หลุยส์ วิตตอง: จากเด็กไร้บ้าน สู่ตำนานแบรนด์ไฮเอนด์ระดับหมื่นล้านดอลลาร์

หลุยส์ วิตตอง: จากเด็กไร้บ้าน สู่ตำนานแบรนด์ไฮเอนด์ระดับหมื่นล้านดอลลาร์

‘หลุย์ วิตตอง’ (Louis Vuitton) แบรนด์ระดับไฮเอนด์ที่มีอายุเกือบ 200 ปี ซึ่งคนทั่วโลกมากมายอยากครอบครอง จะมีจุดเริ่มต้นจาก ‘เด็กหนุ่มอายุ 13 ปี’ ที่หนีออกจากบ้านแบบไม่มีเงินติดตัวสักบาท จนสามารถสร้างอาณาจักรมูลค่าหมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

  • Louis Vuitton เป็นแบรนด์ไฮเอนด์ที่มีชื่อเสียงและเก่าแก่แบรนด์หนึ่งของโลก
  • แบรนด์นี้ มี ‘หลุยส์ วิตตอง’ อดีตเด็กชายหนีออกจากบ้านเป็นผู้ก่อตั้ง 

Louis Vuitton เป็นแบรนด์ไฮเอนด์ที่มีชื่อเสียงเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก โดยเฉพาะในธุรกิจกระเป๋าแบรนด์เนม โดยปัจจุบันบริษัทมีมูลค่าสูงถึง 75,000 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 2.4 ล้านล้านบาท อีกทั้งยังเป็นแบรนด์ไฮเอนด์ที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังทำธุรกิจอยู่ จะเป็นรองก็เพียงแค่ HERMÈS ที่ก่อตั้งในปี 1837 เท่านั้น ชื่อเสียงของ Louis Vuitton นั้นได้รับการกล่าวถึงและยอมรับในด้านมูลค่ามาตลอดในช่วงหลายสิบปี

แต่หากเราย้อนกลับไปที่จุดเริ่มต้นของแบรนด์นี้ เมื่อประมาณ 2 ศตวรรษก่อน ทุกอย่างตั้งต้นจากเด็กหนุ่มคนหนึ่งที่หนีออกจากใต้ชายคาและกลายเป็นเด็กไร้บ้านตั้งแต่อายุเพียง 13 ปี เขาเร่ร่อนทำงานเรื่อยเปื่อย โดยแต่ละวันแทบไม่มีเงินติดตัว ไม่มีอาหารตกถึงท้อง จนได้รับโอกาสให้เป็นลูกมือช่างทำกล่องแห่งหนึ่งในปารีส ฝึกฝนฝีมือจนสามารถสร้างอาณาจักรมูลค่ามหาศาลขึ้นมา แม้ต้องเผชิญอุปสรรคและสถานการณ์ที่โหดร้ายมากมายระหว่างทาง

 

จุดเริ่มต้นที่ไม่ค่อยสวยงามของ Louis Vuitton

ปี 1821 เด็กชาย ‘หลุยส์ วิตตอง’ (Louis Vuitton) ถือกำเนิดในครอบครัวฐานะยากจน ใน ‘Anchay’ เมืองเล็ก ๆ ทางฝั่งตะวันตกของฝรั่งเศส ในครอบครัวที่พ่อเป็นชาวนา แม่เป็นช่างทำหมวก บ้านหลังเล็กของพวกเขาต้องเผชิญกับช่วงเวลายากลำบากเนื่องจากประเทศเพิ่งพ้นผ่านสงครามนโปเลียน (Napoleonic Wars เป็นสงครามที่เกิดขึ้นในช่วงที่ฝรั่งเศสอยู่ภายใต้การปกครองของนโปเลียน) และอยู่ในช่วงฟื้นฟู ชาวนาตกอยู่ในสถานะที่ลำบาก และส่วนใหญ่ก็ล้มละลายกันไปเนื่องจากสงคราม

ด้วยรายได้ของครอบครัวที่ไม่พอให้จุนเจือปากท้อง เด็กชายหลุยส์เริ่มต้นทำงานตั้งแต่เล็ก เช้ายันค่ำ เขาและพ่อของเขาต้องปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ หาฟืน และทำทุกอย่างเพื่อให้มีชีวิตรอดแบบวันต่อวัน ทุกอย่างทวีความเลวร้ายเมื่อเด็กชายอายุได้ 10 ขวบ แม่ของเขาเสียชีวิต และไม่นานหลังจากนั้นพ่อก็แต่งงานใหม่ แม่เลี้ยงใช้งานหลุยส์เฉกเช่นแม่เลี้ยงใจร้ายในนิทานปรัมปรา ชีวิตที่แย่อยู่แล้วของเขายิ่งตกต่ำลงไปเรื่อย ๆ

