Wisesight กับการปรับฐานทัพ ‘BASE33’ ตามคอนเซปต์ออฟฟิศยุคหลังโควิด-19 ไม่ว่าพนักงานจะอยู่ที่ไหนก็ทำงานได้เต็มที่

Wisesight กับการปรับฐานทัพ ‘BASE33’ ตามคอนเซปต์ออฟฟิศยุคหลังโควิด-19 ไม่ว่าพนักงานจะอยู่ที่ไหนก็ทำงานได้เต็มที่

โซเชียลมีเดียมีบทบาทมากทั้งในแง่ธุรกิจและวิถีชีวิตผู้คนทั่วไปจึงมีหลายธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับข้อมูลมหาศาลที่ไหลเวียนในแพลตฟอร์มต่าง ๆ บริษัทเกี่ยวกับโซเชียลมีเดียที่จัดเป็นผู้นำในไทยคือ บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด

ผู้ให้บริการด้านการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกอันดับหนึ่งในประเทศไทยและมีประสบการณ์ในด้านโซเชียลมีเดียมามากกว่า 15 ปี ซึ่งความเคลื่อนไหวล่าสุดของบริษัทนี้ กลุ่มธุรกิจเพิ่งเปิดพื้นที่ออฟฟิศให้สื่อและแขกจากแหล่งต่าง ๆ เข้าชมไปเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2565 

การเปิดพื้นที่ครั้งล่าสุดสืบเนื่องมาจากการปรับพื้นที่ทำงานให้เป็นรูปแบบใหม่บนพื้นที่ 1,234 ตร.ม. โดยยึดคอนเซปต์การทำงานแบบยืดหยุ่นที่พนักงานสามารถเลือกทำงานได้ทั้งที่บ้านและที่ออฟฟิศ อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมทั้งเผยเทรนด์การทำงานยุคหลังโควิด-19 และเทรนด์โซเชียลในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2565

Wisesight กับการปรับฐานทัพ ‘BASE33’ ตามคอนเซปต์ออฟฟิศยุคหลังโควิด-19 ไม่ว่าพนักงานจะอยู่ที่ไหนก็ทำงานได้เต็มที่ นอกจากบ้านหลังเก่าในรูปโฉมใหม่แล้ว สิ่งหนึ่งที่ ‘กล้า  ตั้งสุวรรณ’ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด เล่าให้ฟังคือ เขาเห็นว่าตั้งแต่ช่วงหลังวิกฤตการณ์โควิดเป็นต้นมา ในอนาคตการทำงานต้องการความยืดหยุ่นมากขึ้น ทำให้ไวซ์ไซท์มีความจำเป็นต้องดำเนินการปรับรูปแบบพื้นที่ทำงานให้กลายเป็น ‘Hybrid Workplace’ เน้นให้ทุกคนได้เข้ามาสร้างปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน

พื้นที่ที่ออกแบบมาจึงไม่เหมือนการทำงานในยุคก่อนที่ต้องนั่งทำงานต่อเนื่องวันละ 8 ชั่วโมง แต่พนักงานสามารถยืน, นั่ง, เดินทำงานตามจุดต่าง ๆ ได้ และจุคนได้มากกว่า 200 คน เพื่อให้พื้นที่ตรงนี้เป็นได้ทั้งที่ทำงาน และพื้นที่ในการใช้เวลาร่วมกัน

คอนเซปต์นี้ถูกประยุกต์ในพื้นที่ทุกตารางเมตรของ BASE33 โดยแบ่งออกเป็น  4 โซนหลัก ได้แก่ 1. THE FRONT 2. THE CAFE 3. THE STUDIO 4. THE ROOM

Wisesight กับการปรับฐานทัพ ‘BASE33’ ตามคอนเซปต์ออฟฟิศยุคหลังโควิด-19 ไม่ว่าพนักงานจะอยู่ที่ไหนก็ทำงานได้เต็มที่

