หลุยส์ เมานต์แบตเทน เอิร์ลเมานต์แบตเทนแห่งพม่า: จอมพลแห่งอังกฤษผู้เคยถูกชักชวนให้ทำรัฐประหาร

หลุยส์ เมานต์แบตเทน เอิร์ลเมานต์แบตเทนแห่งพม่า: จอมพลแห่งอังกฤษผู้เคยถูกชักชวนให้ทำรัฐประหาร

“การจะทำรัฐประหารให้ประสบความสำเร็จต้องมีปัจจัย 5 อย่าง อย่างแรกคือ การควบคุมสื่อ ควบคุมเศรษฐกิจ จับกุมตัวเป้าหมายฝ่ายบริหาร จับนายกรัฐมนตรีและนักการเมืองอีกข้าง ยึดรัฐสภา กลาโหม สำนักนายก ปิดสนามบิน สถานีรถไฟ แล้วค่อยประกาศเคอร์ฟิวและประกาศกฎอัยการศึก สิ่งสำคัญคือต้องใช้กองกำลังที่เชื่อฟังอย่างไม่มีคำถามอีกหลายหมื่นคน นี่ยังไม่ได้พูดถึงพวกตำรวจเลยนะ และปัจจัยสำคัญสุดท้ายคือ ความชอบธรรมที่ประกอบด้วยศาลยุติธรรม กฎหมาย จารีตประเพณี รัฐธรรมนูญ การจะโค่นล้มรัฐให้ได้จะต้องล้มทุกอย่างที่ว่ามา

“แต่ในสังคมประชาธิปไตยก้าวหน้าเช่นสังคมของเรา อำนาจชอบธรรมเหล่านี้เป็นสิ่งที่จะละเมิดไม่ได้ นั่นเป็นเหตุผลที่ทำให้การทำรัฐประหารในสหราชอาณาจักรไม่มีทางสำเร็จได้ เว้นเพียง…จะมีคนที่ยังไม่เอ่ยถึงช่วยหนุนหลัง สถาบันกษัตริย์คือผู้มีอำนาจเหนือสิ่งอื่นใด มีอำนาจตามรัฐธรรมนูญที่มีความแตกต่างจากสถาบันอื่น ถ้าเธอร่วมกับเรา พระราชินีของเราสามารถสั่งยุบสภาและแต่งตั้งรัฐบาลใหม่ได้ แน่นอนว่ารวมถึงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ด้วย”

[caption id="attachment_28036" align="aligncenter" width="1200"] หลุยส์ เมานต์แบตเทน เอิร์ลเมานต์แบตเทนแห่งพม่า: จอมพลแห่งอังกฤษผู้เคยถูกชักชวนให้ทำรัฐประหาร The Crown[/caption] ทุกคนต่างรู้ว่าสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เป็นประมุขแห่งรัฐของสหราชอาณาจักร อยู่บนยอดสุดของเกาะที่รุ่งโรจน์ ทว่าก็ทรงเป็นประมุขใต้รัฐธรรมนูญ และในยุคของสมเด็จพระราชินีนาถ เอลิซาเบธที่ 2 ไม่เคยเกิดการรัฐประหารโดยกองทัพมาก่อน แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่เคยเกือบเกิดขึ้นบนแผ่นดินอังกฤษ หากใครเคยดูซีรีส์เรื่อง The Crown ซีซัน 3 ตอน ‘Coup’ (รัฐประหาร) กันมาก่อน จะต้องคุ้นเคยกับเหตุการณ์ที่เรากำลังเอ่ยถึง เมื่อสหราชอาณาจักรพบเจอกับวิกฤตหลายด้านโดยเฉพาะเรื่องปัญหาปากท้องของประชาชน นายกรัฐมนตรี ฮาโรลด์ วิลสัน (Harold Wilson) จากพรรคแรงงาน ตัดสินใจยอมลดค่าเงินปอนด์เพื่อพยุงเศรษฐกิจของประเทศ การลดค่าเงินส่งให้เกิดกระแสความไม่พอใจไปทั่วอังกฤษ แรงงานบางส่วนตัดสินใจลงถนนเดินประท้วงการทำงานของรัฐบาล