่าง BMG เพื่อต่อชีวิตให้ค่ายสามารถเดินหน้าไปได้

แม้มันเหมือนกับว่ามีคนเอื้อมมือเข้ามาช่วยคุณไว้ แต่แน่นอนทุกความช่วยเหลือนั้นย่อมมีราคา สิ่งที่พวกเขาต้องแลกในวันนั้นกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการปิดฉากค่ายเพลงแห่งนี้

The People มีโอกาสนั่งคุยกับหนึ่งในสามทหารเสือผู้ขับเคลื่อน เบเกอรี่ มิวสิค สุกี้-กมล สุโกศล แคลปป์ เขาพาเราย้อนความหลังในวันที่รุ่งที่สุด จนไปถึงวันที่ตกต่ำที่สุดของ เบเกอรี่ มิวสิค และกลิ่นอายที่ค่อย หายจางไป

สัมภาษณ์ สุกี้-กมล สุโกศล แคลปป์ จากสูงสุดคืนสู่สามัญ ย้อนความหลังในวันที่รุ่งและร่วงที่สุดของ เบเกอรี่ มิวสิค

The People: สุกี้ พบกับดนตรีครั้งแรกตอนไหน

กมล: มีหลาย first impression เลย ตอนแรกคุณแม่ให้ไปเรียนเปียโนกับกีตาร์ แล้วเราไม่ชอบ ผมจำได้ว่าเรียนไปไม่นานก็ไม่เอาแล้ว หลังจากนั้นประมาณ 2-3 ปีผมอายุประมาณ 11 ขวบ ผมไปเที่ยวฮ่องกง แล้วเดินผ่านร้านแผ่นเสียงที่กำลังเปิดเพลง ‘Highway to Hell’ ของวง AC/DC สำหรับผมนั่นคือจุดกำเนิดของทุกอย่างเลย พอกลับมาเมืองไทย ผมเดินเข้าไปบอกแม่ว่าอยากได้กีตาร์ ตั้งแต่วันนั้นมาจนถึงวันนี้ ไม่มีวันนั้นก็ไม่มี เบเกอรี่ มิวสิค มันคือจุดเริ่มต้นของผม

The People: โตมาในครอบครัวนักธุรกิจ แต่เลือกที่จะอยู่กับดนตรี

กมล: สิ่งที่ผมจะพูดตลอดเวลาคือผมโชคดีที่เกิดมาในครอบครัวนี้ เพราะว่าคุณแม่ (กมลา สุโกศล ประธานกรรมการบริหารกลุ่มบริษัทและโรงแรมเครือสุโกศล) เขาไม่แคร์ว่าเราทำอะไร แต่ถ้าทำแล้วต้องเต็มที่ ไม่ใช่ว่าคุณเกิดมาในครอบครัวนี้แล้วคุณต้องมาบริหารธุรกิจ ครอบครัวเราไม่ใช่แบบนั้น ตอนนี้ผมมีลูกชายคนโตอายุ 25 ปี เขาเพิ่งจบมา 2 ปี ผมบอกเขาว่าดีโน่ ไอไม่แคร์ว่ายูจะทำอะไร แต่ยูต้องทำอะไรสักอย่าง ห้ามอยู่บ้าน ไม่งั้นผมจะโกรธสิ่งแบบนี้เราก็เรียนรู้มาจากพ่อแม่เรา เขาไม่เคยบอกว่าคุณต้องมาบริหารโรงแรม...เขาไม่เคย แต่เขาขอให้ทำเต็มที่ในสิ่งที่ทำ ผมเพิ่งมาทำงานกับแม่ 10 ปีหลังนี้ ก่อนหน้านี้ผมไม่เคยทำงานกับคุณแม่มาก่อน ทำให้ผมเรียนรู้ว่าตัวแม่ก็มีความเป็นศิลปิน คือครอบครัวเราเป็นศิลปินที่เข้าใจธุรกิจ เราไม่ใช่นักธุรกิจ มันไม่เหมือนกัน

The People: ย้อนไปในยุคนั้น พวกคุณสามคนในวัย 20 ต้น ๆ เริ่มสร้างค่ายเพลงที่พลิกโฉมวงการเพลงไทย?

กมล: ผมกล้าพูดเลยว่าศิลปินทุกคนตอนเริ่มต้นไม่มีใครคิดเรื่องธุรกิจหรอก ทุกคนแค่อยากจะทำเพลง ไม่มีใครคิดว่าเดี๋ยวจะเล่นกีตาร์แล้วรวย ไม่มี แล้วย้อนไปตอนนั้น ผมอายุ 22-23 ผมก็แค่อยากจะทำเพลง ผม, บอย (โกสิยพงษ์) กับสมเกียรติ (อริยะชัยพาณิชย์แค่เป็นเด็กที่อยากทำเพลง ตอนที่ผมเพิ่งกลับมาเมืองไทย สมเกียรติกำลังจะทำชุดแรกของเขา แล้วเขาต้องการ sound engineer ซึ่งผมจบด้านนั้นมา เอื้อง-สาลินี ปันยารชุน เลยแนะนำให้ผมเจอสมเกียรติ แล้วเขาก็มีเพื่อนเขียนเนื้อเพลงได้ชื่อบอย ผมจะบอกทุกคนว่าจุดเริ่มต้นของเบเกอรี่ มิวสิค คืออัลบั้มชุดแรกของสมเกียรติ

