24 มิ.ย. 2567 | 13:11 น.
เมื่อวันที่ 20-23 มิถุนายนที่ผ่านมา พาราไดซ์ พาร์ค ศูนย์การค้าในเครือเอ็ม บี เค ร่วมขยายตลาดและเพิ่มช่องทางจำหน่ายงานหัตถกรรมสินค้าผ้าไทยให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ผนึก ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และเครือข่ายพันธมิตร ผู้ประกอบการธุรกิจเพื่อสังคม SE จัดงานผ้าเปลี่ยนโลก Craft for Change 2024 ตลาดนัดเพื่อสังคม
โดยชวนทุกคนมาสัมผัสเสน่ห์แห่งเส้นใยธรรมชาติ กับสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่มาจากภูมิปัญญาและมรดกทางวัฒนธรรมในท้องถิ่น และการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตลอด 4 วันเต็ม ณ ชั้น 1 ลานรอยัล พาร์ค พลาซ่า พาราไดซ์ พาร์ค
นางสาวจรูญรัตน์ สาลี กรรมการผู้จัดการ บริษัท พาราไดซ์ พาร์ค จำกัด กล่าวว่า พาราไดซ์ พาร์ค ศูนย์การค้าในเครือเอ็ม บี เค ร่วมสานต่อนโยบายของ บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) ที่ให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจที่เน้นความยั่งยืน ตามแนวทาง ESG ที่คำนึงถึงการดูแลสิ่งแวดล้อม ความรับผิดชอบต่อสังคม และการกำกับดูแลกิจการที่ดี และเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
รวมทั้งยกระดับองค์กรให้มีความพร้อมในการขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายทั้ง 3 มิติ ตามเจตนารมณ์ของบริษัทฯ
โดยรวมพลังธุรกิจเพื่อสังคม กับ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และเครือข่ายพันธมิตร ผู้ประกอบการ SE (ธุรกิจเพื่อสังคม - Social Enterprise) จัดงาน ผ้าเปลี่ยนโลก Craft for Change 2024 ซึ่งนอกจากเป็นการสานต่อความสำเร็จจากการจัดครั้งที่ผ่านมาที่ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ แล้ว ยังเป็นการขยายตลาดและเพิ่มช่องทางจำหน่ายงานหัตถกรรมสินค้าผ้าไทย
ที่สำคัญ ลูกค้าและประชาชนจะได้สัมผัสภูมิปัญญาและเรื่องราวมรดกทางวัฒนธรรมไทยผ่านสินค้าหัตกรรมผ้าไทย ที่มีความสวยงามและดีไซน์ร่วมสมัย มีกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จากผู้ประกอบการที่มาออกบูธทั้งหมด 37 ร้านค้า รวมถึงช่วยสร้างงานสร้างรายได้ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ให้กับชุมชนทั่วประเทศอีกด้วย
นายกีรติ โกสีย์เจริญ ผู้ช่วยผู้จัดการ หัวหน้ากลุ่มงานบริหารกิจกรรมเพื่อสังคม ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ มุ่งพัฒนาตลาดทุนให้เป็นประโยชน์ต่อทุกภาคส่วน ส่งเสริมภาคธุรกิจ โดยเฉพาะบริษัทจดทะเบียนให้ดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม เน้นให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างภาคธุรกิจ ภาคสังคม และชุมชน โดยมุ่งพัฒนาศักยภาพธุรกิจเพื่อสังคมและสร้างผลลัพธ์ทางสังคม งานผ้าเปลี่ยนโลก (Craft for Change) เป็นความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจกับผู้ประกอบการเพื่อสังคมที่เป็นรูปธรรมและต่อเนื่องเป็นปีที่ 6