THE FRONT

ตั้งแต่ก้าวแรกเราสามารถสัมผัสความเป็นไวซ์ไซท์ได้ด้วยจอ Command Center ขนาดใหญ่ที่แสดงผลข้อมูลบนโลกโซเชียลในหลากหลายรูปแบบ ให้คุณไม่พลาดในการเกาะติดทุกกระแสโซเชียลแบบเรียลไทม์ในบรรยากาศสบาย ๆ แบบเป็นกันเอง โดยไม่จำกัดเพียงแค่ลูกค้า หรือพาร์ทเนอร์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงการทำงานต้องพบปะกับเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการทั่วไป เช่น พนักงานส่งเอกสาร สินค้า และผู้สมัครงานด้วย

Wisesight กับการปรับฐานทัพ ‘BASE33’ ตามคอนเซปต์ออฟฟิศยุคหลังโควิด-19 ไม่ว่าพนักงานจะอยู่ที่ไหนก็ทำงานได้เต็มที่ THE CAFE

สำหรับโซนคาเฟ่ ถูกออกแบบมาใหม่ทั้งหมด เพื่อรองรับกิจกรรมในหลากหลายรูปแบบของทีมงานกว่า 200 ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการจัดประชุม และสัมนาภายใน, งานเลี้ยงสังสรรค์, การจัดอีเวนท์รูปแบบต่าง ๆ รวมไปถึง มีความเหมาะสมในการนั่งทำงาน สืบเนื่องมาจากช่วงโควิดที่คนนิยมไปนั่งคาเฟ่

ไวซ์ไซท์จึงอยากทำให้พื้นที่นี้เป็นคาเฟ่ของทุกคน คาเฟ่ที่สามารถนั่งทำงานจริงและใช้ชีวิตไปได้พร้อม ๆ กัน โดยเรามีบาร์ขนาดใหญ่ที่เปิดต้อนรับตลอด 24 ชั่วโมงรวมถึงเบียร์แท็ป, อาหาร, ขนม และเครื่องดื่มที่สามารถบริการตัวเองได้ที่ตู้กดอัตโนมัติ พร้อมผ่อนคลายไปกับกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ บอร์ดเกม, ปิงปอง, พูล ทุกคนจึงสามารถชวนเพื่อน ๆ มาใช้เวลาร่วมกันได้ตลอดวัน

Wisesight กับการปรับฐานทัพ ‘BASE33’ ตามคอนเซปต์ออฟฟิศยุคหลังโควิด-19 ไม่ว่าพนักงานจะอยู่ที่ไหนก็ทำงานได้เต็มที่ THE STUDIO

โซนสตูดิโอที่ถูกจัดเตรียมขึ้นมาเพื่อรองรับการผลิตสื่อในรูปแบบใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายทำไลฟ์, ถ่ายวีดีโอ, สัมนาออนไลน์ และการทำสื่อในรูปแบบอื่น ๆ ให้สอดรับกับรูปแบบการทำงานของคนในปัจจุบัน Wisesight กับการปรับฐานทัพ ‘BASE33’ ตามคอนเซปต์ออฟฟิศยุคหลังโควิด-19 ไม่ว่าพนักงานจะอยู่ที่ไหนก็ทำงานได้เต็มที่ Wisesight กับการปรับฐานทัพ ‘BASE33’ ตามคอนเซปต์ออฟฟิศยุคหลังโควิด-19 ไม่ว่าพนักงานจะอยู่ที่ไหนก็ทำงานได้เต็มที่

THE ROOMS

โซนห้องประชุมที่ออกแบบมาเพื่อรองรับและตอบโจทย์การใช้งานของคนทุกคน ไม่ว่าจะเป็นห้องประชุมขนาดใหญ่ที่สามารถจุคนได้ถึง 30 คน ไปจนถึงห้อง Phone Booth สำหรับการประชุมออนไลน์ขนาดเล็กสำหรับ 1-2 คน ที่เพิ่มยืดหยุ่นในการประชุมยุคใหม่

เอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งคือ ชื่อของห้องประชุมที่ถูกตั้งขึ้นตามเฉดสีแดงซึ่งเป็นอัตลักษณ์ของไวซ์ไซท์ ได้แก่ Wine, Scarlet, Crimson, Ruby, Raspberry, Imperial, Burgundy และ Rose ซึ่งสะท้อนความแตกต่างที่ลงตัวของทุก ๆ คน

ซึ่งทั้งหมดเป็นภาพรวมของรูปแบบสถานที่ที่ถูกออกแบบมารองรับการทำงานแบบ Hybrid Working ที่ใช้ข้อมูลบนโลกโซเชียลเป็นองค์ประกอบในการวางคอนเซปต์เพื่อให้ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การทำงานของคนรุ่นใหม่ให้สามารถใช้พื้นที่การทำงาน และใช้ชีวิตร่วมกันได้อย่างลงตัว

Wisesight กับการปรับฐานทัพ ‘BASE33’ ตามคอนเซปต์ออฟฟิศยุคหลังโควิด-19 ไม่ว่าพนักงานจะอยู่ที่ไหนก็ทำงานได้เต็มที่ ขณะที่เปิดออฟฟิศให้ได้ชม พุทธศักดิ์ ตันติสุทธิเวท รองผู้อำนวยการฝ่ายการบริการวิเคราะห์ข้อมูล บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้เผยเทรนด์การทำงาน และเทรนด์โซเชียลในช่วงครึ่งปีแรกของ 2565 ที่น่าจับตามองผ่าน 2 มิติ

Wisesight กับการปรับฐานทัพ ‘BASE33’ ตามคอนเซปต์ออฟฟิศยุคหลังโควิด-19 ไม่ว่าพนักงานจะอยู่ที่ไหนก็ทำงานได้เต็มที่ เทรนด์การทำงาน

เสียงของคนบนโลกโซเชียลมากกว่า 64% คิดว่าการทำงานที่บ้านเป็นเรื่องที่ดี เนื่องจากสามารถจัดสรรเวลาการทำงานได้และทำให้เนื้องานที่ออกมามีประสิทธิภาพดีกว่า นอกจากนี้ ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และมีเวลาที่เหลือทำกิจกรรมอื่น ๆ กับคนในครอบครัวได้ ในขณะที่ 26% มองว่าการทำงานที่บ้านทำให้เสียสุขภาพกายและใจ เกิดความเครียดได้ง่าย พื้นที่แวดล้อมไม่เอื้ออำนวยต่อการทำงาน รวมถึง เหงาและอยากเจอผู้คน

ดังนั้น หากกลุ่มคนบนโลกโซเชียลจะออกมาทำงานที่ออฟฟิศ ออฟฟิศแห่งนั้นจะต้องเป็น ‘ออฟฟิศที่อยู่แล้วสบายใจ’ คือ จัดการทำงานอย่างเป็นระบบ มีความเป็นมืออาชีพ มีค่าตอบแทนและสวัสดิการที่เหมาะสม เพื่อนร่วมงานเปิดใจรับฟังความคิดเห็นอย่างเข้าใจ ตัวงานมีคุณค่าและสนุกที่ได้ทำ

Wisesight กับการปรับฐานทัพ ‘BASE33’ ตามคอนเซปต์ออฟฟิศยุคหลังโควิด-19 ไม่ว่าพนักงานจะอยู่ที่ไหนก็ทำงานได้เต็มที่ เทรนด์โซเชียลในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2565 แบ่งออกเป็น 3 ส่วน

