KATE: หนังนักฆ่าที่ผสมผสานวัฒนธรรมญี่ปุ่น และสะท้อน ‘ชีวิต’ ของคนที่ ‘ไม่ได้ใช้ชีวิต’ ได้อย่างลงตัว

KATE: หนังนักฆ่าที่ผสมผสานวัฒนธรรมญี่ปุ่น และสะท้อน ‘ชีวิต’ ของคนที่ ‘ไม่ได้ใช้ชีวิต’ ได้อย่างลงตัว
/ บทความชิ้นนี้มีการเปิดเผยเนื้อหาของเรื่อง ‘KATE’ (2021) / ในครั้งนี้ ‘Netflix’ และผู้กำกับอย่าง ‘เซดริค นิโคลัส-ทรอยัน’ (Cedric Nicolas-Troyan) ผู้เคยฝากฝีมือกำกับไว้ในเรื่อง ‘The Huntsman: Winter’s War’ (2016) ได้พาสาวกผู้คลั่งไคล้ความระห่ำไปตามดูนักฆ่าหญิงอย่าง ‘เคท’ รับบทโดย ‘แมรี่ เอลิซาเบธ วินสตีด’ (Mary Elizabeth Winstead) ตามล้างแค้นกลุ่มคนที่วางยาพิษใส่เธอ จนทำให้ชีวิตที่เคทตั้งใจจะใช้หลังวางมือจากวงการนักฆ่าต้องสูญสลายไปทั้งหมด เพราะเธอเหลือเวลาอยู่บนโลกใบนี้อีกเพียง 24 ชั่วโมงเท่านั้น ภาพยนตร์เรื่อง ‘KATE’ (2021) เปิดเรื่องมาด้วยวิวมุมสูงของเมืองโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น แต่สำหรับสถานที่ถ่ายทำนั้นกระจายไปทั่วโลก ทั้งลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น รวมไปถึงกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย แต่ทำไมฉากในภาพยนตร์ที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น จึงถ่ายทำในประเทศไทย? KATE: หนังนักฆ่าที่ผสมผสานวัฒนธรรมญี่ปุ่น และสะท้อน ‘ชีวิต’ ของคนที่ ‘ไม่ได้ใช้ชีวิต’ ได้อย่างลงตัว หากใครยังจำได้ ช่วงที่เคทไล่ตามเป้าหมายด้วยรถไคโดะเรเซอร์ ทีมงานเผยว่า ฉากนี้ต้องถ่ายทำด้วยคอมพิวเตอร์กราฟิกทั้งหมด เนื่องจากการขับรถไล่ล่าในโตเกียวเป็นสิ่งที่แทบจะถ่ายทำออกมาไม่ได้เลย เพราะถนนค่อนข้างแคบ ดังนั้นทีมผู้สร้างจึงถ่ายฉากนี้ในประเทศไทยแทน แต่ฉากหลังต้องดูเหมือนกินซ่า ทีมงานจึงถ่ายภาพหลายพันภาพและถ่ายฟุตเทจเอาไว้ยาวเหยียด เพื่อนำมาประกอบเข้าด้วยกันเป็นฉากนี้ทั้งฉาก การฉายภาพ LED นำมาใช้สร้างบรรยากาศรายรอบรถแบบ 200 องศา จึงทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้กรีนสกรีน ซึ่งผู้กำกับเซดริคเผยว่า การถ่ายทำในประเทศไทยและญี่ปุ่นนั้น นักแสดงต้องทำงานกันอย่างหนัก และต้องใช้ความอดทนสูง เนื่องจากช่วงที่ถ่ายทำเป็นฤดูมรสุมที่มีความชื้นแฉะมาสร้างความรำคาญใจอยู่ตลอด KATE: หนังนักฆ่าที่ผสมผสานวัฒนธรรมญี่ปุ่น