พอลล์ กาญจนพาสน์ ถอดบทเรียน 2 ปีแห่งความยากลำบาก ‘บางกอกแลนด์’ และเส้นทางโตด้วยแนวคิด ‘ทำธุรกิจต้องคิดถึงสังคม’

พอลล์ กาญจนพาสน์ ถอดบทเรียน 2 ปีแห่งความยากลำบาก ‘บางกอกแลนด์’ และเส้นทางโตด้วยแนวคิด ‘ทำธุรกิจต้องคิดถึงสังคม’

ถอดบทเรียน 2 ปีแห่งความยากลำบาก ‘บางกอกแลนด์’ และเส้นทางโตด้วยแนวคิด ‘ทำธุรกิจต้องคิดถึงสังคม’

“เราผ่านร้อนผ่านหนาวมามาก แต่ทุกครั้งจะเป็นแค่ช่วงสั้นๆ ส่วนโควิด-19 เราไม่เคยคิดว่า จะอยู่กับเรานานขนาดนี้ จนเราต้องตัดสินใจทำในสิ่งที่ไม่อยากทำ” พอลล์ กาญจนพาสน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บางกอกแลนด์ จำกัด(มหาชน) เล่าถึงช่วงสถานการณ์กว่า 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งหลายธุรกิจต้องเผชิญกับสึนามิลูกใหญ่ รวมถึงตัวเขาเองและยอมรับว่า เป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากที่สุดนับตั้งแต่เข้ามานั่งบริหารงานบางกอกแลนด์ ย้อนกลับไปเมื่อปี 2516 ‘อนันต์ กาญจนพาสน์’ ได้ตั้งบางกอกแลนด์ขึ้นมา มีวัตุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ‘เมืองทองธานี’ ที่ดินย่านแจ้งวัฒนะที่มีพื้นที่กว่า 4,000 ไร่ให้เป็นเมืองแห่งการอยู่อาศัยและการพาณิชย์ โดยปัจจุบันบริษัทดังกล่าวยังมีบริษัทในเครืออีกมากมาย อาทิ ‘บริษัท อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น แมเนจเม้นท์ จำกัด’ บริหารศูนย์แสดงสินค้าและจัดประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี , ชาเลนเจอร์ ฮออล์ เป็นต้น ‘บริษัท  บางกอกแลนด์ เอเจนซี่ จำกัด’ ให้เช่าพื้นที่สำนักงานในเมืองทองธานี, ‘บริษัท เมืองทอง เซอร์วิสเซส แอนด์ แมเน็จเม้นท์ จำกัด’ ให้บริการด้านบริหารจัดการทรัพย์สิน และในเดือนตุลาคมนี้ จะมีธุรกิจใหม่นั่นคือ Lenôtre Culinary Institute โรงเรียนสอนทำอาหารที่ร่วมมือกับโรงเรียนจากประเทศฝรั่งเศส ถอดบทเรียนกว่า2ปีแห่งการยากลำบาก พอลล์ กาญจนพาสน์ ถอดบทเรียน 2 ปีแห่งความยากลำบาก ‘บางกอกแลนด์’ และเส้นทางโตด้วยแนวคิด ‘ทำธุรกิจต้องคิดถึงสังคม’ พอลล์ เป็นบุตรชายคนที่ 2 ของอนันต์ และกลับมาสานต่อธุรกิจของครอบครัวในปี 2541 ซึ่งปีนั้นไทยเป็นเจ้าภาพเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 13 ในตำแหน่งผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น แมเนจเม้นท์ จากนั้นสั่งสมประสบการณ์มา 20 ปี กระทั่งเข้ามาดำรงตำแหน่งซีอีโอ บางกอกแลนด์ เมื่อปี 2563  ตลอดการทำงานที่ผ่านมา เขายอมรับว่า การระบาดของโควิด-19 เป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากที่สุด โดยเฉพาะประมาณเดือนพฤษภาคม เดือนมิถุนายนปีที่ผ่านมา เพราะการระบาดไม่ลดลงเลย และเป็นครั้งแรกที่พอลล์ต้องตัดสินใจลดเงินเดือนพนักงาน และลดขนาดองค์กร ซึ่งเขาบอกว่า เป็นเรื่องที่ไม่อยากทำ แต่สุดท้ายต้องตัดสินใจทำ 

“เราอาจจะมองว่าเรามีพนักงาน 3,000 คนที่ต้องดูแล ขณะเดียวกันเราก็มีผู้ถือหุ้นไม่รู้กี่พันกี่หมื่นคนที่เราต้องดูแลรับผิดชอบด้วย สุดท้ายก็ต้องทำสิ่งที่เราไม่อยากทำที่สุด คือต้องให้ลูกน้องมาลำบากพร้อมกับพวกเรา”