Spectrum of Attitude: โซเชียลมีเดียเป็นพื้นที่สาธารณะที่เต็มไปด้วยความคิดเห็นจากคนหลากหลายประเภท มีทั้งความคิดเห็นที่ตรงกัน และต่างกัน ซึ่งทำให้เกิดการถกเถียงหรือที่เรียกว่า ดราม่า นั่นเอง โดยตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา มีดราม่าเกิดขึ้นทั้งสิ้น 760,000 ข้อความ และได้รับเอ็นเกจเมนต์รวม 187,000,000 เอ็นเกจเมนต์ โดย 8 เรื่องหลักที่ทำให้เกิดเรื่องดราม่า ได้แก่ 1.) สิทธิส่วนบุคคล (Privacy) 2.) ความเชื่อ (Belief) 3.) ปัญหาสังคม (Social Issue) 4.) คุณค่าชีวิต (Life Value) 5.) เพศ (Gender) 6.) เชื้อชาติ (Racism) 7.) สิทธิมนุษยชน (Human Rights) 8.) ความแตกต่างทางความคิดระหว่างหนุ่มสาวและผู้สูงอายุ (Generation Gap)

สิ่งที่แบรนด์สามารถทำได้เพื่อหลีกเลี่ยงดราม่าเหล่านี้ คือ 1.) มีหลักการที่ถูกต้อง 2.) ถ่อมตน 3.) เปิดใจรับฟังผู้บริโภค และไม่เอาตนเองเป็นที่ตั้ง

The norm is shifting: ผู้บริโภคในยุคนี้มองหามาตรฐานการให้บริการที่สูงขึ้นจากแบรนด์ รวมถึง ต้องการให้แบรนแสดงจุดยืนที่ชัดเจนในเรื่องต่าง ๆ เช่น ปัญหาสังคมที่เกิดขึ้น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน คือ ในช่วง Pride Month ที่ผ่านมาผู้บริโภคเริ่มให้ความสนใจกับแบรนด์ที่ส่งเสริมเรื่อง LGBTQ+ อย่างยั่งยืนมากกว่าแบรนด์ที่เปลี่ยนโลโก้เป็นสีรุ้ง หรือจัดแคมเปญเดินขบวน

ดังนั้น คำแนะนำสำหรับแบรนด์ที่จะมัดใจผู้บริโภคได้ คือ จริงใจ, สม่ำเสมอ, และไม่ทำตามกระแส

Short, Fast, and Repeat: แพลตฟอร์ม TikTok ทำให้กระแสวิดีโอขนาดสั้นกลับมาบูมอีกครั้ง ซึ่งตัวแแพลตฟอร์มเองก็เป็นแหล่งกำเนิดเทรนด์ กระแสเต้น กระแสเพลง รวมถึง อาหารการกินและการรีวิว ถือว่าเทรนด์เหล่านี้คล้ายกับดราม่าก็ได้เพราะเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา แต่ช่วงเวลาที่คนให้ความสนใจนั้นลดลง แต่ก่อนไวรัลอยู่ในความสนใจได้เกือบหนึ่งสัปดาห์ แต่ในปัจจุบันเพียงแค่สองวันไวรัลเหล่านั้นก็หายไปแล้ว

Wisesight กับการปรับฐานทัพ ‘BASE33’ ตามคอนเซปต์ออฟฟิศยุคหลังโควิด-19 ไม่ว่าพนักงานจะอยู่ที่ไหนก็ทำงานได้เต็มที่ “ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โซเชียลมีเดียไม่ได้มีอะไรแปลกใหม่เกิดขึ้นเลย คาแรคเตอร์ของคนบนโลกโซเชียลก็ยังคงคล้ายคลึงกับปีก่อน ทำให้เรายังไม่เห็นอะไรใหม่ ผมขอเรียกยุคนี้ว่าเป็นยุค ‘Fast & Furious Consumer’ เพราะทุกอย่างเกิดขึ้นไว และจบไวมาก 

“แบรนด์จึงควรตั้งสติ และถามตัวเองอยู่เสมอว่าเทรนด์นี้เราควรเข้าไปข้องเกี่ยวด้วยหรือไม่ หรือเทรนด์นี้ส่งผลเสียหรือดีต่อภาพลักษณ์แบรนด์มากกว่ากัน เพราะการทำอะไรตามกระแสก็ไม่ได้การันตีว่าจะประสบความสำเร็จเสมอไป” พุทธศักดิ์กล่าวสรุป

ที่มา: ไวซ์ไซท์