สัมภาษณ์ ภูมิ วิภูริศ กับกีตาร์ตัวแรกที่เปลี่ยนชีวิต และชีวิตใหม่จากดนตรี

สัมภาษณ์ ภูมิ วิภูริศ กับกีตาร์ตัวแรกที่เปลี่ยนชีวิต และชีวิตใหม่จากดนตรี

       ภูมิ-วิภูริศ ศิริทิพย์ คือศิลปินหนุ่มอินดี้ สัญชาติไทย ที่ดังไกลถึงต่างประเทศจากผลงานเพลงฮิตของเขาอย่าง ‘Lover Boy’ หรือLong Gone’ ภูมิถูกพูดถึงอย่างมากในฐานะศิลปินไทยรุ่นใหม่ที่สามารถทำลายกำแพงการเข้าถึงของคนต่างชาติได้ด้วยเสียงร้องแหบเสน่ห์บวกกับดนตรีโซลที่หลากหลาย และนำเสนอในมิติแบบป๊อป ทำให้ผลงานของเขากระจายสู่คนทั่วโลกราวกับสายน้ำที่ไหลไปทั่วทุกมุม

ภูมิมาพร้อมกับใบหน้าที่ยิ้มแย้ม ต้อนรับ The People ด้วยความสดใสตามสไตล์ของเขา ก่อนนั่งคุยกับเราหลากหลายประเด็นคำถาม เช่น แรงบันดาลใจจาก เจสัน มราซ หรือ มาร์ค เดอมาร์โก สู่สุ้มเสียงในแบบฉบับของตัวเอง รวมถึงความเห็นของเขาเกี่ยวกับวัฒนธรรมการชมคอนเสิร์ตของคนไทยในปัจจุบัน

The people: ชีวิตวัยเด็กกับการเข้ามาเจอดนตรีในช่วงแรก?

วิภูริศ: จริง ตั้งแต่เด็กภูมิไม่ได้อินอะไรกับดนตรี แต่โชคดีที่ที่บ้านมีดนตรีอยู่รอบ ตลอดเวลาเลย คือพี่ชายเป็นนักร้อง ประกวดร้องเพลงบ้าง เลยรู้สึกว่าโตมากับเสียงดนตรี แต่ตอนนั้นภูมิไม่ได้อินขนาดนั้น ภูมิชอบเล่นกีฬา ชอบเล่นเกม มากกว่า พออายุ 9 ขวบก็ย้ายไปอยู่นิวซีแลนด์ อยู่ที่นั่นประมาณ 9 ปี ก่อนที่จะกลับมาไทย

จริง ภูมิว่าดนตรีเป็นอะไรที่ subconscious ภูมิเองอาจจะไม่รู้ตัวว่าชอบ แต่เราได้สัมผัสจริง ครั้งแรกคืออายุประมาณ 14 ตอน .ต้น โรงเรียนที่นิวซีแลนด์มีคลาสดนตรีให้เรียน ภูมิเลยเลือกกลองชุด เพราะตอนเด็ก เรารู้สึกตัวว่าเป็นคนที่ค่อนข้างไฮเปอร์ ไม่ชอบอยู่นิ่ง เลยอยากลองเล่นกลองดู แล้วก็ชอบ กลายเป็นเครื่องดนตรีที่ทุกวันนี้ก็ยังชอบเล่นมากที่สุด

มีปีหนึ่งภูมิกลับมาไทยช่วงธันวาคม แล้วไปเจอเทปคอนเสิร์ตสดของ เจสัน มราซ เขาเล่นกับกีตาร์โปร่ง เป็นแบบ Classic Electric guitar แล้วเราหลงในการที่ผู้ชายคนหนึ่งกับกีตาร์ตัวหนึ่งมันสร้างพลังงานอะไรบางอย่าง ทั้งที่ตอนนั้นเราเด็กมาก แต่ภูมิไม่เข้าใจว่าทำไมเรายืนดูได้ครึ่งชั่วโมงเลย ไม่เบื่อ หลังจากนั้นก็เลยขอแม่ซื้อกีตาร์คลาสสิก เป็นไนลอนสตริง แล้วก็ลอง cover เพลงที่ตัวเองชอบฟัง cover มาเรื่อย ก็เริ่มคิดว่า เฮ้ย อยากแชร์ผลงานนี้ เลยสร้าง YouTube Channel ของตัวเอง พอทำได้สักปีหนึ่งก็เริ่มคิดว่าเราเอาเพลงพวกนี้มาเปลี่ยนคีย์หมดเลย เอามาเปลี่ยน arrangement เพราะเสียงภูมิ range จะแปลกมาก จะต่ำ ต่อมาก็คิดว่า เฮ้ย ทำไมเราไม่ลองแต่งเพลงดู หลังจากนั้นก็เลยลองแต่งเพลงมาเรื่อย

