นิทานชีวิต: จำได้ไหม กัปตันปีเตอร์ ผู้หมวดแคลร์และกองกำลังเม็ดเลือดขาว

นิทานชีวิต: จำได้ไหม กัปตันปีเตอร์ ผู้หมวดแคลร์และกองกำลังเม็ดเลือดขาว
ช่วงที่สังคมกำลังมีข่าวเกี่ยวกับโรคระบาดและเชื้อไวรัสที่กำลังแพร่กระจายอย่างต่อเนื่อง เชื่อว่าหลาย ๆ คนที่ใช้ชีวิตช่วงเวลาเด็กในยุคปี 1990s คงจะนึกถึงการ์ตูนเรื่อง "นิทานชีวิต" (Once Upon a Time... Life - เคยออกอากาศทางช่อง 7) ที่เล่าเรื่องระบบการทำงานของร่างกาย เช่น ระบบเลือด สมอง ฮอร์โมน กล้ามเนื้อ ปอด หัวใจ เม็ดเลือดขาว แถมยังมีฉากกองกำลังในร่างกายต่อสู้กับเชื้อโรคให้ดูในหลาย ๆ ตอนด้วย จึงเป็นการ์ตูนยอดนิยมในยุคนั้น นิทานชีวิต: จำได้ไหม กัปตันปีเตอร์ ผู้หมวดแคลร์และกองกำลังเม็ดเลือดขาว เวลาที่เรานึกถึงเชื้อโรค ไม่ว่าจะเป็นไวรัส แบคทีเรีย ก็คงจะจำภาพของคู่หูเม็ดเลือดขาวอย่างกัปตันปีเตอร์ จูเนียร์ และผู้หมวดแคลร์ได้ เพราะตัวละครทั้ง 2 ถือว่าเป็นฮีโรของเรื่อง มีความเท่ แต่งตัวแบบนักบินอวกาศ ขับยานไฮโครเจ็ทตรวจตราตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย แยกร่างได้ แถมสามารถบีบอัดตัวเองทะลุทะลวงเดินทางไปยังที่ต่าง ๆ ได้อีกด้วย และเมื่อเขาเจอศัตรูของร่างกายแล้วจะกดปุ่มให้ท้องยานเปิดออกแล้วพูดว่า “ปล่อย แอนติบอดี” แล้วจะมีแมลงตัวเล็ก ๆ ออกมากำจัดเชื้อโรคต่าง ๆ จนชนะ สร้างความสงบสุขให้กับระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย สิ่งที่เราได้เรียนรู้ตอนเด็ก ๆ อาจจะจบแค่ว่าในร่างกายเรามีเม็ดเลือดขาวที่คอยปกป้องร่างกายของเราอยู่ แต่จริง ๆ แล้วการ์ตูนเรื่องนี้ถ้าเรากลับมาดูกันอีกครั้งจะพบว่าเขาสร้างรายละเอียดที่เยอะมาก เหมือนการอ่านหนังสือชีววิทยาในฉบับฉายภาพให้เข้าใจอย่างง่าย ๆ ได้เลย นิทานชีวิต: จำได้ไหม กัปตันปีเตอร์ ผู้หมวดแคลร์และกองกำลังเม็ดเลือดขาว รู้ไหม! กัปตันปีเตอร์และผู้หมวดแคลร์เป็นใครในร่างกายเรา? จริง ๆ แล้วในร่างกายเรามีเม็ดเลือดขาวอยู่หลายชนิด หากใครได้ย้อนกลับไปดูในตอน Body Sentinels หรือระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายได้มีการพูดถึงชีวิตของเซลล์เม็ดเลือดขาว  เริ่มต้นตั้งแต่การพาไปดูบ้านเกิดเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ไขกระดูก และเมื่อโตขึ้นมาไม่กี่ชั่วโมงก็จะไปเข้าโรงเรียนฝึกตำรวจที่ต่อมน้ำเหลือง เช่น ต่อมไทมัสในร่างกายมนุษย์ในวัยเด็ก เม็ดเลือดขาวจะต้องเรียนรู้ว่าในร่างกายของเราใครเป็นมิตร ใครเป็นศัตรู และทำหน้าที่ในการกำจัดเชื้อโรคในรูปแบบของตนเอง