ทายาทเจ๊กฮวด-เรื่องเล่า ร.5 กับคลองดำเนินสะดวก แหล่งท่องเที่ยวดังระดับโลก

ทายาทเจ๊กฮวด-เรื่องเล่า ร.5 กับคลองดำเนินสะดวก แหล่งท่องเที่ยวดังระดับโลก
“สมัยก่อนยังไม่มีชื่อคลองดำเนินสะดวก เขาเรียกแถวนี้กันว่าคลองช้างเดิน เป็นทางเดินของช้างเพื่อไปกินน้ำที่แม่น้ำแม่กลอง เดินจนเป็นทางคดไปคดมา เริ่มมาตั้งแต่ตรงช่วงอัมพวาไล่เรื่อยขึ้นมาจนถึงมณฑลราชบุรี ระยะหลังเมื่อขุดคลองดำเนินสะดวกแล้วเสร็จ พระองค์ท่านรัชกาลที่ 5 ก็เสด็จประพาสต้น พระองค์ท่านมีพระราชปรารภว่าคลองนี้ขุดได้ตรง สัญจรไปมาสะดวก เลยมีชื่อเรียกว่าดำเนินสะดวก” ลุงเปี๊ยก-ศิริชัย น้อยประเสริฐ นั่งลงบนชานเรือนแล้วเริ่มเล่าประวัติคลองดำเนินสะดวก ย้อนไปไกลมากกว่าศตวรรษครึ่ง ตั้งแต่สมัยที่บรรพบุรุษของเขาอพยพจากเมืองจีนมาขึ้นฝั่งที่เซียมล้อ เพื่อมาจับจอบยกผงโถ้วโกยดินขึ้นตลิ่ง เปลี่ยนพื้นที่ป่ารกชัฏให้กลายเป็นคลองตรงยาวกว่า 32 กิโลเมตร เชื่อมแม่น้ำท่าจีนและแม่น้ำแม่กลองเข้าด้วยกัน ย่นเวลาในการคมนาคมขนส่งของผู้คนในสมัยโบราณ มีพิธีเปิดใช้งานเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2411 ทายาทเจ๊กฮวด-เรื่องเล่า ร.5 กับคลองดำเนินสะดวก แหล่งท่องเที่ยวดังระดับโลก

ลุงเปี๊ยก-ศิริชัย น้อยประเสริฐ เล่าประวัติศาสตร์การขุดคลองดำเนินสะดวก

แรงงานที่รับจ้างขุดคลองดำเนินสะดวกมีทั้งคนไทย มอญ และจีน ซึ่งส่วนใหญ่หลังจากขุดคลองสำเร็จ ก็ได้ตั้งรกรากอยู่ที่นี่เลย ซึ่งปู่ทวดของลุงเปี๊ยก ก็เป็นหนึ่งในนั้น เขาได้ภรรยาเป็นหญิงไทยชื่อผึ้ง มีลูกด้วยกันชื่อ เจ๊กฮวด แซ่เล้า ผู้ที่ต่อมาได้ชื่อว่าเป็นเจ็กฮวดมหาดเล็ก ในสมัยรัชกาลที่ 5  “หลังขุดคลองดำเนินสะดวกเสร็จ รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จประพาสต้นดูความเป็นอยู่ของราษฎร พอทรงเรือเล็กถึงหน้าบ้าน คุณย่าผึ้งเห็นแขกมาถึงเรือนชาน ก็เชิญขึ้นมารับประทานอาหาร ก๋งฮวดยกกระบะกับข้าว ก็มีพวกปลาต้มเค็ม มีหอยกะพงดอง มีผัดผักกาด มีผัก มีน้ำพริก แล้วนั่งมองว่าท่านนี่คล้ายนัก พระองค์ท่านถามว่าคล้ายใคร ก๋งฮวดก็ชี้ไปที่รูปพระเจ้าแผ่นดินที่ตั้งบูชาว่าเหมือนรูปนี้ พระองค์ท่านถามย้ำ ก๋งฮวดก็ยืนยันว่าใช่ แล้วรีบก้มกราบ พระองค์ท่านก็ทรงโปรดว่าเสด็จตั้งแต่บางปะอินมีแต่ก๋งฮวดที่ตาแหลมจำได้ ต่อมาประมาณ 2 เดือน มีหนังสือให้มารับก๋งฮวดไปเข้าเฝ้าในพระราชวัง เป็นที่มาของเจ็กฮวดมหาดเล็กนอกวัง” ทายาทเจ๊กฮวด-เรื่องเล่า ร.5 กับคลองดำเนินสะดวก แหล่งท่องเที่ยวดังระดับโลก