เขาทนอยู่ในสภาพนั้นจนอายุได้ 13 ปี หลุยส์ วิตตอง ตัดสินใจครั้งใหญ่ ฤดูใบไม้ผลิในปี 1835 เด็กชายหนีออกจากบ้านโดยไร้เงินและอาหารติดตัว ออกเดินทางมุ่งหน้าไปยังปารีสด้วยความหวังว่าเบื้องหน้านั้นจะมีโอกาสรอท่าอยู่ เป็นเวลากว่าสองปีที่เขาเดินทางด้วยเท้าระยะทางกว่า 470 กิโลเมตรเพื่อไปยังปารีส ระหว่างทางก็จะรับงานเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อประทังชีวิตตัวเองให้อยู่รอดไปเรื่อย ๆ เงินติดตัวแทบไม่มี ส่วนใหญ่แล้วก็จะนอนในป่าพร้อมผ้าคลุมบาง ๆ หนึ่งผืนเพื่อให้ร่างกายพออุ่นบ้างเพียงเท่านั้น

หลุยส์ วิตตองไม่เคยเลือกหรือเกี่ยงงาน เขาจึงมีโอกาสได้ช่วยงานช่างฝีมือหลากหลาย มือของเขาสัมผัส เรียนรู้ทุกวัสดุ ทั้งเหล็ก หิน ผ้า และไม้ เหล่านั้นหลอมรวมกลายเป็นความสามารถติดตัวที่มีประโยชน์มากในภายหลัง ในช่วงเวลาดังกล่าว ทางรถไฟสายปารีสกำลังเริ่มต้น เมื่อผู้คนเข้าถึงการเดินทาง ธุรกิจก็สะพัดไปไกลกว่าเดิมไม่ต่างกัน ช่างฝีมือที่เชี่ยวชาญการทำกล่อง หรือหีบห่อสำหรับเดินทางเล็งเห็นโอกาสตรงนั้น

กลุ่มเป้าหมายของพวกเขาคือเหล่าขุนนางและชนชั้นสูงที่มักออกเดินทางพร้อมภาพวาด เครื่องดนตรี และเฟอร์นิเจอร์ พวกเขาต้องการกล่องขนาดใหญ่สำหรับบรรจุของใช้ดังกล่าว พ่วงด้วยบริการบรรจุสิ่งของเหล่านั้นลงหีบห่อเพื่อให้สิ่งของล้ำค่าถูกส่งถึงปลายทางได้อย่างปลอดภัย

ด้วยความสามารถที่หลุยส์สั่งสมมาระหว่างการเดินทาง ทำให้เขามีแต้มต่ออยู่บ้างในเส้นทางอาชีพนี้ เด็กชายที่เริ่มเติบใหญ่จึงเริ่มหางาน ไม่นานนักก็ได้ฝึกงานกับช่างทำกล่องและแพ็กกิ้งชื่อ ‘เมอซิเออร์ มาร์เซิล’ (Monsieur Maréchal) และตั้งใจทำงาน พัฒนาฝีมืออยู่ที่นั่นนานกว่า 17 ปี แม้จะไม่ได้เงินเป็นกอบเป็นกำร่ำรวย แต่ประสบการณ์ที่สั่งสมผ่านเวลาก็กลายเป็นสะพานที่ทอดพาเขาไปสู่เส้นทางของช่างฝีมือที่มีชื่อเสียงในเวลาต่อมา

ปี 1852 ชื่อเสียงและความสามารถของหลุยส์เริ่มเป็นที่รู้จักในวงกว้าง แล้วโอกาสครั้งใหญ่ก็มาเคาะประตู เมื่อสมเด็จพระจักรพรรดินีเออเฌนี เดอ มอนตีโค (Eugenie de Montijo) ของฝรั่งเศสทรงจ้างเขาให้เป็นช่างสร้างกล่องเดินทางส่วนตัวของพระองค์ ภายในเวลาปีเดียวหลังจากนั้น ผลงานของเขาก็เริ่มถูกพูดถึงเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในกลุ่มลูกค้าชนชั้นสูงและเชื้อพระวงศ์ต่าง ๆ เขาจึงตัดสินใจเปิดร้าน ‘Louis Vuitton’ ผลิตกล่องเดินทางแห่งแรกขึ้นมา ตั้งอยู่ที่ 4 Rue Neuve-des-Capucines ในเมืองปารีส ป้ายหน้าร้านติดเอาไว้ว่า “แพ็กสิ่งของแตกหักง่ายอย่างปลอดภัยด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านการแพ็กสินค้าแฟชั่น”  

กล่องและกระเป๋าเดินทางสู่ความสำเร็จ

ตามปกติแล้วสำหรับกล่องใส่ของหรือกระเป๋าเดินทางในสมัยนั้นจะถูกบุด้วยหนังด้านนอก เป็นกล่องสี่เหลี่ยมเหมือนหีบที่ด้านบนเป็นฝาทรงโดมโค้งเพื่อให้น้ำฝนไหลลงข้างกล่องในยามฝนตก และไม่ทำให้หนังชุ่มน้ำจนเสียหาย

