พิชชานันท์ มหาโชติ: Run For Your Life วิ่ง-เพื่อ-ชีวิต จากกิโลเมตรศูนย์ถึงอัลตร้าเทรล UTMB

พิชชานันท์ มหาโชติ: Run For Your Life วิ่ง-เพื่อ-ชีวิต จากกิโลเมตรศูนย์ถึงอัลตร้าเทรล UTMB
You'd better run for your life if you can, little girl Hide your head in the sand, little girl Catch you with another man That's the end, little girl ดนตรีเพลง Run For Your Life จากอัลบั้ม Rubber Soul ของคณะสี่เต่าทองขับกล่อมตลอดการสัมภาษณ์พูดคุยกับ เอ๋-พิชชานันท์ มหาโชติ นักวิ่งหญิงไทยคนแรกที่จบการแข่งขันอัลตร้า เทรล ดู มงต์บลังค์ (UTMB) ที่ประเทศฝรั่งเศส ก่อนเข้าเส้นชัย 172.12 กิโลเมตร นักวิ่งจากราชบุรีคนนี้เคยฝึกวิ่งด้วยการขึ้นบันได ไม่มีเงินซื้อรองเท้าวิ่งดี ๆ จนคนขายยกรองเท้ามือสองให้ ไปจนถึงเพื่อนออกค่าสมัครวิ่งให้พร้อมด้วยคำพูดที่ว่า “ฉันออกเงินให้แกมาวิ่ง แต่แกห้ามตายนะ” ซึ่งนั่นเป็นมาราธอนแรกของเธอที่จอมบึงมาราธอน และครั้งแรกนั้นเองเธอก็ได้แชมป์ในรายการนี้ จากกิโลเมตรที่ศูนย์มาถึงวันนี้ เส้นทางชีวิตของเธอก็ไม่ต่างจากการวิ่งระยะไกลที่ต้องผ่านอะไรมาแล้วมากมาย จนเราอยากจะชวนทุกคนให้รู้จักเธอไปพร้อมกัน  พิชชานันท์ มหาโชติ: Run For Your Life วิ่ง-เพื่อ-ชีวิต จากกิโลเมตรศูนย์ถึงอัลตร้าเทรล UTMB

กิโลเมตรที่ 0 ปัง! เสียงสัญญาณออกตัว

พิชชานันท์เล่าให้ฟังว่า “เราเริ่มจากการเริ่มวิ่งขึ้นลงบันไดของโรงพยาบาลแถวบ้าน เพราะมองว่าการวิ่งคือกิจกรรมที่ทำคนเดียวได้” ช่วงเวลานั้นเธอต้องดูแลแม่ที่ป่วย ทำงานควบคู่กับการเก็บใบไม้ไปขาย รับจ้างขุดดิน เธอใช้เวลาระหว่างว่างนั้นด้วยการซ้อมวิ่งโดยที่ไม่มีโค้ช แต่วิ่งด้วยความรัก วิ่งเพื่อสุขภาพ เมื่อเธอเจอป้าย ‘จอมบึงมาราธอน’ แถวบ้านเกิดของเธอที่ราชบุรีและอยากลองสมัคร ปรากฏว่าการสมัครนั้นปิดลงแล้ว แต่เธอก็ขอไปร่วมวิ่งโดยที่ไม่รับรางวัลใด ๆ นั่นคือ 10 กิโลเมตรแรกของเธอ ปมนั้นฝังใจโดยที่ตั้งเป้าหมายว่าปีหน้าเธอจะเข้าร่วมการแข่งขันวิ่งมาราธอนระยะ 42.195 กิโลเมตร เธอเริ่มฝึกซ้อมด้วยวิธีการแบบบ้าน ๆ อย่างการเอาขวดน้ำตั้งระหว่างเสาไฟเพื่อที่จะวิ่งจับระยะ สลับกับการทำงานรับจ้างและดูแลแม่ และเมื่อเธอได้ก้าวลงแข่งในสนามมาราธอนครั้งแรก ใครจะเชื่อว่าคนหน้าใหม่อย่างเธอคว้ารางวัลชนะเลิศถ้วยพระราชทานฯ ได้ในทันที ทั้งที่วันสมัครนั้นเธอแทบจะไม่มีเงินสมัครด้วยซ้ำ!