ตอนนั้นทุกคนเป็นฟรีแลนซ์กัน คือไม่มีบริษัท ผม, บอย สมเกียรติก็ทำเพลงให้ที่อื่น แล้ววันหนึ่งเราก็ได้ไอเดียว่า ทำไมเราไม่ทำบริษัทขึ้นมาให้เป็นรูปเป็นร่าง เลยก่อตั้งเบเกอรี่ขึ้นมา ตอนนั้นเราไม่ได้คิดว่าเราเป็นค่าย เพราะสมัยนั้นมีแต่ค่ายใหญ่ เราไม่เคยคิดว่าจะเป็นค่ายเพื่อไปแข่งกับพวกเขา เราคิดว่าจะทำเพลงแล้วก็เอาเพลงไปป้อนค่ายใหญ่ แล้วตอนนั้นผมทำโมเดิร์นด็อกอยู่ คือตอนแรกเราก็กะว่าจะทำโมเดิร์นด็อกไปขายแกรมมี่, อาร์เอส, คีตา แล้วสุดท้าย ป๊อด (ธนชัย อุชชิน นักร้องนำของโมเดิร์นด็อก) เป็นคนบอกผมพี่สุกี้ขายเองดีกว่า ถ้าเราเอาชุดนี้ไปขายค่ายใหญ่ เขาก็จะเปลี่ยนเพลง เปลี่ยนวิธีแต่งตัว เปลี่ยนวิธีพูด” ก็เลยเป็นป๊อดนี่แหละ ที่ยุให้เราทำเบเกอรี่ขึ้นมา

วันที่ผมทำโมเดิร์นด็อกเสร็จ ผมจำได้ ผมนั่งอยู่ในห้องอัด นั่งอยู่กับป๊อดบนพื้น ผมจำได้ป๊อดถามผมว่าเฮ้ย สุกี้ คุณคิดว่ามันจะขายได้กี่ม้วนแล้วตอนนั้นวง Sepia เขาออกเพลงใต้ดินมาชื่อว่าเกลียดตุ๊ดผมจำได้เขาขายได้ประมาณสามหมื่นก๊อปปี้ ผมก็บอกป๊อด เออ ก็น่าจะเท่า Sepia พอเดือนกันยายน เทปออก ทุกอย่างก็ค่อย เดินไป

ผมอยู่ในวงการเพลงมานาน สิ่งที่ผมสนุกมากที่สุดในวงการเพลงคือตอนเห็นวงกำลังจะดัง เป็นความรู้สึกที่สนุกที่สุดในโลกแล้ว สมัยนั้นโมเดิร์นด็อกไปเล่นที่ไหน ผมก็จะไปเป็นคนคุม ผมจำได้ว่าคนดูจากยี่สิบคนกลายเป็นพัน คน ผมนี่เฮ้ย shit!” จนวันที่เราเชื่อว่าเราดังพอแล้วที่เราจะจัด MBK สมัยนั้นทุกคนต้องเล่นที่นี่ ผมจำได้ตอนนั้นคนในวงการก็แบบ เฮ้ย แม่ง ฟลุคหรือเปล่า หลังจากนั้น โจอี้ บอย ออกมา เฮ้ย แม่งดังว่ะ หลังจากนั้น บอย โกสิยพงษ์ ออกมา แม่งดัง โอเค แม่งไม่ฟลุคละ

ผมแค่ชอบ prove คนผิดนะ คนมาบอกว่าโมเดิร์นด็อกไม่ดังหรอก โจอี้ บอย แม่งฟังไม่รู้เรื่อง ผมจำได้ผมทะเลาะกับดีเจ “Fuck you! what do you mean? ฟังไม่รู้เรื่อง It’s music.” แล้วสมัยนั้นผมก็ไม่ได้เห็นด้วยกับระบบค่ายเพลงบ้านเราเลย ผมว่ามัน bullshit ถึงวันนี้ผมก็ว่ามัน bullshit (หัวเราะ) มันไม่ใช่ดนตรี คือเด็กรุ่นนี้...ไม่รู้นะ สมัยนั้นเขาเรียกศิลปินว่าพรีเซนเตอร์ จำคำนี้ได้ไหม คิดดูสิ เขาไม่เรียกศิลปินว่าศิลปิน เขาเรียกศิลปินว่าพรีเซนเตอร์  “What the shit!”