สำรับอาหารที่บ้านเจ็กฮวดมหาดเล็ก

ผ่านมากว่า 100 ปี “บ้านเจ๊กฮวดมหาดเล็ก” ยังคงพยายามรักษาสภาพเดิม รวมไปถึงแสดงถ้วยชาม เครื่องใช้ และสำรับอาหารในครั้งนั้น โดยมีลุงเปี๊ยก ซึ่งเป็นทายาทรุ่นที่ 3 เป็นผู้ดูแลสถานที่ในตำนานเพื่อบอกเล่าเรื่องราวให้คนรุ่นหลังที่แวะเวียนไปสัมผัสอยู่ไม่ขาดสาย ไม่ไกลจากบ้านเจ็กฮวดมหาดเล็ก เป็น “วัดโชติทายการาม” วัดเก่าแก่ที่อยู่คู่คลองดำเนินสะดวกมาแต่ครั้งเริ่มขุด ภายในมีพระอุโบสถที่ประดิษฐาน หลวงพ่อลพบุรีราเมศร์ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย สมัยสุโขทัย-ลพบุรี ทำจากศิลาแลง อายุกว่า 1,000 ปี เดิมประดิษฐานอยู่ที่วัดร้างในจังหวัดลพบุรี นอกจากนี้ยังมีมณฑปเก่าแก่ของวัด และ ประตูลับแลอายุกว่า 100 ปี เป็นถาวรวัตถุสำคัญที่อยู่คู่วัดนี้มาช้านาน ซึ่งรัชกาลที่ 5 เคยได้เสด็จประพาสต้น และเสด็จประทับแรมที่ศาลาการเปรียญแห่งนี้  ทายาทเจ๊กฮวด-เรื่องเล่า ร.5 กับคลองดำเนินสะดวก แหล่งท่องเที่ยวดังระดับโลก

หลวงพ่อลพบุรีราเมศร์

ใกล้วัดโชติทายการามอันเป็นศูนย์รวมใจชุมชนคลองดำเนินสะดวก เป็น “ตลาดน้ำเหล่าตั๊กลัก” ตลาดน้ำเก่าแก่ศูนย์รวมชุมชนการค้า ซึ่งเป็นเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงคลองแห่งนี้ โดยตลาดน้ำเหล่าตั๊กลัก เป็นตลาดเก่าดั้งเดิมของคลองดำเนินสะดวก ตั้งอยู่ปากคลองลัดพลี ทางลัดสู่ตัวเมืองราชบุรี ทำให้มีพ่อค้าแม่ค้าพายเรือขนสินค้าทางการเกษตร ผัก พริก หอม กระเทียม ผลไม้นานาชนิด มาแลกเปลี่ยนซื้อขายกันอย่างคับคั่ง โดยส่วนใหญ่จะนัดวันกันตามระดับน้ำที่ขึ้นลงเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทายาทเจ๊กฮวด-เรื่องเล่า ร.5 กับคลองดำเนินสะดวก แหล่งท่องเที่ยวดังระดับโลก แม้ปัจจุบันตลาดน้ำดำเนินสะดวกจะย้ายไปใกล้จุดที่มีถนนตัดผ่าน แต่ตลาดน้ำเหล่าตั๊กลัก ยังคงไว้ซึ่งมนต์เสน่ห์ความงดงาม และบรรยากาศเมื่อหลายสิบปีที่แล้ว รอให้ผู้ไปเยี่ยมเยียนได้ย้อนถวิลหาวิถีการใช้ชีวิตริมน้ำแบบดั้งเดิมไว้แทบครบถ้วน ทั้งร้านกาแฟฮกหลีกาเฟย ร้านข้าวแห้ง ก๋วยเตี๋ยวต้มยำสูตรโบราณ และของหวานมากมาย รวมไปถึงยังมีพิพิธภัณฑ์ตลาดน้ำเหล่าตั๊กลัก ที่คอยบอกเล่าเรื่องราวความรุ่งเรืองครั้งอดีตของชุมชนแห่งนี้ ทายาทเจ๊กฮวด-เรื่องเล่า ร.5 กับคลองดำเนินสะดวก แหล่งท่องเที่ยวดังระดับโลก