แต่ปัญหาของกล่องใส่ของรูปทรงนี้ก็มีอยู่ คือการขนส่งที่ค่อนข้างลำบาก ใช้เวลานานในการจัดเรียง แถมยังวางซ้อนกันไม่ได้อีกต่างหาก หลุยส์รู้ถึงปัญหานี้เป็นอย่างดี และหลังจากที่เปิดร้านของตัวเอง เขาก็เริ่มทดลองกับวัสดุชนิดต่าง ๆ เพื่อทำกล่องเดินทางให้ดียิ่งขึ้น ทั้งไม้ ทั้งเหล็ก ทั้งหนัง จนได้พบกับสิ่งที่เรียกว่าผ้าแคนวาส (Canvas) ที่มีความทนทานกว่า เบากว่า กันน้ำได้ดีกว่าเมื่อเทียบกับหนัง

เมื่อวัสดุเป็นใจ ชายหนุ่มก็ปรับทรงกล่องด้านบนให้เรียบ กล่องทรงสี่เหลี่ยมไร้ทรงหีบด้านบนนับเป็นจุดเปลี่ยนของอุตสาหกรรมกล่องเดินทางเลยก็ว่าได้ เมื่อกล่องเหล่านั้นสามารถวางซ้อนกันได้ ขนส่งง่าย และจัดเก็บได้รวดเร็วยิ่งขึ้น หลุยส์เปิดตัว ‘Slat Trunk’ ในปี 1858 นับเป็นจุดเริ่มต้นของอุตสาหกรรมกระเป๋าเดินทางยุคโมเดิร์น ผ้าแคนวาสที่ถูกเลือกมาใช้จะผ่านขั้นตอนพิเศษให้กันน้ำได้ดีกว่าปกติ ซึ่งขั้นตอนนี้จะทำให้สีของผ้าแคนวาสออกเทา ๆ เรียบ ๆ ทำให้มันดูสะอาดตาและทันสมัยมากกว่าแบบเดิม ในช่วงแรกของการเปิดตัว ‘Slat Trunk’ ได้รับกระแสต่อต้านอยู่เล็กน้อย

แต่ภายในเวลา 2 ปีเท่านั้น กระเป๋าของหลุยส์ วิตตองกลายเป็น ‘must-have item’ หรือ ‘ของมันต้องมี’ เป็นกระเป๋าเดินทางที่ใคร ๆ ก็อยากได้และได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก  ความต้องการที่สูงลิบในตลาดทำให้หลุยส์ไม่สามารถสร้างสรรค์ผลงานทุกชิ้นด้วยตัวคนเดียวได้ทัน เขาออกปากขอความช่วยเหลือจาก ‘จอร์จ วิตตอง’ (Georges Vuitton) ให้มาทำงานด้วยกัน จอร์จผุดไอเดียใหม่ให้กระเป๋าเดินทางเหล่านั้น ด้วยการสร้าง Tumbler Lock หรือระบบล็อกแบบชั้นเดียวที่มาพร้อมหัวสปริง 2 ชิ้นขึ้นมา เพราะก่อนหน้านี้กล่องเดินทางจะมีล็อกที่สามารถสะเดาะได้ไม่ยากเย็นนัก นักเดินทางพกพาข้าวของจำเป็นทุกชิ้นไว้ภายในกล่อง ซึ่งมักจะดึงดูดมิจฉาชีพเป็นประจำ

สิ่งนี้เปลี่ยนจากกระเป๋าเดินทางธรรมดาที่หลุยส์ทำให้กลายเป็นกระเป๋าเดินทางที่ป้องกันการขโมย และสามารถขนส่งสินค้าที่มีค่าได้อย่างสบายใจมากยิ่งขึ้น (ล็อกระบบนี้ยังคงใช้งานมาถึงปัจจุบัน) กิจการร้าน ‘Louis Vuitton’ กำลังรุ่งเรืองเมื่อสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย หรือสงครามฝรั่งเศส-เยอรมัน ได้ปะทุขึ้นมาในปี 1870 ธุรกิจทุกอย่างต้องปิดตัวโดยไร้ทางเลือก รวมถึงร้านของหลุยส์และจอร์จด้วย

พวกเขาต้องหลบหนีจากบ้าน ทิ้งร้านและทุกอย่างไว้ข้างหลัง ซ่อนกายในแคมป์หลบภัยเมืองปารีสอันแออัดกับผู้อพยพอีกหลายพันชีวิต หลุยส์กลายเป็นคนไร้บ้านอีกครั้ง อาหารในแคมป์หลบภัยมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้อพยพทุกคน การขาดอาหารภายในแคมป์เกือบคร่าชีวิตครอบครัวของหลุยส์ให้มอดดับไป โชคดีที่สงครามจบลงในเวลาหนึ่งปี