สัมภาษณ์ สุกี้-กมล สุโกศล แคลปป์ จากสูงสุดคืนสู่สามัญ ย้อนความหลังในวันที่รุ่งและร่วงที่สุดของ เบเกอรี่ มิวสิค

The People: เบเกอรี่ มิวสิค กับความสำเร็จที่เกินคาด

กมล: คือเกิดมาผมอยากจะเป็นนักดนตรี แต่ผมไม่เคยคิดเลยว่าวันหนึ่งจะเป็นได้ หรือใช้มันหากินได้...ไม่เคย ผมเคยคิดว่าเดี๋ยววันหนึ่งก็คงไปทำงานให้แม่ ไม่เคยคิดเลยว่ามันจะเป็นในแบบที่เป็นได้ คือตอนนั้นแรงเยอะมาก แล้วเราก็ทำกันทั้งวันทั้งคืน ผมจำได้ตอนผมอายุ 24 ผมมีเงินเต็มเลย แล้วเรามีประชุมกันเฮ้ย ทำยังไงดีวะ แม่ง มีเงินอยู่ร้อยล้านนี่เรื่องจริงไม่ได้เมค มันคือเรื่องจริง ผมนั่งอยู่ชั้นสี่ที่ออฟฟิศ แล้วบอยพูดว่าเฮ้ย สุ เรามาแบ่งกันมั้ย” (หัวเราะ)

ผมจำไม่ได้ว่ายังไงต่อ แต่ผมอาจจะเฮ้ย บอย แต่เราต้องมีเงินหมุนในบริษัทนะเว่ยแต่ยุคนั้น...ผมไม่ใช่นักการเงินเลย ผมเด็กจะตายห่าตอนนั้น แต่ผมรู้ว่ามันมีอะไรผิดปกติในบ้านเรา ทุกอย่างง่ายไป เงินมันหากันง่าย ตอนนั้นผมนึกว่าผมจะปลดเกษียณอายุ 30 ด้วยซ้ำ คือเงินมาง่าย ก่อนที่ฟองสบู่จะแตก ผมยังจำได้ผมนั่งคิด ชีวิตแม่งง่ายว่ะ โคตรง่ายเลย

The People: จากสูงสุดคืนสู่สามัญ?

กมล: ปี 1996 (พ.ศ. 2539) มีงานสัมมนาที่ฮ่องกง งาน Billboard Music Conference 96 ผมจำได้ โทนี เฟอร์นันเดส ปัจจุบันที่เขาไปก่อตั้ง Air Asia ตอนนั้นเขาคุมค่าย Warner Music เขาเข้ามาคุยกับผม แล้วเสนอให้เรามาประมาณ 400-500 ล้านบาท แต่ผมไม่เอา เดี๋ยวเราจะใหญ่กว่าแกรมมี่ อีกแปดเดือนผ่านไป...อีฉิบหาย ไม่งั้นรวยกันแล้ว แต่ตอนนั้นผมไม่ได้แคร์เรื่องตังค์ ไม่ได้สนใจเรื่องเงิน ตอนนู้นไม่ได้สนใจเรื่องเงินเลย

คือตอนแรกทุกอย่างดูสวยงาม โอเค 30 จะปลดเกษียณตัวเอง แล้วปี 1997 โอ้โห มีเงินยังเอาออกมาจากธนาคารไม่ได้เลย ผมจำได้ มีช่วงเวลาอยู่ประมาณเดือนหนึ่งที่ธนาคารไม่ให้เอาเงินออก ก็ฉิบหายสิ จุดต่ำสุดเบเกอรี่มีหนี้สินถึง 80 ล้าน จุดที่มันต่ำสุดเลย ตอนนู้นไม่ตลกนะ แต่ตอนมองย้อนกลับไปมันก็ตลกนิด ตรงที่มีอยู่ช่วงหนึ่ง ผม บอย สมเกียรติ เอาบัตรเครดิตมาหมุนกันเอาของมึงออกมาดิ เอามาจ่ายก่อนทำแบบนี้อยู่สี่ห้าเดือน (หัวเราะ) จำได้คือไม่มีตังค์เลย มันเป็นช่วงเอาตัวรอดอย่างเดียวเลย จะทำยังไงเพื่อที่จะอยู่รอดไปวัน แล้วผมจำได้ว่านรกเลยนะ ตอนนั้นจะตายเอา

โดโจนี่เราไม่มีงบเลยตอนทำ เพราะเรากำลังจะเจ๊ง ผมยังจำไม่ได้เลยว่าเอาเงินมาจากไหน แต่บอยกับสมเกียรติมันเก่ง เขารู้ว่าเขาต้องทำยังไง ตอนนั้น ไทรอัมส์คิงดอม เป็นตัวช่วยพยุงเราไว้ช่วงนั้น หลังจากนั้นมันเป็นช่วงที่แย่ที่สุดในชีวิต ช่วงที่ต่ำที่สุดในชีวิตแล้ว แต่ตอนผ่านมาได้แล้วก็เป็นสิ่งที่ผมภูมิใจที่สุดถึงวันนี้ที่เราออกมาจากวิกฤตได้ ภูมิใจมากกว่าขายเทปได้ล้านม้วน