ก๋วยเตี๋ยวต้มยำสูตรโบราณ

คลองดำเนินสะดวก เป็นคลองสายหลักที่หลังขุดแล้วเสร็จได้มีเจ้านายผู้ใหญ่และชาวบ้านมากมายต่างจับจองที่ดินรกร้างถากถางเปลี่ยนให้กลายเป็นเรือกสวนไร่นา พร้อมขุดคลองตัดตรงเข้าสู่พื้นที่ของตน ทำให้ตลอดทางยาวของคลองดำเนินสะดวกมีคลองสาขาน้อยใหญ่มากกว่า 200 คลอง  หนึ่งในนั้นตัดลัดเลาะเข้าสู่สวนผลไม้ของแม่ทองหยิบ ที่วันนี้ได้เป็น “สวนเกษตรแม่ทองหยิบ” สวนจากภูมิปัญญาชาวบ้าน และวิถีเศรษฐกิจพอเพียง ที่ปรับเปลี่ยนพื้นที่ลุ่มน้ำท่วมขังให้กลายเป็นแปลงเกษตรผสมผสาน ปลูกผลไม้ตามฤดูกาลหลากหลายทั้งมะพร้าว ส้มโอ ละมุด มะนาว โดยเปิดให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสวิถีชีวิตแบบชาวสวนดำเนินสะดวก ที่ใช้เรือถ่อล่องไปตามท้องร่องในแปลงผลไม้สุดร่มรื่น พร้อมเก็บผลไม้สดใหม่รสชาติดีเป็นของฝากติดมือกลับไปรับประทานที่บ้าน ซึ่งลุงเปี๊ยก ได้เล่าวัฏจักรที่เป็นเคล็ดลับที่ทำให้พืชผักผลไม้ของดำเนินสะดวกรสชาติร่อนเป็นพิเศษว่า  “เมื่อขุดคลองระหว่างแม่น้ำแม่กลองกับแม่น้ำท่าจีนรวมกันแล้ว ชาวบ้านที่ทำอาชีพการเกษตรในย่านนี้ ก็มีน้ำอุดมสมบูรณ์ ในแต่ละปีหนึ่งพอมีน้ำท่วม ก็จะพาปุ๋ยมาด้วย พอน้ำแห้ง ก็ใช้ปลูกพืชผักได้แบบไม่ต้องใช้สารเคมีเลย” ทายาทเจ๊กฮวด-เรื่องเล่า ร.5 กับคลองดำเนินสะดวก แหล่งท่องเที่ยวดังระดับโลก