หลุยส์เลยออกแบบแพตเทิร์นลายทางสีน้ำตาลบนผ้าแคนวาส เป็นที่มาของ ‘Damien Canvas’ แพตเทิร์นและมีการเขียนกำกับยืนยันว่าเป็นสินค้าจริงด้วยคำว่า ‘marque L. Vuitton déposée’ ในปี 1888 การเปลี่ยนโฉมครั้งใหญ่จากผ้าสีเทา ๆ จืดชืดให้โดดเด่นสะดุดตาครั้งนี้ ทำให้กระเป๋าเดินทางของ Louis Vuitton ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นกว่าเดิม เพราะความใหม่ ไม่เหมือนใครนั่นเอง

และอีกอย่างก็ทำให้คนที่ก๊อบปี้กระเป๋านั้นทำงานยากขึ้น (อีกนิดหนึ่ง) ปี 1885 ด้วยออร์เดอร์ถล่มทลาย ทำให้หลุยส์ตัดสินใจเปิดสาขาใหม่ในเมืองลอนดอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งถือว่าเป็นก้าวใหญ่ของบริษัทในการเป็นแบรนด์นานาชาติ

จนกระทั่งในปี 1892 เขาปรับเปลี่ยนระบบจัดการออร์เดอร์ให้ดียิ่งขึ้น โดยการออกแค็ตตาล็อกกระเป๋าสำหรับลูกค้าให้เลือกแบบที่ตัวเองต้องการได้อย่างถูกต้อง ซึ่งแน่นอนว่าได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดี ธุรกิจกระเป๋าของหลุยส์ วิตตองกำลังไปได้สวย แต่ในปีเดียวกันนั้นเอง หลุยส์เสียชีวิตลงอย่างกะทันหันโดยไม่มีใครทราบสาเหตุ ด้วยวัยเพียง 70 ปี เหลือทิ้งไว้เพียง จอร์จ วิตตอง ลูกชายที่ต้องสานต่อธุรกิจและพามันให้เติบโตต่อไป 

รุ่ง ร่วง และเริ่มใหม่ อีกครั้ง

ปี 1859 หลุยส์เริ่มขยับขยายอีกครั้ง แต่คราวนี้เขามุ่งความสนใจไปที่สินค้าที่ขนาดเล็กกว่าอย่างกระเป๋าถือ ในช่วงนั้นกระเป๋าถือของผู้หญิงไม่ค่อยได้รับความนิยมสักเท่าไร มันทั้งใหญ่ หนัก ไร้ความประณีต และบางทีก็ทำให้คนถือบาดเจ็บด้วย แต่หลุยส์ก็เชื่อว่ากระเป๋าถือนั้นเหมาะสำหรับการใช้วัสดุผ้าแคนวาสมาทำเป็นอย่างมาก ด้วยความเบาและสวยงามของผ้าแคนวาส ทำให้กระเป๋าถือของหลุยส์ วิตตอง ที่ผลิตขึ้นมานั้นได้รับความนิยมแทบจะทันที เริ่มมีลูกค้าอยากได้กระเป๋าถือในรูปทรงที่หลากหลาย เพื่อให้เข้ากับชุดและสถานการณ์ที่ใช้งาน

ความต้องการที่สูงลิบในตลาดทำให้หลุยส์ไม่สามารถสร้างสรรค์ผลงานทุกชิ้นด้วยตัวคนเดียวได้ทัน เขาออกปากขอความช่วยเหลือจาก ‘จอร์จ วิตตอง’ (Georges Vuitton) ให้มาทำงานด้วยกัน จอร์จผุดไอเดียใหม่ให้กระเป๋าเดินทางเหล่านั้น ด้วยการสร้าง Tumbler Lock หรือระบบล็อกแบบชั้นเดียวที่มาพร้อมหัวสปริง 2 ชิ้นขึ้นมา เพราะก่อนหน้านี้กล่องเดินทางจะมีล็อกที่สามารถสะเดาะได้ไม่ยากเย็นนัก นักเดินทางพกพาข้าวของจำเป็นทุกชิ้นไว้ภายในกล่อง ซึ่งมักจะดึงดูดมิจฉาชีพเป็นประจำ

สิ่งนี้เปลี่ยนจากกระเป๋าเดินทางธรรมดาที่หลุยส์ทำให้กลายเป็นกระเป๋าเดินทางที่ป้องกันการขโมย และสามารถขนส่งสินค้าที่มีค่าได้อย่างสบายใจมากยิ่งขึ้น (ล็อกระบบนี้ยังคงใช้งานมาถึงปัจจุบัน) กิจการร้าน ‘Louis Vuitton’ กำลังรุ่งเรืองเมื่อสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย หรือสงครามฝรั่งเศส-เยอรมัน ได้ปะทุขึ้นมาในปี 1870 ธุรกิจทุกอย่างต้องปิดตัวโดยไร้ทางเลือก รวมถึงร้านของหลุยส์และจอร์จด้วย

