“เราคนเดียวเปลี่ยนโลกไม่ได้” สัมภาษณ์ นรีกุล ธูปพุทธา ศิลปะ ธรรมชาติ และการดำรงอยู่

“เราคนเดียวเปลี่ยนโลกไม่ได้” สัมภาษณ์ นรีกุล ธูปพุทธา ศิลปะ ธรรมชาติ และการดำรงอยู่
ทุกวันนี้ข่าวการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ (climate change) กลายเป็นปัญหาใหญ่ระดับโลกที่ทุกคนให้ความสนใจ แถมปัจจุบันปัญหาดังกล่าวขยับขยายกลายเป็นปัญหาระดับวิกฤต (climate crisis) เป็นที่เรียบร้อย ซึ่งว่ากันตามตรง ปัจจัยหลักก็คือ “มนุษย์” ที่เป็นตัวเร่งให้ปัญหาสิ่งแวดล้อมทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ และเช่นเดียวกัน “มนุษย์” เองนั่นแหละ ที่จะเป็นผู้ช่วยชะลอ บรรเทา แก้ไข หรือสร้างความตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวได้ นรีกุล ธูปพุทธา หรือที่เพื่อน ๆ เรียกเธอว่า “แม่เอิบ” เป็นมนุษย์คนหนึ่งที่สนใจประเด็นสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่เด็ก ความที่เธอเติบโตในตำบลบางกะเจ้า จังหวัดสมุทรปราการ พื้นที่สีเขียวแหล่งสำคัญใกล้กรุงเทพฯ ที่ได้รับชื่อเล่น “ปอดกลางเมือง” ทำให้เธอใกล้ชิดและผูกพันกับธรรมชาติมากกว่าคนอื่น ครั้นเติบโตขึ้นมา เธอเลือกเดินทางศิลปะ ทำงาน painting แนวธรรมชาติ โดดเด่นด้วยภาพทิวทัศน์ ต้นไม้ ป่า เขา สรรพสัตว์ มนุษย์ ฯลฯ พร้อมข้อความชวนคิดเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม “โลกแตกน่าจะมีอยู่จริง ถ้าการเปลี่ยนยุคจากไดโนเสาร์มาเป็นยุคของคนมีจริง มันก็น่าจะมีการเปลี่ยนยุคจากคนไปเป็นอะไรสักอย่าง นั่นเป็นเรื่องสัจธรรม” นี่คือส่วนหนึ่งของบทสัมภาษณ์ที่ The People ชวนเธอมาคุยเรื่องธรรมชาติ ศิลปะ และการดำรงอยู่ของมนุษย์ ว่าทำไมเรายังทำลายลมหายใจของตนเองเสมอ [caption id="attachment_10104" align="alignnone" width="1200"] “เราคนเดียวเปลี่ยนโลกไม่ได้” สัมภาษณ์ นรีกุล ธูปพุทธา ศิลปะ ธรรมชาติ และการดำรงอยู่ นรีกุล ธูปพุทธา[/caption]   The People: คุณเริ่มสนใจธรรมชาติตั้งแต่ตอนไหน นรีกุล: รู้ตัวจริง ๆ ก็ตอนมหาวิทยาลัย ก่อนหน้านี้เราไม่ได้รู้ว่าชอบอะไรหรือไม่ชอบอะไร อาจเป็นเพราะบ้านเราอยู่กับต้นไม้ อยู่บางกะเจ้า สมุทรปราการ ตอนเด็ก ๆ จึงเติบโตมากับต้นไม้ ธรรมชาติ แต่หลัง ๆ มาบางกะเจ้าก็เริ่มเปลี่ยนไป