ไพบูณร์ พินเที่ยง กำนันตำบลท้ายบ้านผู้ใช้ความใกล้ชิด พิชิตโควิด-19

ไพบูณร์ พินเที่ยง กำนันตำบลท้ายบ้านผู้ใช้ความใกล้ชิด พิชิตโควิด-19
การเว้นระยะห่างทางสังคม (Social distancing) เป็นมาตรการสำคัญที่ทั่วโลกใช้ในวิกฤตการณ์โควิด-19 ครั้งนี้ แต่สำหรับชาวตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมืองสมุทรปราการ พวกเขาใช้ “ความใกล้ชิด” เป็นอาวุธสำคัญที่ช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อร้าย จนสามารถรักษาสถิติ ผู้ติดเชื้อโควิดเป็นศูนย์ ตั้งแต่วันแรกที่โลกได้รู้จักเชื้อไวรัสโควิด-19 จนถึงตอนนี้ ไพบูณร์ พินเที่ยง กำนันตำบลท้ายบ้านผู้ใช้ความใกล้ชิด พิชิตโควิด-19 “เราต้องประชาสัมพันธ์ทุกช่องทาง ชุมชนเราเป็นเมืองค่อนข้างใหญ่การใช้หอกระจายเสียงอย่างเดียวอาจจะสื่อสารได้ไม่ทั่วถึง เราเลยใช้รถกระจายเสียงที่มีอยู่ 4-5 คัน วิ่งตระเวนตามพื้นที่ทุกช่วงเย็น โดยที่เราคอยพูดประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านรับรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้น” ในช่วงโควิด-19 เริ่มระบาด กำนันไพบูณร์ พินเที่ยง กำนันตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ และทีมงานทั้ง ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน ที่สำคัญคือเหล่าอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ต่างเร่งลงพื้นที่เพื่อเฝ้าระวัง และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรู้ถึงวิธีการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง “ชาวบ้านเขาไว้ใจเรา เพราะกำนัน ผู้ใหญ่บ้านเป็นคนที่ใกล้ชิดประชาชนที่สุด ซึ่งช่วยลดช่องว่างระหว่างประชาชนกับภาครัฐ เวลามีคนเดือดร้อนก็จะมาหากำนัน ผู้ใหญ่บ้านก่อน อย่างผมเองมีเบอร์โทรศัพท์ติดไว้หน้าบ้านเลย ใครมีปัญหาอะไรก็ติดต่อมาได้ตลอด ถึงค่าตอบแทนเราไม่ได้มากมาย แต่เราทำเพราะรู้สึกว่ามันเป็นจิตหน้าที่ซึ่งเป็นบทบาทของเรา ที่จะทำงานเพื่อสังคมทำให้หมู่บ้าน ตำบล และประเทศชาติดีขึ้น” ไพบูณร์ พินเที่ยง กำนันตำบลท้ายบ้านผู้ใช้ความใกล้ชิด พิชิตโควิด-19 ย้อนกลับไปก่อนที่กำนันไพบูณร์ หรือ กำนันตึ๋ง ของชาวบ้านท้ายบ้าน จะได้มาทำหน้าที่ตรงนี้ จุดเริ่มประมาณปี 2533 ที่เขายังเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน แล้วเห็นการทำงานที่ไม่เป็นระบบ แล้วยังมีระยะห่างระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐและชาวบ้าน เมื่อเห็นปัญหาเขาเลยปฏิญาณตนเพื่อเข้ามาทำหน้าที่ให้ดีที่สุด ในการแบ่งเบางานของภาครัฐ และช่วยให้ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้นผ่านการเข้าถึงบริการของภาครัฐ ซึ่งเขาคอยเป็นตัวกลางในการประสาน สมุทรปราการอยู่ในเขตปริมณฑล เลยเป็นสถานที่ซึ่งผสมผสานความเป็นสังคมเมืองและสังคมชนบทได้อย่างกลมกลืน คนในพื้นที่ส่วนใหญ่ช่วงเช้าจะเข้าไปทำงานในกรุงเทพมหานคร แล้วกลับมาพักผ่อนที่บ้านในเวลาหลังเลิกงาน การทำงานของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านที่นี่ เลยจะเป็นช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ และในช่วงเย็น ไพบูณร์ พินเที่ยง กำนันตำบลท้ายบ้านผู้ใช้ความใกล้ชิด พิชิตโควิด-19 ด้วยความที่เป็นเขตอุตสาหกรรม มีโรงงาน ห้องเย็น สะพานปลา อยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้พื้นที่นี้ มีแรงงานต่างชาติเป็นจำนวนมาก ที่สุ่มเสี่ยงในการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ซึ่งกำนันตึ๋ง ก็เข้าไปพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อเพื่อป้องกัน รวมทั้งสื่อสารให้ความรู้ในการป้องกันตัวเอง ทำให้พื้นที่ที่เขาดูแลปลอดการติดเชื้อโควิดมาได้ “ภารกิจส่วนใหญ่คือการไปแนะนำเพื่อให้เขารู้จักการป้องกัน เช่น วิธีการสวมใส่หน้ากาก มีหน้ากากไปแจก ไปพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโควิด-19 ทำต่อเนื่องเป็นเดือน โชคดีที่ทีมงานของเรามีอุปกรณ์ที่พร้อม และมีกำลังคนที่เพียงพอ ทำให้จังหวัดสมุทรปราการประสบความสำเร็จในเรื่องการป้องกันโควิด-19” ไพบูณร์ พินเที่ยง กำนันตำบลท้ายบ้านผู้ใช้ความใกล้ชิด พิชิตโควิด-19 ซึ่งในช่วงแรกที่ผู้คนยังตื่นตระหนัก กำนันตึ๋งเคยเข้าไปตรวจชาวบ้านซึ่งเสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุด้วยตัวเอง ในขณะที่เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องโดยตรงหลายคนกังวลไม่กล้าเข้าไปตรวจสอบ โชคดีที่แพทย์วินิจฉัยตรวจสอบอย่างแน่ชัดทราบว่าไม่ได้เสียชีวิตจากเชื้อไวรัสโควิด-19 “ตอนนั้นประชาชนกลัวหมดแล้ว เราก็ต้องระดมสรรพกำลังที่มีอยู่ทั้งโดรนบินไปพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อ เราทำงานร่วมกับหอการค้าสมุทรปราการการ และทาง อบจ. เอาทีมงานลุยเข้าไปเลย พ่นทุกตรอกซอกซอย ไม่มีการเว้น ตรงนี้เป็นสิ่งที่ตื่นเต้นระดับหนึ่งของในช่วงการเกิดโควิด-19 พอเราไปตามพื้นที่ ประชาชนจะให้ความร่วมมือดีมาก เพราะเขาก็กลัวตื่นตระหนกเหมือนกัน” กำนันตำบลท้ายบ้านเล่าเหตุการณ์ในช่วงที่ทุกคนต่างหวาดกลัวไวรัสร้ายให้เราฟังอย่างอารมณ์ดี ไพบูณร์ พินเที่ยง กำนันตำบลท้ายบ้านผู้ใช้ความใกล้ชิด พิชิตโควิด-19 เนื่องจากเป็นคนหัวสมัยใหม่ เรียนมาทางด้านรัฐศาสตร์ และมีใจที่ชอบการทำงานบริการประชาชน ทำให้ความสุขในการมาเป็นกำนันของเขาไม่ได้อยู่ที่ค่าตอบแทนตามตำแหน่งหน้าที่ แต่ผลกำไรของการทำงานเหน็ดเหนื่อยอยู่ที่การได้เห็นประชาชนมีรอยยิ้มและมีชีวิตที่ดีขึ้น ไม่แปลกที่เขาจะได้รับการรับเลือกให้เป็นนายกสมาคมกำนันผู้ใหญ่บ้านจังหวัดสมุทรปราการ “เรื่องโควิดไม่ใช่เรื่องของใครคนใดคนหนึ่ง เป็นเรื่องของพวกเราทุกคน ถ้ามีใครสักคนเป็น คนอื่นก็มีโอกาสที่จะเป็นด้วย ถ้าเขาไม่เป็นเราก็ไม่เป็น ทำให้ผมต้องลงพื้นที่อย่างใกล้ชิดอยู่ตลอดเวลา แต่สุดท้ายการเตรียมรับสถานการณ์ที่ดีที่สุดคือ การป้องกัน โดยเริ่มจากการป้องกันในครอบครัวก่อน บุตรหลาน เยาวชนที่เราดูแลก่อน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของโควิด-19 ก็ดี เรื่องของยาเสพติดก็ดี ทุกอย่างมันเกิดจากครอบครัว ถ้าครอบครัวดี ดูแลเอาใจใส่ก็จะป้องกันได้ ไม่มากก็น้อย ผมเชื่ออย่างนั้น”