ตอนคุณอยู่สูงมันจะไม่เรียนรู้ มันจะเรียนรู้ตอนคุณอยู่ต่ำสุด แม่ชอบพูดกับผมว่าดีที่สุดสำหรับคุณคือ คุณไปเจอวิกฤต แล้วมันทำให้เราต้องรีบโต ทำให้เราแบบ...โอ้ของจริงมาแล้ว

สัมภาษณ์ สุกี้-กมล สุโกศล แคลปป์ จากสูงสุดคืนสู่สามัญ ย้อนความหลังในวันที่รุ่งและร่วงที่สุดของ เบเกอรี่ มิวสิค

The People: ทางออกสุดท้ายคือการตัดใจขายค่ายให้กับยักษ์ใหญ่?

กมล: ในที่สุดแล้วถึงจุดหนึ่งที่เรารู้ตัวเลยว่า เฮ้ย ไปไม่รอดแล้ว ถึงจุดที่เรามีหนี้สิน 80 ล้าน ตอนที่ต่ำสุดแล้วผมเพิ่งมารู้ทีหลังว่าคนข้างนอกไม่รู้เรื่องเลย แล้วทุกคนก็มาถามว่าเป็นไปได้ยังไง เบเกอรี่ดังจะตาย สมัยก่อนเราพึ่งจมูกอันเดียวหายใจ คือ ออนป้า ถ้าเกิดเก็บตังค์จาก distributor ไม่ได้ แล้วจะไปรอดได้ยังไง มันถึงจุดหนึ่งที่เฮ้ย ไม่ได้ละ เราต้องขายค่ายแล้วว่ะ ไม่งั้นฉิบหาย

เราไปจ้างพวกสายการเงินมาทำตัวเลขอะไรพวกนั้น แล้วไปเดินสายที่ฮ่องกง ไปเจอค่ายเมเจอร์ทั้งหลาย SONY, BMG ผมจำได้เราไปเจอเจ้าหนึ่ง เขาพูดอย่างนี้เลยโอเค สุกี้ ถ้าไอลงเงินให้ยู 100 ล้านในบริษัทภายในปีหนึ่ง ถ้าเกิดเงินนั้นอยู่ในธนาคารได้ดอกเบี้ย 8%” ผมหัวเราะเลย บาย เดินออกจากห้องเลย คุยกันไม่รู้เรื่อง เขามองเป็นธุรกิจอย่างนั้นเลย แต่ตอนที่คุยกับ BMG ผมคุยกับเขาแล้ว เอ้อ เขาเข้าใจว่ะ เขาเข้าใจว่าศิลปินมันไม่ใช่ชุดแรกจะดัง คือเขาเข้าใจดนตรี ก็เลยลงตัวกับ BMG

ช่วงที่เราทำงานกับ BMG เราเป็นพาร์ทเนอร์กันอยู่ 5-6 ปี เราทะเลาะกันสองทีมั้ง คือเป็นพาร์ทเนอร์ ตอนที่เราจะขายค่ายไอ้พวกเพื่อนที่อยู่ในวงการอินดี้ทั่วโลกทุกคนบอกสุกี้ เพื่อนอย่าไปพวกค่ายเมเจอร์ มันเหี้ย อย่าไปอยู่กับมันแต่ประสบการณ์ที่ผมได้รับกับ BMG มาก็ดีมาก เป็นเพื่อนกันมาจนถึงทุกวันนี้ แต่ถ้าย้อนกลับไปได้ ผมคงทำอะไรอีกหลายอย่าง ผมคงปิดค่ายก่อน เศรษฐกิจดีค่อยมาเปิดใหม่ แต่ตอนนู้นไม่รู้ มันเด็ก หรือผมก็น่าจะขายให้ Warner ไปห้าร้อยล้านแม่งเลย

สัมภาษณ์ สุกี้-กมล สุโกศล แคลปป์ จากสูงสุดคืนสู่สามัญ ย้อนความหลังในวันที่รุ่งและร่วงที่สุดของ เบเกอรี่ มิวสิค

The People: ความช่วยเหลือที่ต้องแลกมาด้วยการสูญเสียสมบัติที่สร้างมา

กมล: ตอนนั้นไม่ได้เสียใจ ตอนนั้นคือ “Oh God, Ok เฮ้ย มีเงินแล้วเว้ยมันมาเสียใจทีหลัง แต่ตอนนั้นเหมือนกับเราอุ้มภาระมาสี่ปี สี่ปีนั้นผมให้เงินตัวผมเอง 5,000 ต่อเดือน คือมีเงินให้ครอบครัว แต่ผมมีเงินค่าขนม เงินสนุกให้ตัวเอง 5,000 มีอยู่แค่นั้น เลย เป็นว่าการที่มีใครเข้ามาช่วยแบกภาระไปนี่ “Oh My God มึงเอาไปเถอะ พับลิชชิ่งพอถึงจุดนั้นกูไม่แคร์แล้ว” (หัวเราะ)

