จิระ มะลิกุล: เล่าชีวิตผ่านหนังไทยหลายเรื่องที่เราคิดถึง

จิระ มะลิกุล: เล่าชีวิตผ่านหนังไทยหลายเรื่องที่เราคิดถึง
อย่างวิชาการทำหมันวัว มันมีไดเร็คชั่นของมันอยู่แล้ว สมมติว่ามีสิบขั้นตอนที่เราต้องทำหากเราต้องการให้วัวเป็นหมัน ซึ่งถ้าเราสามารถทำตามขั้นตอนเหล่านั้นได้ ผลคือวัวเป็นหมัน แต่กับภาพยนตร์มันไม่ใช่ อะไรที่เคยผิดมันกลับถูก อะไรที่เคยถูกบางทีก็ไม่ถูกใช้อีกแล้ว มันทำให้เราเห็นว่าศาสตร์ภาพยนตร์มันมีชีวิต หากจะกล่าวถึงภาพยนตร์ไทยในแต่ละยุคแต่ละสมัย คงจะมีรายชื่อของผู้กำกับและนักแสดงมากมายลอยแล่นผ่านความคิดของใครหลาย ๆ คน ขึ้นอยู่กับว่าเราพูดถึงยุคสมัยไหนหรือภาพยนตร์ประเภทใด แต่หากนับย้อนตั้งแต่ปัจจุบันถอยหลังไปเป็นระยะเวลาสองทศวรรษ ปฏิเสธไม่ได้ว่าชื่อที่มีความสำคัญต่อภาพยนตร์ไทยอย่างใหญ่หลวงตลอดระยะเวลานั้นจะเป็นชื่อ ‘เก้ง-จิระ มะลิกุล’ผู้กำกับภาพยนตร์ไทยที่เต็มเปี่ยมไปด้วยคุณภาพมากมายอย่าง 15 ค่ำ เดือน 11 (2545), มหา’ลัยเหมืองแร่ (2548), รัก 7 ปี ดี 7 หน (2555) และ พรจากฟ้า (2559) มากไปกว่านั้นเขายังเป็นผู้อยู่เบื้องหลังในฐานะผู้บริหารและโปรดิวเซอร์ของบริษัทค่ายหนังอารมณ์ดีที่ครองใจผู้ชมชาวไทยได้มากมายหลายเรื่องอย่าง GDH 559 ถือเป็นโอกาสที่ดีในวันนี้ที่ The People ได้มีโอกาสชวนจิระในเส้นทางของเขาที่ไม่เคยหยุดนิ่งตั้งแต่เรื่องราวในวันที่ก่อนกระโดดเข้าสู่สายอาชีพภาพยนตร์ สู่ความเชื่อมั่นในการก้าวเดินในเส้นทางสายนี้อย่างหนักแน่นด้วยความรักในเสน่ห์ของภาพยนตร์ไทย และอนาคตของเส้นทางการเดินของจิระที่พาหนังไทยก้าวหน้าอย่างขันแข็งด้วยไฟอันลุกโชนไม่แพ้ในวันวานที่ผ่านมา เรื่องราวเส้นทางชีวิตกับภาพยนตร์ไทยของ เก้ง-จิระ มะลิกุล จะเป็นอย่างไรบ้าง ภาพยนตร์เรื่องใดเป็นภาพยนตร์เรื่องโปรดของเขา และอะไรที่เป็นเชื้อเพลิงให้เขาไม่หยุดเดินแม้ปัจจุบันได้ก้าวเข้าสู่อายุเลขหกแล้ว สามารถติดตามเรื่องราวที่น่าสนใจเหล่านี้ได้ในบทความนี้ จิระ มะลิกุล: เล่าชีวิตผ่านหนังไทยหลายเรื่องที่เราคิดถึง   เชื่อในสิ่งที่เฮ็ด_เฮ็ดในสิ่งที่เชื่อ “ตอนผมเด็ก ๆ การเป็นผู้กำกับหนังมันไม่เท่เลยนะ ในแง่อาชีพ มันเกือบจะไม่เป็นอาชีพด้วยซ้ำไป” จิระเล่าว่าการเติบโตด้วยความฝันและเป้าหมายที่อยากจะสร้างภาพยนตร์ในสมัยก่อน