พวกเขาต้องหลบหนีจากบ้าน ทิ้งร้านและทุกอย่างไว้ข้างหลัง ซ่อนกายในแคมป์หลบภัยเมืองปารีสอันแออัดกับผู้อพยพอีกหลายพันชีวิต หลุยส์กลายเป็นคนไร้บ้านอีกครั้ง อาหารในแคมป์หลบภัยมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้อพยพทุกคน การขาดอาหารภายในแคมป์เกือบคร่าชีวิตครอบครัวของหลุยส์ให้มอดดับไป โชคดีที่สงครามจบลงในเวลาหนึ่งปี

หลังจากทุกอย่างสงบ หลุยส์กับครอบครัวเดินทางกลับบ้าน และพบภาพชวนห่อเหี่ยวหัวใจ วัสดุสำหรับทำกระเป๋าถูกขโมยไปจนหมด สภาพร้านเละเทะ ถูกทุบทำลายไม่มีชิ้นดี ทางเลือกเดียวที่หลุยส์มีคือนำเงินเก็บก้อนสุดท้ายไปลงทุนทำร้านใหม่อีกครั้ง

โชคดีในโชคร้ายอีกอย่างหนึ่งก็คือว่าตอนนี้ราคาที่ดินในเมืองค่อนข้างถูกเพราะสงครามเพิ่งจบไป เขาคว้าโอกาสนี้ไว้แล้วเลือกทำเลสร้างร้านใหม่บนถนนเส้นหลักในย่านหรูของเมืองปารีส เพียงไม่กี่เดือนหลังจากที่หลุยส์กลับมาเปิดร้าน ทุกอย่างก็กลับมาคึกคักอีกครั้งหนึ่ง อาจจะเรียกว่าคึกคักกว่าเดิมเสียด้วยซ้ำ เพราะกลุ่มลูกค้าของเขาขยาย กลายเป็นออร์เดอร์จากทั่วโลก กระเป๋าเดินทางของ Louis Vuitton เริ่มเป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับจากลูกค้าจากทุกมุมโลก

แต่ความนิยมนี้ก็นำมาซึ่งปัญหาเช่นเดียวกัน เพราะหลังจากที่กระเป๋าเดินทางผ้าแคนวาสได้รับความนิยมอย่างมากนั้นนำมาซึ่งปัญหาคลาสสิกอย่าง ‘สินค้าเลียนแบบ’

จนเขาต้องหาวิธีการสร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ ด้วยเทคโนโลยีใหม่ที่สามารถพิมพ์ลายลงบนผ้าแคนวาสได้ หลุยส์เลยออกแบบแพตเทิร์นลายทางสีน้ำตาลบนผ้าแคนวาส เป็นที่มาของ ‘Damien Canvas’ แพตเทิร์นและมีการเขียนกำกับยืนยันว่าเป็นสินค้าจริงด้วยคำว่า ‘marque L. Vuitton déposée’

ในปี 1888 การเปลี่ยนโฉมครั้งใหญ่จากผ้าสีเทา ๆ จืดชืดให้โดดเด่นสะดุดตาครั้งนี้ ทำให้กระเป๋าเดินทางของ Louis Vuitton ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นกว่าเดิม เพราะความใหม่ ไม่เหมือนใครนั่นเอง และอีกอย่างก็ทำให้คนที่ก๊อบปี้กระเป๋านั้นทำงานยากขึ้น (อีกนิดหนึ่ง)

ปี 1885 ด้วยออร์เดอร์ถล่มทลาย ทำให้หลุยส์ตัดสินใจเปิดสาขาใหม่ในเมืองลอนดอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งถือว่าเป็นก้าวใหญ่ของบริษัทในการเป็นแบรนด์นานาชาติ จนกระทั่งในปี 1892 เขาปรับเปลี่ยนระบบจัดการออร์เดอร์ให้ดียิ่งขึ้น โดยการออกแค็ตตาล็อกกระเป๋าสำหรับลูกค้าให้เลือกแบบที่ตัวเองต้องการได้อย่างถูกต้อง

แน่นอนว่าได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดี ธุรกิจกระเป๋าของหลุยส์ วิตตองกำลังไปได้สวย แต่ในปีเดียวกันนั้นเอง หลุยส์เสียชีวิตลงอย่างกะทันหันโดยไม่มีใครทราบสาเหตุ ด้วยวัยเพียง 70 ปี เหลือทิ้งไว้เพียง จอร์จ วิตตอง ลูกชายที่ต้องสานต่อธุรกิจและพามันให้เติบโตต่อไป 

สืบสานและเติบโต

จอร์จช่วยเหลืองานของพ่อมาโดยตลอด การสืบช่วงต่อนั้นคือความรับผิดชอบที่เขาทราบดีอยู่แล้ว เขาใช้เวลาไม่นานในการจัดระเบียบธุรกิจและพยายามสร้างสรรค์ผลงานใหม่ ๆ ออกมาเสมอ สิ่งแรกที่เขาทำคือการเข้าร่วมงาน ‘Chicago World’s Fair’ ในปี 1893 เพื่อหาช่องทางขยายธุรกิจไปยังอเมริกา