ปีเตอร์และแคลร์เป็นเม็ดเลือดขาวที่ชื่อว่าลิมโฟไซต์ ชนิด B ใครที่เรียนชีววิทยาก็คงร้อง อ๋อ… เม็ดเลือดขาวประเภทนี้จะไม่ไปสู้กับเชื้อโรคโดยตรง แต่จะสร้างภูมิคุ้มกันที่เรียกว่าแอนติบอดีไปสู้แทน  ในกองกำลังของลิมโฟไซต์จะมี ชนิด T ด้วยนะ จะต่างกันนิดหนึ่งที่ทีมนี้จะต่อสู้โดยตรงกับเชื้อโรคเลย ในการ์ตูนก็จะให้เม็ดเลือดขาวกลุ่มนี้ขับยานที่มีสัญลักษณ์ T และมีปืนปล่อยควันออกไปทำลายเชื้อโรคได้เลย นิทานชีวิต: จำได้ไหม กัปตันปีเตอร์ ผู้หมวดแคลร์และกองกำลังเม็ดเลือดขาว กองทัพเม็ดเลือดขาวในการ์ตูนมีใครบ้าง? นอกจากกองกำลังขับยานแล้วคงจะลืมไม่ได้กันว่าเรายังมีกองกำลังภาคพื้นดิน นำโดยผู้หมวดจัมโบ้ ที่แต่งชุดสีขาว มีดาวตรงกลางเสื้อ และมีลูกน้องอีกเพียบ อยู่ตามที่ต่าง ๆ คล้าย ๆ ตำรวจจราจร หากพบสิ่งแปลกปลอมอย่างเชื้อโรคก็จะกำจัดด้วยการเก็บกิน อ้าปากแล้วดูดเข้าไป ซึ่งในทางวิทยาศาสตร์เขาจะเรียกว่า เม็ดเลือดขาวประเภท นิวโทรฟิวล์ นั่นล่ะ นิทานชีวิต: จำได้ไหม กัปตันปีเตอร์ ผู้หมวดแคลร์และกองกำลังเม็ดเลือดขาว กองกำลังภาคพื้นดินมีหลายแบบมาก ไม่ว่าจะเป็น แมคโครฟาส เป็นรถคันสีเหลือง ๆ มีตาดวงใหญ่ ๆ คล้าย ๆ กบ และฟาโกไซค์ จะเป็นยานแบบมีคนขับซึ่งมีท่อดูดรอบตัว ๆ ทำหน้าที่เป็นฝ่ายทำความสะอาดเก็บกวาดสิ่งสกปรก ไม่ว่าจะเป็นฝุ่น ของเน่าเสีย สารพิษ เชื้อโรค สิ่งแปลกปลอมอีก นิทานชีวิต: จำได้ไหม กัปตันปีเตอร์ ผู้หมวดแคลร์และกองกำลังเม็ดเลือดขาว จะเห็นได้ว่าการ์ตูนเรื่องนี้ถูกออกแบบลักษณะตัวละครให้เห็นภาพตามหน้าที่ในร่างกาย ซึ่งสอดคล้องกับหลักทางวิทยาศาสตร์จริง ๆ ในร่างกายเรามีกลุ่มบุกจู่โจมอย่างนิวโทรฟิวล์ และมีกลุ่มลิมโฟไซต์ที่เข้ามาสำรวจ เรียนรู้และสร้างแอนติบอดีออกไปกำจัดเชื้อโรค นิทานชีวิตได้สอนให้เรารู้ว่า ร่างกายเรามีระบบการทำงานของมัน และชีวิตเราแข็งแกร่งกว่าที่คิด ทีนี้รู้แล้วหรือยังว่า ทำไมเวลาที่เราติดเชื้อไวรัสช่วงแรก ๆ ถึงเป็นหวัด ไม่สบายสักประมาณ 3-7 วัน นั่นก็เพราะว่าร่างกายยังไม่รู้จักเชื้อโรค แต่เมื่อร่างกายสร้างแอนติบอดีได้แล้ว เราก็จะเริ่มรักษาตัวเองได้ ค่อย ๆ ฟื้นตัวและหายเป็นปกติ พอไปติดหวัดรอบที่ 2 ก็จะเป็นน้อยลงหรือไม่แสดงอาการเลยก็ได้ เพราะฉะนั้นแล้วในยามที่เกิดโรคระบาด พยายามระวังตัวและรักษาตัวเองให้ดี อย่าไปอยู่ใกล้เชื้อโรค และอย่ากลัวไปจนเกินเหตุ จำไว้ว่าอย่างไรก็ตามกัปตันปีเตอร์ ผู้หมวดแคลร์ และผู้หมวดจัมโบ้ก็ยังคงอยู่ช่วยเราในร่างกาย จนกว่าจะถึงวันที่เราหายเป็นปกติอยู่เสมอ   เรื่อง: กวิน สุวรรณตระกูล