อาจารย์สถาปัตย์ มจธ. พร้อมส่งต่อดีไซน์แบบสถานีคัดกรองผู้ป่วยโควิด-19 แยกพื้นที่การรอตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยง

อาจารย์สถาปัตย์ มจธ. พร้อมส่งต่อดีไซน์แบบสถานีคัดกรองผู้ป่วยโควิด-19 แยกพื้นที่การรอตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยง

จากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ยังคงมีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีบุคลากรทางการแพทย์จำนวนหนึ่งได้รับเชื้อจากผู้ป่วยระหว่างทำการตรวจและรักษา เนื่องจากอุปกรณ์ป้องกันตัวเองอย่างเช่น หน้ากากอนามัยแบบ N95 มีความขาดแคลน ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อให้กับบุคลากรทางการแพทย์และผู้ที่มาเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลด้วยโรคอื่น ๆ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของงานดีไซน์แบบสถานีคัดกรองผู้ป่วยโควิด-19 หรือ COVID-19 Test Station ที่เกิดจากการออกแบบของอาจารย์สุนารี ลาวัลยะวัฒน์ และ Dr. Martin Schoch อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)

อาจารย์สถาปัตย์ มจธ. พร้อมส่งต่อดีไซน์แบบสถานีคัดกรองผู้ป่วยโควิด-19 แยกพื้นที่การรอตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยง

อาจารย์สุนารี ลาวัลยะวัฒน์ อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มจธ. กล่าวว่า เริ่มแรกทางทีมได้ออกแบบตู้ชุดแรกเพื่อใช้สำหรับการตรวจแบบ Nasal Swab Test ซึ่งเป็นการตรวจสารคัดหลั่งหลังโพรงจมูก และในบริเวณคอของผู้ป่วย ด้วยเทคนิค Polymerase Chain Reaction (PCR) พบว่าบุคลากรทางการแพทย์ต้องเข้าใกล้ตัวผู้ป่วยมาก รวมถึงได้ทราบจากแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ ว่าทุกขั้นตอนการตรวจคัดกรอง ตั้งแต่ก่อนตรวจ ระหว่างตรวจ และหลังการเข้ารับการตรวจนั้นล้วนมีความเสี่ยงทั้งสิ้น เนื่องจากแต่ละโรงพยาบาลมีผู้มารอตรวจจำนวนมากทำให้เกิดความแออัด จึงคิดต่อเนื่องเป็นงานออกแบบของสถานีคัดกรองผู้ป่วยโควิด-19 โดยจะแบ่งเป็น 5 จุด 5 สถานีย่อย ดังนี้ จุดที่ 1 คือ ทำการประเมินว่าเป็นคนไข้ที่เข้าเกณฑ์การตรวจหรือไม่ จุดที่ 2 คือ จุดให้คำปรึกษาหลังจากที่ผ่านการประเมินเข้าเกณฑ์แล้ว จุดที่ 3  Swab Test การตรวจสารคัดหลั่งหลังโพรงจมูกและในบริเวณคอ จุดที่ 4 จุดจ่ายยาสำหรับบรรเทาอาการเบื้องต้น ระหว่างรอผลตรวจ เช่น ยาแก้ปวด ลดไข้ จุดที่ 5 จุดลงทะเบียนติดตามผล

อาจารย์สถาปัตย์ มจธ. พร้อมส่งต่อดีไซน์แบบสถานีคัดกรองผู้ป่วยโควิด-19 แยกพื้นที่การรอตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยง

อาจารย์สุนารี ลาวัลยะวัฒน์ ยังเปิดเผยเพิ่มเติมด้วยว่าปัจจุบันทางทีมได้ส่งมอบแบบไปยังโรงพยาบาลแล้ว ทั้งหมด 5 แห่ง ได้แก่ รพ.สมิติเวช สุขุมวิท รพ.เทศบาลนครอุดรธานี กองวิศวกรรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เทศบาลนครนครสวรรค์ รพ.ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทศบาลนครพิษณุโลก และกลุ่มงานโครงสร้างพื้นฐานและวิศวกรรมทางการแพทย์ รพ.ศรีสะเกษ และยินดีที่จะส่งมอบแบบให้กับโรงพยาบาลต่าง ๆ ที่ต้องการนำไปใช้ประโยชน์

อาจารย์สถาปัตย์ มจธ. พร้อมส่งต่อดีไซน์แบบสถานีคัดกรองผู้ป่วยโควิด-19 แยกพื้นที่การรอตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยง โดยโรงพยาบาลสามารถนำไปปรับให้เข้ากับพื้นที่และงบประมาณของแต่ละโรงพยาบาลไปดำเนินการก่อสร้างได้เอง โดยจะมีทีมงานอาจารย์คอยให้คำปรึกษาในการนำแบบไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่และมีประโยชน์สูงสุดต่อไป อีกทั้งยังได้ทำความร่วมมือกับบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม มจธ. นำตู้โทรศัพท์เก่ามาประยุกต์ใช้ โดยยึดหลักการที่ว่าทำอย่างไรที่จะใช้งานเป็นสถานีคัดกรองแบบประยุกต์นอกอาคาร เพื่อเข้าไปช่วยเหลือในพื้นที่โรงพยาบาลชุมชน  หน่วยงานสาธารณสุขที่ห่างไกล และต้องการสนับสนุนในช่วงวิกฤต โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่ต้องการสอบถามข้อมูล ติดต่อได้ที่อีเมล [email protected] หรือ https://bit.ly/TOT-COVID-19-Test-Station