มีความแตกต่างจากสมัยนี้แทบจะสิ้นเชิง ไม่ได้เท่แบบ เต๋อ-นวพล หรือ เป็นเอก รัตนเรือง สถาบันที่เปิดสอนในด้านนี้จริง ๆ ก็มีเพียงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แถมในแค่ละชั้นปีก็มีผู้เข้าศึกษาที่น้อยมาก ด้วยปัจจัยต่าง ๆ และคุณลักษณะเหล่านี้ จิระอธิบายการเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ว่า ‘เกือบจะไม่เป็นอาชีพ’ ด้วยซ้ำ ผมถึงกับเคยคิดว่า ผมก็ไม่รู้หรอกนะว่าคุณเพิ่มพลเขาทำอะไรในกองถ่ายหนัง แต่อยากเป็นคนแบบคุณเพิ่มพลที่ได้ทำหนังเมืองในหมอก ความสนใจและความหลงไหลในภาพยนตร์ของจิระเกิดขึ้นจากการที่เขาได้มีโอกาสชมภาพยนตร์เรื่อง ‘เมืองในหมอก’ (พ.ศ. 2521) กำกับโดย เพิ่มพล เชยอรุณ และแม้ว่าแทบจะไม่รู้เลยว่าหน้าที่ของผู้กำกับภาพยนตร์ต้องทำอะไรบ้าง แต่นับว่าผลงานของเพิ่มพลได้เป็นตัวจุดประกายสำคัญของชีวิตจิระให้มุ่งเป้าและสนใจเส้นทางของการเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ เขากล่าวว่ามันคือครั้งแรกที่ทำให้เขารู้สึกสนใจในด้านวิชาชีพจริง ๆ  อย่างที่กล่าวไว้ในตอนแรกว่า เก้ง-จิระ มะลิกุล ถือเป็นบุคคลที่บทบาทที่สำคัญต่อภาพยนตร์ไทยในช่วง 20 ปีให้หลังนี้เป็นอย่างมาก แต่หารู้ไม่ว่าหลังจากสำเร็จการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในภาควิชาการภาพยนตร์และภาพนิ่ง แต่ชีวิตของเขาไม่ได้มุ่งตรงสู้การสร้างภาพยนตร์ในทันที ทุกสิ่งที่เขาได้ทำไม่ว่าจะเป็นการทำสไลด์มัลติวิชั่น การทำมิวสิควิดีโอ และการทำโฆษณา ล้วนเป็นสิ่งที่เตรียมความพร้อมให้เขาในการก้าวสู้การทำภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรกอย่าง 15 ค่ำเดือน 11 ในวัย 40 ปี ผมอยากทำหนังมากแต่มันไม่ได้ทำในทันที แต่ว่าอาชีพต่าง ๆ ที่ทำในระหว่างที่เรียนจบมาจนถึงทำหนังเรื่องแรก มันเหมือนกับว่าผมได้ทำหนังนะแต่มันไม่ใช่การทำหนัง ผมได้ทำสไลด์มัลติวิชั่นแม้มันเป็นแค่การเรียงสไลด์แต่มันก็เหมือนกับการที่ได้ตัดต่อแต่มันก็ไม่ใช่หนัง ผมได้ทำมิวสิควิดีโอได้ใช้กล้องและไฟที่คล้ายกับการทำหนังเลยแต่ก็ยังไม่ใช่หนัง ผมทำโฆษณาก็ได้ใช้กล้องและไฟตัวเดิมนี่แหละครับ มีตัวแสดงมีบทพูด แต่ก็ยังไม่ใช่หนังอยู่ดี จนวันหนึ่งผมก็ได้มาจับกล้อง ได้ใช้ไฟ ได้มีตัวแสดง และมีบท เหมือนกับที่เคยทำมาตั้งแต่เรียนจบใน 20-30 ปีที่ผ่านมา เพียงแต่คราวนี้มันยาวขึ้นและมันคือ ‘หนัง’ หลังจากได้บรรลุก้าวใหญ่แห่งการเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ใน 15 ค่ำ เดือน 11 และมหา’ลัยเหมืองแร่ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว จิระก็ต้องเผชิญกับอุปสรรคความท้าทายก้าวต่อไปอีกมากมายในเส้นทางภาพยนตร์ไทยอย่างการก่อตั้งบริษัทผลิตภาพยนตร์ด้วยความเชื่อที่ว่า ‘นักสร้างภาพยนตร์ก็สามารถเป็นอาชีพที่เลี้ยงตัวเองได้’  ผมอยากทำหนังไทยให้มันมีรายได้ ผมอยากให้ทีมงานในการสร้างภาพยนตร์ทุกคนไม่ต้องไปพยายามทำโฆษณาหรืองานอื่น ๆ เพื่อที่จะหารายได้เพิ่มเติมเพื่ออยู่รอด ผมอยากให้เขาสามารถทำแต่หนังไทยแล้วเขามีรายได้เพียงพอในชีวิตและได้ค่าตอบแทนเท่าเทียมกับความสามารถที่เขามี ผมอยากทำให้อาชีพทำหนังไทยมันเป็นอาชีพให้ได้ จิระ มะลิกุล: เล่าชีวิตผ่านหนังไทยหลายเรื่องที่เราคิดถึง อดีตคือความฝัน_ปัจจุบันต้องอด(ทน)_อนาคตต้องตาย หลังจากที่ได้ชวน เก้ง-จิระ มะลิกุล คุยถึงอดีตที่ก่อร่างสร้างตัวให้จิระเป็นจิระในวันนี้ สิ่งที่ The People อยากจะชวนจิระคุยในประเด็นต่อไปก็จะเกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่องต่าง ๆ จากมุมมองของจิระที่ทั้งมีอิทธิพลต่อตัวเขาเองและเป็นภาพยนตร์เรื่องสำคัญที่ก่อร่างสร้างความเป็นภาพยนตร์ไทยตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน มือปืน เป็นหนังเรื่องแรก ๆ ที่ผมได้ดูหนังไทยแล้วมันเป็น Sound-on-film หากย้อนกลับไปในยุคสมัยก่อน ในวันเวลาที่ผู้ชมยังคุ้นชินกับเสียงของภาพยนตร์ที่มาในรูปแบบการพากย์อย่างเสียงของรอง เค้ามูลคดี ในบทพระเอก และเสียงของดวงดาว จารุจินดาในบทนางเอกอย่างที่ใครหลายคนคุ้นหู การเข้ามาของภาพยนตร์เรื่อง ‘มือปืน’ (พ.ศ. 2526) ซึ่งเป็นผลงานกำกับโดย หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล หรือ ท่านมุ้ย ถือเป็นประสบการณ์ที่มีค่าและตราตรึงใจของจิระเป็นอย่างมากในการที่ได้ชมภาพยนตร์ที่ได้ยินเสียงของพระเอกอย่าง สรพงษ์ ชาตรี จริง ๆ ไม่ใช่เสียงพากย์ แม้ว่าเทคโนโลยีในการบันทึกเสียง ณ ยุคสมัยนั้นจะไม่ได้ก้าวหน้าไปไกลมากเหมือนในปัจจุบัน