31 ม.ค. 2567 | 18:05 น.
ในยุคสมัยปัจจุบัน มนุษย์อายุขัยเฉลี่ยยืนยาวขึ้นด้วยเหตุผลหลายประการ ทั้งเรื่องอาหารการกิน สภาพแวดล้อม เทคโนโลยี และการแพทย์ที่เจริญก้าวหน้าขึ้นเรื่อย ๆ
เป็นเหตุผลที่ในทุกปี ผู้ชำนาญการทางการแพทย์ ไม่ว่าจะแพทย์ เภสัชกร พยาบาล ทันตแพทย์ นักกายภาพบำบัด ฯลฯ ทั่วประเทศ ได้มารวมตัวกันในงานประชุมวิชาการ “BDMS ACADEMIC ANNUAL MEETING 2023” เพื่ออัพเดทเทรนด์ แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ต่าง ๆ ให้วงการแพทย์ไทยเป็นเสาหลักของสุขภาพคนไทยอย่างแข็งแกร่ง
การประชุมนี้จัดต่อเนื่องมา 18 ปี และปี 2566 ได้จัดขึ้นที่ศูนย์ประชุมแห่งใหม่ BDMS Connect Center ถนนวิทยุ กรุงเทพฯ ภายใต้แนวคิด “A Road to Lifelong Well-Being” (เส้นทางสู่การมีสุขภาพดีอย่างยืนยาว) ซึ่งเป็นหมุดหมายที่มนุษย์ทุกคนใฝ่ฝัน
ในปีนี้ เนื้อหาในงาน BDMS ACADEMIC ANNUAL MEETING 2023 มุ่งเน้นไปที่แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของประชากรโลกที่มีสัดส่วนของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ดังนั้นในฐานะผู้ให้บริการด้านสุขภาพและการแพทย์แบบครบวงจร BDMS จึงให้ความสำคัญในการวางรากฐานและดูแลประชากรทุกช่วงวัย โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงวัยให้มีชีวิตที่ยืนยาวอย่างมีสุขภาพที่ดี โดยงานจัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 ตุลาคม ถึง 3 พฤศจิกายน 2566 ประกอบด้วยหลากหลายเวทีเสวนา อาทิ เคล็ดลับการดูแลสุขภาพอย่างยั่งยืน (Sustainable Wellness) โดย นายแพทย์ตนุพล วิรุฬหการุญ ประธานคณะผู้บริหาร บีดีเอ็มเอส เวลเนส, หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็ง (Comprehensive Cancer Care For Well-Being) โดย ศาสตราจารย์พิเศษ นายแพทย์ธีรวุฒิ คูหะเปรมะ, การดูแลสมอง และป้องกันตัวเองจากโรคความจำเสื่อม (How to Improve Brain and Dementia Prevention) โดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์ก้องเกียรติ กูณฑ์กันทรากร เป็นต้น
ในวันที่สังคมไทยก้าวสู่สังคมสูงวัย เรื่องสุขภาพและโรคภัยเป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องเตรียมพร้อมรับมือ ไม่ใช่รอให้เกิดขึ้นแล้วแก้ไข The People ได้คัดเลือก 2 เวทีที่เชื่อว่าจะมีประโยชน์กับผู้อ่านมาสรุปให้โดยละเอียด…
นพ.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ ผู้ก่อตั้ง บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน)
พญ.ปรมาภรณ์ ปราสาททองโอสถ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่และประธานคณะผู้บริหารอาวุโส กลุ่ม 1
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.อรรถ นานา รองผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายแพทย์ กลุ่ม 1
นพ.ไพศาล เลิศฤดีพร ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายแพทย์ กลุ่ม 1
A Road to Lifelong Well-Being : ฮาวทู มีสุขภาพที่ดีอย่างยืนยาว
เวทีแรก เกี่ยวกับสังคมผู้สูงวัย และการทำอย่างไร ให้มีร่างกายที่แข็งแรงยืนยาวในอายุที่มากขึ้นเรื่อย ๆ