จะว่าไปลิขสิทธิ์มาสเตอร์ผมไม่ค่อยเสียดาย แต่ผมเสียดายพับลิชชิ่ง มันคนละลิขสิทธิ์ มันคือ “One of the biggest regret of my life.” แต่ว่าตอนนู้นคือหลังชนกำแพงแบบผมไม่รู้ มองย้อนกลับไปบางทีผมยังไม่รู้เลยว่ารอดมาได้ยังไง แล้วการที่มีใครมาช่วยยก ไม่ต้องแบกก้อนหินแล้วว่ะ ตอนนั้น เราก็เชื่อว่าเราตัดสินใจถูกต้อง

The People: คุณต้องเลย์ออฟพนักงานในวันเกิดของตัวเองทั้งน้ำตา?

กมล: ผมไม่ค่อยไว้ใจพวกสายการเงิน ผมไม่ได้บอกว่าพวกเขาไม่ดีหมดทุกคน มีอยู่ช่วงหนึ่งที่ผมไปฟังพวกสายนั้นมากเกินไป จนไปถึงจุดหนึ่งที่...เฮ้ย เรามีพนักงาน 160 คน จนมันเริ่มไหลไปหมดแล้ว เลือดไหลไปหมด สุดท้ายเราต้องมาตัด แล้วตอนนั้นเราอยู่ที่สุขุมวิท ผมก็เลยโอเค เดี๋ยวผมจะเป็นคนตัดเอง ไม่อยากพูดคำว่าไล่ออกเลย แต่เดี๋ยวผมจะเป็นคนไปพูดกับพนักงานเองว่าขอโทษนะ ตอนนั้นมันต้องทำ แล้ว เมื่อเวลาผ่านไปแล้ว ผมรู้ว่าพนักงานทุกคนก็เข้าใจกันหมด แล้วอย่าลืมว่าเบเกอรี่เป็นบริษัทเด็ก พนักงานวัย 20 กันหมด มันไม่ตายหรอก (หัวเราะ) มันไม่ใช่ 40 กว่า มีลูก มีเมีย ไม่ใช่อย่างนั้น

ตอนนั้นไม่ได้รู้สึกเป็นครอบครัวแล้ว ครั้งหนึ่งผมแทบไม่รู้จักพนักงานครึ่งหนึ่ง สมัยก่อนผมรู้ว่าทุกคนเป็นใคร แต่ตอนนั้นผมไม่รู้ว่าใครเป็นใครแล้ว ผมว่าไม่ใช่เบเกอรี่แล้วว่ะ สิ่งที่ผมบอกเด็ก ตอนนี้ ตอนทุกคนจะเปิดบริษัทกันเอง ผมบอกเขา “Be careful of your overhead.” มันคือตัวฆ่าบริษัทเลย แล้วผมก็จะบอกทุกคนว่าผมรวยสุดตอนพนักงาน 38 คน ผมจนสุดตอนพนักงาน 160 คน (หัวเราะ) นั่นคือบทเรียนเลย

The People: เมื่อพูดถึงช่วงที่สองหลังจากวิกฤต ดูเหมือนเป็นการนับถอยหลังของเบเกอรี่อย่างแท้จริง

กมล: หลังจากวิกฤตแล้วกูไม่เอาแล้ว! (หัวเราะ) หลังจากนั้นเราทำงานกับ BMG ผมเรียนรู้จากพวกเขาเยอะ เราไม่ใช่ corporation เราไม่ใช่แกรมมี่ ยังไงก็ไม่ใช่เลือดเรา ถ้าเกิดเทียบกับค่ายฝรั่งเราเหมือน Virgin, Motown, Island Records ที่วันหนึ่งถูกค่ายใหญ่ซื้อไปเหมือนกัน ผมว่าเบเกอรี่เหมือน Motown ที่สุด เราเป็นคนดนตรีไม่ใช่นักการตลาด แล้วช่วง BMG ก็เป็นช่วงที่เบเกอรี่ไม่ได้อยู่ในแบบของเราแล้ว มันเหมือน “The good old days are gone.” ไอ้สมัยที่ขายกันล้านม้วนอะไรแบบนั้นไม่มีแล้ว วิกฤตมันเข้ามาเปลี่ยนทุกอย่างเลย จนวันหนึ่งผมนั่งดูลูกชายผมเล่นคอมพิวเตอร์แล้วผมก็ Oh shit! โอเค วงการเปลี่ยนไปหมดแล้ว ดูมันโหลดเพลงอะไรพวกนั้นน่ะ

สัมภาษณ์ สุกี้-กมล สุโกศล แคลปป์ จากสูงสุดคืนสู่สามัญ ย้อนความหลังในวันที่รุ่งและร่วงที่สุดของ เบเกอรี่ มิวสิค