พิชชานันท์ มหาโชติ: Run For Your Life วิ่ง-เพื่อ-ชีวิต จากกิโลเมตรศูนย์ถึงอัลตร้าเทรล UTMB กิโลเมตรที่ 10 เมื่อเธอเป็นที่หนึ่งในสนามมาราธอนแล้ว เป้าหมายต่อไปของเธอก็คืออยากลองวิ่งเทรลดูบ้าง ครั้งนี้เธอเริ่มจากที่บ้านเกิดในรายการ ‘เขาประทับช้างเทรล ราชบุรี’ ใครเลยจะคิดว่าแค่เพียงรายการแรกของการแข่งขันเทรล พิชชานันท์ ก็คว้าอันดับหนึ่งได้ทันที และได้เป็นตัวแทนของประเทศไทยในการเข้าแข่งวิ่งเทรลที่เมืองปีนัง ประเทศมาเลเซีย นั้นคือการออกนอกประเทศครั้งแรกของเธอ

เหมือนประวัติศาสตร์มันเขียนตัวมันเองอีกครั้ง เพียงแต่พิชชานันท์ไม่ได้เขียนประวัติศาสตร์ด้วยมือ แต่เธอเขียนด้วยเท้าและขาของเธอเอง “ครั้งแรกที่ไปมาเลเซียรู้สึกตื่นเต้นมาก เหมือนเราได้เป็นตัวแทนประเทศไทย และเราก็ทำมันสำเร็จเป็นแชมป์ในการแข่งขันครั้งนั้น” สามสนาม สามประสบการณ์ สามแชมป์ พอฟังเผิน ๆ ก็คิดว่าชีวิตน่าจะโรยด้วยกลีบกุหลาบ แต่จริง ๆ ไม่ได้เป็นอย่างนั้นพิชชานันท์ต้องลงวิ่งมาราธอนเพื่อเก็บเงิน แล้วนำเงินไปสมัครวิ่งเทรลที่เธอชอบ

พิชชานันท์ มหาโชติ: Run For Your Life วิ่ง-เพื่อ-ชีวิต จากกิโลเมตรศูนย์ถึงอัลตร้าเทรล UTMB กิโลเมตรที่ 42.195 แม้มาราธอนจะมีระยะ 42.195 กิโลเมตรเท่ากัน แต่ทุกรายการวิ่งจะมีเส้นทางและประสบการณ์ที่ได้รับแตกต่างกันไป ยิ่งเป็นเทรลที่ไม่จำกัดอยู่แค่พื้นถนนทางเรียบการคาดเดาไม่ได้เลยเหมือนเป็นเสน่ห์ของการวิ่งแบบนี้

สำหรับพิชชานันท์ ที่กลายเป็นนักวิ่งระดับรางวัล ชื่อเสียงของเธอเริ่มเป็นที่รู้จักในวงการปอดเหล็กมากขึ้น ไปพร้อมกับจำนวนสนามที่สะสมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนเราอดถามไม่ได้ว่ารายการไหนที่เธอประทับใจที่สุด “The North Face 100 Thailand ที่ปากช่อง ตอนนั้นตั้งเป้าว่าจะพาแม่ไปดูเราแข่งด้วย เลยนั่งรถกันไปปรากฏว่าระหว่างทางแม่ป่วยฉุกเฉินต้องเข้ารักษาด่วนที่โรงพยาบาลแถวอยุธยา แต่เราเองต้องไปให้ทันเพื่อรับ BIB ให้ทัน พอไปถึงโรงแรมที่ตอนจองก็เพราะคิดว่าจะพาแม่มาเที่ยวด้วยเราก็ได้แต่ร้องไห้” การเป็นนักกีฬาดังไม่ได้แปลว่าจะสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ พิชชานันท์ยังกลับมาใช้ชีวิตปรกติ ดำรงชีพด้วยงานรับจ้างทั่วไป และเงินรางวัลจากการวิ่ง รวมไปถึงบางรายการที่ได้เป็นของรางวัลเธอก็มักจะให้เพื่อนช่วยขายเพื่อเปลี่ยนเป็นเงินให้เสมอ พิชชานันท์ มหาโชติ: Run For Your Life วิ่ง-เพื่อ-ชีวิต จากกิโลเมตรศูนย์ถึงอัลตร้าเทรล UTMB เธอบอกว่า “ทำไมเราที่มาจากครอบครัวยากจนจะมีความฝันไม่ได้ ความฝันของเราคือการมีความสุขจากการได้วิ่ง ดังนั้นเราก็จะหาทางเพื่อที่ทำให้เราได้วิ่งแข่งขัน” ส่วนสปอนเซอร์ส่วนมากเธอจะรับในรูปแบบที่เป็นอุปกรณ์เพื่อช่วยสนับสนุนการแข่งขันทั้งนาฬิกาจับเวลา เป้บรรจุน้ำดื่ม หรือรองเท้ามากกว่าเงิน เธอได้เปลี่ยนความเสียใจเป็นพลัง และคว้าแชมป์ได้สำเร็จ เธอโทรมาที่โรงพยาบาลขอให้นางพยาบาลเปิด Facebook ของการแข่งขัน เพื่อให้เห็นเธอสัมภาษณ์เมื่อชนะ แม่ของเธอรับรู้ได้ ก่อนที่เธอจะพาแม่กลับไปรักษาตัวต่อที่บ้าน ทั้งหมดทั้งมวลนี้เทียบไม่ได้กับ การแข่งขันอัลตร้า เทรล ดู มงต์บลังค์ (UTMB) ที่ประเทศฝรั่งเศส หรือที่เรียกกันว่าเป็น ‘โอลิมปิกแห่งวงการวิ่งเทรล’ และยังไม่เคยมีผู้หญิงไทยคนไหนที่วิ่งจนจบระยะ 100 ไมล์ของรายการนี้ได้เลยสักคนเดียว พิชชานันท์ มหาโชติ: Run For Your Life วิ่ง-เพื่อ-ชีวิต จากกิโลเมตรศูนย์ถึงอัลตร้าเทรล UTMB