โดย ตลาดหลักทรัพย์ฯ และพาราไดซ์ พาร์ค ศูนย์การค้าในเครือ บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) ได้ร่วมส่งเสริมสินค้าของธุรกิจเพื่อสังคมภายใต้เครือข่าย SET Social Impact Platform และสินค้าหัตกรรมของชุมชน ครอบคลุม 20 จังหวัดทั่วประเทศ มุ่งหวังว่าการจัดงานครั้งนี้จะส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ในหลายมิติ ได้แก่ การสร้างรายได้ การสนับสนุนช่องทางการขายให้สินค้าของชุมชนและผู้ประกอบการเพื่อสังคมเป็นที่รู้จักในวงกว้าง และสร้างการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในการพัฒนาสังคมสะท้อนกรอบการดำเนินงานในรูปแบบ ESG
ภายในงาน ผ้าเปลี่ยนโลก (Craft for Change) มีผู้ประกอบการธุรกิจเพื่อสังคม หรือ SE (Social Enterprise) ร่วมออกบูธจำนวน 37 ร้านค้า ได้แก่ MUNZAA JUTATIP escape issue Sati Khaisaeng Handmade MAKA ร้านกนกผ้าฝ้าย (kanokphafay) กลุ่มทอผ้าและตัดเย็บบ้านหาดเสี้ยว จังหวัดสุโขทัย SICHA บุยีผ้าไทย พีพี.ฝ้ายศรีงาม IndyEko Aomshoes hand made วิมพ์วิภา ผ้าตุ๊บใบไม้
ผ้าฝ้ายปทิตตา ปูรณฆฏะผ้าไทย Folkcharm ร้านคุณตาคุณยาย South Fabric Kamonmanee BananaLand ผ้าฝ้ายรำไพ กี่ฝ้ายหอม ภูริษาผ้าไทย วิสาหกิจชุมชนหม้อห้อมทุ่งเจริญย้อมสีธรรมชาติ จังหวัดแพร่ สานศิลป์ (Sarnsilp) วิสาหกิจชุมชนบ้านวัดจากแดง บ้านคนพิเศษ P'Liv ดี มี สุข CIRCULAR ARTSTORY BY AUTISTIC THAI ศรีวิลัยผ้าฝ้าย สินค้าชุมชนมูลนิธิรักษ์ไทย ศูนย์เรียนรู้ต่อเนื่องอย่างยั่งยืน จังหวัดขอนแก่น ศูนย์เรียนรู้ต่อเนื่องอย่างยั่งยืน จังหวัดอุตรดิตถ์ และศูนย์เรียนรู้ต่อเนื่องอย่างยั่งยืน จังหวัดอุบลราชธานี
โดยเสื้อผ้าหรือสินค้าที่นำมาจำหน่ายเต็มไปด้วยดีไซน์ที่สวยงาม และมีการเชื่อมโยงองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นในแต่ละพื้นที่ลงบนผืนผ้าแล้ว บางแบรนด์สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากวัสดุเหลือมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และพิเศษ! เพียงช้อปสินค้าภายในงานครบ 800 บาท แลกรับฟรี! กระเป๋าผ้าสุดชิค จากมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมเวิร์คช็อปงานคราฟต์ที่น่าสนใจ เช่น การเพ้นทกระเป๋าจากกลุ่มทอผ้าและตัดเย็บบ้านหาดเสี้ยว จังหวัดสุโขทัย การร้อยสร้อยข้อมือจากลูกปัดพลาสติกจากฝาขวด จากวิสาหกิจชุมชนบ้านวัดจากแดง และการทำสายคล้องข้อมือ จาก P’Liv เป็นต้น
ความสำเร็จของงานนี้ เราได้เห็นคนไทยหลายกลุ่ม ตั้งแต่วัยรุ่น ไปจนถึงวัยเกษียณ ให้ความสำคัญ และให้ความสนใจ 'ผ้าไทย' อัตลักษณ์ของคนไทยมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันชาวต่างชาติที่ทำงานอยู่มที่ประเทศไทย และนักท่องเที่ยวที่มาเยือนเมืองไทย ก็ให้การตอบรับเป็นอย่างดีกับงานดังกล่าว สะท้อนความสำเร็จในความพยายามปลูกฝังการรักษ์ไทย อุดหนุนของไทยได้มากทีเดียวจากงานนี้