การมีร่างกายที่แข็งแรงในช่วงอายุเยอะ ไม่เพียงแต่สำคัญกับตัวเองเท่านั้น แต่สำคัญกับประเทศชาติเช่นกัน เพราะคาดว่า ปี 2583 ประเทศไทยจะมีสัดส่วนผู้สูงวัยกว่า 20.51 ล้านคน หรือ 31.37% ขณะที่ยอดเด็กเกิดใหม่เติบโตสวนทางกัน จากสภาพแวดล้อมและวิถีชีวิตคนรุ่นใหม่ที่มีลูกน้อยลง ดังนั้นในวันที่ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย จึงต้องสูงวัยฉบับมีคุณภาพ
ในเวทีเสวนา 'A Road to Lifelong Well-Being' สุขภาพที่ดีอย่างยืนยาว ดร.นพ.ภูษิต ประคองสาย เลขาธิการมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) ได้ให้ความรู้ว่า ประเทศไทยกำลังเจอกับสึนามิประชากร ตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นไป เราจะมีประชากรสูงวัยเพิ่มขึ้นปีละ 1 ล้านคน ขณะที่เด็กเกิดใหม่ต่อปีน้อยกว่าผู้เสียชีวิต ความน่ากังวลกว่านั้นคือ คนสูงวัยจะอยู่คนเดียวเพิ่มขึ้น เห็นได้จากตัวเลขแนวโน้มที่ผ่านมา ที่มีผู้สูงวัยอยู่คนเดียว 3.6% ในปี 2537 สู่ 12% ในปี 2564
ขณะที่การศึกษารายได้ผู้สูงวัยระหว่างปี 2545 – 2564 พบว่า ในปี 2545 ผู้สูงวัย 58% พึ่งพารายได้จากลูกหลาน ก่อนลดลงเรื่อย ๆ ปัจจุบันอยู่ที่ 32% และอีกราว 19-20% พึ่งเบี้ยยังชีพ จำนวน 600-800 บาทต่อเดือน มีสัดส่วนผู้สูงวัยที่อยู่ใต้เส้นความยากจนกว่า 6.8% ทั้งยังพบว่า ผู้สูงวัยจำนวนหนึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องทำงานอยู่ในปัจจุบัน
ในอนาคต ผู้สูงวัยอาจจะต้องอยู่คนเดียวเพิ่มขึ้น พึ่งพาตนเองมากขึ้น คำถามสำคัญคือ จะทำอย่างไรเพื่อเตรียมพร้อมสภาพแวดล้อมและสังคม สำหรับคนกลุ่มนี้
ในแง่ร่างกาย ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ อัสสันตชัย คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า การออกกำลังกายและการกินอาหารที่ดี อาจไม่เพียงพอต่อความต้องการในร่างกายของผู้สูงวัย ด้วยร่างกายที่เสื่อมถอยในหลายด้าน ทั้งกายและใจ จึงต้องให้ความสำคัญในเรื่องของ Well-being ที่ไม่ใช่แค่เรื่องการรักษาโรคเท่านั้น แต่ต้องป้องกันโรคด้วย โดยมีหลักการดังนี้
อา - อ้วน - อารมณ์ดี - ออก - อุ - บาย - หา - เพื่อน - แวดล้อม - ฉีด - ยา
ด้าน ศ.นพ.วีรศักดิ์ เมืองไพศาล คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล บอกว่า สุขภาพกายและสุขภาพใจเป็นเรื่องเชื่อมกัน และสำคัญมากในผู้สูงวัย พบว่า ผู้สูงวัยที่อายุยืนยาวมักมองโลกในแง่บวก ไม่มีปัญหาด้านสุขภาพใจ การนอน
ทั้งนี้ ในการรัฐบาลไทยก็มีความพยายามพัฒนานโยบายหลายด้านเพื่อรองรับสังคมสูงวัย ให้มีสังคม มีรายได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดี ตามแผนพัฒนาประชากรเพื่อการพัฒนาประเทศระยะยาว (2565 – 2580) และตั้งแต่ปี 2564 กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกนโยบายให้มีการคัดกรองในชุมชนสำหรับผู้สูงวัย โดยการคัดกรองความถดถอย 9 ด้าน ได้แก่ ความคิดความจำ, การเคลื่อนไหวร่างกาย, การขาดสารอาหาร, การมองเห็น, การได้ยิน, การซึมเศร้า, การกลั้นปัสสาวะ, การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และ สุขภาพช่องปาก
สอดคล้องกับพันธกิจของ BDMS ในฐานะโรงพยาบาลชั้นนำ ที่มุ่งเน้นเรื่องการสร้าง wellness ในกับประชากรไทย ผ่านการวางรากฐานและดูแลประชากรทุกช่วงวัย โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงวัยให้มีชีวิตที่ยืนยาวอย่างมีสุขภาพที่ดี
A journey to longevity : หยุดความแก่ไว้ ให้อายุเป็นเพียงแค่ตัวเลข
