จอห์น วิลเลียมส์ กับที่มาของดนตรีประกอบแสนติดหูใน “Star Wars”

จอห์น วิลเลียมส์ กับที่มาของดนตรีประกอบแสนติดหูใน “Star Wars”

จอห์น วิลเลียมส์ กับที่มาของดนตรีประกอบแสนติดหูใน “Star Wars”

Star Wars ถือเป็นภาพยนตร์ที่หลายคนตั้งตารอมากที่สุดในช่วงสองสามปีมานี้ นอกจากความสำเร็จในอดีตที่ผ่านมาถ้านึกถึงแฟรนไชส์เรื่องนี้ทีไร หลายคนคงคิดถึงเรื่องราวของเหล่าทหารสตอร์มทรูปเปอร์ ไลท์เซเบอร์เท่ ๆ ของเจได หรือ ตัวละครหุ่นยนต์อย่าง อาร์ทูดีทู แต่สิ่งที่ทำให้หนังเรื่องนี้กลายเป็นที่จดจำมากยิ่งขึ้นไปอีกนั่นก็คือ "ดนตรีประกอบ" จอห์น วิลเลียมส์ (John Williams) คอมโพสเซอร์ระดับตำนานชาวอเมริกันวัย 86 ปีผู้นี้ คือผู้รับสัมปทานแต่งเพลงประกอบให้กับหนังเรื่องนี้มาตั้งแต่ปี 1977 เขามีชื่อเสียงอยู่ในแวดวงดนตรีประกอบภาพยนตร์มามากกว่า 6 ทศวรรษ ซึ่งนอกจาก Star Wars ที่ทำให้เขาโด่งดังเป็นพลุแตกแล้ว วิลเลียมส์ยังฝากผลงานระดับขึ้นหิ้งไว้กับภาพยนตร์ชั้นนำหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น Superman, Harry Potter, Jurassic Park อีกด้วย 

เพลงธีมจาก Star Wars กลายมาเป็นผลงานอมตะที่ชวนคุ้นหูและน่าจดจำอย่างมาก หลายคนอาจจะสงสัยว่า วิลเลียมส์ได้รับแรงบันดาลใจในการแต่งมาจากไหน วิลเลียมส์เคยให้สัมภาษณ์กับวิทยุช่องหนึ่งในปี 1978 ว่า ดนตรีประกอบของเขาได้รับแรงบันดาลใจมาจากคีตกวีดนตรีคลาสสิกชื่อดังอย่าง ไชคอฟสกี (Piotr Ilyich Tchaikovsky), สตราวินสกี (Igor Stravinsky), มาห์เลอร์ (Gustav Mahler), โฮลส์ (Gustav Holst) และ เอ็ลการ์ (Sir Edward Elgar) สังเกตได้ว่านักประพันธ์ดนตรีที่เขาชอบ ส่วนใหญ่จะอยู่ในดนตรีคลาสสิกยุคโรแมนติกแทบทั้งสิ้น

[caption id="attachment_2149" align="aligncenter" width="331"] จอห์น วิลเลียมส์ กับที่มาของดนตรีประกอบแสนติดหูใน “Star Wars” จอห์น วิลเลียมส์[/caption]

     

ย้อนกลับไปเมื่อปี 1977 จอร์จ ลูคัส (George Lucas) ผู้กำกับโนเนมในขณะนั้น กำลังยุ่งหัวฟูกับโปรเจกต์หนังอวกาศเรื่องหนึ่งที่ใช้ชื่อว่า “Star Wars” ตอนนั้นลูคัสกำลังมองหานักประพันธ์ดนตรีประกอบที่เข้าใจในดนตรีคลาสสิกแบบ แม็กซ์ สไตเนอร์ (Max Steiner) หรือ เออริช โวล์ฟกัง คอร์นโกลด์ (Erich Wolfgang Korngold) สุดท้ายลูคัสก็ได้พบกับวิลเลียมส์ จากคำแนะนำของเพื่อนซี้ที่ชื่อ สตีเวน สปีลเบิร์ก (Steven Spielberg) นั่นเอง  เสน่ห์อีกข้อหนึ่งของดนตรีประกอบของภาพยนตร์เรื่องนี้คือ การใช้วงดนตรีวงเดิมมาโดยตลอด นั่นก็คือวง ลอนดอน ซิมโฟนี ออร์เคสตรา (London Symphony Orchestra) แน่นอนสิ่งที่ทำให้ผลงานชิ้นนี้กลายเป็นที่จดจำมากก็คือทำนองที่ติดหูนั่นเอง ซึ่งนักดนตรีหลายคนก็ได้พยายามศึกษาและหาคำตอบว่า วิลเลียมส์ได้รับแรงบันดาลใจมาจากดนตรีแบบไหน เพลงไหน กันแน่ ผมขอหยิบเพลงธีมที่โด่งดังที่สุดของหนังมาเป็นตัวอย่างอธิบายให้ฟังกันคร่าว ๆ เพลง Main Title ของหนังได้รับแรงบันดาลใจมาจากผลงานของ เออริช โวล์ฟกัง คอร์นโกลด์ ที่แต่งให้กับหนังเรื่อง Kings Row ปี 1942 อย่างเพลง “A Soundtrack Suite (1942)” Main Title (1977)

A Soundtrack Suite (1942)

