สราวุฒิ อยู่วิทยา กับความมุ่งมั่นในการพัฒนาทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนเพื่อโอบอุ้มลุ่มน้ำไทย

สราวุฒิ อยู่วิทยา กับความมุ่งมั่นในการพัฒนาทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนเพื่อโอบอุ้มลุ่มน้ำไทย
‘น้ำ’ เป็นส่วนประกอบสำคัญสำหรับทุกชีวิต ต้นไม้ใบหญ้า และพืชพรรณนานาชนิด ไม่ต่างจากสัตว์น้อยใหญ่ที่ร่างกายส่วนใหญ่ต่างก็ประกอบไปด้วยน้ำเช่นเดียวกัน ส่วนภายในร่างกายมนุษย์อย่างเรา ก็ยังมีน้ำเป็นองค์ประกอบมากกว่าเจ็ดส่วน ประเทศไทย เรียกว่าเป็นดินแดนแห่งสายน้ำ ที่ทุกชีวิตในภูมิภาคต่าง ๆ ได้รับความชุ่มชื้นจากแม่น้ำหลากสายคอยหล่อเลี้ยง ไม่ว่าจะเป็น ปิง วัง ยม น่าน ที่บรรจบเข้ากันเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา ไหลผ่านผูกพันกับวิถีชีวิตคนไทยกว่าครึ่งประเทศในภาคเหนือและภาคกลาง แต่ทุกสิ่งอย่างจำเป็นต้องตั้งอยู่บนส่วนประกอบแห่งความสมดุล การที่น้ำมีปริมาณน้อยจนไม่เพียงพอ สร้างผลกระทบให้กับชีวิตผู้คนและธรรมชาติได้มากพอ กับการที่น้ำล้นทะลักมากเกินความพอเพียงในบางช่วงเวลา อย่างที่เราเคยประสบในเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ปี 2554 แล้วอะไรคือสัดส่วนของส่วนประกอบแห่งความสมดุลของการบริหารจัดการน้ำ สราวุฒิ อยู่วิทยา กับความมุ่งมั่นในการพัฒนาทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนเพื่อโอบอุ้มลุ่มน้ำไทย สราวุฒิ อยู่วิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ TCP กล่าวถึงโครงการ ‘TCP โอบอุ้มลุ่มน้ำไทย’ ว่า “เราในฐานะที่เป็นองค์กรที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับน้ำ เลยมีโครงการด้านน้ำ เพื่อการพัฒนาทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน เพื่อสิ่งแวดล้อม และชุมชน โดยมุ่งหวังให้ชุมชนได้มีแหล่งน้ำไว้ใช้ในการอุปโภค บริโภค และการเกษตรอย่างเพียงพอ อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจของชุมชน สร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้กับเกษตรกรอย่างยั่งยืน ทั้งยังสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนขององค์กรเอง” โครงการ ‘TCP โอบอุ้มลุ่มน้ำไทย’ มุ่งเน้นการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในทุกมิติ ทั้งมิติของน้ำบนดิน และน้ำใต้ดิน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการสร้างความยั่งยืนให้กับแหล่งน้ำที่หลากหลาย โดยจะเริ่มดำเนินการใน 2 ลุ่มน้ำนำร่อง คือ ลุ่มน้ำยม และลุ่มน้ำปราจีนบุรี สราวุฒิ อยู่วิทยา กับความมุ่งมั่นในการพัฒนาทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนเพื่อโอบอุ้มลุ่มน้ำไทย แต่หนทางในการฟื้นฟูต้นน้ำจะทำสำเร็จด้วยมือคนเพียงคนเดียวไม่ได้ องค์ประกอบที่สำคัญอันหนึ่งที่นำไปสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน คือต้องอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็น หน่วยงานที่มีองค์ความรู้ทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชุมชนที่พร้อมให้ความร่วมมือ เราจึงได้ร่วมงานกับมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) มุ่งสร้างองค์ความรู้ในเรื่องการบริหารจัดการน้ำแบบพึ่งพาตนเองมีความยั่งยืน ทั้งนี้ “กลุ่มธุรกิจ TCP เป็นองค์กรของคนไทยที่เป็นเจ้าของเครื่องดื่มแบรนด์กระทิงแดง เรดบูล เรดดี้ โสมพลัส สปอนเซอร์ แมนซั่ม และเพียวริคุ ซึ่งผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่นั้นใช้น้ำเป็นวัตถุดิบสำคัญ เราเลยได้กำหนดนโยบายทั้งภายในและภายนอกในเรื่องการจัดการทรัพยากรน้ำตามแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ที่มุ่งเน้นสร้างการเติบโตของธุรกิจไปพร้อม ๆ กับการสร้างความยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ TCP ได้ย้ำถึงสาเหตุที่เข้ามามีส่วนสำคัญในการดูแลทรัพยากรน้ำอย่างจริงจัง “เรามุ่งสร้างกระบวนการทำงาน กระบวนการผลิต และผลิตภัณฑ์ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมปลูกจิตสำนึกให้พนักงานเห็นความสำคัญของการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ในขณะเดียวกัน เรายังมุ่งเน้นการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำภายนอกที่เกี่ยวข้องกับน้ำบนดิน และน้ำใต้ดิน เพื่อบรรเทาปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้งที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี จนเกิดเป็นโครงการ TCP โอบอุ้มลุ่มน้ำไทย ที่ได้ทำงานร่วมกับองค์กรพันธมิตรผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรน้ำที่หลากหลาย เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการสร้างความยั่งยืนให้กับแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคของชุมชนในพื้นที่ลุ่มน้ำยม และลุ่มน้ำปราจีนบุรี ก่อนขยายไปสู่ลุ่มน้ำอื่น ๆ ทั่วประเทศ” สราวุฒิ กล่าวเสริม สราวุฒิ อยู่วิทยา กับความมุ่งมั่นในการพัฒนาทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนเพื่อโอบอุ้มลุ่มน้ำไทย การที่จะแก้ปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้งได้อย่างยั่งยืนและมีประสิทธิผลสูงสุดนั้น จำเป็นต้องอาศัยความร่วมแรงร่วมใจของประชาชนในพื้นที่ ให้ได้เข้ามามีส่วนร่วมแล้วสามารถดำเนินงานได้ด้วยตนเอง วิธีการนี้จะช่วยสร้างความเป็นเจ้าของพื้นที่ ทำให้เป็นที่ยอมรับจากชุมชนเอง ทั้งผู้ได้รับประโยชน์ ผู้ที่ได้รับผลกระทบ และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ขณะนี้ชุมชนที่มีความพร้อมที่จะร่วมพัฒนาลุ่มน้ำกับโครงการนี้ มีจำนวน 6 จังหวัด ใน 2 ลุ่มน้ำ ได้แก่ ลุ่มน้ำยม ที่ จังหวัดแพร่ สุโขทัย และพิจิตร และลุ่มน้ำปราจีน ที่จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี และสระแก้ว โดยจังหวัดแพร่ ถือเป็นต้นแบบของระบบข้อมูลที่ใช้สำหรับบริหารจัดการทรัพยากรน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ และจากการทำงานอย่างมีส่วนร่วมของเครือข่ายภาคประชาชน ในการพัฒนาลุ่มน้ำยม ทำให้เราได้รู้ว่าที่ผ่านมาพื้นที่ลุ่มน้ำยมในแต่ละปีจะมีปริมาณน้ำเฉลี่ยประมาณ 4,900 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่สามารถเก็บกักน้ำไว้ได้เพียงแค่ 400 ล้านลูกบาศก์เมตรเท่านั้น ขณะที่ความต้องการใช้น้ำในกิจกรรมต่าง ๆ สูงถึงปีละ 2,200 ล้านลูกบาศก์เมตร ลุ่มน้ำยมจึงเป็นลุ่มน้ำที่ยังมีปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้งซ้ำซาก เพราะไม่มีแหล่งกักเก็บน้ำที่สามารถเก็บน้ำได้มากเพียงพอที่จะใช้ในการบริหารจัดการน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ชุมชนบ้านแม่ขมิง จังหวัดแพร่ เป็นจุดเริ่มต้นที่กลุ่มธุรกิจ TCP, มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) เข้าไปพัฒนาโครงสร้างน้ำ เพื่อเพิ่มน้ำต้นทุน และช่วยลดปริมาณน้ำท่วมสะสมในฤดูน้ำหลากแก่ชุมชนกว่า 9,800 ครัวเรือนตลอดลุ่มน้ำยม ให้ได้มีน้ำไว้ใช้สำหรับอุปโภค บริโภค และการเกษตรตลอดทั้งปี