จึงทำให้มีเสียงรบกวนของสิ่งแวดล้อมเข้ามาแทรกแซงเสียงพูดของตัวละครอยู่บ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเสียงรถ เสียงคน หรือแม้กระทั่งเสียงเรือจากแม่น้ำ แต่จิระมองว่าสิ่งนั้นคือมิติใหม่แห่งการภาพยนตร์ ที่ทำให้ประสบการณ์ในการชมภาพยนตร์ในครั้งนั้นของจิระดู ‘จริงมาก’  ผมคิดว่าพระเอกน่าจะมีบ้านอยู่แถว ๆ คลองตรงบางกอกน้อย เพราะว่าคุย ๆ อยู่มันก็มีเสียงเรือหางยาวดังลั่นเข้ามา แต่ว่าเรารู้สึกดี เพราะรู้สึกว่า ‘นี่สิคือเสียงฝั่งธน’ ผมบ้านอยู่ฝั่งธนครับ ผมเลยรู้สึกว่านี่มันเสียงกรุงเทพฯ แท้ ๆ เลย มีเสียงตุ๊ก ๆ เสียงคน เป็นความรู้สึกที่ดีมาก ๆ ในการดูหนังในรูปแบบนั้นเป็นครั้งแรก หลังจากที่เราได้ทราบกันแล้วว่าภาพยนตร์เรื่องมือปืนถือเป็นประสบการณ์การชมภาพยนตร์ของจิระที่ถือว่าตราตรึงและสำคัญต่อเขามาก ๆ แล้วภาพยนตร์เรื่องใดบ้างในมุมมองของเขา ที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทย ผมว่า นางนาก นางนากมันมีเป็นหนังมากว่า 20 - 30 เวอร์ชั่นแล้วนะ ตั้งแต่ผมเด็ก ๆ เลย ตั้งแต่ผมจำความได้มันก็มีมาไม่รู้กี่สิบเรื่องแล้ว ซึ่งเป็นตั้งแต่หนังตลก หนังดราม่า หนังสยองขวัญ ผ่านหนังเรื่องนางนาก คือฉากมือยืดยาวไปหยิบมะนาวก็มีเหมือนกันแทบทุกเรื่อง แต่พอพี่นนทรีย์ (นิมิบุตร) มาทำนางนาก มันกลายเป็นความรู้สึกใหม่ขึ้นมาอีก มันกลายเป็นนางนากที่ซีเรียสและเป็นเรื่องใหม่มาทันทีเลยครับ แม้ว่า ‘แม่นากพระโขนง’ จะเป็นซับเจคที่ถูกนำมาใช้ในการสร้างภาพยนตร์ซ้ำแล้วซ้ำเล่าอยู่บ่อยครั้ง จิระถึงกลับเปรียบว่านางนากเป็นดั่ง ‘แม็คเบ็ธ’ (The Tragedy of Macbeth) เมืองไทย แต่พอ นนทรีย์ นิมิบุตร นำมาตีความใหม่ผ่านการกำกับที่ทำให้ตัวละครนางนากที่แปลกใหม่ ร่วมกับการแสดงของ ทราย-เจริญปุระ ที่มีลักษณะการเป็นนางนากที่สมจริง และการสร้างบรรยากาศของกรุงเทพฯ ในยุคสมัยนั้นที่ดูจริงขนาดนั้นผ่านอาร์ทไดเร็คชั่นของ เอก เอี่ยมชื่น จึงทำให้ นางนาก (2542) เป็นเวอร์ชั่นที่ ‘ใหม่’ ‘สยองขวัญ’ ‘ติดตา’ และ ‘ตราตรึง’ ผู้ชมชาวไทยมาถึงปัจจุบันนี้ จิระ มะลิกุล: เล่าชีวิตผ่านหนังไทยหลายเรื่องที่เราคิดถึง นอกจากนั้นจิระยังกล่าวเสริมอีกว่า นางนากเวอร์ชั่นนี้ก็เชื่อมโยงมาถึงตอนที่ บรรจง ปิสัญธนะกูล สร้างภาพยนตร์ที่เอาวัตถุดิบเดิมอย่างนางนากมาตีความใหม่เป็น พี่มาก…พระโขนง (2556) จากความคิดเห็นของทีมสร้างว่า “ทำไมในนางนากเวอร์ชั่นก่อนหน้า พอพี่มากรู้ว่านางนากเป็นผีจึงวิ่งหนีไปกับเพื่อน?” พวกเขาจึงนำความสงสัยนั้นมาตีความใหม่เพื่อจะบอกว่า ‘พี่มากรู้มาตั้งนานแล้วว่านางนากเป็นผี’ จนเกิดเป็นหนึ่งภาพยนตร์ไทยที่ทำเงินสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ ภาพยนตร์ดีที่มีคุณภาพไม่ได้เพียงให้ความบันเทิงและความทรงจำที่ตราตรึงแก่ผู้ชมเท่านั้น แต่ภาพยนตร์เหล่านั้นยังถือเป็นฐานที่ก่อร่างสร้างเส้นทางให้ผู้สร้างรุ่นต่อไปได้ต่อยอดหรือแม้กระทั่งตั้งคำถามกับสิ่งที่เคยมีอยู่ต่อไป อาจกล่าวได้ว่า หากไม่มีนางนากในวันนั้น เราอาจไม่มีพี่มากในแบบที่เรามีในวันนี้ เอาจริง ๆ เราสามารถเอานางนากมาเป็นหมุดหมายของภาพยนตร์ไทยที่เป็นตัวแทนของแต่ละยุคแต่ละสมัยของภาพยนตร์ไทยเลยนะ แล้วสำหรับยุคผมก็คือเวอร์ชั่นของ นนทรีย์ นิมิบุตร และ บรรจง ปิสัญธนะกูล อีกเรื่องหนึ่งผมชอบ ฟ้าทะลายโจร ของพี่วิศิษฏ์ (ศาสนเที่ยง) นะ คือเขาโตมากับภาพยนตร์ไทยในยุค สันติ-วีณา (2497) ที่ยังถ่ายทำในระบบเก่าอยู่ แล้วเขาก็อยากทำหนังเรื่องหนึ่งที่จะบูชายุค ๆ นี้ และหนังเรื่องนั้นคือฟ้าทะลายโจร ภาพยนตร์อีกหนึ่งเรื่องในความคิดเห็นของจิระที่ถือเป็นหมุดหมายที่โดดเด่นในภาพยนตร์ไทยก็คือหนังแนวเวสเทิร์นในไทย ลุคโบราณที่มีสีฉูดฉาดอย่าง ฟ้าทะลายโจร (2543) ซึ่งเป็นผลงานกำกับของ วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง ที่ทำมาเพื่อบูชาและคารวะ ‘หนังไทยสมัยศรีกรุง’ การที่วิศิษฏ์นำความโบราณมาแปรเปลี่ยนเป็นความงามอย่างในฟ้าทะลายโจร ทำให้เราเห็นว่าแม้กาลเวลาจะผ่านพร้อม ๆ กับความสวยงามของภาพยนตร์ที่พัฒนาตามไปด้วย แต่นั่นก็ไม่ได้แปลว่าความงามที่เคยเกิดขึ้นจะจางหายไป อาจมีหนังหลาย ๆ เรื่อง ความงามหลาย ๆ แบบ ความบันเทิงหลาย ๆ อารมณ์ที่รอการถูกค้นพบใหม่อีกครั้ง [caption id="attachment_43277" align="aligncenter" width="752"] จิระ มะลิกุล: เล่าชีวิตผ่านหนังไทยหลายเรื่องที่เราคิดถึง สันติวินา (พ.ศ. 2497)[/caption] [caption id="attachment_43276" align="aligncenter" width="882"] จิระ มะลิกุล: เล่าชีวิตผ่านหนังไทยหลายเรื่องที่เราคิดถึง ฟ้าทะลายโจร (พ.