โครงการ "การศึกษาการเล่นเกมในเด็กไทย"

โครงการ "การศึกษาการเล่นเกมในเด็กไทย"
โครงการ “การศึกษาเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนเพื่อก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.วีระ ปาติยเสวี วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล (ภาคบริหารธุรกิจ) การวิจัยนี้ได้มุ่งเน้นศึกษาการเล่นเกมของกลุ่มเด็กอายุ 11-15 ปีในระบบโรงเรียน รวมถึงโรงเรียนทางเลือกด้วย โดยการวิจัยนี้กำหนดพื้นที่การศึกษาในประเทศไทยออกเป็น 5 ภูมิภาค คือ กรุงเทพ และปริมณฑล 5 จังหวัด ภาคกลาง 20 จังหวัด ภาคใต้ 14 จังหวัด ภาคเหนือ 17 จังหวัด และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด โดยเลือก 1 จังหวัดเป็นตัวแทนภูมิภาค โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
  1. ระบุปัจจัยและตัวแปรต้นเหตุซึ่งนำไปสู่การเล่นเกมที่มากเกินไปในเด็กไทย,
  2. ระบุระดับของอิทธิพลซึ่งแต่ละปัจจัยต่อการเล่นเกมที่มากเกินไปในเด็กไทย
  3. ระบุผลกระทบเชิงบวกและลบของการเล่นเกมในเด็กไทย
จากการศึกษาทั้งหมด ส่วนประกอบสำคัญที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเล่นเกมของเด็กคือ การเลี้ยงดูของผู้ปกครอง (Parenting) ในขณะที่ สถาบันโรงเรียน และภาครัฐเองจริงๆ แล้วมีบทบาทที่น้อยมากเพราะผู้ปกครองมีความใกล้ชิดกับเด็ก เป็นคนซื้ออุปกรณ์อิเล็กโทรนิกส์และให้เงินค่าขนม และเด็กใช้เวลาอยู่ร่วมด้วยมากที่สุด ดังนั้น หากผู้ปกครองมีความตระหนัก ความรู้ และความเข้าใจถึงสิ่งที่บุตร หลานทำอยู่ไม่จำกัดแค่เรื่องเกม ผลกระทบด้านลบจากสิ่งที่บุตร หลานทำอยู่ก็จะลดน้อยลงหรือเลือกที่จะเล่นเกมในเวลาที่เหมาะสมได้ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ ได้ที่นี่ https://www.kidsthai.com/personal-factors-and-playing-game/