เป็นเวลาเดียวกับที่สมเด็จพระราชินีเสด็จฯ ไปยังฝรั่งเศสและอเมริกาเพื่อศึกษากิจการม้าแข่ง เมื่อราชินีไม่อยู่ ท่านก็ไม่อาจทราบได้เลยว่ากลุ่มนายธนาคาร นักธุรกิจ นักการเมืองฝ่ายค้าน นักหนังสือพิมพ์ ได้เชื้อเชิญชวนทหารชั้นผู้ใหญ่ที่เป็นสมาชิกราชวงศ์ผู้ใกล้ชิดอย่าง ลอร์ดเมานต์แบตเทน มาร่วมวางแผนทำบางสิ่ง หลุยส์ เมานต์แบตเทน เอิร์ลเมานต์แบตเทนแห่งพม่า: จอมพลแห่งอังกฤษผู้เคยถูกชักชวนให้ทำรัฐประหาร ก่อนจะเป็น หลุยส์ เมานต์แบตเทน เอิร์ลเมานต์แบตเทนแห่งพม่า (Louis Mountbatten, Earl Mountbatten of Burma) ซึ่งเป็นตำแหน่งสุดท้ายจนถึงวันที่เสียชีวิต ตำแหน่งเก่าของพระองค์คือ เจ้าชายหลุยส์แห่งบัทเทินแบร์ค (Prince Louis of Battenberg) พระองค์เกิดในพระราชวังวินด์เซอร์เมื่อปี 1900 เป็นหลานชายของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งอังกฤษ มีปู่ทวดเป็นพระเจ้าซาร์แห่งรัสเซีย พี่สาวของพระองค์คือเจ้าหญิงอลิซแห่งบัทเทินแบร์ค มารดาผู้พลัดถิ่นของเจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ (Prince Philip Duke of Edinburgh) ผู้เป็นพระสวามีของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ทางด้านเจ้าหญิงอลิซที่มีอาการหูหนวกตั้งแต่เกิดถูกส่งไปยังสถานบำบัดจิต ลูกชายคนเล็กของเธอถูกส่งไปอยู่โรงเรียนประจำในอังกฤษ และลอร์ดเมานต์แบตเทนก็คอยดูแลฟิลิปแทนเจ้าหญิงอลิซมาตลอด ลอร์ดเมานต์แบตเทนเป็นนายทหารเรือหนุ่มน่าจับตามอง พระองค์จริงจังกับการฝึก ทุ่มเทกับการทำงาน และมีบทบาทอย่างยิ่งในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 พระองค์ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองเรือสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ช่วงปี ค.ศ. 1943-1946 เมื่อมหาสงครามจบลง พระองค์ได้เดินทางไปยังอินเดีย และดำรงตำแหน่งเป็นอุปราชคนสุดท้ายแห่งอินเดีย (The Last Viceroy of India) เพราะหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 จบลง อาณานิคมเก่าต่างพากันประกาศอิสรภาพ รวมถึงอินเดียที่ต้องการปกครองตัวเองไม่ยอมอยู่ใต้ธงของสหราชอาณาจักรอีกต่อไป ถือเป็นการเริ่มต้นของยุคใหม่อีกครั้ง ซึ่งตัวของท่านลอร์ดเองก็เดินทางกลับไปยังบริเตนใหญ่ในปี 1948   หลุยส์ เมานต์แบตเทน เอิร์ลเมานต์แบตเทนแห่งพม่า: จอมพลแห่งอังกฤษผู้เคยถูกชักชวนให้ทำรัฐประหาร การผ่านสงครามโลกทั้งบนภาคพื้นทวีปยุโรปและการสั่งการในแถบพม่า