ศ.2545)[/caption] ไม่ว่าคน ท่าทาง การแต่งตัว หรือลักษณะการพูด มันจะดูเหมือนหนังคาวบอยอเมริกันในยุคบุกเบิกเลย แต่เหตุการณ์จะเกิดในประเทศไทย แล้วไม่ว่าจะมุมกล้อง การแสดง การจัดแสง เขาทำมาเพื่อบูชาหนังสมัยก่อนจริง ๆ จิระเล่าว่าตัวละครทุกตัวในหนังเรื่องฟ้าทะลายโจรจะมีไฟเสริมที่ยิงมาจากข้างหลังทั้งหมด จะสังเกตได้ว่าไม่ว่าตัวละครคุยกับใคร หรือหันไปทางไหน ทุกคนจะมีแสงสะท้อนจากผม จิระเล่าว่าสาเหตุนี้เป็นเพราะในสมัยก่อน ฟิล์มถ่ายภาพยนตร์มีความไวแสงที่ต่ำมาก ๆ หากไม่อัดแสงให้ตัวละครเด่นมาจากพื้นหลัง ตัวละครจะกลืนหายไปเลย และแม้ว่าในยุคของการสร้างฟ้าทะลายโจรวิวัฒนาการของฟิล์มจะมีความไวแสงที่มากขึ้นแล้ว แต่วิศิษฏ์ก็ยังใช้วิธีนี้เพื่อคารวะให้หวนนึกถึงความทรงจำที่เขามีต่อภาพยนตร์ที่เขาเติบโตขึ้นมา ผมว่าเขาทำเก่งนะ เขาทำได้ทั้งเรื่องเลย เขาไม่ได้ทำเฉพาะฉากใดฉากหนึ่ง เพราะเวลาเราจะล้อเลียนอะไรเราจะทำได้แค่สั้น ๆ พี่วิศิษฏ์เขาใจถึงมาก เขาสามารถทำได้ทั้งเรื่องเลย ถือว่าเป็นหนังที่มีการกำกับศิลป์ที่โดดเด่นมากของภาพยนตร์ไทย และยังไม่มีคนทำได้แบบนี้อีกเลย… ตัวแกเองก็ไม่ทำแล้ว” จิระ มะลิกุล: เล่าชีวิตผ่านหนังไทยหลายเรื่องที่เราคิดถึง “หนัง คนดู และคนทำจะโตตามอายุเลยนะครับ” “ไม่ใช่แค่คนดูที่เปลี่ยนแปลงสิ่งที่ตัวเองสนใจไปเรื่อย ๆ ตามช่วงวัย เพราะในขณะเดียวกันคนทำก็เติบโตตามไปด้วย อย่างผมก็คงไม่สามารถทำหนังเรื่อง 15 ค่ำเดือน 11 ได้ตอนที่อายุ 25 ออกมาเป็นหนังแบบนี้ ผมก็คงไม่มาสนใจเรื่องพระทำบั้งไฟ ณ ตอนนั้น ผมอาจจะสนใจทำหนังแอคชั่น หนังที่มันตื่นเต้นมากกว่าหนังที่เกี่ยวกับศาสนาหรือสังคม” จิระได้บอกกับ The People ว่าเขาไม่รู้สึกว่าการได้ทำภาพยนตร์เรื่องแรกอย่าง 15 ค่ำ เดือน 11 ในอายุเลขสี่เป็นเวลาที่ช้าเกินไป แต่กลับเป็นเวลาที่เหมาะเจาะพอดีกับการเล่าเรื่องผ่านเลนส์ในอายุตอนนั้น สิ่งนี้ทำให้เราเห็นว่าทุกสิ่งในองค์ประกอบของภาพยนตร์ตั้งแต่ตัวหนัง ผู้สร้าง หรือแม้กระทั่งผู้ชมเอง ก็เติบโตและก้าวเดินไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง และการเหลียวหลังย้อนมองกลับมาก็อาจเป็นสิ่งหนึ่งที่จะทำให้เส้นทางในภายหน้าสมบูรณ์ขึ้นกว่าเดิม จิระ มะลิกุล: เล่าชีวิตผ่านหนังไทยหลายเรื่องที่เราคิดถึง ปีศาจกิโลเมตรที่_35_61 แม้อายุจะก้าวเข้าสู่เลขหกเป็นที่เรียบร้อยแล้วสำหรับ เก้ง-จิระ มะลิกุล แต่ดูเหมือนว่าไฟในการพาวงการภาพยนตร์ไทยก้าวไปข้างหน้าอย่างขันแข็งของเขายังคงลุกโชนไม่ต่างจากวันวาน จิระยังคงเป็นหนึ่งในแรงสำคัญที่พาวงการภาพยนตร์ไทย ก้าวไปข้างหน้าและผลิตภาพยนตร์ที่มีคุณภาพและแปลกใหม่อยู่เรื่อยมา The People จึงอยากจะค้นหาคำตอบว่า อะไรกันคือสิ่งที่เขาหลงรักในความเป็นภาพยนตร์? อะไรกันคือเชื้อเพลิงที่ทำความมุ่งมั่นของชายอายุ 61 ไม่แปรเปลี่ยนไปเลย? ลืมตามาตอนเช้าแล้วมันรู้สึกว่า ‘เฮ้ย อยากไปทำงานว่ะ’ เพราะว่านึกไอเดียออกอันหนึ่งและอยากนำไปเสนอในที่ประชุม จิระเล่าว่าแม้ว่าไอเดียที่ทำให้เขาอยากจะลุกขึ้นมาในตอนเช้าจะมีเสียงตอบรับที่เงียบงันจากห้องประชุม แต่ว่าเขาก็จะรู้สึกสนุกอยู่เสมอกับการคิดไอเดียใหม่ ๆ เพื่อเอามาชนะใจผู้คนในห้องประชุม แต่หากต้องการจะเข้าใจเรื่องนี้ถึงแก่นก็คงต้องขุดลึกลงไปเพื่อหาคำตอบว่าเสน่ห์อะไรของภาพยนตร์ที่ทำให้จิระหลงรักมาจนถึงทุกวันนี้ พอผมมาทำหนังแล้วผมก็ได้พบว่ามันทั้งยาก ทั้งไม่มีที่สิ้นสุด อะไรที่เคยผิดมันกลับถูก อะไรที่เคยถูกบางทีก็ไม่ถูกใช้อีกแล้ว มันทำให้เราเห็นว่าศาสตร์ภาพยนตร์มันมีชีวิต เสน่ห์ที่ทำให้ภาพยนตร์ดูน่าสนใจต่อจิระตลอดมาคือ ‘ความไม่ตาย’ ของมัน จิระกล่าวว่าความถูกต้องของมันไม่เคยหยุดอยู่นิ่งและเปลี่ยนไปตามกาลเวลาอยู่เสมอ ๆ เขาเชื่อว่าทุกคนสามารถคิดอะไรแปลก ๆ ขึ้นมา และถึงแม้ว่าในตอนนี้มันยังดูไม่ถูกต้องแต่ในอนาคตมันอาจจะเป็นสิ่งที่ถูกต้องก็ได้ จิระคิดว่ามันอยู่ความรู้สึกและความชอบของผู้ชมที่ทำให้ภาพยนตร์แปรเปลี่ยนและไม่หยุดพัฒนาไปเรื่อย ๆ  อย่างเช่นถ้าทำหนังแล้วช็อตยาวอย่างคุณ เจ้ย-อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล คนในยุคสมัยหนึ่งก็อาจจะบอกว่านี่เอาฟุตเทจมาฉายทำไม ทำไมไม่เอาไปตัดต่อก่อน แต่ในสมัยนี้ผู้ชมก็สามารถรับรู้ถึงความรู้สึกที่ผู้กำกับอยากจะสื่อที่ดูเรียล ดูจริงไปอีกแบบ ลุงบุญมีระลึกชาติ (2553) ผลงานการกำกับของ เจ้ย-อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ที่ถือเป็นภาพยนตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เรื่องแรกที่ได้รับรางวัลปาล์มทองคำ (Palme d'Or) ในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ครั้งที่ 63 