The People: วิกฤตที่ผ่านมาของเบเกอรี่สอนอะไรคุณบ้าง

กมล: Oh God! ช่วงเบเกอรี่สอนเยอะมากเลย ตอบยาก วันหนึ่งคุณสามารถไปอยู่สูงสุดได้ สูงสุดเลย แล้ววันหนึ่งคุณก็สามารถคือภายในสองปีผมมีเงินเป็น 100 ล้านจนถึงเป็นหนี้สิน 80 ล้าน (หัวเราะ) “Anything can be taken away from me, anything.” แต่อย่างเดียวที่ยังอยู่สม่ำเสมอคือครอบครัว ตอนเด็ก ผมถูกเลี้ยงมาให้เข้าใจว่าโลกมันดำ ขาว ผิด ถูก ดี ไม่ดี สวย หล่อ น่าเกลียด แต่ทุกวันที่เราโตขึ้น พวกคุณก็ต้องเหมือนผมแหละ แม่งเทาว่ะ โลกนี้โคตรเทาเลย มันมีอะไรดำ ขาว บ้างในโลกนี้ ยิ่งยุคนี้นะ แม่งทุกอย่างเทาไปหมดเลย ผมเชื่ออย่างนั้นจริง แต่สำหรับผมสิ่งหนึ่งที่มันดำ ขาว คือครอบครัว

The People: สำหรับคุณ เบเกอรี่คือการทำงานเพื่อสร้างศิลปินอย่างนั้นไหม

กมล: สมัยนั้นวงการเพลงไทยเขาจะเอาศิลปินมาแล้วก็ยัด คนเข้าไปดูแล หมายความว่าคนนี้จะมาโปรดิวซ์ คนนี้จะมาเขียนเนื้อ คนนี้จะมาเป็นสไตลิสต์ ดูแลวิธีแต่งตัว คนนี้จะมาทำท่าเต้น ของเบเกอรี่มันตรงข้าม เราเอาศิลปินมาแล้วหน้าที่ของผมคือดึงมันออก แต่ต้องมีอะไรให้ดึงนะ ยกตัวอย่างโมเดิร์นด็อก ผมไม่ได้ทำอะไรให้เขาเลย เขาทำเองหมด ผมแค่เป็นคนตบ ให้เข้าที่มากกว่า โมเดิร์นด็อกชุดแรกไม่มีเพลงช้าเลย เช่นอย่างเพลงก่อนพราย ปฐมพร คือคนที่เขียนเพลงนี้ สมัยนั้นเขาชอบมาห้องอัด แล้ววันหนึ่งเขาก็มาสุ กูมีเพลงใหม่ผมก็...เพลงอะไรวะ พอผมฟังเพลงนี้ก็ชอบเลย แล้วผมก็ขอไปให้โมเดิร์นด็อกอย่างนั้นเลยเฮ้ย ป๊อด มีเพลงช้าว่ะนั่นคือหน้าที่ผม นั่นคือวิธีผม

อย่าง Flure ไม่มีนักร้อง ทำงานกันอยู่ 7-8 เดือนไม่มีนักร้อง พอไม่มีนักร้องก็ไปต่อไม่ได้ ทีนี้ไอ้เอิร์ธมือกลองก็มาบอกว่าเจอคนหนึ่งเล่นที่เอแบค แล้วก็พาผมไปดูไอ้คิว ไม่ถึงห้านาทีผมก็โอเค เอาคนนี้ ตอนนั้นพอผมดู ผมรู้ว่ามันมีอะไร เหมือนกับผมดูป๊อด

ตอนนั้น Silly Fools ชุดแรก มันคนละเรื่องเลยนะ เป็น Speed Metal บอยกับสมเกียรติเกลียดมาก แล้ววันหนึ่งมันก็มีเพลงรอยยิ้มออกมา แล้วเพลงนี้เป็นเพลงที่ผมแบบมันทำเพลงป๊อปเป็น (หัวเราะ) มันทำป๊อปเป็นว่ะ แต่ตอนนั้นบอยกับสมเกียรติไม่เอา พี่อัสนี โชติกุล โทรมาสุ ขอโทษนะ พี่เอา Silly Fools นะ” (หัวเราะ)

The People: ความหมายของเบเกอรี่ มิวสิค?