รวมถึงเดินทางไปทำงานยังอินเดีย ส่งให้ลอร์ดเมานต์แบตเทนมีเหรียญตราเกียรติยศมากมายติดอยู่เต็มอก พระองค์เป็นทหารที่ลงพื้นที่จริง ทำงานจริง และกลายเป็นที่รู้จักของชาวอังกฤษในฐานะรัฐบุรุษและทหารเรือ นอกจากนี้ ลอร์ดเมานต์แบตเทนมีอิทธิพลต่อราชวงศ์อังกฤษเป็นอย่างมาก พระองค์เป็นทหารชั้นผู้ใหญ่ เป็นลุงของเจ้าชายฟิลิป และเป็นที่ปรึกษาคนสนิทให้กับว่าที่กษัตริย์อย่างเจ้าชายชาร์ลส์ พระองค์จึงมักได้รับการยกย่องนับถือจากสมาชิกราชวงศ์เสมอ ไม่เว้นแม้แต่ประมุขแห่งรัฐอย่างสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ชายหนุ่มที่ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานมีชีวิตรักที่ไม่หอมหวานเท่าไรนัก ลอร์ดเมานต์แบตเทนกับภริยามีความสัมพันธ์ที่ไม่ค่อยราบรื่น พระองค์แต่งงานกับลูกสาวมหาเศรษฐีนามว่า เลดี้ เอ็ดวิน่า แอชลีย์ ( Lady Edwina Ashley) และไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ที่รักหวานฉ่ำกลายเป็นความจืดจาง สำนักข่าว Washington Post รายงานว่า ทั้งคู่นอนอยู่ในห้องเดียวกัน แต่กลับแยกเตียง พวกเขาจะสนับสนุนการกระทำของอีกฝ่ายเหมือนกับคู่หู และอาจไม่มีความรักเจือปนอยู่ในความสัมพันธ์อีกต่อไป’ ที่ทำให้ถูกชาวอังกฤษแซวว่าไปรู้ลึกขนาดนั้นได้อย่างไร หลุยส์ เมานต์แบตเทน เอิร์ลเมานต์แบตเทนแห่งพม่า: จอมพลแห่งอังกฤษผู้เคยถูกชักชวนให้ทำรัฐประหาร ความสัมพันธ์แปลกประหลาดของทั้งสองทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ไปต่าง ๆ นานา มีข่าวลือหนาหูว่าลอร์ดเมานต์แบตเทนเป็นเกย์ นิยมชมชอบเด็กหนุ่มอายุน้อยหน้าตาดี บ้างก็ว่าพระองค์นอกใจภริยาไปรักกับผู้หญิงอีกคน แต่ก็มีอีกฝั่งมาเถียงว่าภริยาต่างหากที่นอกใจท่านลอร์ด และนอกจากพวกเขาและคนใกล้ชิดก็คงไม่มีใครรู้จริงถึงประเด็นนี้ ซีรีส์เรื่อง The Crown ได้นำเสนอมุมมองน่าสนใจเกี่ยวกับชีวิตการทำงานช่วงท้ายของลอร์ดเมานต์แบตเทน รัฐบาลอ้างว่าพระองค์ไม่ยอมตัดงบประมาณกลาโหมเพื่อลดค่าใช้จ่าย ทางรัฐบาลจึงตกลงจะให้พระองค์ออกจากตำแหน่งสายฟ้าแลบในปี 1965 และได้ถูกเหล่ากลุ่มคนที่คิดจะล้มรัฐบาลชักชวนให้เข้าร่วมการประชุมหลายครั้ง โดยในซีรีส์ได้นำเสนอว่าลอร์ดเมานต์แบตเทนสนใจการวางแผนนี้ และจะพยายามโน้มน้าวสมเด็จพระราชินีให้ร่วมด้วย หลุยส์ เมานต์แบตเทน เอิร์ลเมานต์แบตเทนแห่งพม่า: จอมพลแห่งอังกฤษผู้เคยถูกชักชวนให้ทำรัฐประหาร อย่างไรก็ตาม