ภูมิว่าภูมิเป็นเด็กที่ค่อนข้าง introvert ตั้งแต่เด็ก คือชอบเล่นกีฬา ชอบไปสังสรรค์ แต่ว่าเราไม่ค่อยได้พูดถึงสิ่งที่เราคิดจริง ข้างใน แต่พอเราเจอดนตรีปุ๊บ ก็เป็นสิ่งที่ทำให้รู้สึกว่าเราเป็นได้มากกว่าตัวเองเวลาได้เล่นดนตรี

สัมภาษณ์ ภูมิ วิภูริศ กับกีตาร์ตัวแรกที่เปลี่ยนชีวิต และชีวิตใหม่จากดนตรี

The People: แสดงว่าก่อนหน้านี้ไม่เคยคิดเลยว่าจะเป็นนักดนตรี

วิภูริศ: เอาจริง ไม่เคย ทุกวันนี้ก็ยังงง อยู่ว่าทุกอย่างมาอย่างนี้ได้ยังไง ภูมิไม่เคยคิดว่าอยากเป็นนักดนตรี รู้ว่าชอบ รู้ว่าตอนเข้ามาแล้วเราอยากสร้างวงกับเพื่อนเพื่อหาอะไรระบายความเครียด แต่ไม่นึกว่าวันนี้จะกลายเป็นอาชีพที่พาภูมิไปเจอคนหลาย คน

The People: หากมองย้อนกลับไป คิดว่าจุดเปลี่ยนคืออะไร

วิภูริศ: จุดเปลี่ยนของชีวิตภูมิในการเป็นนักดนตรี มันมีเพลงเพลงหนึ่งภูมิปล่อยจากอัลบั้มชุดที่แล้ว ชื่อว่า ‘Long Gone’ ตอนนั้นภูมิแต่งเสร็จแล้วรู้สึกดีใจมาก ว่าเป็นเพลงที่ตรงกับ taste ภูมิในตอนที่ภูมิอายุ 21 มาก ภูมิมั่นใจมากว่า นี่แหละใช่แล้ว คือเพลงที่จะทำให้คนรู้จักชื่อเรา แต่ปล่อยไปในไทยคือเงียบมาก ไม่ได้ติดชาร์ตที่ไหนเลย แต่ว่าโชคดีภูมิรอไปประมาณ 3-4 เดือน ก็มีเพื่อนจากนิวซีแลนด์ทักมาว่า เฮ้ย ! ได้ฟังเพลงใหม่ของยูด้วยนะ ภูมิก็ถามว่าฟังจากที่ไหน เขาก็บอกว่าไปเจอเพลงภูมิในบล็อกชื่อ Reddit มันเหมือนพันทิปของฝรั่ง แต่ว่าจะค่อนข้าง unfilter มาก แล้วก็ไปอยู่ใน indie music blog เราก็ดีใจที่มีคนพูดถึงเยอะ หลังจากนั้นมันก็ไหลไปเรื่อย ทำให้คนนอกประเทศเข้ามาฟัง discography ของภูมิอันเก่า แล้วก็ทำให้ภูมิได้ไปเล่นโชว์นอกประเทศเป็นครั้งแรกในชีวิต ก่อน ‘Lover Boy’ จะออก ซึ่งสำหรับภูมิ  ‘Lover Boy’ เป็นตัวที่มาแบบงง ครับ ตอนแต่งไปไม่ได้คิดอะไรเลย คิดว่าอยากลองทำเพลงแนว Motown ‘70s vibes อย่างที่แม่ชอบฟัง พอปล่อยไปปุ๊บ ทุกอย่างเกิดขึ้นเร็วมาก ภูมิก็อธิบายไม่ถูกเหมือนกันว่าทำไมเป็นเพลงที่คนชอบ

