“คำรณ ผึ่งผาย” ครูสายการ์ดที่ปฏิวัติเด็กด้วยเกม

“คำรณ ผึ่งผาย” ครูสายการ์ดที่ปฏิวัติเด็กด้วยเกม

“คำรณ ผึ่งผาย” ครูสายการ์ดที่ปฏิวัติเด็กด้วยเกม

“ครู” คือ แม่พิมพ์ของชาติ เป็นทั้งผู้ถ่ายทอดวิชาความรู้ แล้วเป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูกศิษย์นำไปปฏิบัติตาม แม่พิมพ์ที่มีคุณภาพก็ย่อมจะผลิตนักเรียนคุณภาพดีออกมารับใช้สังคม แต่จะเป็นอย่างไรกับผู้ใหญ่ในวันหน้า ถ้าแม่พิมพ์รุ่นใหม่อย่าง “ครูติน-คำรณ ผึ่งผาย” ปฏิวัติการเรียนด้วยการใช้การ์ดเกม “ผมโตมากับการ์ดยูกิ กับเคยเล่นบอร์ดเกมมาบ้าง รู้สึกว่ามันสนุกดี เลยอยากให้เด็กๆ ได้รีแล็กซ์ไปด้วย เลยทำการ์ดเกมเป็นของขวัญปีใหม่ให้นักเรียน ที่แต่ละใบจะมีเงื่อนไขพิเศษแตกต่างกันออกไป” “ครูติน-คำรณ ผึ่งผาย” สอนวิชาภาษาอังกฤษ อยู่ที่โรงเรียนพันท้ายนรสิงห์วิทยา สมุทรสาคร โดยครูหนุ่มวัย 26 ปี ได้บอกว่าเงื่อนไขของการ์ดแต่ละใบแตกต่างกันไปทั้ง การ์ดป้องกันการหักคะแนนได้ 2 ครั้ง, การ์ดขอฟังเพลงได้ 3 ครั้ง, การ์ดอนุญาตนำน้ำและขนมมากินตอนเรียนได้ 2 ครั้ง จนถึง การ์ดขอหลับได้ 10 นาที ที่เขาออกแบบเอง   “คำรณ ผึ่งผาย” ครูสายการ์ดที่ปฏิวัติเด็กด้วยเกม การจะได้การ์ดแต่ละใบนั้น ครูตินบอกว่า นักเรียนต้องมาท่องศัพท์กริยา 3 ช่อง ให้ได้ 10-20 เซ็ต แล้วจะได้สิทธิ์สุ่มจั่วการ์ด ที่บางครั้งอาจไม่ได้การ์ดเลยก็ได้ คล้ายการสุ่มกาชาในเกมอย่าง RoV หรือ PUBG “ที่สุ่มกาชาเพราะผมอยากให้เด็กรู้จัก Keep Going On การไม่ยอมแพ้ สุ่มไม่ได้ก็กลับมาท่องศัพท์ใหม่อีกครั้งจนกว่าจะได้การ์ดโดนๆ” การนำการ์ดเกมมาประยุกต์เข้ากับการสอนนี่เป็นการใช้วิธีเกมกลไก หรือ เกมมิฟิเคชั่น (Gamification) โดยการนำกลไกของเกม มาใช้เพื่อกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้อย่างสนุกสนาน แล้วมีการให้รางวัลตอบแทนเมื่อมีการทำถูกตามเงื่อนไข ให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เกมมิฟิเคชั่น เป็นวิธีการที่นักการตลาด และนักออกแบบแอปพลิเคชันนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย ที่ผ่านมานั้น ครูตินได้เคยให้นักเรียนของเขาสะสมสติ้กเกอร์ในสมุดสะสม เพื่อแลกของรางวัลอย่างสายรัดข้อมือ หรือกระเป๋าผ้าที่ครูตินเป็นผู้ออกแบบเอง และทางโรงเรียนช่วยสนับสนุน ฟังดูคุ้นๆ กันไหม ใช่แล้วครูตินได้แรงบันดาลใจมาจากการสะสมสแตมป์เซเว่นอีเลฟเว่นนั่นเอง !!   “คำรณ ผึ่งผาย” ครูสายการ์ดที่ปฏิวัติเด็กด้วยเกม แน่นอนว่าวิธีการนำเกมมาประยุกต์กับการเรียนการสอนนี้ ได้รับเสียงตอบรับอย่างดีจากนักเรียนส่วนใหญ่ เพราะสนุกและเป็นไอเดียที่แปลกใหม่ ไม่น่าเบื่อ ส่วนสำหรับครูด้วยกัน แม้จะมีบางคนทดลองนำการ์ดเกมแบบครูตินไปใช้แล้ว แต่ยังมีครู และผู้ปกครองบางส่วน ที่คงความกังวลกับสิทธิพิเศษบางอย่างที่นักเรียนหงายการ์ดขึ้นมาอย่าง การ์ดกินขนมตอนเรียน และ การ์ดขอหลับได้ 10 นาที “จริงๆ ผมอยากให้คิดว่านี่ไม่ใช่การเล่น แต่เป็นเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์เพื่อลดช่องว่างระหว่างครูและนักเรียน ลดอำนาจ และความแตกต่างของทั้งสองฝั่ง เพราะตอนนี้นักเรียนเข้าถึงข้อมูลความรู้ได้มากพอกับครูแล้ว ครูเลยต้องไม่เพียงแต่เป็นผู้ถ่ายทอดอย่างเดียว แต่ต้องสอนวิธีการเข้าถึงแหล่งความรู้อีกด้วย” “คำรณ ผึ่งผาย” ครูสายการ์ดที่ปฏิวัติเด็กด้วยเกม การ์ดเกมของครูตินเลยเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในการกระจายอำนาจจากศูนย์กลาง (Decentralized) จากเดิมที่ครูจะเป็นศูนย์กลาง เปลี่ยนวิธีการให้ความรู้ไปตามความความต้องการของนักเรียน ที่ส่วนใหญ่ไม่ต้องการการท่องจำแบบเดิมที่น่าเบื่อ มีความแตกต่างหลากหลายเฉพาะบุคคลมากขึ้น รวมถึงการปรับตัวจากเป็นผู้ถ่ายทอดเป็นผู้สอนการเข้าถึงข้อมูลอย่างถูกวิธี “ผมฝันอยากจะสร้าง Teacher Resources เป็นแหล่งทรัพยากรให้ครู อาจารย์มาร่วมกันแบ่งปันข้อมูลความรู้ วิธีการสอน เครื่องมือใหม่ๆ เพื่อต่อยอดให้การศึกษาไทย คือเราต้องเริ่มที่ตัวครูก่อนส่งต่อไปที่นักเรียน” “คำรณ ผึ่งผาย” ครูสายการ์ดที่ปฏิวัติเด็กด้วยเกม สิ่งที่มีส่วนทำให้ครูหนุ่มจากศิลปากรคนนี้ พยายามหาวิธีการใหม่ๆ อยู่เสมอนอกปัจจัยภายนอกอย่างการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี และพฤติกรรมของนักเรียนแล้ว ยังมาจากแรงบันดาลใจที่ทำให้เด็กจากต่างจังหวัดคนหนึ่งอยากโตขึ้นมาเป็นแม่พิมพ์ของชาติ “สาเหตุที่อยากเป็นครูตั้งแต่เด็กเพราะว่าผมคิดว่าสังคมเรามันไม่เท่ากันครับ สิ่งที่จะสร้างความเท่าเทียมคือ “การศึกษา” ครับ ผมเลยอยากสร้าง Equality ให้กับสังคมครับ” ใครจะรู้ว่าการ์ดเกมของ “ครูติน-คำรณ ผึ่งผาย” ที่อาจจะมีบางคนมองว่าเป็นเรื่องเล่นๆ ไร้สาระนี้ บางทีอาจจะจุดเริ่มต้นเล็กๆ ของการปฎิรูปการศึกษาไทยต่อไปในอนาคตก็เป็นได้   ขอบคุณภาพ : Kamron Phungphai