การเข้าร่วมประชุมวางแผนทำรัฐประหารของลอร์ดเมานต์แบตเทนเป็นที่ถกเถียงมากในโลกแห่งความจริง ในซีรีส์ The Crown เล่าว่าพระองค์เข้าร่วมการประชุมมากกว่าหนึ่งครั้ง แต่ แอนดรูว์ โลว์นี (Andrew Lownie) ผู้เขียน The Mountbattens: ชีวิตและความรักของพวกเขา ได้พูดคุยกับตระกูลชนชั้นสูงอย่างใกล้ชิด เขายืนยันว่าลอร์ดเมานต์แบตเทนมีส่วนร่วมแค่เข้าฟังการประชุมครั้งแรกเท่านั้น และอาจมีการเขียนจดหมายโต้ตอบกับสมาชิกร่วมขบวนการคนอื่น ๆ จริง ทว่าภายหลังจดหมายที่กลุ่มผู้วางแผนใช้ติดต่อกันก็หายไปอย่างไร้ร่องรอย นอกจากนี้ในบทความทฤษฎีสมคบคิดของฮาโรลด์ วิลสัน 1968 (Main Article: Harold Wilson Conspiracy Theories the 1968) อ้างว่าในเดือนพฤษภาคม 1968 ลอร์ดเมานต์แบตเทนได้เข้าร่วมประชุมส่วนตัวกับ ซิซิล คิง (Cecil King) หัวหอกของการวางแผนปฏิวัติ การประชุมดังกล่าวมีผู้เข้าร่วมมากกว่า 30 คน จากหลายฝักหลายฝ่าย รวมถึง MI5 เพราะการบริหารงานของฮาโรลด์ทำให้กลุ่มสหภาพแรงงานออกมาประท้วง การลดค่าเงินปอนด์ที่ว่าแย่แล้วยังต้องมาเจอกับการหยุดงานของแรงงานอีก ก็ยิ่งทำให้ประเทศติดขัดเข้าไปใหญ่ [gallery columns="2" link="none" size="large" ids="28045,28037"] เมื่อสามารถยืนยันได้ค่อนข้างแน่ชัดว่าลอร์ดเมานต์แบตเทนเข้าไปพัวพันกับการวางแผนทำรัฐประหารรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีฮาโรลด์ด้วยจริง ก็เกิดการตั้งคำถามตามมาอีกครั้งว่า สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ได้ห้ามและตำหนิญาติผู้นี้จริงหรือไม่ โดยแอนดรูว์ได้อธิบายกว้าง ๆ ว่า ‘ลอร์ดเมานต์แบตเทนจงรักภักดีต่อราชวงศ์เป็นอย่างมาก และพระองค์ไม่ได้ต้องการแทนที่ราชินี’ และสุดท้ายแผนการทำรัฐประหารก็ต้องถูกพับลงไปเพราะการยึดอำนาจบนแผ่นดินอังกฤษไม่ง่ายอย่างที่คิด ในเดือนสิงหาคมปี 1979 ลอร์ดเมานต์แบตเทนวัย 79 ปี กับครอบครัวใช้วันหยุดที่มีด้วยการไปพักผ่อนในบ้านพักตากอากาศใกล้กับสาธารณรัฐไอร์แลนด์ พระองค์ออกไปล่องเรือกับครอบครัว ทว่ากลับถูกลอบสังหารโดยกลุ่มก่อการร้ายไอร์แลนด์ (Irish Republican Army: IRA) พวกเขาลอบวางระเบิดขนาดใหญ่เอาไว้ใต้เรือประมง จากนั้นแล่นเรือไปใกล้กับเรือของท่านลอร์ด ในที่สุดเกิดการระเบิดครั้งใหญ่ ทุกอย่างกระจุยกระจายลอยอยู่เต็มผิวน้ำ ขาของลอร์ดเมานต์แบตเทนปะทะแรงระเบิดอย่างแรงจนฉีกขาดออกจากร่าง เสื้อผ้าของพระองค์ขาดรุ่งริ่ง