สวนเกษตรแม่ทองหยิบ

นอกจากตลาดน้ำคลองดำเนินสะดวกแล้ว พืชผลทางการเกษตรที่มีรสชาติพิเศษเฉพาะ ถือเป็นอีกหนึ่งมนต์เสน่ห์ ที่เชื้อเชิญให้ผู้คนจากต่างถิ่นมากมาย เดินทางมาเยือนอยู่อย่างสม่ำเสมอ ทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. ได้เล่าถึงที่มาที่ไปของการที่ อพท. ได้มาร่วมพูดคุยกับชาวบ้าน เพื่อรื้อฟื้นการท่องเที่ยววิถีคลองดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ลองสัมผัสเส้นทางต้นแบบการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมภายใต้แนวความคิด วิถีคลอง วิถีไทย ตามรอยเสด็จคลองดำเนิน “เมื่อก่อนเวลาเราพูดถึงคลองดำเนินสะดวกทุกคนก็จะนึกถึงตลาดน้ำ แต่จริง ๆ แล้วที่คลองดำเนินสะดวกมีอะไรมากกว่าตลาดน้ำดำเนินนะครับ เรากลับไปฟื้นตลาดเหล่าตั๊กลักกลับมา นำเอาเรื่องประวัติศาสตร์เชื่อมโยงที่วัดโชติทายการามนะครับ แล้วก็เส้นทางตามรอยเสด็จของรัชกาลที่ 5 ที่บ้านมหาดเล็กเจ๊กฮวด แล้วก็ไปตบท้ายที่วิถีเกษตรเศรษฐกิจพอเพียงที่สวนเกษตรแม่ทองหยิบ  ทายาทเจ๊กฮวด-เรื่องเล่า ร.5 กับคลองดำเนินสะดวก แหล่งท่องเที่ยวดังระดับโลก

ทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

  “ถ้าเราเริ่มจากการพัฒนา 4 จุดนี้ ในบริเวณเชื่อมกับแหล่งท่องเที่ยวกระแสหลักคือตลาดน้ำดำเนินสะดวก เชื่อว่าจะทำให้วิธีการท่องเที่ยวในพื้นที่นี้มันเปลี่ยนไป นักท่องเที่ยวสามารถมาหาประสบการณ์ร่วม ถ้าเราเพิ่มจำนวนวันหรือเพิ่มจำนวนระยะเวลาให้นักท่องเที่ยวอยู่ในพื้นที่ท่องเที่ยวได้นานมากขึ้นด้วยการสร้างกิจกรรมแบบนี้ ก็เชื่อว่ามันก็จะส่งผลให้เกิดรายได้ที่เพิ่มขึ้นด้วยครับ” กระบวนการทำงานของ อพท. เน้นเรื่องของการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน งานนี้จึงเริ่มต้นขึ้นที่การลงไปสำรวจพื้นที่ พูดคุยกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น “เราเริ่มที่คุยกับชุมชน เพราะเขาเป็นเจ้าของทรัพยากรด้านการท่องเที่ยว ถ้าเขาลุกขึ้นมาบริหารจัดการด้วยตัวเขาเองความยั่งยืนก็จะเกิดในพื้นที่ครับ และยิ่งไปกว่านั้นเราใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือที่ในการที่จะกระจายรายได้จากการท่องเที่ยว  “เขามีของดีของเขาอยู่แล้ว เพราะเขาเป็นเจ้าของทั้งวัฒนธรรมเขาเป็นเจ้าของทรัพยากร เขาจะเกิดความสุขที่เขาจะได้จัดการเรื่องพวกนี้ แล้วนำเสนอให้นักท่องเที่ยวเข้ามามีส่วนในการสัมผัสวิถีจริง เขามีความสุขที่ได้มา แชร์ประสบการณ์ร่วมกับเจ้าของทรัพยากรหรือว่าชุมชนชุมชนก็มีความสุขที่ได้นำเสนอสิ่งที่ตัวเองมี มันเป็นสุขที่แท้จริงคือเป็นสุขทั้งผู้ให้และสุขทั้งผู้รับ” นี่คือรูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ที่เริ่มจากการมองเห็นศักยภาพของท้องถิ่น แล้วสร้างสรรค์ให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืน กับคุณค่าของเรื่องราวคลองดำเนินสะดวก คลองร้อยปีที่สายน้ำบอกเล่าเรื่องราวหลากชีวิตของทั้งคนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวที่ประทับใจไม่รู้ลืม