The People: คิดว่าเพลงไทยสามารถ release ในระดับโลกได้ไหม

วิภูริศ: ภูมิว่าจริง ภาษาไม่ได้เกี่ยวอะไร การที่เราใช้ภาษาอังกฤษ เพราะเป็นภาษาที่สากลมากกว่า คนอาจจะเข้าใจในคอนเซปต์ที่เรากำลังจะพูดถึงมากกว่า แต่จริง แล้วถ้าดนตรีมาจากข้างในของศิลปินนั้นคนเดียว แล้วเราได้โชว์ความเป็นตัวเอง หรือว่าความเป็นวงนี้ในผลงานของเรา ภูมิว่าถ้าคนเข้าใจก็จะเข้าใจเอง อย่างล่าสุดพี่ The Paradise Bangkok Molam International Band เขาได้ไปเล่นที่เทศกาลดนตรี Fuji Rock คือเพลงเขาไม่ได้มีเนื้อร้องอะไรเลย แล้วมีวงอเมริกาวงหนึ่งชื่อว่า เครื่องบิน เขาเล่นดนตรีคล้าย psychedelic rock มันจะ influence มาจาก serenity หมอลำ คือจะเป็นสเกลทางคอร์ดหมอลำมาก ล่าสุดเขาก็เพิ่งไปเล่นที่ Coachella มา ดนตรีก็แทบจะไม่ร้องอะไรเลยด้วยซ้ำไป คือภูมิไม่เชื่อว่าภาษาจะเป็นตัวตัดสินว่า นี่แหละ ถ้ายูทำเพลงภาษาอังกฤษ คนเมืองนอกจะเข้าใจ เรื่องนี้อธิบายไม่ได้ครับว่าทำไมศิลปินคนหนึ่งมี audience มากกว่าคนอื่น ทำไมศิลปินคนหนึ่งมี influence มากกว่าคนอื่น มันต้อง connect กับเขาให้ได้ด้วยอะไรบางอย่างที่อธิบายไม่ได้จริง

สัมภาษณ์ ภูมิ วิภูริศ กับกีตาร์ตัวแรกที่เปลี่ยนชีวิต และชีวิตใหม่จากดนตรี

The People: คิดยังไงกับคำว่า โกอินเตอร์

วิภูริศ: จริง ภูมิไม่ค่อยชอบคำศัพท์ว่าโกอินเตอร์เท่าไหร่ครับ ภูมิมองว่าการได้ไปเล่นนอกประเทศก็อาจจะเรียกว่าโกอินเตอร์ได้สำหรับหลาย คน แต่สำหรับภูมิมองว่ามันคือการได้เล่นดนตรีสำหรับ audience ที่เขาอยากฟังครับ ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นทวีปนี้หรือทวีปไหน ถ้าเขาอยากฟังก็คือได้เล่นดนตรีให้เขาฟังครับ

The People: ทำไมตอนนั้นถึงเลือกเรียนฟิล์ม มากกว่าที่จะเรียนดนตรี

วิภูริศ: ภูมิชอบฟังเพลงกับดูหนังมากพอ กันเลย เป็นคนที่ชอบดูมิวสิควิดีโอมาก แต่ตอนนั้นภูมิรู้สึกว่าไม่อยากไปแตะต้องดนตรีมากเกินไป อยากให้เป็นงานอดิเรกจริง ที่เราไม่ต้องเครียดกับมันเลย ไม่ต้องกลับมาทำการบ้านแบบว่า transpose คีย์นี้เป็นคีย์นั้น ส่วนที่เลือกเรียนฟิล์ม เพราะภูมิมองว่าภาพยนตร์ดูมีหนทางมากกว่าในประเทศไทย วงการโฆษณาของไทย วงการอะไรอย่างนี้ก็ถือว่าอยู่ในระดับโลกเหมือนกัน ภูมิมองว่า เฮ้ย ในเมื่อชอบดูหนังอยู่แล้ว และชอบอะไรที่ทำงานเป็นทีม ก็เลยเลือกฟิล์มในตอนนั้น

The People: อาชีพนักดนตรีดูจะเป็นอาชีพที่ไม่ค่อยมั่นคงเท่าไหร่ ย้อนกลับไปตอนนั้นที่บ้านสนับสนุนเรื่องนี้มากแค่ไหน

วิภูริศ: มันไม่มั่นคงเลย ไม่ว่าในประเทศไทยหรือว่าที่ไหนในโลก คือเดาไม่ได้เลยว่าผลงานต่อไปจะมีคนฟังอยู่ไหม เขายังจะให้เราไปเล่นตามงานเทศกาลพวกนี้อีกไหม แต่โชคดีมากที่ที่บ้านเป็นสายครีเอทีฟเกือบทั้งบ้าน เลยไม่มีใครห้ามเวลาที่ภูมิอยากจะทำอะไรสร้างสรรค์ ก็ดีใจมากที่ทุกวันนี้กีตาร์ที่แม่ซื้อให้ในวันนั้นทำให้ภูมิมีโอกาสขนาดนี้