กิโลเมตรที่ 100 การแข่งขันอัลตร้า เทรล ดู มงต์บลังค์ (UTMB) ที่ประเทศฝรั่งเศส เป็นรายการที่นักวิ่งจะต้องวิ่งเก็บคะแนนเพื่อลงสุ่มสิทธิ์ในการเข้าแข่งขัน ในครั้งแรกเธอสุ่มไม่ได้ ในครั้งที่ 2 เธอสุ่มได้แต่ก็ไม่มีเงินเพียงพอที่จะเดินทางไป และครั้งที่ 3 เธอสุ่มได้แต่ปรากฏว่าเกิดวิกฤตการณ์ โควิด-19 “เชื่อไหมว่าระยะทางของการแข่งขันเทรล ยังไม่โหดร้ายเท่ากับระยะของชีวิตที่เราได้ผ่านมาเลย” พิชชานันท์ ได้กล่าวไว้ระหว่างสัมภาษณ์

ปีที่เธอจะได้ไปเธอระดมทุนด้วยการจัดทอล์กพิเศษเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวให้กับผู้สนใจได้สมทบทุนเพื่อที่จะไปแข่งที่ฝรั่งเศส แต่อุปสรรคไม่ได้มีเพียงเท่านั้น กำแพงเรื่องภาษา ปัญหาการเดินทางที่ยากขึ้นในช่วง โควิด-19 การเตรียมความพร้อมของเธอสำหรับรายการใหญ่ไม่ง่าย เธอต้องวิ่งขึ้นวิ่งลงระหว่างโต๊ะกับพื้นบ้านเพื่อทดสอบความลาดชันสนามวิ่งเทรล และออกไปวิ่งรอบ ๆ ภูเขาลูกเล็ก ๆ บริเวณใกล้บ้านของเธอจนทำให้เธอก็พร้อมจะออกเดินทางเพื่อล่าฝันครั้งใหญ่นี้ ชีวิตพิชชานันท์นั้นไม่เคยง่าย ระหว่างที่เธอกำลังเตรียมตัวสำรวจเส้นทางก่อนวันแข่งขันจริง เธอได้รับข่าวร้ายจากเมืองไทย เมื่อคุณแม่ที่เธอรักต้องเสียชีวิตจากโควิด-19 ในขณะนั้นมันคงสับสนถึงที่สุด อุปสรรคไม่เคยทำให้เธอย่อท้อ ก่อนการแข่งขันเธอเคยบอกกับแม่ว่าถ้าเธอจบรายการนี้ได้ เป้าหมายในชีวิตที่อยากทำก็คงมีเพียงซื้อที่เล็ก ๆ ให้ได้อยู่อาศัยร่วมกันประสาแม่ลูก และเธอจะหยุดวิ่งและอุทิศชีวิตให้กับการดูแลแม่