นอกจากนี้ชุมชนบ้านแม่ขมิง ยังได้รับรางวัลชนะเลิศป่าชุมชนดีเด่น ด้าน ‘ป่าชุมชน: สืบสาน รักษา ต่อยอด สร้างสุข ปวงประชา’ ประจำปี 2562 “วันนี้เป็นการรวมพลังของชุมชนบ้านแม่ขมิง ที่ทำงานร่วมกับ อพ. และ สสน. พร้อมด้วยเหล่าจิตอาสาของกลุ่มธุรกิจ TCP ในพื้นที่จังหวัด พิษณุโลกและเชียงใหม่ รวมทั้งหมดกว่า 120 คน ในการเข้าช่วยซ่อมแซมแตต๊าง ที่อยู่ในสภาพชำรุดเสียหายให้กลับมาใช้งานได้เหมือนเดิม” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ TCP ลงพื้นที่ลุยด้วยตัวเอง ‘แตต๊าง’ เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านล้านนา เพื่อใช้ในการบริหารจัดการน้ำด้วยการรับน้ำจากอ่างเก็บน้ำ กระจายน้ำเข้าสู่พื้นที่อย่างสมดุล ไม่ให้เอ่อล้นหรือเหือดแห้ง เมื่อน้ำเต็มแตต๊างจะค่อย ๆ ไหลลงมาสู่พื้นดิน เพื่อให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้มีน้ำใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคตลอดจนการใช้น้ำเพื่อการเกษตรอย่างเพียงพอ ทั่วถึง และเท่าเทียมกันผ่านลำเหมืองตามความลาดชันของพื้นที่ แตต๊างจึงเป็นหนึ่งในวิธีการบริหารจัดการน้ำแบบพึ่งพาตนเอง โดยมี แก่เหมือง แก่ฝาย หรือผู้ดูแล คอยเป็นผู้บริหารจัดการน้ำและจัดสรรน้ำเข้าพื้นที่เกษตร ตามกฎหมายมังรายศาสตร์ที่มีมาตั้งแต่สมัยพ่อขุนมังราย สราวุฒิ อยู่วิทยา กับความมุ่งมั่นในการพัฒนาทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนเพื่อโอบอุ้มลุ่มน้ำไทย “จิตอาสาที่มาร่วมงานในวันนี้ ไม่เพียงจะได้เรียนรู้เรื่องภูมิปัญญาชาวบ้านในการบริหารจัดการน้ำแบบพึ่งพาตนเอง แต่ยังได้เห็นภาพรวมของการบริหารจัดการน้ำ ทราบถึงการเชื่อมโยงของสรรพสิ่งรอบตัว จนถึงการผันน้ำสู่ชุมชนแล้ว เขายังได้เห็นว่าปัญหาความเดือดร้อนของชุมชนในวันนี้จะดีขึ้นได้ ก็เพราะคนในชุมชนหันมาแก้ปัญหาด้วยตัวเอง ในอนาคต ปัญหาการจัดการน้ำจะดีขึ้นได้ก็ต้องมาจากพวกเราทุกคนที่ต้องเข้ามามีส่วนร่วม ลงมือทำอย่างจริงจัง เพราะปัญหาของลุ่มน้ำก็คือปัญหาของพวกเราทุกคน” สราวุฒิ อยู่วิทยา กับความมุ่งมั่นในการพัฒนาทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนเพื่อโอบอุ้มลุ่มน้ำไทย ด้วยการเปลี่ยนแปลงไม่ได้เกิดขึ้นได้ภายในเวลาเพียงไม่กี่วัน โครงการที่มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน บรรเทาปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง เพื่อมุ่งหวังให้ชุมชนได้มีแหล่งน้ำไว้ใช้ในการอุปโภคบริโภคอย่างเพียงพอ พัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจของชุมชน เสริมสร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้กับเกษตรกรอย่างยั่งยืน เลยวางแผนการดำเนินงานไว้ 5 ปี โดยมีจุดเริ่มต้นในปี 2562 นี้ ไปจนถึงปี 2566 “เราตั้งเป้าที่จะช่วยให้ชุมชนในลุ่มน้ำยมและลุ่มน้ำปราจีน กว่า 16,000 ครอบครัว ใน 6 จังหวัด ได้เข้าถึงแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคมากกว่า 12 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือกว่า 3 เท่าของปริมาณน้ำที่กลุ่มธุรกิจ TCP ของเราใช้ในตลอดกระบวนการ และคาดว่าจะสร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้กับชุมชนจากการมีน้ำใช้ในการเกษตรอย่างเพียงพอ เราได้ร่วมแบ่งปันน้ำให้ทั่วถึงเท่าเทียมกันไม่มากไปไม่น้อยไป เหมือนเป็นส่วนประกอบที่พอเหมาะลงตัวกับการอยู่ร่วมกันอย่างสมดุล มีการพึ่งพากันระหว่างคนด้วยกัน และผู้คนกับธรรมชาติ” สราวุฒิ กล่าวทิ้งท้าย