สำหรับเวทีที่สองที่เราคัดมานำเสนอ เหมาะกับวัยรุ่น ไปจนถึงวัยกลางคน เพราะพูดถึงการชะลอวัยฉบับสุขภาพดีและยั่งยืน – จริง ๆ แล้วทุกวันนี้หลายคนแก่ช้าลงมากด้วยเทคโนโลยีและการแพทย์ แต่จะแก่ช้าแบบมีคุณภาพ ต้องดีมาจากทั้งภายในและภายนอก และต้องเริ่มตั้งแต่อายุยังน้อย ดูแลตัวเองให้เป็นไลฟ์สไตล์ ไม่ใช่ challenge ที่มีเส้นชัย
อัฐ ทองแตง ประธานคณะผู้บริหาร กลุ่ม 5 บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในฐานะโรงพยาบาล BDMS มองว่านอกจากการรักษาแล้ว โรงพยาบาลต้องหันมาให้ความสำคัญกับการ ‘ป้องกัน’ นั่นคือการ check-up สุขภาพของคนไข้ เพื่อให้ prevent โรคภัยต่าง ๆ ได้ก่อนจะสายไป ซึ่งตอนนี้ ทาง BDMS เองก็มีลูกค้าองค์กรหลายเจ้า ที่วางใจให้พนักงานเข้ามาตรวจร่างกายกับโรงพยาบาลเป็นประจำทุกปี
ปัจจุบัน ทางโรงพยาบาลเล็งปรับจากโปรแกรมตรวจสุขภาพ อัพเกรดสู่การเป็น Health Solution เพื่อสร้าง Health Culture ให้แก่องค์กรต่าง ๆ ให้ความรู้สู่การมุ่งสู่สังคม longevity ไปพร้อมกัน เพราะการชะลอความแก่ไม่เพียงแต่ทำให้เราดูดีสวนทางอายุเท่านั้น แต่จะช่วยลดความเสี่ยงโรคภัยเมื่อสูงวัยขึ้นด้วย
"Human Aging and Multifactorial Process ของคนเรา จะเริ่มด้วยการเป็นทารก เด็ก วัยรุ่น จบการศึกษา วัยทำงาน เก็บเงิน และผู้สูงอายุ ซึ่งถ้าเป็นวัยผู้สูงอายุ ก็เสมือนกับการเดินลงเขา แต่การจะชะลอให้การเดินลงเขา หรือชะลอการป่วย ชะลอความแก่ การทำแค่ป้องกันอาจไม่เพียงพอ แต่จะต้องเข้าไปถึงกระบวนการ Intervention (การแทรกแซง) การใช้ชีวิต การดูแลสุขภาพอย่างเป็นระบบด้วยข้อมูลและเทคโนโลยีจำนวนมาก เพื่อให้สุขภาพยืนยาว หรือรั้งสุขภาพให้กลับมาดีกว่าเก่า" ณรงค์ฤทธิ์ กาละพุฒ ประธานคณะบริหาร กลุ่ม7.1 BDMS และกรรมการผู้จัดการ บริษัท เนชั่นแนล เฮลท์แคร์ ซิสเท็มส์ (N Health) กล่าว
ณรงฤทธิ์บอกด้วยว่า การดูแลสุขภาพควรจะเริ่มตั้งแต่อายุยังน้อย ควรจะดูแลจริงจังก่อนวัยเลข 4 และหากอายุ 40 ปี ก็ต้องดูแลอย่างต่อเนื่อง เพื่อชะลอความแก่ ซึ่งหลายคนดูแลสุขภาพแล้วอาจจะเกิดคำถามในใจว่าจะชี้วัดได้อย่างไรว่าสุขภาพเราอยู่ที่จุดไหน ในประเด็นนี้ ทาง BDMS มีตัวชี้วัดที่พัฒนาแบบก้าวกระโดดจาก N Health ถือเป็นอาวุธสำคัญใน Medical Wellness หรือการรณรงค์ให้ชาวไทยและต่างชาติรักสุขภาพต้องมีตัวชี้วัด
นอกจากการป้องกัน ก็ต้องเสริมเรื่องการ ‘ดูแล’ เข้าไปด้วย เรื่องนี้ นพ.ตนุพล วิรุฬหการุญ ประธานคณะผู้บริหาร บีดีเอ็มเอส เวลเนส คลินิก บอกว่า เรื่องของสุขภาพที่ดีและยั่งยืนนั้น เป็นตลาดที่เติบโตมาก ๆ ใน 3 ปีที่ผ่านมา ทั้งเรื่องการออกกำลังกาย หรือการหลีกเลี่ยงอาหารที่ก่อให้เกิดการแพ้ ฯลฯ และสิ่งสำคัญของศาสตร์ชะลอวัยก็คือ ‘6 Pillars of Lifestyle Medicine’ ได้แก่
นพ.ตนุพลบอกว่า การดูแลร่างกายต้องเริ่มตั้งแต่หนุ่มสาว อย่าคิดว่าตัวเองไม่ป่วย บางทีอาการอาจจะไม่แสดงออก มีหลายคนที่มาปรึกษาที่ BDMS Wellness โดยไม่มีอาการป่วย แต่พอตรวจละเอียดก็พบว่ามีอาการซ่อนอยู่ ซึ่ง BDMS Wellness เป็นศูนย์กลางที่จะช่วยให้ในการวางแผนดูแลสุขภาพตั้งแต่เริ่มต้น ไม่จำเป็นต้องมีอาการป่วย เรียกว่า Preventive Medicine หรือเวชศาสตร์ป้องกัน ซึ่งจะทำให้เส้นทางการสูงวัยอย่างแข็งแรง สุขภาพดี อย่างยั่งยืน เป็นไปได้จริง