และสะท้อน ‘ชีวิต’ ของคนที่ ‘ไม่ได้ใช้ชีวิต’ ได้อย่างลงตัว นอกจากเบื้องหลังการถ่ายทำที่ทีมงานและนักแสดงทุกคนทุ่มสุดตัว ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังมีฉากแอ็กชันให้ชมอย่างจุใจ พร้อมเสียงปืนที่ดังแทบจะตลอดเวลา ต้องบอกเลยว่าแค่เปิดเรื่องมาเพียงไม่กี่นาที เราก็จะได้เห็นเคท นักฆ่าสาวขาโหดออกโรงแลกหมัดกับเหล่ายากูซ่าญี่ปุ่นแล้ว แต่หากใครกำลังคิดว่า เนื้อหาทั้งหมดจะมีเพียงการแก้แค้นอย่างเดียว คงต้องบอกว่าไม่ใช่ เพราะเนื้อหาที่แฝงอยู่ในภาพยนตร์ยังสะท้อนสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบันได้เป็นอย่างดี The People สัมภาษณ์พิเศษกับสองนักแสดงนำ ‘แมรี่ เอลิซาเบธ วินสตีด’ (Mary Elizabeth Winstead) และ ‘มิกุ มาร์ติโน’ (Miku Martineau) ผู้รับบท ‘อานิ’ เด็กสาวที่สูญเสียพ่อไปต่อหน้าต่อตาจากการซุ่มโจมตีของเคท ซึ่งนักแสดงทั้งสองคนได้ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นอันน่าสนใจที่ภาพยนตร์เรื่องนี้สะท้อนออกมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องราวของคนที่อยากใช้ชีวิต แต่ไม่มีโอกาสได้ใช้ชีวิต KATE: หนังนักฆ่าที่ผสมผสานวัฒนธรรมญี่ปุ่น และสะท้อน ‘ชีวิต’ ของคนที่ ‘ไม่ได้ใช้ชีวิต’ ได้อย่างลงตัว เสียงสะท้อนของคนที่ไม่ได้ใช้ชีวิต “ฉันอยากใช้ชีวิต วี รู้ไหม ฉันไม่เคยใช้ชีวิตเลย” เคทเอ่ยกับ ‘วอร์ริค’ รับบทโดย ‘วูดดี ฮาร์เรลสัน’ (Woody Harrelson) เขาคนนี้เป็นทั้งอาจารย์ พ่อ พี่ชาย และเพื่อนผู้รู้ใจที่เปลี่ยนเด็กสาวตัวน้อยให้กลายเป็นนักฆ่ามือพระกาฬ กระทั่งวันหนึ่งเคทตัดสินใจรับทำภารกิจสุดท้ายก่อนจะออกไปลองใช้ชีวิตเหมือนคนทั่วไป แต่เธอกลับทำภารกิจผิดพลาดอย่างร้ายแรง นั่นก็คือการสังหารเป้าหมายต่อหน้า ‘เด็ก’ คนหนึ่งที่มีชื่อว่าอานิ องค์กรของเคทมีกฎเหล็กเพียงข้อเดียวคือ ‘ห้ามมีเด็กอยู่ในบริเวณที่ทำภารกิจ’ แต่ด้วยคำสั่งยืนยันการสังหาร เคทจึงจำใจลั่นไกใส่หัวของ ‘เคนทาโร่’ น้องชายของ ‘คิจิม่า’ หัวหน้าแก๊งยากูซ่า แต่ผลของความผิดพลาดนั้นไม่ใช่เพียงความรู้สึกผิดที่ฝังใจเคทเท่านั้น เพราะเธอดันถูกสมาชิกคนหนึ่งของแก๊งยากูซ่าวางยาพิษด้วยรังสีอันเข้มข้นของ ‘โพโลเนียม-204’ ทำให้ชีวิตที่เคทตั้งใจจะใช้เหลือเพียงแค่ 24 