ที่งานนั้นเขาได้พบกับ ‘จอห์น วานาเมเกอร์’ (John Wanamaker) พ่อค้าและผู้ก่อตั้งห้างสรรพสินค้าแห่งแรกในอเมริกา หลังจากที่ทั้งคู่ตกลงรายละเอียดกันจนเสร็จสิ้น จอห์นก็นำเข้ากระเป๋า Louis Vuitton มาวางจำหน่ายที่ห้างของเขาในนิวยอร์กเป็นที่แรก ช่วงนี้เองที่จอร์จเริ่มพัฒนาแพตเทิร์นใหม่ชื่อว่า ‘Monogram Canvas’ เพื่อระลึกถึงพ่อของเขา ด้วยดอกไม้ เพชร รูปทรงกลม และตัวอักษรย่อ LV บนผ้าแคนวาส

หลังจากทุกอย่างสงบ หลุยส์กับครอบครัวเดินทางกลับบ้าน และพบภาพชวนห่อเหี่ยวหัวใจ วัสดุสำหรับทำกระเป๋าถูกขโมยไปจนหมด สภาพร้านเละเทะ ถูกทุบทำลายไม่มีชิ้นดี ทางเลือกเดียวที่หลุยส์มีคือนำเงินเก็บก้อนสุดท้ายไปลงทุนทำร้านใหม่อีกครั้ง

โชคดีในโชคร้ายอีกอย่างหนึ่งก็คือว่าตอนนี้ราคาที่ดินในเมืองค่อนข้างถูกเพราะสงครามเพิ่งจบไป เขาคว้าโอกาสนี้ไว้แล้วเลือกทำเลสร้างร้านใหม่บนถนนเส้นหลักในย่านหรูของเมืองปารีส เพียงไม่กี่เดือนหลังจากที่หลุยส์กลับมาเปิดร้าน ทุกอย่างก็กลับมาคึกคักอีกครั้งหนึ่ง อาจจะเรียกว่าคึกคักกว่าเดิมเสียด้วยซ้ำ เพราะกลุ่มลูกค้าของเขาขยาย กลายเป็นออร์เดอร์จากทั่วโลก

กระเป๋าเดินทางของ Louis Vuitton เริ่มเป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับจากลูกค้าจากทุกมุมโลก แต่ความนิยมนี้ก็นำมาซึ่งปัญหาเช่นเดียวกัน เพราะหลังจากที่กระเป๋าเดินทางผ้าแคนวาสได้รับความนิยมอย่างมากนั้นนำมาซึ่งปัญหาคลาสสิกอย่าง ‘สินค้าเลียนแบบ’ จนเขาต้องหาวิธีการสร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ ด้วยเทคโนโลยีใหม่ที่สามารถพิมพ์ลายลงบนผ้าแคนวาสได้

หลุยส์เลยออกแบบแพตเทิร์นลายทางสีน้ำตาลบนผ้าแคนวาส เป็นที่มาของ ‘Damien Canvas’ แพตเทิร์นและมีการเขียนกำกับยืนยันว่าเป็นสินค้าจริงด้วยคำว่า ‘marque L. Vuitton déposée’ ในปี 1888 การเปลี่ยนโฉมครั้งใหญ่จากผ้าสีเทา ๆ จืดชืดให้โดดเด่นสะดุดตาครั้งนี้ ทำให้กระเป๋าเดินทางของ Louis Vuitton ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นกว่าเดิม เพราะความใหม่ ไม่เหมือนใครนั่นเอง และอีกอย่างก็ทำให้คนที่ก๊อบปี้กระเป๋านั้นทำงานยากขึ้น (อีกนิดหนึ่ง) ปี 1885 ด้วยออร์เดอร์ถล่มทลาย ทำให้หลุยส์ตัดสินใจเปิดสาขาใหม่ในเมืองลอนดอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งถือว่าเป็นก้าวใหญ่ของบริษัทในการเป็นแบรนด์นานาชาติ จนกระทั่งในปี 1892 เขาปรับเปลี่ยนระบบจัดการออร์เดอร์ให้ดียิ่งขึ้น โดยการออกแค็ตตาล็อกกระเป๋าสำหรับลูกค้าให้เลือกแบบที่ตัวเองต้องการได้อย่างถูกต้อง ซึ่งแน่นอนว่าได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดี ธุรกิจกระเป๋าของหลุยส์ วิตตองกำลังไปได้สวย แต่ในปีเดียวกันนั้นเอง หลุยส์เสียชีวิตลงอย่างกะทันหันโดยไม่มีใครทราบสาเหตุ ด้วยวัยเพียง 70 ปี เหลือทิ้งไว้เพียง จอร์จ วิตตอง ลูกชายที่ต้องสานต่อธุรกิจและพามันให้เติบโตต่อไป 