มีนายทุนเข้ามาซื้อพื้นที่ เราก็แบบ... แม่งเกิดอะไรขึ้นวะ รู้สึกไม่ชอบนะ แต่มันก็สิทธิ์ของเขาที่จะซื้อ-ขายที่ของตัวเอง   The People: อะไรที่จุดประกายให้คุณสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อม นรีกุล: ตอนไปเที่ยวแล้วเห็นขยะในป่า ตอนนั้นเราไปเที่ยวอุทยานแห่งชาติเขานัน จังหวัดนครศรีธรรมราช ไปเดินป่าครั้งแรกก็เห็นพวกก้นบุหรี่ เปลือกลูกอม มันไม่ควรไปอยู่บนพื้นตรงนั้น ตอนเห็นขยะเราก็ด่าในใจ “ทำไมไม่ทิ้งดี ๆ วะ ทำไมไม่เก็บ” มันเป็นเรื่องของจิตสำนึก คุณสูบบุหรี่อยู่กับปากตัวเองแต่ทำไมไม่ยอมเอาก้นบุหรี่ไปทิ้ง เวลาเห็นอะไรแบบนี้จะรู้สึกหงุดหงิด เราอยากช่วยเก็บนะ แต่ทำไมต้องเก็บแทนให้ละ คนทิ้งควรจะเป็นคนเก็บเองหรือเปล่า ควรจะมีจิตสำนึกหรือเปล่า ถ้าทุกคนทำหน้าที่ของตัวเองมันก็จบแล้ว จะได้ไม่เป็นภาระของคนอื่น เราคนเดียวเปลี่ยนโลกไม่ได้หรอก ต้องค่อย ๆ บอกคนอื่นด้วย แต่มันก็ยากนะ เหมือนเราไปสอน ไปบังคับเขา   The People: การรักษ์โลกต้องเป็นสิ่งที่คนทั่วไปตระหนักรู้ด้วยตัวเอง? นรีกุล: ใช่ ถ้ายังเป็นเด็กก็คงยังสอนได้ เคยนั่งรถเมล์ริมหน้าต่างแล้วเห็นเด็กทิ้งขยะลงบนถนน เราก็สะกิดถามว่าน้อง “ทำไมทำแบบนี้” เขาก็มองหน้าเหวอ ๆ เราก็บอกไปว่า “ทีหลังอย่าทิ้งนะ” ครั้งนั้นเป็นครั้งที่เราจำแม่นมาก ก็ไม่รู้ว่าเด็กคนนั้นตอนนี้จะเป็นยังไงบ้าง ต่อไปจะไม่ทิ้งแล้ว หรือยังทิ้งอยู่   The People: มีพฤติกรรมเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง หลังจากเริ่มสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อม นรีกุล: แค่พยายามไม่ใช้ถุงพลาสติกตอนไป 7-11 เริ่มจากอะไรง่าย ๆ ใกล้ตัว เวลาไปซื้อของก็จะบอกว่า “ไม่รับถุง” เราทำก่อนที่เกิดกิจกรรมลดการใช้ถุงพลาสติกอีก เพราะตอนนั้นกระแสรักษ์โลกยังไม่บูมขนาดนี้ ถ้าซื้อของไม่กี่อย่าง เราไม่ใช้ถุงก็ได้ มันเป็นความคิดส่วนตัว แล้วเราก็บอกให้คนใกล้ตัวให้ทำด้วย เริ่มไม่ใช้หลอดพลาสติก ถ้าปฏิเสธได้ก็จะปฏิเสธ ไปร้านก๋วยเตี๋ยวก็พกตะเกียบไปเอง สรุปคือลืมตะเกียบไว้ที่ร้านเพราะยังไม่ชิน (หัวเราะ) มันต้องทำจนกว่าจะชิน ทำให้เป็นนิสัย เป็นสันดาน ซึ่งมันยากนะ หรือบางครั้งเราก็พกแก้วส่วนตัวไปร้านกาแฟ แต่ก็ทำไม่ได้ทุกครั้ง เรายังต้องใช้แก้วพลาสติกอยู่ ก็จะเซ็งทุกครั้งที่ลืม   The People: การลดใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติก มันช่วยการอนุรักษ์ธรรมชาติจริงหรือ นรีกุล: คิดว่าช่วยนะ อาจไม่มาก แต่ถ้าไม่ใช้พลาสติกมันก็ดีไง ขยะลดน้อยลง ไม่ต้องมีพื้นที่สำหรับจัดเก็บขยะมากมาย เราเคยเห็นตามกองขยะเยอะ ๆ จะมีพวกสารเคมีปะปนอยู่ แถมระบบจัดการขยะของประเทศไทยก็ไม่ได้ดีขนาดนั้น   The People: ทำไมพลาสติกถึงกลายเป็นศัตรูตัวร้ายของนักอนุรักษ์ นรีกุล: มันแค่อยู่ผิดที่ผิดทาง สมมติพลาสติกไปอยู่ในแม่น้ำก็ผิดที่แล้ว แต่ถ้ามันอยู่ในโรงงาน พลาสติกสามารถนำไปรีไซเคิลได้   [caption id="attachment_10105" align="alignnone" width="1200"] “เราคนเดียวเปลี่ยนโลกไม่ได้” สัมภาษณ์ นรีกุล ธูปพุทธา ศิลปะ ธรรมชาติ และการดำรงอยู่ นรีกุล ธูปพุทธา[/caption]   The People: ทราบมาว่าคุณเคยใช้จักรยานในกรุงเทพฯ ด้วย? นรีกุล: ใช่ ใช้ปั่นไปทำงาน แต่แม่งเหนื่อย แล้วไปไม่ทันด้วย (หัวเราะ) ด้วยพื้นถนนกรุงเทพฯ ที่โคตรแย่ เราก็กลัวตาย ระบบการขนส่งบ้านเรายังไม่ค่อยเอื้ออำนวยให้คนขี่จักรยานเท่าไหร่ ถ้าจะปั่นทุกวันมันก็ทำได้แหละ แต่ตอนนี้ไม่ได้ทำแล้ว เพราะเหนื่อยจริง ๆ   The People: วิถีชีวิตแบบไหนที่คนทั่วไปสามารถช่วยโลกของเราได้บ้าง นรีกุล: ปลูกต้นไม้ แต่เรื่องนี้เป็นความชอบส่วนตัวของเรา เพราะถ้ามีเวลา เราก็อยากปลูกต้นไม้แบบจริงจัง แต่ด้วยปัจจัยเรื่องเงิน เราก็ยังไม่ค่อยอำนวยเท่าไหร่ ปัจจุบันเราทำงานเป็นกราฟิกที่ช่างชุ่ย ต้นไม้เล็ก ๆ ที่นั่นเราก็เป็นคนนั่งลงปลูกทีละต้นเลย เราอยากเปิดร้านขายต้นไม้ เป็นต้นไม้ที่ปลูกในบ้านได้ เพราะต้นไม้สามารถดูดซับสารพิษ   The People: เคยเจอเหตุการณ์กระทบจิตใจเกี่ยวกับเรื่องธรรมชาติไหม นรีกุล: เอาจริง ๆ ข่าวที่เราเสพก็กระทบจิตใจเรื่อย ๆ จนเราชินแล้ว   The People: ทำไมถึงชิน ทำไมไม่โกรธ นรีกุล: เราเคยโกรธจนเลยจุดนั้นไปแล้ว แต่สุดท้ายเราก็ทำอะไรไม่ได้ นอกจากเริ่มทำสิ่งเล็ก ๆ ด้วยตัวเอง เราเคยเห็นข่าวตอม่อต่างประเทศที่มีต้นไม้ขึ้นแล้วคิดว่า เออ ทำไมประเทศไทยทำไม่ได้วะ แต่ถ้าเป็นเรื่องความประทับใจคือ อยากให้คุณลองไปเดินป่าสักครั้งหนึ่ง ถ้าขึ้นไปเห็นข้างบนแล้วเราจะรู้สึกว่า ธรรมชาติควรอนุรักษ์ไว้   The People: ปกติคุณเดินป่าบ่อยไหม นรีกุล: เราถือว่าไม่บ่อยนะ ที่ผ่านมาแค่ 5-6 ครั้งเอง   The People: การเดินป่าให้อะไรกับคุณบ้าง นรีกุล: เหมือนเป็นรางวัลมากกว่า เหนื่อยก็เหนื่อยนะ แต่ข้างบนแม่งคือรางวัล ระหว่างเดินมันก็คือเหมือนเราได้คุยกับตัวเอง ได้ทบทวน บางทีอาจจะมีคิดแบบ เมื่อไหร่จะถึงวะ แต่วิวข้างบนนั้นมันคือขั้นสุด   The People: คิดว่า “ธรรมชาติ” กับ “ศิลปะ” เกี่ยวข้องกันอย่างไร นรีกุล: ธรรมชาติเกิดมาก่อน แต่ศิลปะเป็นคำที่มนุษย์นิยามขึ้นมามากกว่า   The People: คุณให้คำจำกัดความให้งานศิลปะของตัวเองอย่างไร นรีกุล: ผสม ๆ ระหว่าง impressionism, expressionism แล้วก็ pop มันเริ่มจาก impress ก่อน แล้วค่อย express ลงไป ส่วน pop คือรสนิยมของเรา   “เราคนเดียวเปลี่ยนโลกไม่ได้” สัมภาษณ์ นรีกุล ธูปพุทธา ศิลปะ ธรรมชาติ และการดำรงอยู่ “เราคนเดียวเปลี่ยนโลกไม่ได้” สัมภาษณ์ นรีกุล ธูปพุทธา ศิลปะ ธรรมชาติ และการดำรงอยู่ “เราคนเดียวเปลี่ยนโลกไม่ได้” สัมภาษณ์ นรีกุล ธูปพุทธา ศิลปะ ธรรมชาติ และการดำรงอยู่   The People: ในฐานะศิลปิน คุณคิดว่าศิลปะสามารถเป็นสื่อกลางให้คนรักธรรมชาติได้ไหม นรีกุล: งานศิลปะที่เราทำคือความรู้สึกของเราที่มีต่อสิ่งต่าง ๆ แล้วงานส่วนมากจะเป็นภาพที่เล่าความรู้สึกเกี่ยวกับต้นไม้ ถ้าถามว่าเราอยากบอกอะไร มันคำทั่วไปว่าคนเราคือธรรมชาติ เราต้องรู้จักต้นกำเนิดของตัวเองว่ามาจากไหน ซึ่งคำตอบก็คือ เรามาจากธรรมชาติ เราคือธรรมชาติ ส่วนเรื่องจะทำให้คนรักธรรมชาติได้ไหม เราว่างานศิลปะก็อาจจะสื่อสารกับคนบางกลุ่ม คนที่เข้าใจก็จะเข้าใจมากขึ้น ส่วนคนที่ไม่เข้าใจก็หวังว่าเขาจะเข้าใจ ถ้าไม่เข้าใจก็ไม่เป็นไรนะ เราไปยัดเยียดเขาไม่ได้ ยกตัวอย่างรูปหนึ่งที่เป็นรูปต้นมะพร้าวที่มีชีวิตกับต้นที่ตายแล้ว เราก็พูดถึงธรรมชาตินั่นแหละ มันมีการเกิดและตายไป ซึ่งต้นมะพร้าวกว่าจะสูงได้ขนาดนี้มันต้องใช้เวลา กว่ามันจะโตมาได้ สุดท้ายก็แค่ตายไป   The People: แปลว่างานของคุณไม่ได้นำเสนอแค่เรื่องธรรมชาติ ในความหมายต้นไม้ ป่าไม้ ภูเขา แต่หมายถึงธรรมชาติของโลก นั่นคือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วย? นรีกุล: ใช่   [caption id="attachment_10106" align="alignnone" width="1200"] “เราคนเดียวเปลี่ยนโลกไม่ได้” สัมภาษณ์ นรีกุล ธูปพุทธา