อย่างไรก็ตาม วิกฤตแต่ละครั้งที่เกิดขึ้นสอนให้เกิดการเรียนรู้หลายอย่าง แต่หลักๆ จะเป็นเรื่อง flexibility และ Risk Management การบริหารจัดการความเสี่ยงที่ต่อจากนี้ถือเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น  โดย flexibility ด้วยการที่บางกอกแลนด์มีงานขึ้นลงไม่แน่นอน เช่น วันนี้มีงานใหญ่ หยุดไป 3 วันก็มีงานเล็ก แล้วมีงานใหญ่อีก ทำให้การบริหารจัดการเรื่องเวลาของพนักงานเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเขาไม่ใช่หุ่นยนต์ที่ทำงานได้ 24 ชั่วโมง 365 วันต่อปี ต้องให้เวลาพักผ่อน มีโอกาสใช้เงินเดือน  ให้รู้ว่างานที่ทำมีความหมายกับตัวเองอย่างไร และแน่นอนต้องมีการปรับเรื่องตำแหน่งและผลตอบแทน พอลล์ กาญจนพาสน์ ถอดบทเรียน 2 ปีแห่งความยากลำบาก ‘บางกอกแลนด์’ และเส้นทางโตด้วยแนวคิด ‘ทำธุรกิจต้องคิดถึงสังคม’ นอกจากนี้ด้วยโควิดที่ส่งผลให้ไม่สามารถจัดงานต่างๆ ได้ในระยะเวลาพอสมควร และกระทบต่อรายได้ของบริษัท ทำให้พอลล์เห็นชัดขึ้นว่า Risk Management เป็นตำแหน่งที่สำคัญและจำเป็นต้องมี เพื่อใช้บริหารจัดความเสี่ยงต่างๆ ในสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นแบบไม่คาดคิด “ผมให้ความสำคัญกับการดูแลคน เพราะธุรกิจของเราส่วนใหญ่เป็นเซอร์วิส ซึ่ง key หลักอยู่ที่คน ถ้าเขาไม่แฮปปี้ ก็จะไม่มีใจไปดูแลลูกค้า มีโอกาสผิดพลาดเยอะ แต่เรามีพนักงานไม่ต่ำกว่า 3,000 คน ผมไม่สามารถลงไปดูแลทุกคนได้ จึงเริ่มจากดูแลคนรอบๆ ตัว เป็นผู้นำที่มีความอดทน สอนลูกและฟัง feedback จากลูกน้อง และหวังว่า เขาจะเอาวิธีแบบเดียวกันไปใช้”  ทำธุรกิจต้องคิดถึงสังคม สิ่งสำคัญในการทำธุรกิจยุคนี้สำหรับพอลล์ นอกจากการดูแลคนแล้ว นั่นคือ ต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น เพื่อไม่ให้กระทบหรือทิ้งภาระให้กับคนรุ่นต่อไป โดยเขาโฟกัสในเรื่องการดูแลสิ่งแวดล้อม สร้างสังคมที่น่าอยู่ และการบริหารจัดการขยะ 

“สมัยก่อนเราอาจจะมีโฆษณาว่า เมืองทองธานีติดกับทางด่วน จะมีรถไฟฟ้าเข้ามาในปี 2025 มีความสะดวกในการอยู่อาศัย แต่ในอนาคตการพูดถึงเรื่องดูแลสิ่งแวดล้อม ทำให้พื้นที่ๆ อยู่รอบๆ เมืองทองที่มีผู้คนอาศัยหลายแสนคน ไม่ต้องมาเดือดร้อนเพราะพวกเรา ทำให้หน่วยงานของรัฐที่มาดูแลเราทำงานได้ง่ายขึ้น มันเป็นเรื่องที่น่าสนใจ และเป็นหน้าที่ที่เราต้องทำ” 

ที่ผ่านมาบางกอกแลนด์ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมาตลอด และล่าสุดได้เปิดตัว ‘อิมแพ็คฟาร์ม’ ส่งเสริมเกษตรกรที่มีการปลูกผักผลไม้ด้วยวิธีเกษตรอินทรีย์ ด้วยการได้นำผักผลไม้เหล่านั้นมาจำหน่ายให้กับผู้บริโภคโดยตรง หรือนำไปใช้ในร้านอาหาร สถานที่จัดงานและโรงแรมภายในเครือบางกอกแลนด์ พอลล์ กาญจนพาสน์ ถอดบทเรียน 2 ปีแห่งความยากลำบาก ‘บางกอกแลนด์’ และเส้นทางโตด้วยแนวคิด ‘ทำธุรกิจต้องคิดถึงสังคม’ การสนับสนุนโครงการนี้ มาจากไอเดียที่ว่า บางกอกแลนด์เป็นบริษัทที่พัฒนาอสังหา พัฒนาอสังหาฯ จึงอยากให้ดินมีคุณภาพดี เท่าที่ช่วยได้เพื่อให้รุ่นต่อไปยังได้เห็นว่า ดินที่ดีเป็นอย่างไร รวมถึงช่วยให้เกษตรกรมีรายได้ที่ดีขึ้น ส่วนอีกเหตุผล มาจากการที่พอลล์เป็น ‘คุณพ่อลูก 3’ ที่ต้องการรักษาสิ่งแวดล้อมและส่งต่อธรรมชาติที่ดีให้กับลูกๆ และคนรุ่นต่อไปด้วย 