ในตอนแรกลูกค้าแปลกใจกับลวดลายนี้ เพราะปกติแล้วชื่อที่จะถูกพิมพ์ไว้บนกระเป๋าส่วนใหญ่คือชื่อเจ้าของกระเป๋า ไม่ใช่ชื่อแบรนด์ ทว่ามันกลับเป็นการทำลายกำแพงของกรอบคิดแบบดั้งเดิมที่ไม่มีใครคาดถึงมาก่อน

ไม่นานหลังจากนั้นคนก็เริ่มชื่นชอบลายโมโนแกรมแคนวาสนี้ และออร์เดอร์ก็เริ่มหลั่งไหลมาจากทุกสารทิศ โดยเฉพาะตลาดอเมริกาที่สร้างผลตอบแทนอย่างงดงามยิ่ง แต่แล้วก็เหมือนประวัติศาสตร์ซ้ำรอยเดิมอีกครั้ง จอร์จเสียชีวิตลงในปี 1936 ด้วยวัย 79 ปี ส่วนธุรกิจก็ถูกส่งต่อให้ ‘แกสตอง วิตตอง’ (Gaston Vuitton) ลูกชายคนโตของจอร์จให้สืบสานเจตนารมณ์ต่อไป  

กระเป๋าถือรุ่นคลาสสิกและเรื่องราวอื้อฉาวของสงครามโลกครั้งที่สอง

ก่อนหน้าที่จอร์จจะเสียชีวิต เขาและแกสตองได้เดินหน้าผลิตผลงานที่มีชื่อเสียงออกมาหลายรุ่น เช่นกระเป๋าใช้งานทั่วไปอย่าง ‘The Keepall’ (1930) มีรุ่นเล็กอย่าง ‘Speedy’ ตามมาภายหลัง (1932) ต่อด้วยกระเป๋าใส่ไวน์และแชมเปญ ‘The Noe’ (1932) หรือรุ่น ‘The Alma’ (1934) ซึ่งถึงตอนนี้ก็ยังคงคลาสสิกและได้รับความนิยมอยู่

ยุคสมัยของแกสตองเริ่มต้นได้ไม่ค่อยดีนัก การปะทุของสงครามโลกครั้งที่สองทำให้สัญญาซื้อขายต่าง ๆ ที่บริษัทหลุยส์ วิตตองวางเอาไว้ถูกยกเลิกไปทั้งหมด

แกสตองต้องตัดสินใจปิดโรงงานและสาขาต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบลงทันที ในหนังสือ ‘Louis Vuitton: A French Saga’ ที่เขียนโดย ‘สเตฟานี บอนวิชินี’ (Stephanie Bonvicini) ระบุว่า แกสตองต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่ยากลำบากในช่วงเวลานั้น ถึงขั้นต้องเข้าร่วมมือกับระบอบนาซีในช่วงที่เยอรมันครองอำนาจ

ในหนังสือยังกล่าวต่อไปอีกว่า ร้านค้าอื่น ๆ นั้นถูกปิดหมด ยกเว้นหลุยส์ วิตตอง ซึ่งต่อมาภายหลังจากที่หนังสือถูกตีพิมพ์ในปี 2004 โฆษกของบริษัทกล่าวว่า “นี่คือประวัติศาสตร์โบราณ เรามีความหลากหลาย อดทนกับทุกสิ่ง เหมือนอย่างที่ควรจะเป็นในบริษัทสมัยใหม่”  

ยุคต่อไปของ Louis Vuitton

ปี 1959 แกสตองได้นำเทคโนโลยีใหม่เข้ามาช่วยในการผลิตผ้าแคนวาสให้ดียิ่งขึ้น เพิ่มความนิ่มนวลบนผิวสัมผัส เหมาะสำหรับการทำผลิตภัณฑ์ขนาดที่เล็กลงและมีรายละเอียดมากขึ้น นั่นหมายถึงหมวดหมู่สินค้าใหม่ที่สามารถทำได้อย่างกระเป๋าสตางค์ กระเป๋าถือใบเล็ก และสินค้าขนาดเล็กต่าง ๆ

แกสตองเสียชีวิตในปี 1970 คนที่สืบทอดธุรกิจต่อเป็นลูกเขยชื่อ ‘เฮนรี แรคาเมียร์’ (Henry Racamier) วัย 65 ปีที่กำลังจะเกษียณอายุจากการบริหารธุรกิจซื้อขายเหล็กของตัวเอง ในขณะนั้น Louis Vuitton มีเพียง 2 สาขาในปารีสและนีซ มีพนักงานราว ๆ 100 คนเท่านั้น

ด้วยความเชี่ยวชาญเรื่องธุรกิจของเฮนรี ทำให้เขาปรับมุมการขายสินค้าของบริษัทให้เป็นลูกค้าปลีกมากยิ่งขึ้น ขยายเข้าสู่ตลาดเอเชียโดยเฉพาะในญี่ปุ่น พาให้รายได้ของบริษัทจาก 20 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 650 ล้านบาท) กระโดดขึ้นเป็น 260 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 8,500 ล้านบาท) ภายในระยะเวลาเพียง 6 ปีเท่านั้น