ศิลปะ ธรรมชาติ และการดำรงอยู่ นรีกุล ธูปพุทธา[/caption]   The People: ทำไมถึงสักรูปใบเฟิร์น นรีกุล: มันเกิดจากเราอยากจะสักรูปอะไรสักอย่าง แล้วราก็ชอบใบเฟิร์นอยู่แล้ว เวลาไปเดินป่าหรืออยู่บ้านก็จะเจอใบเฟิร์นตลอด ก็เลยคิดว่าสักรูปใบเฟิร์นนี่แหละ อีกอย่างที่สักก็เพราะคิดถึงบ้าน เวลามองใบเฟิร์นแล้วรู้สึกคิดถึงบ้านและคนที่บ้าน   The People: หลาย ๆ คนที่เป็นสายอนุรักษ์มักจะมองว่ามนุษย์เป็นเหมือนเชื้อโรคชนิดหนึ่งบนโลกใบนี้ เราเห็นด้วยไหม หรือคิดว่ามันสุดโต่งเกินไป นรีกุล: ไม่นะ มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีทั้งคนดีและคนไม่ดี แต่มันเจ๋งตรงที่มนุษย์แม่งครองโลกว่ะ มีมนุษย์อยู่ทั่วทุกอณูบนโลก ยกเว้นในมหาสมุทรนะ บนพื้นผิวดินเนี่ย มนุษย์ครองอยู่   The People: ปัจจุบันคุณมองโลกเป็นอย่างไร นรีกุล: โลกกำลังจะแย่ขึ้นนะ มันร้อนกว่าเดิม เพราะไม่มีเกราะที่จะป้องกันแสงอาทิตย์บนชั้นบรรยากาศ วันข้างหน้าโลกจะร้อนมากกว่านี้อีก สัก 100 ปีมนุษย์เราคงจะแย่เพราะตอนนี้มันก็เดินทางมาจนจะถึงจุดที่กู่ไม่กลับแล้ว เราว่าโลกแตกน่าจะมีอยู่จริง ถ้าการเปลี่ยนยุคจากไดโนเสาร์มาเป็นยุคของคนมีจริง มันก็น่าจะมีการเปลี่ยนยุคจากคนไปเป็นอะไรสักอย่าง นั่นเป็นเรื่องสัจธรรม   The People: คาดหวังอยากเห็นโลกในอนาคตเป็นยังไง นรีกุล: เอาแค่ประเทศไทยก่อนแล้วกัน เพราะแต่ละประเทศในโลกมันต่างกัน อย่างแรกคือระบบสาธารณะก่อนเลย ถ้าระบบสาธารณะเราดี มันก็ง่ายขึ้นนะที่จะปลูกต้นไม้ อย่างบ้านเราคือสายไฟอยู่บน ต้นไม้อยู่ล่าง เวลาต้นไม้มันโตขึ้น สูงขึ้นไป มันก็ต้องโดนตัดอยู่ดี ถ้ามันมีการจัดการที่ดี ธรรมชาติมันก็อยู่ของมันได้ ธรรมชาติกับการเจริญเติบโตของเมืองมันเดินไปพร้อมกันได้ ส่วนถ้าพูดถึงทั้งโลก เราก็อยากให้คนมีอายุอยู่ได้ประมาณ 150 ปี แบบไม่ตายอะ แต่เอาจริง ๆ แล้วเราก็ไม่ได้คาดหวังอะไรกับมันหรอก ปล่อยให้มันเป็นไปดีกว่า   The People: การอนุรักษ์ที่ดีเริ่มต้นจากอะไร นรีกุล: เริ่มต้นจากตัวเอง บางทีไปพูดเยอะ ๆ ถ้าเรายังทำไม่ได้ เราก็ไม่อยากพูดแล้ว   [caption id="attachment_10100" align="alignnone" width="1200"] “เราคนเดียวเปลี่ยนโลกไม่ได้” สัมภาษณ์ นรีกุล ธูปพุทธา ศิลปะ ธรรมชาติ และการดำรงอยู่ นรีกุล ธูปพุทธา[/caption]