The People: ในอนาคตแนวดนตรีของเราจะมีความจริงจังมากขึ้นไหม

วิภูริศ: แน่นอนครับ คือภูมิไม่เคยยึดติดว่าจะต้องทำแนวเพลงนี้ หรือว่าทำซาวนด์แบบนี้ตลอดเวลา เราแค่อยากทำดนตรีที่ตรงกับสิ่งที่เรารู้สึก เวลานั้น บอกไม่ได้ว่าในอนาคตภูมิจะเป็นคนที่แฮปปี้อย่างนี้ตลอดเวลา หรือว่าอยากจะสืบทอดในรูปแบบนั้นตลอดเวลา อันนี้ต้องลองดู ภูมิก็ยังบอกไม่ได้เหมือนกัน

The People: ผลงานที่มีความหลังกับภูมิมากที่สุด

วิภูริศ: การดูเทปการแสดงสดของ เจสัน มราซ มีอิทธิพลกับภูมิมาก การที่ผู้ชายคนหนึ่งกับกีตาร์ตัวเดียวเอาคนอยู่ทั้งลานเป็นสิ่งที่ภูมิไม่เคยเห็นมาก่อน และถ้าพูดถึงศิลปินก็น่าจะเป็น มาร์ค เดอมาร์โก ศิลปินอินดี้จากแคนาดา ครังแรกที่ฟังเขาคือตอนภูมิอายุ 18 ตอนนั้นภูมิเป็นเด็กที่ไม่ค่อยชอบตัวเองเท่าไหร่ คือตอนนั้นเราอีโก้สูงมากว่าดนตรีต้องเป็นอย่างนี้ ถึงจะคูล แล้วผลงานของ มาร์ค เดอมาร์โก ก็จะดิบมาก ทำจากห้องนอนตัวเอง mix เขาก็อัดใน tape recorder ทำนองนี้ ฟังแล้ว เฮ้ย กีตาร์มันเพี้ยนหรือเปล่า แล้วก็ไม่เข้าใจซาวนด์ของเขา ในแนวคิดของเขา แต่พอเราโตแล้วกลับไปฟังอีกที กลับรู้สึก connect มาก ในการที่เพลงของเขา pure มาก นี่คือคนคนหนึ่งที่อัดเพลงในห้องนอนแล้วพูดทุกอย่างที่อยากจะพูดออกมาในเพลง แล้วภูมิหลงใหลในสิ่งนั้นมาก

สัมภาษณ์ ภูมิ วิภูริศ กับกีตาร์ตัวแรกที่เปลี่ยนชีวิต และชีวิตใหม่จากดนตรี

The People: ช่วงนี้มีกระแสในวงการว่าเวลาไปเล่นคอนเสิร์ต คนดูจะหยิบโทรศัพท์มือถือขึ้นมาเล่นหรือถ่ายภาพตลอดเวลา เรามองเรื่องนี้ยังไง

วิภูริศ: ภูมิว่าคนดูไม่เคยผิดอยู่แล้วในการที่เขาเลือกมาดูดนตรีสดหรือว่ามาอยู่ในสถานที่ที่มีดนตรีสด เขาจะไปทำอะไรก็ได้ แล้วแต่เขา ภูมิว่ามันเป็นวัฒนธรรมการฟังดนตรีสดในประเทศไทยมากกว่า ในเมืองนอกไม่ว่าจะเป็นทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกา การไปดูคอนเสิร์ตคือการทำให้ตัวเองดูเก๋ไก๋ที่สุด คือการไปเป็นคนดูจริง คือการไปฟัง ความสนใจจะอยู่ที่วงดนตรี แต่ว่าที่ไทยจะมีความเรียกว่ามารวมตัวกันในสถานที่นี้เพื่อมาคุยกัน เพื่อมาฟังเพลงที่ตัวเองชอบ อาจจะมีการดื่มมากขึ้น vibes ก็ไม่เหมือนกัน สถานที่เล่นสดด้วยครับที่อาจจะไม่เหมือนกัน เมืองนอกส่วนใหญ่จะเป็น live house ที่จะไม่มีเครื่องดื่มขายข้างในเลย แต่ในเมืองไทยเกือบทุกที่จะมีเครื่องดื่มขายตลอดเวลา ซึ่งสถานที่แล้วก็วัฒนธรรมการฟังดนตรีทำให้มีข้อแตกต่างกัน

ถ้าสมัยก่อนตอนที่เราเลือกไม่ได้จริง เราต้องเล่นแบบนั้นครับ เหมือนเราได้ลองสัมผัสหลาย เวทีมาแล้ว หลาย vibes ถ้าภูมิเลือกได้ก็จะเลือกไปในที่ที่คนไปฟังดนตรีดีกว่า เพราะว่าเหมือนเราส่งพลังอะไรไปแล้วเราได้กลับมาจริง แต่ภูมิก็ไม่ mind ในการไปเล่นแล้วเขาคุยกันนะครับ แต่ถ้าเลือกได้ผมว่าทุกคนเลือกคนที่ฟังดีกว่า เพราะว่าเราใช้เวลาในการแต่งเพลงมาก กว่าจะทำโปรดักชันเสร็จ กว่าจะออกเป็นชิ้นเป็นอัน