“เมื่อก่อนผมไม่ค่อยสนใจเรื่องวัตถุดิบในการทำอาหารว่ามีวิธีปลูกหรือมาจากที่ไหน แค่มองว่า รับประทานในร้านอาหารมีชื่อเสียง ซื้อจากซุปเปอร์มาร์เก็ตทั่วไปก็เป็นของดีล้ว แต่เมื่อมีลูกก็เริ่มสนใจเรื่องพวกนี้รู้ว่า อาหารที่ฉีดฮอร์โมนสารเร่งโตในสัตว์เป็นอะไรที่ไม่ดี การปลูกพืชด้วยสารเคมีทำให้ดินเสีย กระทบต่อสิ่งแวดล้อม และผมอยากให้คนทั่วไปเห็นความสำคัญด้วย” 

นอกจากส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ผ่านโครงการอิมแพ็คฟาร์มแล้ว ตอนนี้บางกอกแลนด์ยังมองถึงการกำจัดขยะ ไม่ว่าจะเป็นขวดพลาสติก เฟอร์นิเจอร์เก่า และอื่นๆ ด้วยกระบวนการที่ถูกต้องและไม่ให้เกิดสูญเปล่า 

“การที่เราเข้าไปช่วย มีส่วนร่วมแค่นี้ก็เป็นสิ่งที่เราน่าภูมิใจ ตอนนี้เรากำลังมองถึงเนื้อสัตว์ พวกซีฟู้ดอยากติดต่อชาวประมง แล้วก็ซื้อตรงจากเขา ให้มีรายได้ดีขึ้น เป็นธุรกิจที่ยั่งยืน ส่วนการบริหารจัดการขยะได้อย่างถูกต้อง เหมือนช่วยแก้ปัญหาให้โลกทางอ้อม และไม่ทิ้งภาระให้กับรุ่นต่อไป เรื่องพวกนี้ผมมองเป็นสิ่งสำคัญที่คนทำธุรกิจต้องคำนึงถึงด้วย ณ ปัจจุบัน”

เปิดกว้างผสมผสานความคิด  พอลล์ กาญจนพาสน์ ถอดบทเรียน 2 ปีแห่งความยากลำบาก ‘บางกอกแลนด์’ และเส้นทางโตด้วยแนวคิด ‘ทำธุรกิจต้องคิดถึงสังคม’ ด้วยประสบการณ์การบริหารมากว่า 20 ปี ผ่านร้อนผ่านหนาวมามาก จึงอยากให้พอลล์ฝากข้อคิดหรือข้อเสนอแนะสำหรับคนรุ่นใหม่ ซึ่งเขาตอบว่า “รุ่นใหม่เขาเก่งกว่าเราแล้วนะ” แต่ถ้าจะฝากอยากบอกว่า พวกเขาเป็นอนาคตของประเทศ ด้วยมีอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีที่ทำให้เห็นอะไรหลายอย่างกว้างและมากกว่าในช่วงอายุเดียวกันกับเรา คนรุ่นใหม่จึงอาจจะมีความคิด มีมุมมอง ตลอดจนวิธีจัดการเรื่องราวต่างๆ ได้ดีและเร็วกว่าคนรุ่นพวกเรา  อย่างไรก็ตาม ด้วยประสบการณ์ของคนรุ่นเรา  ผ่านและเจออะไรมาเยอะ นั้นประเด็นสำคัญ คือ ทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ต้องเปิดใจให้กว้าง เอาความคิดของคนแต่ละรุ่นมารวมกัน เพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่อาจมีประสิทธิภาพและได้รับการดีจากกลุ่มคนที่กว้างขึ้น  เมื่อถามว่า สไตล์บริหารของคุณพอลล์เป็นอย่างไร เขาตอบ(พร้อมยิ้ม)ว่า ก็ฟังบ้างไม่ฟังบ้าง และบางทีตัวเองยังไม่รู้สไตล์ของตัวเองเลย แต่คิดว่า คนที่จะตอบคำถามนี้ได้ดี คือ ลูกน้อง โดยเฉพาะคนที่อยู่ด้วยกันมานาน