กมล: ถ้าคนถามว่าเบเกอรี่คืออะไร สำหรับผมมันเป็นช่วงเวลาที่ดวงดาวมาเจอกัน มันคือบังเอิญหมดเลย วันหนึ่งมันก็จะกระจายไป แต่วันนี้เมื่อไหร่ที่เราเรียกกลับก็มากัน ผมว่ามันเป็นเรื่องเวลากับเรื่องสารเคมี คนที่เหมือนกันจะดึงดูดกันเอง สมัยนั้นผมดูย้อนกลับไปแล้วเบเกอรี่ไม่มีศิลปินที่ทิ้งเราไปอยู่ค่ายอื่นเลย มีไอ้โจ้ (โจอี้ บอย) คนเดียว แต่ผมก็ยังรักมันอยู่นะ วันก่อนยังคุยกับมันอยู่เลย

ทุกคนอยู่ด้วยกันหมดเลย ผมจำได้ตอนนั้นเราจัด B-Day แล้วก็เอาศิลปินมาเรียงหมดเลย แล้วผมก็นั่งคุยกับบอย สมเกียรติ เฮ้ย เราเก่งว่ะ ศิลปินเราดังเกือบทุกคนเลย น้อยค่ายที่ทำอย่างนั้นได้ ศิลปินดังเกือบหมด ตอนนั้นเราเล่นกัน 73 เพลงแล้วผมก็ แม่งเพลงดังโคตรเยอะเลย คือตอนที่เราทำเราไม่รู้ตัวไง แต่ตอนที่ได้มีโอกาสนั่งแล้วดูย้อนมันน่าประทับใจ

สัมภาษณ์ สุกี้-กมล สุโกศล แคลปป์ จากสูงสุดคืนสู่สามัญ ย้อนความหลังในวันที่รุ่งและร่วงที่สุดของ เบเกอรี่ มิวสิค

The People: เบเกอรี่ คือค่ายที่สะท้อนให้เห็นถึงความกล้าที่จะทำเพลงที่หลากหลายอย่างนั้นหรือเปล่า

กมล: เราไม่ได้กล้า “We just did it.” สมัยนั้นผมเจอคำถามนั้นบ่อย เราไม่ได้คิดเป็นธุรกิจ เราคิดว่าถ้าอันนี้เราว่าดี คนอื่นก็คงคิดว่าดีด้วย เมื่อกี้ผมสัมภาษณ์แล้วเขาก็ถามผมคุณสุกี้มีอะไรแนะนำศิลปินไหมว่าจะสำเร็จ ในวงการตอนนี้จะต้องทำเพลงอย่างไรผมก็บอกเขา “I don’t know ผม 50 แล้ว มันไม่ใช่ยุคผมแล้ว คุณต้องไปถามเด็กตอนนู้นเราเป็นเด็ก เด็กต้องรู้ดีกว่าผู้ใหญ่อยู่แล้วว่าเด็กต้องการอะไร

สิ่งที่เราคิดว่าเบเกอรี่เก่ง คือเรารู้ว่าเทรนด์ไหนมา เราเก่งที่เรารู้ว่าต้องเอาแนวฝรั่งอันไหนใส่ให้เข้ากับบ้านเรา ผมว่าเราเก่งตรงนั้น มันเป็นสิ่งที่เราถนัด จนถึงวันนี้ เราไม่ได้เข้าข้างกันเองเลยนะ ผมว่าบ้านเรา บอยเก่งสุด ไม่มีใครเอาทำนองฝรั่งมาแล้วใส่เนื้อไทยเข้าไป แล้วไปด้วยกันได้ไม่ขรุขระ ผมว่าเบเกอรี่เก่งตรงนั้น แล้วเรามาในจังหวะที่ใช่พอดี

The People: คุณตัดสินใจหันหลังให้กับวงการดนตรีถาวร?

กมล: สำหรับผมมันก็เป็น bitter sweet  ทั้งหวาน ทั้งขม มีหลายอย่าง คือเมื่อไหร่ที่คุณเป็นทั้งศิลปิน เป็นทั้งนักธุรกิจ มันกลายเป็นเราชกตัวเราเอง ชกตัวเองตลอดเวลาเลย คุณเป็นผู้บริหารแต่คุณเป็นศิลปิน มันไม่สามารถชกเต็มที่ได้ เพราะใส่สองหมวกอยู่ จะชกแรง แม่งเดี๋ยวศิลปินคนอื่นก็ว่ากูอีก มีแต่แพ้กับแพ้

มีหลายอย่างที่ผมไม่อยากไปเป็นอย่างนั้นอีก ตอนนั้นผมไปทำ LOVEiS กับบอย ไม่ถึงปีแล้วผมก็มันเหมือนเดิมหมดเลยว่ะ กลับไปเป็นหลายอย่างเหมือนที่เคยเป็นกับเบเกอรี่ แต่วันนั้นผมไม่ได้อายุ 23 ผม 35 แล้ว ชีวิตผมเปลี่ยน มุมมองผมเปลี่ยน มันทำตรงนั้นมาแล้ว ภาษาฝรั่งเขาเรียกว่า burned out เราอยู่กับมันมานานแล้ว ถึงเวลาต้องพัก หมดไฟด้วย หลังจากคอนเสิร์ต B-Day ผมก็ไม่รู้ว่าเราจะไปไหนต่อ ทุกอย่างมันสวยไปหมดแล้ว ผมก็เลยรู้สึกว่าถึงเวลาที่เราจะไปทำอะไรใหม่ แต่ผมไม่รู้จะทำอะไรนะ งงแดกเลยนะ ป่วยเลยตอนนั้น (หัวเราะ)

ตอนนั้นปี 2005 ผมออกจากวงการเพลง ผมเคยมีกีตาร์อยู่ 50 กว่าตัว แล้วขายไป 47 ตัว ขายเบเกอรี่ ปิดห้องเลย ผมมีรักใหม่ ได้พบกับมอเตอร์ไซค์ ก็เลยมีที่ลง แล้วช่วงนั้นครอบครัวผมก็ไปสร้างโรงแรมใหม่ สร้าง The Siam ผมก็เริ่มไปคลุกคลีกับวงการโรงแรมมากขึ้น สิ่งหนึ่งที่ผมคุยกับน้องชาย (กฤษดา สุโกศล แคลปป์) ตลอดเวลาคือน้อย เราโชคดีนะ เราโคตรโชคดีเลย เพราะว่าเราทิ้งเพลงเรามีอย่างอื่นอีกเยอะ หลายคนเขาทิ้งเพลงไม่ได้นะ เขาทิ้งเพลงแล้วเขาจะไปไหนล่ะ

มาถึงวันนี้ให้ผมกลับไปทำดนตรีอย่างเดียว 24 ชั่วโมง ผมไม่เอา ผมไม่ค่อยอยากแล้ว ผมมีความสนใจอย่างอื่น แต่ผมก็ยังอยากจะมีสองนิ้วในวงการเพลง เหตุผลหนึ่งที่ผมทำ Gypsy Carnival ขึ้นมานี่มันมีปีละครั้ง ผมมีเวลาที่จะทำอย่างอื่นได้อยู่

The People: ตอนนี้ยังคงคิดถึงเบเกอรี่อยู่ไหม

กมล: ยังคิดถึงอยู่บ้าง แต่ผมมีความรู้สึกว่าตอนนี้ในวงการมันหายไปเยอะแล้ว ผมจำได้ว่าตอนที่ออกมาจากเบเกอรี่ปี 2005 ประมาณ 8 ปีหลังจากนั้นไปไหนก็ได้ยินแต่เพลงเบเกอรี่ เราว่าไอ้พวกวงใหม่ ที่ออกมาก็คือกลิ่นของเรานั่นแหละ 8 ปีนะ แต่ผมมีความรู้สึกว่า 5 ปีหลังมานี้มันไม่ใช่แล้ว ห่างมากแล้ว ความรู้สึกผมเดี๋ยวนี้ผมไม่ค่อยได้ยินเพลงเบเกอรี่แล้วตอนไปข้างนอก ผมคิดว่าเด็กรุ่นใหม่นี่ไม่รู้จักเราหรอก คือวันก่อนผมไปประชุมกับบอย แล้วมีเด็กนักเรียน ผมก็บอย   ให้น้อง ถ่ายภาพให้หน่อยเขาไม่รู้เลย เขาไม่รู้ว่าเราเป็นใคร มันคิดถึงแว้บ แต่ไม่คิดถึงว่าอยากกลับไปอยู่ตรงนั้น ถ้าเกิดผมดูสิ่งที่ผมทำมาทั้งหมด ผมก็ต้องยอมรับว่าเบเกอรี่ก็สูงสุดที่เราเคยทำมา ก็ต้องยอมรับใช่ไหม วันหนึ่งเราตายไป สิ่งที่เราทำมาทำหมดที่สูงสุดก็ต้องเบเกอรี่แหละ ทิ้งมันไม่พ้น

สัมภาษณ์ สุกี้-กมล สุโกศล แคลปป์ จากสูงสุดคืนสู่สามัญ ย้อนความหลังในวันที่รุ่งและร่วงที่สุดของ เบเกอรี่ มิวสิค

The People: Gypsy Carnival ความสุขของสุกี้ในวันนี้

กมล: Gypsy Carnival ผมทำมาแล้วกำลังจะเข้าปีที่ 5 คือปี 2020 ที่มาของงานนี้คือผมชอบขี่มอเตอร์ไซค์หาสถานที่สวยตั้งแคมป์ เปิดเพลงฟัง แล้วก็ Gypsy Carnival ผมแค่เอาไอเดียนี้ไปกระจายให้ใหญ่ขึ้น ที่มาก็แค่นี้เอง ผมชอบดนตรี ผมชอบมอเตอร์ไซค์แล้วก็เอามารวมกัน

Gypsy คือไลฟ์สไตล์ แล้วที่ผมพูดไปทั้งหมดนี้ถ้าเกิดคุณอยากจะมาสัมผัสกับไลฟ์สไตล์แบบชิลกันแบบเสรี กับดนตรีดี อากาศดี อาหารเรามีทั้งหมด 50 บูธ เยอะมาก ผมก็อยากจะชวนทุกคนมา วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ปี 2020 มาฉลองครบรอบ 5 ปีกัน