สังเกตได้ว่า วิลเลียมส์หยิบยกเฟรสซิ่ง (Phrasing) ผลงานของคอร์นโกลด์มาใช้เป็นเฟรสซิ่งหลักของเขา เฟรสซิ่งอาจจะเหมือนกันเลย แต่ไม่ใช่ดนตรีเดียวกัน นอกจากนี้ในท่อนกลางของธีม วิลเลียมส์ยังหยิบเฟรสซิ่งที่น่าสนใจจากผลงาน “Marche Slave” ของไชคอฟสกี มาพัฒนาให้เข้ากับดนตรีในแบบของเขา

(กรอไปวินาทีที่ 2.35 ของ Marche Slave เปรียบเทียบกับธีมหลักของ Star Wars วินาทีที่ 1.10)

เจเจ เอบรามส์ (J. J. Abrams) ผู้กำกับ Star Wars จากภาค 7 เคยให้สัมภาษณ์ว่า วิลเลียมส์เป็นยอดคอมโพสเซอร์ที่เยี่ยมที่สุดคนหนึ่งที่เขาเคยร่วมงานด้วย ตอนที่วิลเลียมส์แต่งเพลงธีมหลักของหนัง เขาเพิ่งมีอายุได้แค่ 11 ปีเท่านั้น เอบรามส์ยังเสริมอีกว่า วิลเลียมส์คือคนที่แตกต่างมากกว่าคนอื่นเรื่องการถ่ายทอดอารมณ์ในผลงาน “He write the feeling”  

ความรู้สึกของอารมณ์ต่าง วิลเลียมส์จัดการถ่ายทอดมันลงไปในแทร็คที่โด่งดังไม่แพ้กันอีกผลงานหนึ่ง “Han Solo and the Princess” ผลงานชิ้นนี้วิลเลียมส์ได้รับแรงบันดาลใจมาจากผลงานเพลงชั้นครูของไชคอฟสกี “Violin Concerto in D”

Han Solo and the Princess (1980)

จะสังเกตได้ว่าทำนองและอารมณ์ของดนตรี มีการนำผลงานของไชคอฟสกีมาเป็นต้นแบบไม่น้อยเลย ทำให้หลายคนมองว่าโทนดนตรีของวิลเลียมส์นั้นได้รับอิทธิพลมาจากไชคอฟสกี

เพลงเปิดตัว ดาร์ธ เวเดอร์ (Darth Vader) ก็ถือเป็นเพลงธีมที่ถูกพูดถึงมาโดยตลอด ผลงานชิ้นนี้ของวิลเลียมส์ได้รับอิทธิพลมาจากผลงาน “The Planets - Mars, the Bringer of War” ของ กุสตาฟ โฮลส์ต (Gustav Holst) เรื่องการพัฒนาของโมทีฟ (Motif) ในจังหวะของดนตรี อีกทั้งผลงานในชิ้นนี้ของโฮลส์ต ยังสร้างแรงบันดาลใจให้กับดนตรีประกอบในหนังเรื่อง Gladiator ของ ฮันส์ ซิมเมอร์ อีกด้วย (ฟังได้ที่นี่ แล้วกรอไปช่วงวินาทีที่ 2.52)

The Imperial March (1980)

The Planets - Mars, the Bringer of War ลองกรอไปที่วินาทีที่ 4.27 เทียบกับผลงานด้านบน 0.33 

แน่นอน จอห์น วิลเลียมส์ คือเบอร์หนึ่งของวงการนักประพันธ์ดนตรีประกอบภาพยนตร์ เขามักได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ในสาขาดนตรีประกอบยอดเยี่ยมอยู่เสมอ นอกจากนี้วิลเลียมส์ยังถือเป็นนักดนตรีที่มีชื่อเข้าชิงออสการ์มากที่สุดเป็นอันดับที่ 2 รองจาก วอลท์ ดิสนีย์ (Walt Disney) อัจฉริยภาพทางด้านดนตรีของวิลเลียมส์ถือเป็นที่ยอมรับที่สุด นอกจากตัวหนังที่จะฉายในปี 2019 แล้ว หลายคนก็ตั้งตารอว่าวิลเลียมส์ในวัย 86 ปี จะนำธีมเก่าในตำนานของเขาเหล่านี้มาสร้างสรรค์ให้เข้ากับหนังภาคใหม่ได้อย่างไร ถือเป็นเรื่องท้าทายวิลเลียมส์อย่างมาก หลายคนมองว่าการนำของคนอื่นมาทำให้เป็นของตัวเองคือนั่นคือการลอก แต่ในบริบทตรงนี้เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วในโลกดนตรี อ้างอิงจากเคสที่เคยเกิดขึ้นในวงการดนตรีป๊อป ดนตรีที่มีเมโลดี้ทำนองหลักซ้ำกัน 4 ตัวขึ้นไป และดำเนินไปในทิศทางเดียวกันจะถือว่าเป็นการลอก แต่ในโลกของดนตรีคลาสสิกมีความซับซ้อนกว่านั้นมาก นี่คือวิธีการที่ของวิลเลียมส์ที่รู้จักหยิบฉวยสิ่งที่จำเป็นต้องใช้มาจัดวางให้เหมาะกับความเคลื่อนไหวในโลกภาพยนตร์ ซึ่งแต่ละอย่างที่เขาหยิบมาใช้นั้น มันกลายเป็นตัวแปรที่ทำให้ดนตรีของเขาสมบูรณ์แบบมากขึ้น