และถือเป็นตัวอย่างที่เด่นชัดตามที่จิระได้กล่าวข้างต้นว่า ‘ภาพยนตร์เป็นสิ่งไม่ตายและเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ’ จิระยังกล่าวเสริมอีกว่าแนวทางการสร้างภาพยนตร์ของอภิชาติพงศ์ถือว่ามีความพิเศษในตัวเองเป็นอย่างมาก เพราะแม้ว่าการนำเสนอจะดูแปลกใหม่และแหวกแนว แต่ก็สามารถสื่อสิ่งที่ตัวหนังอยากจะสื่อออกมาได้อย่างดีเยี่ยม จิระเล่าว่าแม้ตอนนี้จะไม่ได้ลงมือกำกับเอง แต่เขาก็ยังหลงรักในความเป็นภาพยนตร์อยู่ดังเดิม เพราะการทำภาพยนตร์หนึ่งเรื่องก็เหมือนการได้สำรวจดวงดาวหนึ่งดวง และการทำงานของจิระก็เหมือนการได้ท่องทะยานไปเรื่อย ๆ สำรวจดาวหนึ่งที่เป็นดาวแห่งรักครั้งแรกของวัยเด็กอย่างแฟนฉัน สู่ดาวสยองขวัญแห่งผีเศรษฐกิจแห่งลัดดาแลนด์ สู่ดาวแห่งการโกงข้อสอบและการใช้มันสมองเป็นอำนาจอย่างฉลาดเกมส์โกง ดูเหมือนว่าเส้นทางของยานอวกาศในนาม GDH 559 และหนึ่งในกัปตันเรืออย่าง เก้ง-จิระ มะลิกุล คงจะดำเนินต่อไปเรื่อย ๆ เอาผมไปฆ่าให้ตาย ผมก็รักหนังไทย แม้ว่าไม่ได้กล่าวคำ ๆ นี้ออกมา แต่ The People ก็เชื่อว่าเรื่องราวชีวิตของจิระสามารถสะท้อนให้เราเห็นแล้วว่า ถ้อยคำนี้ที่ดัดแปลงจากภาพยนตร์เรื่อง มหา’ลัยเหมืองแร่ คงเป็นสารจากจิระที่เขาอยากส่งต่อถึงความรักที่เขามีให้กับภาพยนตร์ไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จิระ มะลิกุล: เล่าชีวิตผ่านหนังไทยหลายเรื่องที่เราคิดถึง ตอนนี้สามารถรับชมภาพยนตร์ไทยคุณภาพในอดีตที่ทุกคนคิดถึง ไม่ว่าจะเป็น หนังการันตีคุณภาพ ด้วยรางวัลระดับโลก อย่าง มหา’ลัยเหมืองแร่ (2548), เรื่องตลก 69 (2542), ลุงบุญมีระลึกชาติ (2553), แมรี่ อิส แฮปปี้ (2556), กระเบนราหู (2561) หนังไทยดีงามอมตะ ทั้ง สันติ-วีณา (2497), แพรดำ (2504), ทองพูน โคกโพ ราษฎรเต็มขั้น (2520), ผีเสื้อและดอกไม้ (2528), กาลครั้งหนึ่งเมื่อเช้านี้ (2538), ฟ้าทะลายโจร (2543), มนต์รักทรานซิสเตอร์ (2544) และ หนังไทยที่สร้างประกฏการณ์ในโรงภาพยนตร์ อย่าง ข้างหลังภาพ (2528), นางนาก (2542), สตรีเหล็ก (2543), บางระจัน (2543), องค์บาก (2546), ทวิภพ (2547), รักแห่งสยาม (2550) ซึ่งคัดสรรโดยหอภาพยนตร์ (องค์กรมหาชน) ได้แล้วที่ NETFLIX รามา ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน เป็นต้นไป