เช่ The Richman Toy จากนักดนตรีประกวดสู่การเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย ที่ทำให้รู้ว่า “โอกาส” มีความหมาย

เช่ The Richman Toy จากนักดนตรีประกวดสู่การเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย ที่ทำให้รู้ว่า “โอกาส” มีความหมาย
“ที่บ้านชอบฟังเพลงกัน พ่อร้องเพลง ส่วนพี่ชายก็ชอบฟังเพลง เราเลยติดบรรยากาศที่บ้านมา แล้วเริ่มร่วมวงกับที่บ้านตอนประถมปลาย พอมัธยมต้นก็ไปรวมวงกับเพื่อน เริ่มจากเล่นกลองก่อนเพราะความสนุก จนถึงช่วงจะเข้าปี 1 มีเพื่อนชวนมาสอบที่มหิดล ด้วยความที่ตอนนั้นเราเป็นเด็ก ม.6 ยังไม่ได้วางแผนเส้นทางอะไรชัดเจน พูดตรง ๆ คือไปสอบตามเพื่อน พอดีสอบติดก็เข้ามาเรียนแบบไม่ได้คิดอะไร” เช่-อัครวิชญ์ พิริโยดม มือเบสวงป๊อปร็อกขวัญใจวัยอินดี้อย่าง The Richman Toy และหมวกอีกใบคือ ตำแหน่งหัวหน้าสาขาดนตรีสมัยนิยม วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล เล่าให้เรารับรู้ถึงความผูกพันกับสิ่งที่เรียกว่า ‘ดนตรี’ ท่ามกลางบรรยากาศที่มีเสียงดนตรีประกอบอยู่เบื้องหลัง ภายในงานแถลงข่าวเปิดโครงการ THE POWER BAND เวทีประกวดวงดนตรีสากลสมัยนิยมผสมเครื่องเป่า ประจำปี 2564 ที่จัดโดย คิง เพาเวอร์ ไทย เพาเวอร์ พลังคนไทย เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2563 ที่สามย่านมิตรทาวน์ ซึ่งเขาเองเป็นส่วนหนึ่งในกรรมการและผู้ควบคุมการประกวดครั้งนี้ และเส้นทางดนตรีที่เขาเลือกก้าวเดินในสมัยเป็นนักศึกษา ผ่านการทำวงดนตรีและเวทีประกวดนี่เอง ที่เป็นตัวช่วยผลักดันให้ได้เขาได้รับโอกาสดี ๆ ในชีวิต เช่ The Richman Toy จากนักดนตรีประกวดสู่การเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย ที่ทำให้รู้ว่า “โอกาส” มีความหมาย VERSE: ป๊อป ร็อก แจ๊ส เส้นทางดนตรีที่มีมากกว่าหนึ่งสีสัน จากเด็กที่ไม่คิดอะไรมากนอกจากสนุกกับเสียงดนตรี กลายเป็นนักศึกษาหน้าใหม่ในวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ความ ‘จริงจัง’ แบบ ‘ไม่ตั้งใจ’ ของเส้นทางสายเพลงเริ่มขึ้นตรงนั้นเอง อาจารย์เช่ ย้อนความหลังให้เราฟังแบบยิ้ม ๆ ว่าที่เป็นได้อย่างทุกวันนี้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเพื่อน “ตอนนั้นผมเป็นคนที่ไม่ค่อย active กับเรื่องการเล่นดนตรีขนาดนั้น แต่ว่าได้เพื่อนดี ไปจับกลุ่มกับเพื่อนที่เขาชอบออกไปแจมตามผับบาร์ แล้วก็มีแพลนลงประกวดแจ๊ส ผมเลยได้ไปประกวดแทบจะทุกรายการ เพื่อนทำอะไรเราก็ทำด้วย คล้าย ๆ ชะตาเราถูกบังคับให้ต้องพยายามทำอะไรสักอย่างไปเรื่อย ๆ ถือเป็นความโชคดี เพราะได้เข้าไปอยู่ในสังคมตรงนั้น มันคล้ายกับว่าต้องพยายาม active ขึ้นมา” นอกจากการประกวดที่ส่วนมากจะเป็นเวทีแจ๊ส ในตอนนั้นเขายังมีความสนใจที่หลากหลาย เพราะช่วงเดียวกันนั้นเองที่เขารวมวงกับเพื่อน ๆ เพื่อสร้างวงดนตรีป๊อปร็อก ที่ต่อมาภายหลังกลายเป็นชื่อฮิตติดหูวัยรุ่นไทยหลาย ๆ คนอย่าง The Richman Toy “วง The Richman Toy คือทำตั้งแต่ตอนปี 1 นี่แหละ ทำคู่กับการประกวด ทำเพราะความสนุก และความสนุกตรงนี้กลายเป็นความตั้งใจโดยไม่รู้ตัว จนวันหนึ่งเริ่มมีแนวทางบางอย่างที่เหมือนเจอตัวตน ทำให้เราเป็นที่รู้จักในวงการเพลงป๊อป เพลงร็อกขึ้นมา กับส่วนที่ต้องประกวดเวทีแจ๊สที่ต้องทำคู่กันไป ขณะที่ไปเล่นแจ๊สในอีเวนต์งานแต่งเสร็จ ก็รีบเปลี่ยนชุดไปเล่น The Richman Toy เลยเหมือนเราโชคดีที่เจอเส้นทางดนตรีที่ซีเรียสหน่อย กับอันหนึ่งที่เป็นพาร์ทของตัวเอง พอทำไปเรื่อย ๆ จนวันหนึ่งมีเพลงฮิตขึ้นมาทำให้เรามีโอกาสทัวร์คอนเสิร์ตทั่วประเทศ พอเรียนจบอาจารย์ก็ชวนให้กลับมาสอนเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัย” เช่ The Richman Toy จากนักดนตรีประกวดสู่การเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย ที่ทำให้รู้ว่า “โอกาส” มีความหมาย CLIMB: เวทีประกวดเร่งการเติบโตทางด้านดนตรี เมื่อถามถึงข้อดีของการเป็นนักดนตรีสายประกวด อาจารย์หนุ่มบอกว่าข้อดีอย่างหนึ่งคือเวทีประกวดมีส่วนที่ทำให้นักดนตรีได้เติบโตขึ้น “การประกวดจะมี timing และ requirement บางอย่างที่ค่อนข้างจริงจัง การเติบโตอาจจะไม่ได้อยู่ที่ตัว requirement หรือข้อบังคับของการประกวดโดยตรง แต่ไปเพิ่มทักษะบางอย่าง เพราะย้อนไปช่วงวัยรุ่นวุฒิภาวะเรายังไม่ได้เจอเรื่องราวที่หลากหลายขนาดนั้น การประกวดเลยช่วยร่นระยะเวลาให้ได้เจอเรื่องที่ต้องตัดสินใจเร็วขึ้น เลยจะไปช่วยเพิ่มทักษะ วุฒิภาวะ หรือสติชั่วขณะ ให้ขยายขึ้น ทำให้ตอนนั้นเราเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงที่ประกวด” อาจารย์เช่ยังบอกอีกว่าการประกวดกับการทำวงดนตรีเมื่อเริ่มมีงานและชื่อเสียงแล้วก็มีความคล้ายคลึงกันบางอย่าง ตรงที่ “ตอนทำวงแรก ๆ เราจะเป็นพวกพร้อมเมื่อไหร่ก็ทำ ไม่พร้อมก็ชิลล์ แต่พอเริ่มโตเราเริ่มมีเพลงฮิต ค่ายเพลงก็ต้องไปพร้อมกับเรา ทำให้มี timing ที่เข้ามากำหนดให้ต้องเสร็จตามเดดไลน์ เรียกว่าการประกวดกับการเป็นศิลปินบางทีมีความคล้ายกันในแง่ของข้อบังคับบางอย่าง” เช่ The Richman Toy จากนักดนตรีประกวดสู่การเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย ที่ทำให้รู้ว่า “โอกาส” มีความหมาย HOOK: โอกาสในวงการดนตรี และเวที THE POWER BAND “ปัจจุบันรายการประกวดดนตรีหายไปนานมากไม่ค่อยมีแล้ว แต่ก่อนจะมีการประกวดหลายรายการ ช่วงนั้นวงที่ไทยเรียกว่าสตริงคอมโบ คือวงเครื่องดนตรีกีตาร์ เบส ร้อง กลอง คอรัส บวกเครื่องเป่า บูมในยุค 70 ปลาย ๆ แล้วทำให้คนไทยเล่นได้ หรือใช้ harmony แบบนั้นได้ในประมาณยุค 90 ปลาย ๆ มีวงอย่าง Groove Riders อย่าง Crescendo ในช่วงปี 90 ปลายถึง 2000 ในช่วงนั้น เป็นเทรนด์ในการทำวงแบบนั้นด้วยซ้ำ แต่ถึงจุดหนึ่งการประกวดได้หายไป แล้วหายไปเลยจนมาถึงวันนี้ โดยตลอด 3 ปีที่ผ่านมาคิง เพาเวอร์ ได้สนับสนุนด้านดนตรีอย่างต่อเนื่อง จัดทำโครงการประกวดวงดุริยางค์เครื่องเป่านานาชาติ (TIWSC) ที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูง จนล่าสุดได้เห็นความสำคัญที่จะขยายโอกาสให้เปิดกว้างยิ่งขึ้น เป็นที่มาของการจัดโครงการ THE POWER BAND เวทีประกวดวงดนตรีสากลสมัยนิยมผสมเครื่องเป่า ประจำปี 2564 ขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งอาจารย์เช่บอกกับเราว่า “ความน่าสนใจของเวทีนี้คือเครื่องเป่า จริง ๆ แล้ววงรูปแบบนี้มันมาจากพวก Big Band ในสมัยก่อน สมมติวงออร์เคสตราที่มีเครื่องสายเยอะ ๆ ที่ต้องเล่นหลายคน เพราะยุคนั้นไม่มีเครื่องเสียงเลยต้องเล่นพร้อมกัน ทำให้ลักษณะของ arrangement กว้างขึ้น ในยุคหนึ่งที่วงอาร์ แอนด์ บี วงบลูส์ เอาเครื่องเป่ามาใช้ ก็จะขยายทำให้วงขนาดเล็กมีปลายเปิดของ arrangement ที่ใหญ่ขึ้น เพราะงั้นวงที่ประกวดรายการนี้ จับประเด็นตรงนี้ แล้วใช้ arrangement ทำให้เกิดความรู้สึกที่คนไม่เคยได้ยินมาก่อน จะสร้างความน่าสนใจให้ผู้ฟังได้เป็นอย่างดี มันเลยแตกต่างจากการตัดเครื่องเป่าไปเลย” เช่ The Richman Toy จากนักดนตรีประกวดสู่การเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย ที่ทำให้รู้ว่า “โอกาส” มีความหมาย ด้าน อภิเชษฐ์ ศรีวัฒนประภา ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ กล่าวเสริมว่า “สำหรับการประกวดโครงการ THE POWER BAND เวทีประกวดวงดนตรีสากลสมัยนิยมผสมเครื่องเป่า ประจำปี 2564 เราถือว่าเป็นเวทีที่คนจะได้มาแสดงความสามารถทางด้านดนตรีที่พวกเขามี เราเชื่อมั่นว่าประเทศไทยเป็นเมืองเพชร แต่เป็นเพชรที่ถูกฝังอยู่ เราต้องการให้เพชรเหล่านั้นได้เกิดการเจียระไนและได้โชว์แสงในตัวเองออกมา และหวังอย่างยิ่งว่าเวทีของเราน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นให้เยาวชนคนไทยได้แสดงพลัง และได้ก้าวไปโชว์ฝีมือเทียบเท่ากับทั่วโลกได้” โดยอาจารย์เช่ยังเล็งเห็นว่าเวทีนี้น่าจะกลายเป็นเวทีที่ให้โอกาสในการทำสิ่งที่รักแก่นักดนตรีระดับมัธยมศึกษา (Class F) และบุคคลทั่วไป (Class E) โดยมีข้อแม้เพียงว่าผู้เข้าประกวดต้องเป็นวงดนตรีที่ยังไม่มีสังกัดหรือค่ายเพลง พร้อมทั้งฝากกำลังใจมาให้คนที่รักในการทำเพลงว่า “ทำต่อไป ไม่ต้องไปคิดมาก เราอาจจะต้องหาแรงผลักดันบางอย่างที่จะก้าวไปข้างหน้า ส่วนตัวผมเชื่อว่าคนที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่ต้องมีแรงผลักดัน ใครที่สนใจอยากให้มาประกวดกัน เพราะการประกวดแบบนี้ห่างหายไปนานแล้ว จะได้เหมือนกับมารวมตัวทำอะไรตามกฎเกณฑ์ตาม requirement และสร้างสรรค์บางอย่างบนกฎเกณฑ์เหล่านั้น ผมว่าจะเป็นเรื่องที่สนุกมาก” ถือเป็นอีกหนึ่งโอกาสดี ๆ สำหรับนักดนตรีทั่วประเทศ ที่อยากพัฒนาฝีมือตัวเองผ่านเวทีประกวด ซึ่งโครงการนี้ กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ มีจุดยืนว่าอยากเห็นการเติบโตของคนไทยในเวทีโลก ถือเป็นการรวมพลังคนไทย โดย คิง เพาเวอร์ ไทย เพาเวอร์ พลังคนไทย ให้คนไทยได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ รวมพลังกันผ่านเสียงดนตรี สำหรับผู้ที่สนใจสมัครเข้าแข่งขันใน โครงการ THE POWER BAND เวทีประกวดวงดนตรีสากลสมัยนิยมผสมเครื่องเป่า ประจำปี 2564 สามารถสมัครได้ฟรี และสมัครออนไลน์ได้ที่ www.music.mahidol.ac.th/tiwsc ได้จนถึงวันที่ 5 มกราคม 2564 เช่ The Richman Toy จากนักดนตรีประกวดสู่การเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย ที่ทำให้รู้ว่า “โอกาส” มีความหมาย