The People: ดนตรีเปลี่ยนชีวิตภูมิไปอย่างไรบ้าง

วิภูริศ: เปลี่ยนชีวิตภูมิมาก ในทุก ด้านเลย ดนตรีพาให้ภูมิออกเดินทางเยอะ เป็นอาชีพที่สามารถเลี้ยงดูคนที่บ้านได้แล้ว มีแต่สิ่งดี เกิดขึ้นเพราะเราไม่ได้หวังอะไรกับมันมากตั้งแต่แรก ทุกอย่างก็เลยเป็นเหมือนโบนัสทั้งหมด เพราะดนตรีคือการลงทุนตั้งแต่แรก ลงทุนเวลา ลงทุนซื้อเครื่องอัด ลงทุนซื้อคอมพิวเตอร์ ลงทุนลงโปรแกรมซื้อปลั๊กอินมา ก็หมดไปกี่หมื่นแล้วครับ คือเราแค่ลงทุนตรงนั้นเพราะเราชอบ เราอยากศึกษา เราอยากเรียนรู้กับงานเพลง แล้วตอนนี้คืออย่างที่ภูมิบอก ทุกอย่างถือเป็นโบนัสทั้งหมดเลย

ภูมิไม่เคยนึกว่าการเล่นดนตรีให้คนอื่นฟังแล้วจะทำให้ตัวเองแฮปปี้ได้ขนาดนี้ มันอธิบายยาก แต่การที่เราได้ไปเดินทาง เราเหนื่อยมากก็จริง แต่พอได้ไปถึงแต่ละที่ ไม่ว่าคนจะมาดูเราน้อยหรือเยอะ การที่เขาเลือกที่จะมาอยู่กับเราในคืนนั้น ทั้งที่เขาอยู่บ้าน นอนอยู่กับภรรยาหรือว่าทำอะไรก็ได้ แต่เขาเลือกที่จะมายืนฟังเราในชั่วโมงครึ่งนั้น ทำให้ภูมิรู้สึกอยากจะตอบแทนพวกเขา เวลาภูมิโชว์เสร็จ ภูมิจะพยายามไปเจอทุกคนให้ได้ครับ ไปเจอ ไปจับมือ หรือว่าถามว่าชีวิตในมาดริดเป็นยังไง “How’s life in Lisbon?” อะไรอย่างนี้ พยายามศึกษาว่าชีวิตเขาเป็นยังไง เขามาเจอดนตรีเราได้ยังไง สิ่งเหล่านี้มีความหมายต่อเรามาก เป็นอะไรที่ภูมิชอบมาก ภูมิว่าถ้าภูมิเป็นนักดนตรีไม่ได้ ภูมิอยากเป็นนักข่าวชอบคุยกับคนที่เขาฟังผลงานของเรา

The People: เคยคิดไหมว่าถ้าไม่มีสตรีมมิ่ง เพลงของเราจะมีโอกาสไปไกลขนาดนี้ไหม

วิภูริศ: ไม่มีทางแน่นอนครับ ภูมิเป็นนักดนตรีก็ยังไม่เข้าใจเลยว่าเพลงเราไปอยู่ในเพลย์ลิสต์นี้ได้ยังไง จริง แล้วอาจจะมี taste maker ที่เลือกว่าเพลงนี้อยู่ในเพลย์ลิสต์นี้ มี influencer อยู่ ซึ่งภูมิก็ดีใจแล้วก็รู้สึกโชคดีที่มันไหลไปของมันเอง ถ้าไม่มีสตรีมมิ่งเลยก็คงยากในการที่จะให้คนฟังวิทยุหรือว่าซื้อซีดี เพราะสตรีมมิ่งเป็นช่องทางการเสพดนตรีที่สะดวกที่สุดแล้ว ก็ต้องดูต่อไปในอนาคตว่าฟอร์แมตการฟังดนตรีจะเปลี่ยนไปหรือเปล่า ก็หวังว่าคนฟังที่ฟังเราอยู่จะฟังเราต่อไปเรื่อย

สัมภาษณ์ ภูมิ วิภูริศ กับกีตาร์ตัวแรกที่เปลี่ยนชีวิต และชีวิตใหม่จากดนตรี