เจ้าหน้าที่พบร่างของพระองค์ลอยคว่ำหน้าอยู่ในน้ำ [caption id="attachment_28042" align="aligncenter" width="1200"] หลุยส์ เมานต์แบตเทน เอิร์ลเมานต์แบตเทนแห่งพม่า: จอมพลแห่งอังกฤษผู้เคยถูกชักชวนให้ทำรัฐประหาร The Crown[/caption] หลังเหตุสะเทือนขวัญ กลุ่ม IRA ออกมาแถลงการณ์รับผิดชอบการกระทำดังกล่าว และเรียกการลอบสังหารนี้ว่า ‘การประหารชีวิต’ เพื่อขับไล่ผู้บุกรุกชาวอังกฤษให้ออกไปจากดินแดนบ้านเกิด ข่าวการเสียชีวิตของลอร์ดเมานต์แบตเทนกระจายไปทั่วโลก ฝ่ายคนสนิทของสมเด็จพระราชินีได้กล่าวว่าพระองค์ทรงตกใจกับการสูญเสียครั้งนี้อย่างมาก   โธมัส แมคมาร์คอน (Thomas McMahon) นักทำระเบิดของกลุ่ม IRA ถูกจับกุมและได้รับการตัดสินว่ามีความผิดฐานฆาตกรรมลอร์ดเมานต์แบตเทน รับโทษจำคุกตลอดชีวิต อย่างไรก็ตาม ภายหลังเขาได้รับการปล่อยตัวตามข้อตกลงสันติภาพ Good Friday และภายหลังเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุไม่ชอบมาพากลด้วยการถูกรถแทรกเตอร์ทับร่างในปี 1995 หลุยส์ เมานต์แบตเทน เอิร์ลเมานต์แบตเทนแห่งพม่า: จอมพลแห่งอังกฤษผู้เคยถูกชักชวนให้ทำรัฐประหาร เมื่อคนสำคัญ ๆ ของราชวงศ์อังกฤษเสียชีวิต การรายงานข่าวเศร้าจะถูกใช้เป็นชื่อรหัส อย่างข่าวการสวรรคตของสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 ก็จะใช้รหัสว่า ‘ไฮด์พาร์คคอร์เนอร์’ (Hyde Park Corner) และการจากไปของลอร์ดเมานต์แบตเทนได้ใช้ชื่อรหัสว่า ‘โอเปอเรชัน ฟรีแมน’ (Operation Freeman) และพิธีศพถูกจัดขึ้นในวันที่ 5 กันยายน ณ วิหารเวสต์มินสเตอร์   ที่มา https://www.townandcountrymag.com/society/tradition/a14409174/lord-mountbatten-uncle-dickie-the-crown/ https://www.historyextra.com/period/20th-century/lord-mountbatten-murder-assassination-ira-why-the-crown/ https://www.oprahmag.com/entertainment/tv-movies/a29814999/who-is-lord-mountbatten-the-crown-true-story/ https://www.oprahmag.com/entertainment/tv-movies/a29814999/who-is-lord-mountbatten-the-crown-true-story/ https://www.refinery29.com/en-us/2019/11/8882110/who-is-uncle-dickie-mountbatten-the-crown-season-3 https://www.elle.com/culture/movies-tv/a29796693/lord-mountbatten-prince-philip-coup-the-crown/ https://www.irishcentral.com/roots/history/lord-mountbatten-pedophile-allegations   เรื่อง: ตรีนุช อิงคุทานนท์