ชั่วโมงเท่านั้น ระหว่างการตามล่าเพื่อล้างแค้น เวลา 24 ชั่วโมงที่เหลือนำพาเคทกลับไปพบอานิอีกครั้ง เคทได้ใช้ชีวิตที่เหลืออยู่เพื่อแก้ไขสิ่งที่เธอเคยทำพลาดให้ถูกต้อง เธอทุ่มเทชีวิตไปกับการแก้แค้น และปกป้องอานิอย่างสุดความสามารถ นั่นแหละคือ ‘ชีวิต’ ที่เธอใช้อย่างคุ้มค่าด้วย ‘หัวใจ’ ที่เต้นเพื่อ ‘คนอื่น’ เป็นครั้งแรก KATE: หนังนักฆ่าที่ผสมผสานวัฒนธรรมญี่ปุ่น และสะท้อน ‘ชีวิต’ ของคนที่ ‘ไม่ได้ใช้ชีวิต’ ได้อย่างลงตัว “เพราะเธอถูกฝึกให้เป็นนักฆ่า เธอเลยพลาดอะไรไปหลายอย่างในช่วงวัยเด็ก ซึ่งมันส่งผลต่อบุคลิกภาพ รวมไปถึงการปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น อย่างที่เราเห็นเคทเวลาเธออยู่กับอานิ ในตอนแรกเธอรู้สึกอึดอัดในความสัมพันธ์นี้มาก ฉันคิดว่าเป็นเพราะเธอเห็นความเป็นตัวของตัวเอง เห็นผลลัพธ์ที่ถ้าตัวเคทได้ใช้ชีวิตมันก็คงจะเป็นอย่างนั้น มีอิสระ และมีชีวิตในสักทาง” แมรี่แสดงความคิดเห็นถึงสิ่งที่ตัวละครของเธอสะท้อนออกมา และเมื่อถูกถามว่า แท้จริงแล้วเคทมีความฝันอย่างไรในการใช้ชีวิต แมรี่ก็ให้คำตอบว่า “ในตอนแรกเธอไม่รู้อะไรเลย ฉันคิดว่ามันเป็นเรื่องที่น่าเศร้ามาก เธอยังไม่รู้อะไรอีกหลายอย่างเกี่ยวกับชีวิตก็เลยไม่รู้ว่าต้องฝันถึงอะไร ถ้าคุณเห็นเธอ คุณจะรู้ว่าเธอพยายามดูว่า คนทั่วไปเขาใช้ชีวิตกันอย่างไร” KATE: หนังนักฆ่าที่ผสมผสานวัฒนธรรมญี่ปุ่น และสะท้อน ‘ชีวิต’ ของคนที่ ‘ไม่ได้ใช้ชีวิต’ ได้อย่างลงตัว สิ่งที่ทำให้เคททุกข์ทรมานไม่ใช่เพียงพิษจากโพโลเนียม-204 แต่คือการถูกพราก ‘ชีวิต’ ที่หมายถึงการค้นหาตัวตน การแสดงความรู้สึก การมอบความรัก และการได้รับความรักอย่างคนทั่วไป เธออาจค้นพบว่านอกจากการพรากชีวิตอย่างอาชีพนักฆ่า เธออาจจะชอบการมอบชีวิตอย่างการเป็นแม่ด้วยก็ได้ แต่น่าเสียดายที่เธอไม่มีโอกาสแม้กระทั่งจะฝันถึงสิ่งนั้น “เธอไม่มีโอกาสหาคำตอบด้วยซ้ำว่าชีวิตแบบไหนที่เธอต้องการ” สิ่งที่แมรี่เอ่ยไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเพียงแค่ในภาพยนตร์เท่านั้น เพราะในปัจจุบันยังมีผู้คนมากมายที่กำลังใช้ชีวิตไปตามความต้องการของ ‘คนอื่น’ รวมไปถึงความต้องการของ ‘สังคม’ โดยที่พวกเขาไม่ได้โอกาส หรือไม่ยอมใช้โอกาสในการมองหาชีวิตแบบที่ตนเองต้องการ เคทในโลกแห่งความจริงจึงยังเดินขวักไขว่กันไปมา ต่างกันก็เพียงว่าเคทในโลกภาพยนตร์ไม่ได้ใช้ชีวิต เพราะไม่มีโอกาส แต่เคทในโลกแห่งความจริงอาจลืมคว้าโอกาสทั้ง ๆ ที่ยังมีชีวิต [caption id="attachment_36874" align="aligncenter" width="496"] KATE: หนังนักฆ่าที่ผสมผสานวัฒนธรรมญี่ปุ่น และสะท้อน ‘ชีวิต’ ของคนที่ ‘ไม่ได้ใช้ชีวิต’ ได้อย่างลงตัว Mary Elizabeth Winstead[/caption] นอกเหนือจากเรื่องราวของเคท อีกหนึ่งสิ่งที่สะท้อนความจริงออกมาได้อย่างยอดเยี่ยม คือเรื่องราวภายในครอบครัวยากูซ่าของเด็กสาวผู้ถูกทอดทิ้งอย่างอานิ ครอบครัว ที่พึ่งสุดท้ายที่ห่างไกลความอบอุ่น “อานิเป็นวัยรุ่นที่อยู่ในโตเกียว แต่เธอถูกบีบให้เติบโตอย่างรวดเร็วหลังจากที่พ่อจากไป เธอถูกละเลยจากครอบครัวของตัวเอง ถูกทิ้ง พอเธอเจอเคท เธอเลยติดหนึบ” มิกุ มาร์ติโน ผู้รับบทอานิเผยถึงความรู้สึกของอานิว่า เธอเป็นเด็กหญิงที่โดดเดี่ยว และมีปมเกี่ยวกับการจากไปของพ่อ แต่ในทางกลับกัน เหตุการณ์สะเทือนใจดังกล่าวกลับเป็นตัวเร่งที่ทำให้เธอต้องอยู่ยืนหยัดด้วยตัวเองให้ได้ KATE: หนังนักฆ่าที่ผสมผสานวัฒนธรรมญี่ปุ่น และสะท้อน ‘ชีวิต’ ของคนที่ ‘ไม่ได้ใช้ชีวิต’ ได้อย่างลงตัว ปัญหาที่อานิต้องเผชิญ คือการแย่งชิงตำแหน่งกันในครอบครัวที่ทั้งใหญ่ และเป็นยากูซ่าผู้ทรงอิทธิพล หลังจากที่พ่อของเธอถูกสังหารระหว่างไปพบกับคิจิม่า (รับบทโดย ‘จุน คุนิมุระ’ (Jun Kunimura) นักแสดงระดับตำนานของญี่ปุ่น) อานิถูกละเลยให้ต้องอาศัยอยู่อย่างโดดเดี่ยว มีเพียงผู้ติดตามเท่านั้นที่คนเป็นลุงอย่างคิจิม่าส่งมาปกป้อง แม้กระทั่งการเข้าถึงตัวคิจิม่า อานิยังต้องติดต่อสมาชิกแก๊งหลายคนกว่าจะได้พบกับลุงของตัวเอง สิ่งที่เหมือนกันในความแตกต่างระหว่างเคทและอานิ คือการที่พวกเธอต้องเติบโตอย่างโดดเดี่ยว และไม่มีใครสามารถเติมเต็มความรู้สึกให้ได้อย่างแท้จริง แม้เคทจะมีวอร์ริคเป็นทุกอย่างให้เธอ แต่เขาก็ยังมีความลับอีกมากมายที่เคทไม่เคยรับรู้ ส่วนอานิ เธอมีครอบครัวที่ยังมีลมหายใจ แต่กลับอยู่ห่างไกลราวกับคนไม่รู้จักกัน เมื่อหญิงสาวผู้แบกรับความเหงาทั้งสองคนได้มาพบกัน ความผูกพันจึงค่อย ๆ เกิดขึ้น “เธอรู้สึกสบายใจเมื่อได้อยู่กับเคท รู้สึกได้รับการปกป้อง นี่คือหญิงร้ายแสนเท่ที่เป็นทั้งเพื่อน และคนที่อานิเคารพ สิ่งนี้จึงนำไปสู่ความสัมพันธ์ที่น่ารัก” แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะได้พบกับคนที่ตนเองต้องการ บางคนอาจใช้เวลาตามหากว่าครึ่งชีวิต และบางคนอาจไม่มีโอกาสเจอเลย ถึงแม้อานิจะใช้เวลาไม่ถึง 24 ชั่วโมงอยู่กับเคท แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่านั่นคือช่วงเวลาที่เธอได้รับการเติมเต็มที่สุดเช่นเดียวกัน  KATE: หนังนักฆ่าที่ผสมผสานวัฒนธรรมญี่ปุ่น และสะท้อน ‘ชีวิต’ ของคนที่ ‘ไม่ได้ใช้ชีวิต’ ได้อย่างลงตัว นอกจากนี้ เรื่องราวของอานิยังสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในสังคมทุกยุคสมัย นั่นก็คือปัญหาครอบครัว เด็กหลายคนต้องเติบโตขึ้นพร้อมความรู้สึกโดดเดี่ยว ซึ่งเป็นผลมาจากความใส่ใจอันน้อยนิดจากคนที่ใกล้ชิดที่สุด และควรเป็นที่พึ่งได้มากที่สุดอย่างครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นปัญหามรดก ครอบครัวแตกแยก หรือครอบครัวขาดความอบอุ่น ทั้งหมดล้วนมีผลกระทบต่อชีวิตของเด็กอย่างรุนแรงและฝังลึก นับว่าภาพยนตร์เรื่อง KATE สามารถถ่ายทอดปัญหาและความรู้สึกอันซับซ้อนออกมาได้เป็นอย่างดี ไม่แพ้ฉากแอ็กชันสุดมัน และบรรยากาศของหนังที่คละคลุ้งไปด้วยกลิ่นอายความเป็นญี่ปุ่นที่มีให้เห็นอยู่ตลอดทั้งเรื่อง KATE: หนังนักฆ่าที่ผสมผสานวัฒนธรรมญี่ปุ่น และสะท้อน ‘ชีวิต’ ของคนที่ ‘ไม่ได้ใช้ชีวิต’ ได้อย่างลงตัว วัฒนธรรมญี่ปุ่นในหนังนักฆ่าอเมริกัน ไม่ว่าจะเสียงดนตรี การแต่งกาย อาหาร การแสดง สถานที่ ศิลปะการต่อสู้ของซามูไร รวมไปถึงกองทัพนักแสดงระดับแนวหน้าของญี่ปุ่น ทั้งหมดล้วนอัดแน่นอยู่ในภาพยนตร์จาก Netflix เรื่องนี้ “ผมชอบวัฒนธรรมย่อยแนวไซเบอร์พังก์ ซึ่งเป็นสไตล์ภาพที่ใช้กันในแอนิเมชันญี่ปุ่น และผมก็เป็นแฟนตัวยงของอนิเมะญี่ปุ่นอยู่แล้ว แน่นอนว่า KATE ไม่ใช่หนังไซไฟ แต่ผมอยากให้ทุกอย่างจัดวางมาอย่างดีในแบบที่หนังไซไฟน่าจะเป็น คือนำเสนอความล้ำยุคแต่ก็ดูเป็นจริงในปัจจุบัน นั่นจึงเป็นที่มาของการใช้สีนีออน” ผู้กำกับเซดริคให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับแรงบันดาลใจในการสรรสร้างภาษาภาพให้กับภาพยนตร์เรื่อง KATE แต่นอกจากฉากที่บ่งบอกความเป็นญี่ปุ่นอย่างตรงไปตรงมาแล้ว ทีมผู้สร้างยังใส่รายละเอียดความเป็นญี่ปุ่นเข้าไปในฉากอื่น