พิชชานันท์ มหาโชติ: Run For Your Life วิ่ง-เพื่อ-ชีวิต จากกิโลเมตรศูนย์ถึงอัลตร้าเทรล UTMB กิโลเมตรที่ 172.12 พิชชานันท์เล่าเมื่อเธอกลายเป็นผู้หญิงไทยคนแรกที่พิชิตระยะ 172.12 กิโลเมตรของ UTMB ว่า สำหรับเธอนี่คือจุดสูงสุดในชีวิตของการเป็นนักวิ่งแล้ว

"เมื่อผู้ประกาศประกาศออกไมค์ว่า The First Woman from Thailand สำหรับเอ๋ แล้วคิดว่ามันคือที่สุดที่เราชูธงชาติไทยขึ้นมาและเราบอกทุกคนว่าคนจากประเทศนี้ก็สามารถทำได้เช่นกัน” สำหรับเธอแล้วเธอไม่ได้วิ่งแค่เพื่อชีวิตของตัวเองเท่านั้นแต่เธอวิ่งเพื่อประเทศไทย การวิ่งให้อะไรกับเธอบ้าง “การวิ่งให้การเอาชนะตัวเองของเรา เราวิ่งครั้งแรกเราไม่รู้เลยว่าเรานำเป็นที่หนึ่ง เพราะเราวิ่งไปเรื่อย ๆ จนเห็นว่ามีรถนำขบวนอยู่หน้าเราเพียงอย่างเดียว และเมื่อเข้าเส้นชัยเราถึงเพิ่งรู้ว่าเราวิ่งแซงทุกคนไปหมดแล้ว และเราได้เอาชนะตัวเราเองไปอีกขั้นหนึ่งแล้ว” พิชชานันท์ มหาโชติ: Run For Your Life วิ่ง-เพื่อ-ชีวิต จากกิโลเมตรศูนย์ถึงอัลตร้าเทรล UTMB เมื่อถามว่ามีอะไรที่พิชชานันท์ยังไม่ได้ทำ อะไรคือเป้าหมายของเธอหลังจากนี้ เธอกล่าวอย่างเรียบ ๆ ว่า “สำหรับเรา ๆ อาจจะอยากถ่ายทอดแรงบันดาลใจให้ทุกคนเห็นว่า ทุกคนสามารถทำมันได้หากมีความพยายาม ถึงแม้เราจะไม่ได้มีความพร้อมแบบคนอื่น แต่เราสามารถทำมันได้สำเร็จ” เราไม่รู้ว่าเป้าหมายที่เธอจะ ‘วิ่งเพื่อชีวิตของเธอ’ ก้าวต่อไปจะเป็นอย่างไร แต่อยากให้คุณหันกลับไปมอง ‘ระยะทางชีวิต’ ที่เธอวิ่งผ่านมาทั้งหมด สิ่งเหล่านี้อาจจะเป็นคำตอบได้ดีว่าเธอได้ผ่านอะไรมาแล้วกว่าจะวิ่งมาถึงจุด ๆ นี้ได้ พิชชานันท์ มหาโชติ: Run For Your Life วิ่ง-เพื่อ-ชีวิต จากกิโลเมตรศูนย์ถึงอัลตร้าเทรล UTMB สำหรับคนที่รักการวิ่งแล้วมีเรื่องราวระหว่างเส้นทางที่ประทับใจ สามารถร่วมแชร์เรื่องราวจากจุดศูนย์สู่สำเร็จ หรือ From Zero to Hero ในแบบของคุณเอง ได้ที่ เพจ Garmin Run Club เพียงโพสต์ HERO STORY บนเฟซบุ๊ก www.facebook.com/GarminGRC.TH ตั้งแต่ 25 ตุลาคม ถึง 7 พฤศจิกายน เรื่องราวที่ถูกใจทีมงานการ์มินรับไปเลย เซ็ทของรางวัลสุดพิเศษให้คุณพร้อมออกวิ่ง ประกอบไป ด้วยสมาร์ทวอทช์ Garmin Forerunner 55 รองเท้าวิ่ง ASICS GEL-KINSEI BLAST กระเป๋า Garmin Transition Bag และบัตรงานวิ่งพร้อมเสื้อ Garmin GRC Run 2021 จำนวน 5 เซ็ท มูลค่ารวมกว่า 100,000 บาท นักวิ่งทั้งหน้าใหม่ หรือรุ่นใหญ่ที่อยากลองสัมผัสประสบการณ์ในการวิ่งไปพร้อมกับสมาร์ทวอทช์ของการ์มิน สามารถเข้าไปติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/3FDW010