ช่วงปี 1984 เฮนรีได้นำบริษัทเข้าตลาดหุ้น ซึ่งกลายเป็นที่ฮือฮาและมีนักลงทุนมากมายที่พร้อมเข้ามาถือหุ้นของบริษัท จนหุ้นที่เปิดขาย 1 ล้านหุ้นหมดอย่างรวดเร็ว

หลังจากที่เข้าตลาดหุ้นก็มีนักวิเคราะห์ออกมาแสดงความคิดเห็นทางด้านลบหลายทาง โดยเฉพาะเรื่องของปัญหาสินค้าปลอมที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น แต่เฮนรีไม่สนใจเสียงเหล่านั้น ยังคงเดินหน้าเปิดสาขาต่อไป จนในปี 1987 หรือประมาณ 1 ทศวรรษหลังจากเขาเข้ามาดูแลบริษัท ‘Louis Vuitton’ ได้เพิ่มจำนวนจาก 2 สาขา กลายเป็น 135 สาขาทั่วโลก มีรายได้ทั้งหมดต่อปีมากถึงเกือบ 1 พันล้านดอลลาร์ (ประมาณ 3 หมื่นล้านบาท)​

และในปีเดียวกันนั้นเองก็ประกาศควบกิจการกับบริษัทขายแชมเปญและบรั่นดียักษ์ใหญ่ของโลกอย่าง ‘Moët Hennessy’ และกลายเป็น ‘LVMH’ อย่างที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน

ช่วงเวลา 10 ปีต่อจากนั้นด้วยเหตุการณ์ความไม่ลงรอยกันระหว่างหุ้นส่วนบริษัท ทำให้เกิดการขึ้นโรงขึ้นศาลจนเฮนรีถูกปลดออกจากตำแหน่ง และแต่งตั้ง ‘อีฟส์ การ์เซอแล’ (Yves Carcelle) นักธุรกิจชาวฝรั่งเศสขึ้นมาแทนในช่วงปี 1990 กลายเป็นจุดเริ่มต้นของ Louis Vuitton ในยุคใหม่ที่ไม่ใช่ธุรกิจครอบครัวอีกต่อไป

‘มาร์ค จาคอบส์’ (Marc Jacobs) ถูกแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าฝ่ายครีเอทีฟคนแรกของบริษัทในปี 1997 แฟชั่นดีไซเนอร์ชาวอเมริกันคนนี้เคยทำงานให้กับ ‘Balenciaga’ และหน้าที่ของมาร์คคือนำ Louis Vuitton เข้าสู่โลกของแฟชั่น เข้ามาช่วยดูเรื่องของการออกแบบสินค้าแฟชั่นทั้งของผู้ชายและผู้หญิง

ช่วงสิบปีแรกมาร์คทำงานอย่างหนัก ออกคอลเลกชันใหม่ ๆ มากมาย ที่มีชื่อเสียงคือ ‘Monogram Vernis’ และ ‘Damier Graphite’ เขายังเป็นคนที่ทำให้เกิดการร่วมงานระหว่างดีไซเนอร์คนอื่น ๆ กับแบรนด์ Louis Vuitton ทำให้ได้รับเสียงตอบรับจากเหล่าดาราและคนที่ชื่นชอบสินค้าแบรนด์เนมมากมาย

นอกเหนือจากกระเป๋า ก็มีเสื้อผ้า รองเท้า นาฬิกา แว่นตา และเครื่องเขียนที่ถูกผลิตออกมาใต้แบรนด์ Louis Vuitton เพิ่มขึ้นมาด้วย ถึงตอนนี้กระเป๋าทุกใบของ Louis Vuitton นั้นยังผลิตจากโรงงานของตัวเอง ช่างที่ทำจะต้องผ่านการฝึกฝีมือกว่า 2 ปี จึงเริ่มลงมือกับกระเป๋าจริงได้ สินค้าบางอันมีขั้นตอนกว่าสามร้อยสเต็ปเพื่อประกอบขึ้นมา

ในปี 2021 นิตยสาร Forbes ได้จัดให้ Louis Vuitton เป็นแบรนด์หรูอันดับหนึ่งของโลกที่มีมูลค่ามากถึง 75,000 ล้านเหรียญฯ ซึ่งถ้าย้อนกลับไปดูจุดเริ่มต้นของมันก็น่าเหลือเชื่อไม่น้อยที่ทุกอย่างเริ่มจากเด็กผู้ชายวัยรุ่นหนีออกจากบ้านคนหนึ่ง ฝ่าฟันอุปสรรคมากมาย ตั้งหน้าตั้งตาทำงาน จนสามารถปฏิวัติอุตสาหกรรมกระเป๋าเดินทาง ที่กลายมาเป็นรากฐานสำคัญของบริษัทมูลค่าหมื่นล้านในทุกวันนี้  

.

อ้างอิง

.

etoile

theguardian

.

ภาพ: Wikipedia (Photo by Apic/Getty Images)