ๆ ได้อย่างกลมกลืน KATE: หนังนักฆ่าที่ผสมผสานวัฒนธรรมญี่ปุ่น และสะท้อน ‘ชีวิต’ ของคนที่ ‘ไม่ได้ใช้ชีวิต’ ได้อย่างลงตัว ยกตัวอย่าง ฉากที่ ‘โจจิม่า’ (รับบทโดย ‘มิยาบิ’ มือกีตาร์ชื่อดังชาวญี่ปุ่น) กำลังชมรายการโทรทัศน์อยู่ในเพนต์เฮาส์ สิ่งที่ปรากฏอยู่บนหน้าจอคือตอนหนึ่งของซีรีส์เรื่อง ‘Message from Space: Galactic Wars’ ซึ่งเป็นซีรีส์ญี่ปุ่นที่ทำเลียนแบบ ‘Star Wars’ ออกฉายในช่วงปี 1978-1979 หรือหากใครสังเกตก็จะเห็นอนิเมะเรื่องหนึ่งฉายอยู่บนดาดฟ้า นั่นก็คือซีรีส์มังงะเรื่อง ‘Tokyo Ghoul’  นอกจากงานเบื้องหน้าที่มีทั้งนักแสดงระดับตำนานอย่าง ‘ทาดาโนบุ อาซาโนะ’ ‘จุน คุนิมุระ’ และ ‘คาสึยะ ทานาเบะ’ มาสร้างความประทับใจในฝีมือการแสดงของพวกเขาแล้ว เบื้องหลังการถ่ายทำก็ยังมีความเชื่อเรื่องโชคลางของญี่ปุ่นเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย KATE: หนังนักฆ่าที่ผสมผสานวัฒนธรรมญี่ปุ่น และสะท้อน ‘ชีวิต’ ของคนที่ ‘ไม่ได้ใช้ชีวิต’ ได้อย่างลงตัว ก่อนที่จะเปิดกล้อง เซดริคได้แวะไปสักการะ ‘ศาลเจ้าโออิวะ’ ในชินจูกุ ซึ่งตามความเชื่อเรื่องโชคลางของญี่ปุ่น การถ่ายทำจะต้องคำสาปหากไม่ไปสักการะศาลเจ้าโออิวะก่อน เนื่องจากเบื้องหลังศาลเจ้าแห่งนี้ยังผูกโยงกับ ‘ยตสึยะ ไคดัน’ เรื่องผีที่โด่งดังที่สุดเรื่องหนึ่งของญี่ปุ่น โดยความน่าสนใจอยู่ตรงที่เรื่องราวนี้เกี่ยวข้องกับผู้หญิงคนหนึ่งที่ถูกวางยาพิษ และฟื้นคืนจากความตายเพื่อล้างแค้นผู้ที่ทำผิดต่อเธอ สำหรับภาพยนตร์จาก Netflix เรื่อง KATE การผสมผสานความเป็นหนังแอ็กชันให้เข้ากับความงดงามของวัฒนธรรมญี่ปุ่นถือเป็นความโดดเด่นของภาพยนตร์ รวมไปถึงการสอดแทรกปมปัญหาที่ใกล้ตัวได้อย่างกลมกลืน แต่เหนือสิ่งอื่นใด ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังทำให้เห็นความสำคัญของ ‘การใช้ชีวิต’ และ ‘ครอบครัว’ ได้เป็นอย่างดี ‘จงออกไปใช้ชีวิตในตอนที่ยังมีโอกาสใช้ชีวิต’ เคทไม่ได้กล่าว แต่หากมีเวลามากกว่า 24 ชั่วโมง เธอคงจะทำเช่นนั้นแน่ เรื่อง: วโรดม เตชศรีสุธี ภาพ: Netflix https://www.youtube.com/watch?v=MysGjRS9jFU  อ้างอิง: ภาพยนตรเรื่อง KATE (2021) รับชมผ่านทาง Netflix สัมภาษณ์นักแสดงจากภาพยนตร์เรื่อง KATE และข้อมูลจาก Netflix